คลังเรื่องเด่น
-
"ทุกข์เพราะขันธ์ห้า" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
.
"ทุกข์เพราะขันธ์ห้า"
" .. "เมื่อดวงจิตยังอาศัยอยู่ในขันธ์ห้าตราบใด ความทุกข์ก็มีอยู่ในตราบนั้น" ดวงจิตนี้หลุดพ้นออกจากขันธ์ห้าแล้ว "ไม่ได้ไปเกิดในขันธ์ห้าอื่นต่อไปอีก นั่นแหละ จึงจะหมดทุกข์" ให้เข้าใจอย่างนั้น
"ความแก่ ความชรา ความเจ็บปวยไข้ ก็เพราะอาคัยมีรูปมีกายอันนี้แหละ" มีความแก่ ความเจ็บป่วยไข้ ถ้าไม่มีรูปมีนามอันนี้แล้ว ก็ไม่มีความเจ็บป่วยไข้ ตลอดถึงความตายก็ไม่มี .. "
"ธรรมโอวาท ๒"
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ -
ถอนคำอธิษฐานที่ไม่ดีในอดีต
ถอนคำอธิษฐานที่ไม่ดีในอดีต -
สวดให้นิ่งคือตัดภพชาติถ้าจะสร้างบารมีสวดให้เพลิน
สวดให้นิ่งคือตัดภพชาติ ถ้าจะสร้างบารมีสวดให้เพลิน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
อานันทเศรษฐี ไปเกิดเป็นปีศาจคลุกฝุ่น ( เทศนาธรรมพระอาจารย์คม อภิวโร )
อานันทเศรษฐี ไปเกิดเป็นปีศาจคลุกฝุ่น
( เทศนาธรรมพระอาจารย์คม อภิวโร ) -
"ปลงกรรมฐาน" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"ปลงกรรมฐาน"
ถาม : ในครั้งพระพุทธเจ้า "เวลาคนตายแล้วนิมนต์พระไปสวด กุสลา มาติกา" ดังนี้ไหมปู่
ตอบ : มี "แต่ท่านไปปลงกรรมฐาน" พิจารณา "ซากศพที่ตายแล้วเป็นอสุภะอสุภัง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่จีรังยั่งยืน กลายเป็นซากเป็นศพ เปื่อยเน่าผุพังหาสาระแก่นสารไม่ได้ "แล้วนึกน้อมเข้ามาสู่ตัวว่า จะต้องเป็นเช่นเดียวกัน" เพื่อได้สติปัญญาจากซากศพนั้น ไม่ประมาท
"บางรายได้สำเร็จมรรคผลเพราะการพิจารณาซากศพนั้นก็มี" ท่านจึงสอนให้พระไปเที่ยวกรรมฐานตามป่าช้า ซึ่งถือเป็นธุดงควัตรเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ "นี่มีในธุดงค์ ๑๓ ข้อ" ค้นดูก็ยังได้ ..
"อนาลโย" ผู้ไม่มีความอาลัย
หลวงปู่ขาว อนาลโย -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพวกเรา ที่เจ้าหนี้คือกิเลสมันตามทวง รวมทวงกันชาตินี้
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพวกเรา ที่เจ้าหนี้คือกิเลสมันตามทวง มีอะไรบ้าง มันก็มารวมทวงกันชาตินี้แหละ
ตัดใจเสียนะลูกรัก คิดว่าเรารวมใช้หนี้มันเท่าที่เราจะพึงมี มันอยากทวงก็เชิญให้มันทวง เราจะยอมลำบากเพียงชาตินี้ชาติเดียว ต่อไปเราพ้นภัย คือเข้านิพพานกันก็หมดเรื่อง จงคิดว่าขณะนี้เรากำลังถูกเจ้าหน้าที่ใช้งานเราเพื่อลบล้างหนี้ เมื่อหนี้หมด เรามีความสุข คิดอย่างนี้ใจจะสบาย... มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า โลกไม่มีความสุข เอาอะไรแน่นอนไม่ได้ อะไรเกิดขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา "ช่างมัน" ต่อสู้กับมันโดยธรรมจนกว่าจะสิ้นลมปราณ ใจจะมีอารมณ์เป็นสุข
จากหนังสือ พ่อสอนลูก เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน คัดลอกโดย ด.ญ. ปุณยนุช ขจรนิธิพร -
อยากได้อภิญญา
อยากได้อภิญญา ....
( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ..ตอบปัญหาธรรม )
ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกได้มาฝึกมโนมยิทธิที่ซอยสายลมแล้วปรากฏว่า ชัดเจนแจ่มใสดีเป็นอย่างมาก..
~ แต่ว่าความโลภของลูกอีกซิ มันอยากจะได้ให้ดีกว่านั้น วงเล็บ คือ อยากจะได้อภิญญา ๖ ..
~ วันหนึ่ง ลูกขึ้นไปพบพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ท่านบอกว่า.. เคยเป็นพ่อของลูกมาช้านาน ท่านสอนกสิณทั้ง ๑๐ กองในเวลาเดียวกัน..
~ แล้วบอกว่า.. เอ็งต้องใช้เตโชกสิณ.. จะได้ดีเป็นอย่างมาก ลูกอยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า..
~ ถ้าลูกฝึกเหมือนอย่างข้างบน โดยฝึกข้างล่างอย่างนี้แล้ว ชาตินี้จะมีโอกาสได้อภิญญา ๖ หรือเปล่าครับ..
หลวงพ่อฯ : เป็นยังไง ฝึกข้างบน ฝึกข้างล่าง.. ฝึกข้างบน ฝึกข้างล่างเป็นไง.. ถ้าพุทธเจ้าตรัสมา ทำตามนั้นนะ อย่าถามคนอื่น..
ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ฆราวาส นี่ มีสิทธิ์ได้อภิญญา ๖ หรือครับ..
หลวงพ่อ : โอ้ย.. เยอะแยะไป อภิญญา ๖ นั่นหมายความว่า ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เรียกอภิญญา๖ ถ้าอภิญญาโลกีย์ แค่อภิญญา ๕ ใช่ไหม.. อาสวักขยญาณ นั่นคือ ตัดกิเลสได้ พระโสดาบันขึ้นไป ถือว่าตัด..
ผู้ถาม : งั้นคนที่ถามนี่... -
อารมณ์เบื่อหน่ายวันละนาที
⚜️อารมณ์เบื่อหน่ายวันละนาที⚜️
รวมความว่าเมื่อเห็นว่าร่างกายมีสภาพอย่างนี้ก็เกิด นิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย ตอนนี้เป็นตอนที่ ๑ ของพระพุทธเจ้าท่านนะ เพราะว่ามหาสติปัฏฐานสูตรหวังอนาคามีเป็นเบื้องต้น และหวังอรหันต์เป็นขั้นสุดท้าย หวัง ๒ อย่าง ไม่ได้หวังโสดาบันหรือสกิทาคามี ในเบื้องแรกก็เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย เบื่อตรงไหนล่ะ เบื่อที่ร่างกายประคบประหงมขนาดไหนก็ตาม มันก็แก่ทุกวันในที่สุดมันก็ตาย ความไม่ทรงตัวความเปลี่ยนแปลงความเสื่อมไปของร่างกายเป็นอย่างนี้ และปกติของร่างกายก็เต็มไปด้วยของสกปรกโสโครก อุจจาระปัสสาวะก็ดี น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ก็ตาม ทั้งหมดนี้มันเป็นของโสโครก เป็นของน่าเกลียด ตอนนี้เป็นอสุภสัญญา เมื่อเป็นอย่างนี้เกิดความรังเกียจเกิดขึ้น ความเบื่อก็เกิด ในเมื่อความเบื่อเกิดจิตจะยับยั้งก็จะเริ่มเกิด ในระยะที่ความเบื่อเกิดขึ้น ญาณในวิปัสสนาญาณ ๙ เกิดขึ้น เรียกว่านิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย อันนี้เป็นสมุฏฐานของพระอนาคามี
ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำนะ อย่าจู่โจมเกินไป จู่โจมมากเกินไปบอกว่าเบื่อร่างกาย เบื่อร่างกาย เห็นเจ๊งมาหลายรายแล้ว เบื่อถึงที่สุดๆ ก็เจ๊งไปเลย... -
โกรธได้แต่อย่าผูกโกรธ
โกรธได้แต่อย่าผูกโกรธ
.....สิ่งใดก็ตาม ใครก็ตาม ทำให้เราไม่ชอบใจเราก็มีความรู้สึกแต่ว่านึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ ไม่ถือโทษโกรธเคือง
.....โกรธแต่ทว่าไม่ผูกโกรธ
.....อาการไม่ผูกโกรธของเราเป็นปัจจัยให้เขามีความสุขและเราเองก็มีความสุขถือว่าเป็นเรื่องของธรรมดาคนเราเกิดมานั้นจะดีทุกอย่างเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้นเมื่อรู้ว่าเขาเลวเราก็ให้อภัยกับเขา
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง -
ถ้ายังเกิดตราบใด เราก็ต้องยังมีความทุกข์ตราบนั้น
“ …. ถ้าบุคคลทั้งหลายรู้สภาวะความเป็นจริงว่า เกิดมาแล้วมันมีแต่ความทุกข์ ทุกข์เพราะอาหาร ทุกข์เพราะการบริหารงาน ทุกข์เพราะการกระทบกระทั่ง ทุกข์เพราะการป่วยไ้ข้ ทุกข์เพราะความแก่ ทุกข์เพราะความตาย ทุกข์เพราะการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้นนี่มันเป็นตัวทุกข์ รู้แล้วว่ามันจะต้องทุกข์ เราก็ทำให้มันไม่ทุกข์เสีย กระทบอะไรเข้าก็รู้สึกว่า อ้อ..ไอ้นี่มันธรรมดา เรารู้อยู่แล้ว
และเราก็คิดต่อไปด้วยว่า ทุกข์น่ะเราจะให้มันมีแต่เพียงชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น ชาติต่อไปไม่ให้มันมีอีก. หมายความว่าเราจะไม่ให้มันเกิดเพื่อทุกข์อีก ถ้ายังเกิดตราบใด เราก็ต้องยังมีความทุกข์ตราบนั้น …”
คำสอนโดย: หลวงพ่อฤาษีฯ (พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง
พิมพ์ธรรมทานโดย : คณะเรือดำน้ำมุ่งสู่นิพฺพาน -
นิโรธสมาบัติช่วยดับทุกขเวทนา
นิโรธสมาบัติช่วยดับทุกขเวทนา
ความจริง นิโรธสมาบัติ อย่างฉันก็เข้าของฉันอยู่เรื่อย ๆ ถ้าวันไหนฉันไม่สบายมากฉันก็เอาแล้ว เพราะอะไร
เพราะ นิโรธะ มันแปลว่า ดับ ดับทุกขเวทนาใช่ไหม นี่นักเลงหนี ถ้าอารมณ์อ่อน พอป่วยปั๊บท่าไม่ดีเข้า ก็หนีไปนอนบ้านเลย ต่อมามันมีความเข้มพอ เข้มพอมันไม่หนีมันสู้ ถ้าเวทนามามากเท่าไหร่ มันสู้มากเท่านั้นคือสู้จนกระทั่งไม่รู้สึกในด้านเวทนา
แต่ว่าถ้าใครไปเรียกรู้นะ ถ้าใครเรียกบางทีนอนเฉย ๆ ไอ้พวกนึกว่าจะตายซะแล้ว อ้าว ! ดันไปเรียก พอเรียกเราก็รู้สึกเจ็บล่ะซิ มันก็รู้สึกเจ็บ ถ้าไม่เรียกมันไม่รู้สึก ถ้าเรียกปั๊บจากฌานมันก็ถอย เมื่อฌานถอยจิตมันก็จับกับประสาท ไอ้ความเจ็บปวดนี่มันเรื่องของประสาท พอจิตมันเข้าโยงกับประสาทมันก็รู้สึก ถ้าจิตไม่เข้าโยงกับประสาทมันก็ไม่รู้สึกเจ็บ
เออ..ทุกองค์นะ เดินยามอยู่เวรนี่หัด ! อย่าไปอยู่กับมันเฉย ๆ จงกรมหากินเรื่อย ๆ ไป ฮึ ! เจ้ากรม เจ้ากรม อย่าไปเข้าสมาบัติเป็นลมนะ (หัวเราะ) ไอ้นี่ฉันทำไม่ได้ คุณเก่งกว่าฉัน (หัวเราะ)
คุณประดิษฐ์ ว่าง ๆ ก็ฝึกกับ เจ้ากรม นะไอ้นี่ฉันสู้ท่านไม่ได้
การฝึกเข้า... -
ในสายตาของคนอื่นเขาอาจจะเห็นว่าลูกเลว
ในสายตาของคนอื่นเขาอาจจะเห็นว่าลูกเลว แต่ขอลูกทั้งหลายจงคิดว่า นั่นเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิดของบุคคลแต่ละคน แต่พ่อเองมีความรู้สึกว่า...
คนจะดีหรือคนจะเลว มันขึ้นอยู่กับกฎของกรรม ก่อนที่เราจะเกิดมานี่ เราทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ขณะใดถ้าทำกรรมที่เป็นอกุศลมันให้ผล ขณะนั้นลูกของพ่อก็อาจจะมีความคิดผิดพูดผิด กระทำผิดไปได้ เป็นของธรรมดา
แต่ในขณะใดที่เป็นกุศลกรรมให้ผล บรรดาลูกรักของพ่อ ก็จะทำถูก คิดถูก พูดถูกอยู่เสมอ เรื่องนี้ถึงแม้ตัวของพ่อเอง ก็ประสบมามาก จึงไม่มีความรู้สึก
เมื่อลูกรักบางท่าน บางคน คิดพลาด พูดพลาด กระทำพลาดไป ถือว่านั่นเป็นกฏของกรรมเดิมที่เราทำมาแล้วไม่ดี ในชาตินี้เรามาแก้ตัวกันใหม่ พยายามทำความดีเสียทุกอย่าง เพื่อเป็นการหักล้างความชั่วเดิม เพื่อผลที่เราจะพึ่งได้ต่อไป นั่นก็คือ..."พระนิพพาน"
.
.
.
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
✍️จากหนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุงเล่ม ๕ ปกใน -
จับภาพพระไม่จับลม
จับภาพพระไม่จับลม
ผู้ถาม : เวลาเราทำกรรมฐาน เราจับแต่ภาพพระ ไม่จับลมหายใจ
อย่างนี้จิตจะเข้าถึงฌาน ได้ไหมครับ..?
หลวงพ่อ : คงไม่ได้ ขอยืนยันว่าไม่ได้แน่นอน ความจริงคนที่คล่องแล้วจริงๆ
เขาเรียกว่า "#ผู้ทรงฌาน"
มันจับไปพร้อมกันทั้งรูปพระ และลมหายใจเข้าออก พอจิตเข้าถึงฌานก็ตัดไปเลย ถ้าไม่จับลมหายใจเข้า-ออก
นิวรณ์ก็กวน จิตเป็นสมาธิไม่ได้
จับแต่ภาพเฉย ๆ จิตก็ทรงตัวไม่ได้นาน.
---------------------
ตอบปัญหาธรรม : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
วัดท่าซุง ธัมมวิโมกข์ เล่มที่ ๗๕ หน้า ๘ -
ปล่อยอารมณ์
ปล่อยอารมณ์
อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูทรงแนะนำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทพากันปล่อยจิตไปตามอารมณ์ มันอยากคิดนี่ ควบคุมไม่อยู่แล้วปล่อยให้มันคิดไป แล้วเราเอากำลังใจเข้าควบคุมไว้ มันจะคิดไปไหนให้มันคิดไป แล้วถ้ามันเลิกคิดเมื่อไรเราจะใช้งานให้เป็นสมาธิทันที
ท่านอุปมาเหมือนกับคนที่ฝึกม้า ม้าตัวพยศ ทำยังไงขณะที่มันมีแรง เอาเข้าทางไม่ได้ จะฝึกให้เป็นไปตามอัธยาศัยที่เราต้องการไม่ได้ ในเมื่อไม่ได้จริงๆ ก็กอดคอมันไว้ ปล่อยให้มันวิ่งไปตามอัธยาศัย มันอยากพยศ วิ่งไปวิ่งไปถ้ามันหมดแรงเราก็จูงเข้าทางมันหายพยศเพราะไม่มีแรงจะพยศ นี่กำลังจิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันซ่านจริงๆ บังคับไม่อยู่ก็อย่าไปยุ่งกับมัน ดีไม่ดีจะเป็นโรคประสาทตาย ท่านบอกให้ปล่อยไปปล่อยมันแล้วก็ควบคุมเข้าไว้ มันเลิกคิดก็ไม่เกิน ๒๐ นาทีเป็นอย่างมาก นี่เคยลองมาแล้ว เลิกคิดปั๊บจับอารมณ์สมาธิทันที
พอเลิกคิดปั๊บจับอารมณ์เป็นสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คราวนี้เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้นอารมณ์มันจะดิ่งทรงเข้าเป็นฌานทันที มันจะนิ่งสบาย ดีไม่ดีครึ่งชั่วโมงหนึ่งชั่วโมงไม่อยากเลิก อารมณ์มันสบาย มันเป็นฌาน นี่เป็นการฝึกสมาธิเบื้องต้น... -
งานศพหลวงพ่อปาน
“งานศพหลวงพ่อปาน”
เมื่อหลวงพ่อปานตายแล้วก็ปรากฏว่าค้นเงินได้ ๘๐ บาท ไม่ต้องค้นที่ไหนหรอก ฉันเป็นคนเก็บ ทีนี้หลวงพ่อมีหนี้อยู่ ๔,๐๐๐ บาท สมัยนั้นหนี้สินสี่พันบาทไม่ใช่เรื่องเล็ก เจ้าหนี้ก็มาพอดี ก็ถามว่าเจ้าหนี้จะเอาเมื่อไหร่ก็บอก แต่ว่าอาตมาเห็นจะต้องขอเวลาพยายามบอกบุญมาใช้หนี้
ทุกคนประกาศยกหนี้หมด ไม่เอาแล้ว ไม่มีใครเอาหนี้กับหลวงพ่อ แล้วก็ถามด้วยว่างานศพนี่จะทำยังไง อาตมาน่ะไม่มีเงิน หลวงพ่อมีเงินอยู่ ๘๐ บาทเท่านี้ ค้นที่ไหนอีกก็ไม่มีแล้ว เขาก็บอกว่าท่านจะเอายังไง บอกเรื่องงานนี้ขอให้บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทุกคนจัดกันให้พร้อมกัน อาตมามีแต่เสียงอย่างเดียว แล้วก็ยังเป็นเด็กเป็นพระย่างเข้าพรรษาที่สอง เวลานั้นปรากฏว่ามีใครล่ะเป็นผู้ใหญ่ มีพระยาศรยุทธเศรณีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการ แล้วก็อีตาพระยาอะไรจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว อ้อ พระยานิติศาสตร์ไพศาลเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ แล้วก็มีรัฐมนตรีอยู่ ๒-๓ คน แล้วก็มีนายประยงค์มีคุณหลวงคุณพระเยอะแยะ ใครต่อใครอีกจำไม่ได้
อีตาหนวดโง้งก็มา พระยาศรีสงครามก็มา ตาหนวดโง้งๆ เมื่อเป็นฆราวาสไม่ค่อยถูกกัน แกดุแล้วแกก็ไม่กล้าทำเรา ไอ้แกดุ เราแกร่ง... -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนธันวาคม ๒๕๖๕
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ -
การปฏิบัติธรรมนั้น การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
โดยเฉพาะท่านทั้งหลายที่เป็นพระเป็นเณร สิ่งที่รบกวนเราอย่างมากประการหนึ่งก็คือเพศตรงข้าม แค่เราเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายก็แย่แล้วครับ เพราะว่าใจปรุงแต่งไปแล้ว ทำอย่างไรที่เราจะสักเห็นว่าเป็นรูป สักแต่เห็นว่าเป็นธาตุ ไม่มีอะไรเป็นหญิงเป็นชาย
ก็แปลว่า สติเราต้องรู้เท่าทันว่าถ้าคิดแล้วจะเกิดโทษอย่างไร สมาธิต้องมีกำลังเพียงพอที่จะหยุดยั้งการคิดนั้นได้ ปัญญาต้องรู้ตัวว่าตอนนี้เรากำลังจะคิดในสิ่งที่ไม่ดี ถ้าหักห้ามไม่ได้ ก็เปลี่ยนมาคิดในสิ่งที่ดีแทน อย่างเช่นว่าคิดถึงคุณพระพุทธ คิดถึงคุณพระธรรม คิดถึงคุณพระสงฆ์ เป็นต้น
หลังจากนั้น พระองค์ท่านยังสอนเราให้รู้จักประมาณในการกิน กินมาก กินอิ่ม กินล้น กินเกิน มีแต่โทษทั้งนั้น แม้กระทั่งวิทยาการสมัยใหม่เขาก็ยังค้นพบว่า ร่างกายของเราจะมีสุขภาพดี ถ้าปล่อยให้หิวเสียบ้าง จึงมีข้อแนะนำว่าอย่ากินให้อิ่ม
ถ้าเป็นการปฏิบัติแบบสายวัดป่าก็คือ พอรู้สึกว่าอิ่มก็หยุด แต่คราวนี้ การที่เราจะรู้สึกว่าอิ่ม อาหารต้องลงไปอยู่ในท้องประมาณ ๑๕ นาที แล้วท่านทั้งหลายลองคิดดูว่า ๑๕ นาที ถ้าเป็นพระวัดท่าขนุนน่าจะฉันอิ่มไปสองรอบแล้ว..! ดังนั้น..ของพวกเราถ้ารู้สึกอิ่ม... -
"ทำให้ทุกข์สิ้นไปได้" (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท)
.
"ทำให้ทุกข์สิ้นไปได้"
" .. เราทุกคนที่เกิดมา "ถูกความเกิดแก่ เจ็บ ตาย ความโศก ความเศร้า ความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจครอบงำ" ให้ทราบว่า "เราทุกคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ปรากฏ" อยู่ในเบื้องหน้าเป็นฉาก ๆ เหมือนกำลังเดินฝ่าดงหนาม ให้พากันพิจารณาขึ้นมาในใจว่า "ทำอย่างไร เราจึงจะกำจัดดงหนาม คือทุกข์เหล่านี้ให้สูญสิ้นไปได้"
เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว "จงพากันบริกรรมภาวนา พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ให้เร็ว ๆ ๆ จนจิตนี้ มีหลักคือความสงบเป็นพื้นฐาน" แล้วมาพิจารณาขันธ์ห้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เพราะถ้า "ผู้ภาวนามัวเข้าแต่สมาธิอย่างเดียว จิตจะติดอยู่ในสมาธิ" จะเห็นแต่ความหัศจรรย์ทาง ด้านสมาธิอย่างเดียว ส่วนความมหัศจรรย์ทางด้านปัญญาจะไม่เห็น
"ความมหัศจรรย์ ทางด้านปัญญา เป็นความมหัศจรรย์อย่างแท้จริง" ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องคิดค้น "มีโยนิโสมนสิการเสมอ ๆ ต้องคิดค้นคลี่คลาย จนกระทั่งจิตนี้บื่อหน่ายในขันธ์และในจิต" การภาวนาอย่างนี้ก็จะเห็นผลประจักษ์ใจเอง .. "
"พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง"
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ -
ผ้าไตรจีวรนั้น ภาษาพระเรียกว่าผ้าบังสุกุล
ในเรื่องของผ้าไตรจีวรนั้น ภาษาพระเรียกว่าผ้าบังสุกุล
ปังสุกุละ แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าคลุกฝุ่น คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว สมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ถือว่าเป็นผู้สละแล้วซึ่งทรัพย์สมบัติทั้งปวง มีแต่ตัวเปล่า ก็ต้องไปแสวงหาผ้าเพื่อทำจีวร ต้องเป็นผ้าที่เขาทิ้งแล้ว นำมาซัก มาตัด มาเย็บ มาย้อม กลายเป็นผ้าสำหรับใช้งานของตน
ในสมัยแรก ๆ อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ รูปแบบที่แน่นอนก็ไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้มอบหมายให้พระอานนท์คิดแบบในการทำจีวรให้เหมือนกันขึ้นมา พระอานนท์ได้แนวความคิดขณะที่บิณฑบาตผ่านท้องนา เห็นชาวบ้านเขาทำนา เป็นแปลง มีคันนา ท่านก็เลยมาดัดแปลงเป็นลักษณะของจีวร ซึ่งจะมีผ้าที่เป็นจีวร มีผ้าต่อ มีผ้ากั้น มีผ้าขอบ
ตัวผ้าจีวรก็มีมณฑล ก็คือช่วงที่ยาว และอัฒฑมณฑล ช่วงที่สั้นลงครึ่งหนึ่ง และมีกุสิ ก็คือผ้ากั้นช่วงยาว อัฒฑกุสิ ผ้ากั้นช่วงสั้น และมีอนุวาต ผ้ากั้นขอบ เมื่อออกแบบมา ต้องบอกว่าท่านเป็นยอดของมัณฑกร คิดออกแบบมาสองพันกว่าปีแล้วก็ยังใช้งานได้ดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
ผ้าที่ได้มาชิ้นใหญ่บ้าง ชิ้นเล็กบ้าง ท่านออกแบบมามีทั้งใหญ่และเล็ก อย่างที่บอกว่ามี ๗ ขันธ์ มี ๙ ขันธ์... -
"กลัวสัญญาวิปลาส" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"กลัวสัญญาวิปลาส"
ผู้ถาม : ผมขอกราบเรียนถามว่า "ถ้าหากเกิดสัญญาวิปลาสขึ้นหรือมีการหลงเรื่องนิมิต" หรืออะไรต่ออะไร จะมีทางแก้ไขอย่างไรครับ
ท่านอาจารย์ : มันไม่เป็นง่าย ๆ หรอก "ตั้งเป็นร้อย ๆ พัน ๆ คนที่ภาวนา ก็ไม่เห็นเป็นบ้า" ก่อนจะเป็นภาวนามันก็ยากอยู่แล้ว "ภาวนาเป็นแล้วจะเกิดวิปลาสตอนนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ" เปรียบอุปมาที่เขาเล่าลือว่าเสือกินคน ไม่ทราบกี่สิบปีกี่ร้อยปีจะมีเสือกินคนสักคน พากันกลัวเสือจะกิน "ไม่เป็นไรหรอกขอให้ทำเถิด การหัดสติให้ดีมันจะเป็นบ้าได้อย่างไร" คนเป็นบ้าคือคนไม่มีสติต่างหาก .. "
"ถามตอบปญหา" ประเทศสิงคโปร์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
เจอคนเอาเปรียบจะทำยังไง?⚡โหรทำนายดวงหลวงปู่ดู่
เจอคนเอาเปรียบจะทำยังไง?⚡โหรทำนายดวงหลวงปู่ดู่ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ -
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
หายโศก ภาษาบาลีว่า อโสโก ในมงคลสูตรท่านว่า อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
อะโสกัง ความเป็นผู้ไม่เศร้าโศก คือสภาพจิตมั่นคง ไม่หวั่นไหว วิระชัง ไร้ธุลีมาแปดเปื้อน เขมัง มีแต่ความเกษมชื่นบาน ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้ใจเศร้าหมองได้
ต้องบอกว่าจุดมุ่งหมายของความเป็นมนุษย์ก็คือหายโศก การเข้าถึงความไม่เศร้าโศก เราจะเห็นว่าแม้แต่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างพระเจ้าอโศกมหาราชก็ใช้คำว่า อโศก เป็นผู้ไม่เศร้าโศกแล้ว
แม้แต่หลวงพ่อลีสร้างวัด ก็สร้างชื่อวัดอโศการาม มี ๒ ความหมายด้วยกัน ความหมายแรกท่านคือพระเจ้าอโศกมหาราชมาเกิดใหม่ ความหมายที่สองคือ เป็นอารามหรือวัดแห่งความไม่เศร้าโศก ใครเข้ามาก็ต้องมีแต่ความสุข มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว
พระเจ้าอโศกมหาราช แต่เดิมฉายาว่า จัณฑาโศก อโศกผู้ดุร้าย อโศกผู้โหดร้าย ไม่ว่ารบที่ไหนก็ฆ่าแหลกที่นั่น ไปรบที่แคว้นกลิงครัฐคืนเดียว ฆ่าข้าศึกไปสองแสนกว่า ต้องบอกว่าเลือดท่วมเท้าช้าง ท่านเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา เครียด ตื่นกลางดึก อยู่บนปราสาทชั้นบนก็เดินไปเดินมายันสว่าง ต้องบอกว่าบุญของท่านมาถึง เพราะว่านิโครธสามเณรออกมาเดินบิณฑบาตพอดี
พระเจ้าอโศกเห็นเข้า... -
"ช้างพระโพธิสัตว์" (หลวงปู่ลี กุสลธโร)
.
"ช้างพระโพธิสัตว์"
" .. ช้างตัวใหญ่ ๆ "เป็นช้างพระโพธิสัตว์ อยู่บนภูหลวง ไม่เบียดเบียนพระและคน" มันเดินจากภูหลวงมาทางภูหอ ช้างบริวารรอบล้อมซ้ายขวาอารักขา "เมื่อช้างบริวารเดินผ่านทุ่งนาทำข้าวกล้าชาวบ้านล้มเสียหาย มันจึงตามมาตกแต่งปลูกคืนให้อย่างดี"
ที่มา "พระโพธิสัตว์จุติเป็นสัตว์ก็เพื่อบำเพ็ญบารมี" คำว่า "โพธิสัตว์" คือสัตว์ที่ยังข้องอยู่ในการสร้างบารมีเพื่อพระโพธิญาณ บำเพ็ญเพียรเพื่อความสุขแก่มหาชนเป็นอันมาก "จะจุติเป็นสัตว์หรือมนุษย์ก็ตาม มีพระมหากรุณาแก่สัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง" มีบริวารมาก บรรเทาภัยให้มหาชน ขวนขวายคุ้มครอง
"พระโพธิสัตว์สร้างบารมี ไม่ทิ้งเมตตา เพื่อรื้อขนสัตว์ข้ามวัฏสงสาร" ตัดโลกธรรมใหญ่ จึงสร้างพระบารมีอย่างใหญ่ เกิด ๆ ตาย ๆ ให้เต็มแล้วตรัสรู้ "ขนสัตว์ขึ้นสวรรค์นิพพาน ท่านอดทนมีขันติมากที่สุด" ไม่เอาแง่เอางอนกับมนุษย์และสัตว์ "มีศีลธรรมทุกชาติไป ด้วยมหาเมตตามหากรุณา เต็มเปี่ยมในพระทัย"
หลวงปู่ลีท่านเล่าต่อว่า "ช้างตัวนี้เป็นพญาช้าง นัยน์ตาทั้งคู่สวยงามราวกับแก้วมณี" มีกายสง่างาม พระโพธิสัตว์ปกครองช้างบริวารจำนวนมากให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุข... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ -
การเรียนทางโลก⚡การเรียนทางธรรม
การเรียนทางโลก⚡การเรียนทางธรรม -
"ผู้นั้นบารมีแก่กล้าแล้ว" (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)
.
"ผู้นั้นบารมีแก่กล้าแล้ว"
" .. "ผู้รักใคร่ภาวนาอยู่เป็นเนืองนิจ" เรียกว่า "ผู้นั้นบารมีแก่กล้าแล้ว" ท่านผู้ใดขี้เกียจก็ให้ทราบเถิดว่าบารมียังอ่อนเหลวไหลมาก ฉะนั้น "จึงไม่ควรนั่งควรนอนให้บารมีแก่กล้า"
คำว่านั่งนอน นอนทั้งกายทั้งใจด้วย นั่งก็เหมือนกันยืนเดินนั่งนอนเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถเฉย ๆ "แต่ด้านจิตใจและศรัทธาไม่เปลี่ยนออกจากพุทธ ธรรม สงฆ์ ไปไหนเลย" จะทำท่า ไม่ทำท่า ก็ไม่เป็นปัญหา
"คล้ายกับเกลือ" จะอยู่ถ้วยหรืออยู่ชาม หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม "ก็รักษาความเค็มของตนไว้อยู่อย่างนั้น" จะอย่างไรก็ตาม "ขอให้แบ่งเวลาภาวนา" อย่าให้เสียวันเสียคืน "จิตใจหากจะสูงขึ้นเอง" ไม่ต้องบ่นหา จะชนะความหลงของตนแน่แท้ .. "
"ตอบปัญหาธรรมะ"
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
หน้า 57 ของ 414