คลังเรื่องเด่น
-
"รักษาศีล คือรักษากายวาจาใจของเรา" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"รักษาศีล คือรักษากายวาจาใจของเรา"
" .. ขณะนี้เราไม่ได้ทำโทษน้อยใหญ่ทั้งหลาย โทษทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่มีในตัวเรา เราต้องพิจารณามันให้แน่นอนลงไป เชื่อมั่นลงไป คือศรัทธาความเชื่อของเรา เชื่อจริงหรือไม่จริงเล่า "ที่ท่านวางศีลไว้ คือกาย วาจา ใจของเรานี้เป็นศีล" ท่านไม่ได้ให้รักษาอื่น "ให้รักษาศีล คือรักษากายวาจาใจของเรานี้"
อย่าว่าเป็นของยากของลำบากรำคาญ "เราต้องการความสุขความสบายแล้ว เราก็ต้องรักษากายของเรา รักษาวาจาของเรา รักษาดวงใจของเรา" ไม่ทำโทษน้อยใหญ่ทั้งหลายทั้งหมด ข้อนี้เราทั้งหลายก็รู้อยู่แล้วสิ่งที่เป็นโทษ เป็นบาปกรรมเราไม่ทำ
"เมื่อเราไม่ได้ทำบาปทำกรรมแล้ว บาปกรรมทั้งหลายก็ไม่มีในตัวเรา" ให้พิจารณาดู ถ้าเราไม่ชอบบาปกรรมเราก็เลิกทำ บาปกรรมทั้งหลายก็ไม่มีในตัวเรา เราควรพินิจพิจารณาข้อนี้ให้แน่ใจลงไป เชื่อมั่นลงไป .. "
"การฟังและการปฏิบัติ"
(หลวงปู่ฝั้น อาจาโร) ๓ กันยายน ๒๕๑๑
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕ -
การละกาย
การละกาย
เดินจิต -
"รากเหง้าของพระศาสนา" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ)
.
"รากเหง้าของพระศาสนา"
" .. "ทาน - ศีล - ภาวนา" เป็นรากเหง้าของความเป็นมนุษย์และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ที่มนุษย์ต้องคอยสั่งสมให้มาอยู่ในนิสัย
- "ทาน" เป็นเครื่องแสดงน้ำใจ เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
- "ศีล" เป็นเครื่องปัดเป่าความคิดของผู้มีกิเลส
- "ภาวนา" อบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลและความถูกต้อง ผู้เป็นหัวหน้างาน หรือ มีภารกิจมาก ควรหันมาฝึกใจเป็นอย่างยิ่ง "เพราะการภาวนาช่วยแก้ความยุ่งยากลำบากใจ ทุกประเภทที่เป็นภาระหนัก" หากปล่อยใจโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้ง คงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง .. "
"มุตโตทัย"
(หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๕ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ -
คนทำความดีมี ๒ ประเภท
บุคคลที่ทำความดีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกคือ ทำความดีเพราะอยากทำ ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะทำได้ทน ทำได้นาน ไม่สนใจเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถากถางเยาะเย้ยของคนอื่น อีกประเภทหนึ่ง คือ บุคคลที่ทำความดีเพราะอยากดี ประเภทนี้ถ้าผลความดีไม่ตอบแทนในระยะใกล้ ก็อาจจะหมดกำลังใจไปเลย
รางวัลคนคู่คุณธรรมของสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมินั้น ตั้งใจที่จะให้กับบุคคลทั้ง ๒ ประเภท คือประเภทที่ทำความดีเพราะอยากทำ ก็จะได้มีเครื่องยืนยันว่า สิ่งที่เขาทำนั้น บุคคลอื่นมองเห็นและยกย่องในสิ่งที่เขาได้กระทำต่อเนื่องมายาวนาน ส่วนประเภททำความดีเพราะอยากดี ก็จะได้เห็นว่ามีผลของความดีตอบ คือได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ได้รับเงินรางวัล ได้ออกสื่อ มีชื่อเสียง ยืนยันว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง เป็นสิ่งที่สังคมยกย่อง
แต่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าท่านทำความดีเพราะอยากทำ ท่านก็จะทำได้ทน ทำได้นาน ไม่ท้อถอย ถ้าทำความดีเพราะอยากดี แล้วผลความดีไม่ตอบแทน ก็อาจจะหมดกำลังใจ เลิกทำความดีไปเลยก็ได้
ดังนั้น..ในเรื่องของการกระทำความดี จึงเป็นเหมือนอย่างกับการว่ายทวนกระแสโลก การทำความชั่วนั้น ถ้านับไปแล้ว... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ -
บารมีพระอยู่ในทุกอณูของอากาศ หากใจเราเปิดรับมากเท่าไร ยิ่งได้ผลมากเท่านั้น
เก็บตกจากงานเป่ายันต์เกราะเพชร วันเสาร์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒
อาตมาจะสร้างวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ต้องใช้เงินทุนมาก ปีนี้ก็เลยออกวัตถุมงคล ๒ รุ่นด้วยกัน ทั้ง ๆ ที่โดยปกติแล้วไม่ค่อยได้ออก เป็นสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเขียวเหล็กไหล ฉลอง ๖๐ ปีของอาตมา ซึ่งเป็นเนื้อพิเศษที่ทำได้ยากมาก เพราะว่าต้องอาศัยน้ำจากแหล่งเดียวในการบ่มเหรียญ ถึงจะเปลี่ยนเป็นสีปีกแมลงทับได้ แล้วหลายเหรียญก็ค่อนข้างจะดื้อ บ่มแล้วไม่ขึ้น แต่อาตมาว่า ถ้าหากว่าเป็นอาตมาก็จะเอาที่บ่มไม่ขึ้นนั่นแหละ เพราะแสดงว่ามั่นคงต่อตัวเองมาก ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ส่วนอีกชุดหนึ่งเป็นแผ่นเลเซอร์ยันต์เกราะเพชรเล็ก ๆ โตกว่าเหรียญบาทนิดเดียว ถ้าท่านใดบูชาติดตัวเอาไว้ก็ต้องบอกว่า ไม่ต้องเป่ายันต์ก็ได้ แต่อาจจะลืม อาจจะหาย ถ้าหากว่าไม่มั่นใจก็เป่ายันต์เกราะเพชรติดตัว บูชาแผ่นยันต์ไปด้วย
สมเด็จองค์ปฐมเนื้อเขียวเหล็กไหลราคาแพงหน่อย เพราะว่าทำยาก เหรียญละ ๒,๕๐๐ บาท แต่แผ่นเลเซอร์ยันต์เกราะเพชรนั่น ๕๐ บาท สำหรับบุคคลที่เบี้ยน้อยหอยน้อย แต่ท่านก็อุตส่าห์ให้ต่อท้ายมาแล้วว่า งานนี้ให้ในเรื่องของลาภผลด้วย แต่ว่าให้ภาวนาคาถาเงินล้านเป็นปกติ... -
"ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ"
" .. ผู้บริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ๆ พึ่งทำใจเย็น ๆ อย่าได้รีบร้อน ให้ทำความเชื่อมั่นในคำบริกรรมพุทโธ "มีสติควบคุมจิตของตนให้อยู่ในพุทโธของตนก็แล้วกัน" ความเชื่อมั่นเป็นเหตุให้ใจตั้งมั่นไม่คลอนแคลน ปล่อยวางความลังเลสงสัยอะไรทั้งหมดและจิตจะรวมเข้ามาอยู่ในคำบริกรรมพุทโธ ๆ ๆ
"มีสติควบคู่กับพุทโธเท่านั้น" ตลอดเวลา จะยืน เดิน นั่ง นอน หรือประกอบกิจการงานอะไรทั้งหมด "ก็จะมีสติรู้เท่าอยู่กับพุทโธอย่างเดียว" ผู้ภาวนาสติยังอ่อนอุบายยังน้อย "ต้องยึดคำบริกรรมพุทโธเป็นหลัก" ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะภาวนาไม่เป็น หรือเป็นไปแต่ยังจับหลักไม่ได้ .. "
"ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ"
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ -
เทคนิคการทรงภาพพระ ( บรรยายธรรมโดย หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ )
เทคนิคการทรงภาพพระ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ -
"เมตตา มุทิตาที่ผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"เมตตา มุทิตาที่ผิด"
" .. เมตตาขาดอุเบกขาก็ผิด กรุณาขาดอุเบกขาก็ผิด มุทิตาขาดอุเบกขาก็ผิด "เมตตากรุณาที่ผิด" ก็เช่น "ปรารถนาให้เขาเป็นสุข" พยายามช่วยให้พ้นทุกข์เต็มกำลังความสามารถ "เมื่อทำไม่ได้ดังปรารถนาก็เป็นทุกข์ เพราะไม่วางอุเบกขา" เช่นนี้แหละผิด
แต่ถ้าทำเต็มสติปัญญาความสามารถโดยควรแล้ว "แม้ไม่เกิดผลดังปรารถนา ก็วางอุเบกขาเสียได้" ไม่เร่าร้อนด้วยความปรารถนาต้องการจะให้สมมุ่งหมายเช่นนี้ "ก็เป็นเมตตากรุณาที่ไม่ผิดที่ถูก"
"มุทิตา" ความพลอยยินดีด้วยก็เช่นกัน "มุทิตาที่ผิด" ก็เช่น "ไปพลอยยินดีด้วยกับการได้การถึง ที่ไม่สมควรทั้งหลาย" การได้การถึงที่ผิดที่ไม่ชอบเช่นนั้น "ผู้มีมุทิตาที่แท้จริงในพรหมวิหาร จะวางใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ได้ด้วยอุเบกขา" ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแม้ด้วยมุทิตา .. "
"แสงส่องใจ" ๓ ตุลาคม ๒๕๒๖
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ -
จักกวัตติสูตร.กับสิ่งที่เกิดขึ้น(ในปัจจุบัน)- "จงมีตน มีธรรม เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง"
=AZULbVvJRkm2YRj-o-0YjrdWdBRMpa456vhxBke_r_-j0HSkLnOl9I5gclpUdttVGa_BAW7BTxYMnF2erfatTmH6q_Nu5sAzmN7p1WJo2FJ5zZkC9Ngay_mqpnnkkPCNJVmQ90We1VLBZ_M-fzCxBRPx9wIWIcwaV45c-l0M1XgJCD4F7jh2OkrL3_5yK6G3Kfg&__tn__=*NK*F']#จักกวัตติสูตร ....ว่าด้วยมนุษย์แต่ละยุค
-----------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
------------------------------------
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง... -
รับข่าวอย่างมีสติคือรับสาร ไม่ใช่รับอารมณ์มาปรุงแต่งเพิ่ม
พระอาจารย์กล่าวว่า "ช่วงนี้พระพุทธศาสนาของเราค่อนข้างจะสั่นคลอน เพราะว่าสื่อสังคมต่าง ๆ ทำให้ข่าวไปถึงได้เร็วแล้วก็ง่าย แต่การรับข่าวของพวกเราก็ควรที่จะรับอย่างมีสติ คำว่ามีสติในที่นี้ก็คือ อย่าไปใส่อารมณ์ตามเนื้อข่าว ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม ถ้าเราไปใส่อารมณ์ตามเนื้อข่าวเมื่อไร โอกาสที่เราจะขาดทุนมีสูงมาก
โดยเฉพาะบรรดาท่านทั้งหลายที่ไปลงความเห็นในลักษณะของการตำหนิติเตียนหรือด่าว่าพระสงฆ์ การที่เราตำหนิติเตียนหรือด่าว่าพระสงฆ์ ท่านยิ่งบริสุทธิ์เท่าไร โทษก็ยิ่งหนักเท่านั้น
ถ้าหากว่าจะดูตัวอย่างในพระธรรมบท ซึ่งเศรษฐีไปด่าพระที่ต้องอาบัติปาราชิก ขาดความเป็นพระไปแล้ว ปรากฏว่าเศรษฐีต้องไปเกิดเป็นเปรตอยู่ในหลุมขี้ ก็เพราะว่าคนอื่นทำผิดทำชั่วก็จริง แต่พอเราไปด่าว่า เราก็ทำชั่วไปด้วย ก็คือทำชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจนั่นเอง การไปจ้องจับผิดผู้อื่นเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำอยู่แล้ว การด่าว่าจิตก็ต้องประกอบไปด้วยโทสะ โมหะ
ดังนั้น...เมื่อตายไปเศรษฐีก็เลยกลายเป็นเปรต เหมือนอย่างกับว่าคนอื่นหาทางลงอบายภูมิ เราเห็นเข้าเราก็โดดตามลงไปด้วย ทั้ง ๆ ที่ตัวเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำเช่นนั้น... -
"ไฟราคะดับยาก" (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)
.
"ไฟราคะดับยาก"
" .. พระพุทธศาสนาเน้นลงเบื้องต้น "กล่าวเรื่องไฟราคะดับยากและก็ไหม้จิตใจแบบอบอวลนิ่มนวล" เหมือนไฟเผาถ่านที่อบไว้
จะบรรเทาและดับได้ "ก็เนื่องด้วยการพิจารณาร่างกายที่เปื่อยเน่าและสกปรกโสมมให้เห็นชัด" ทั้งกลิ่นและสีและลักษณะที่อยู่ให้เห็นเป็นของโสโครกจริง ๆ "จนเป็นนิมิตติดตา" เนืองนิจแยบยล "จนถอนอาลัยว่าสวยงามในขันธสันดานดวงใจได้เด็ดขาด" .. "
"รวมคำสอนบูรพาจารย์"
(หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)
https://nippanang.com/ -
ปฏิบัติธรรมแล้วทำไมใจยังเร่าร้อน ? / วิสัชนาโดยพระมหาวรพรต
ปฏิบัติธรรมแล้วทำไมใจยังเร่าร้อน ?
เดินจิต -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๕ -
"เราต้องทำ ต้องฝึกตัวเอง" (หลวงปู่ลี กุสลธโร)
.
"เราต้องทำ ต้องฝึกตัวเอง"
" .. ถ้าจะบริกรรมพุทโธ "ก็ให้อยู่กับพุทโธ" ถ้าจะพิจารณา "ก็พิจารณาตั้งแต่เกศาลงมาจนถึงพื้นเท้า" พิจารณาดูซิอย่าให้มันออกจากนั้น "ธรรมเกิดก็เกิดอยู่ที่นี่" ทำอย่างไรมันถึงจะเป็นไปได้ เราก็ต้องทำ ต้องสอนตัวเอง ฝึกตัวเอง
"ผู้ที่จะเห็นอรรถเห็นธรรมจริง ๆ ก็คือตัวผู้ฝึกเอง" พระพุทธเจ้าท่านเพียงแต่บอกทางเท่านั้น จะรู้ก็รู้ตัวผู้ปฏิบัติเอง พอเราค้นคิดพิจารณาไป ก็พอรู้ขึ้นมา ก็นึกได้ว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเทศน์ให้เราฟังมาแล้ว "มีแต่ตัวเราต้องลงมือปฏิบัติทำเอาเอง"
"เรื่องการภาวนา ไม่เหมือนฝ่ายปริยัติ" ท่องจำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ท่องเหมือนสวด ปาฏิโมกข์ก็ท่องได้ ถ้าได้เรียน แต่ด้านจิตใจของเรามันต่างกัน การโปรดชาวโลกก็แตกต่างกัน .. "
"ธรรมลี เศรษฐีธรรม"
(หลวงปู่ลี กุสลธโร) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๕ -
"ความเกิดเป็นต้นตอของทุกข์" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"ความเกิดเป็นต้นตอของทุกข์"
" .. การหนีจากกองทุกข์ของพระพุทธเจ้า "พระองค์มิได้สอนให้หนีด้วยการไม่เหลียวแลทุกข์ หนีด้วยการเกลียดชังหรือไปด้วยยานพาหนะต่าง ๆ" แต่พระองค์สอนให้เพ่งดูทุกข์ซึ่งเป็นของมีอยู่ "จนรู้จักต่อต้านเหตุที่ให้เกิดทุกข์" เช่น เห็นว่า "ความเกิดเป็นต้นตอของทุกข์ทั้งหลาย"
ความเข้าไปยึดเอาสิ่งนั้น ๆ มาเป็นของตัว "เพราะความไม่รู้เท่าตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้ได้เสวยทุกข์ตลอดกาล" ผู้มารู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาอันชอบแล้ว "ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงแล้วจะมีทุกข์มาจากไหน" .. "
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://tesray.com/three-dhamma-forces/ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ (รอบค่ำ)
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ (รอบค่ำ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ (ช่วงทำบุญเช้าวันพระ)
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ (ช่วงทำบุญเช้าวันพระ) -
"บรรเทาราคะตัณหาลงได้" (หลวงปู่หรียญ วรลาโภ)
.
"บรรเทาราคะตัณหาลงได้"
" .. แม้เป็นคฤหัสถ์ "ถ้าหากว่ามาพิจารณาร่างกายนี้เป็นอารมณ์ มันก็จะบรรเทาราคะตัณหาลงได้" จะไม่ประพฤติผิดมิจฉาจารกรรม "หรือว่าจะไม่ไปทำชู้กับสามีหรือภรรยาของผู้อื่น" ถ้าบุคคลใดเป็นผู้ปล่อยให้ราคะตัณหาครอบงำจิตใจอย่างรุนแรงแล้ว "มันย่อมดิ้นรนแสวงหาไปไม่เลือกเฟ้นเลย ไม่คำนึงถึงว่า มันจะเป็นบาปเป็นโทษ" ไม่คำนึงเลย
เมื่อความรักมันครอบงำจิตใจแล้ว "มันทำให้ใจมืด ใจบอด มองไม่เห็นโทษเห็นภัยอะไรเลย" ถ้าเป็นพระเป็นเจ้าก็เหมือนกัน "ถ้าปล่อยให้ราคะตัณหา ครอบงำจิตใจอย่างรุนแรงแล้ว มันก็อยู่ไม่ได้ในพรหมจรรย์นี้" หรือถ้าอยู่ไป "ก็จะประพฤติผิดพระวินัยเข้าไปอย่างร้ายแรง กระทำให้ชีวิตนี้อับเฉาลงไป" ไม่ได้ผลจากการประพฤติพรหมจรรย์นี้เลย .. "
"ธรรมโอวาทหลวงปู่หรียญ"
(หลวงปู่หรียญ วรลาโภ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ -
"รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
.
"รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย"
" .. คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั้นเอง "คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมาย ก็เพราะกิเลสมีมากมาย" แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียวคือพระนิพพาน
"การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก" หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป "เราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้" แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนานเพี่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้
ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว "รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป" เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน .. "
"หลวงปู่ฝากไว้"
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) -
ลมหายใจสุดท้ายของแม่...
=AZWjGucmrSqaiqdnbSJDc3sj8ONzZ_vW4j6L2MRzTdi89e5j3MmfcG0OAeJVARVldYmZR8BwYEUNyAhMT0ze-NCcJOu5fj3qOFfw9vnoPiYcDBB7ZLvXxFdf7ODCO33EHSXlsB9ybux5MIU4zMo17KEfR6DFbDeGXa_yk_o-uCqlsfAmsp69_jlU2jU8MGtMjEU&__tn__=*NK*F']#ลมหายใจสุดท้ายของแม่...
ฝนจะตกไหมนี้?
พระเณรในวัดช่วยกันไล่เก็บผ้าที่ซักตากไว้
เพิ่งจะบ่ายสองเอง แต่ฟ้ามืดสนิท จากเมฆฝนที่เคลื่อนมาปิดท้องฟ้า ตามมาด้วยลมเย็นๆ คงจะเป็นเพราะฝนตกที่ไกลๆสักที่ ลมพัดมาจึงเย็น
ที่วัดมีหมาจรจัดตัวหนึ่งมา แอบอาศัยท้ายวัด
มันออกจะขี้กลัว จึงชอบแอบหลบๆเวลาหิวก็
จะออกมาที แต่มาช้าไม่ทันกินข้าวที่เณรทำให้หมา
กินเท่าไหร่ มันเป็นหมาเพศเมียพวกเณรชอบเรียก
นางสร้อยทอง เพราะขนมันออกจะสีทองน้ำตาล
...
เมื่อวันก่อน มันถูกรถชน มีวัยรุ่นกลุ่มซิ่งรถมอไซต์
ชนกลางตัวมัน ดีที่เด็กวัยรุ่นไม่เป็นไร
อีสร้อยทอง มันคงเจ็บเลยหนี ซ้อนตัวไปในป่าท้ายวัด
...ฝนตกลงมาจริงๆ ตกเยอะด้วย คงจะเป็นห่าสุดท้ายก่อนที่จะเข้าหน้าหนาว บ้านผมอยู่ใกล้วัด
ผมชอบเข้าไป นั่งเล่นคุยกับพวกพระเณร
อยู่ๆ น้องเณรตะโกนว่า...
เงียบๆ ได้ยินไหมเสียงอะไร?
ทุกคนเงียบเพื่อจะฟังเสียงนั้น
"ใช่... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ -
การปฏิบัติของเราจะมีตัวทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา
การปฏิบัติของเราจะมีตัวทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ทุกวินาทีสามารถมาได้ตลอด สติสัมปชัญญะต้องสมบูรณ์จริง ๆ ไม่อย่างนั้นก็แพ้เขา ข้อสอบมาใน ๔ แง่ รัก โลภ โกรธ หลง แค่นี้ แต่ออกมาได้เป็นแสนเป็นล้านข้อ อย่าคิดว่ามาแบบนี้เรารู้ทันแล้วเขาจะมาอีก...ไม่มาหรอก เขาจะไปอีกแง่หนึ่ง ถ้าตั้งหลักไม่ทันก็เสร็จเขา
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
หน้า 65 ของ 414