คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๖ -
การปฏิบัติธรรมจะได้ผลหรือไม่ได้ผล ดูที่ความตรงต่อเวลาก็พอ
การปฏิบัติธรรมจะได้ผลหรือไม่ได้ผล ดูที่ความตรงต่อเวลาก็พอ คนที่ตั้งใจไปพระนิพพาน เรื่องยุ่งรุงรังทั้งหมดไม่เอาแล้ว เพราะฉะนั้น… ถ้านัดเวลา ก็มีแต่ก่อน ไม่มีหลัง
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
ขอขอบคุณภาพจากคุณ A'tist Toon -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ -
คำสอนของหลวงตาม้า : อธิษฐานสัจจะบารมี
=AZWyrjjAeIMwvodhKSmBSdIBTsk_92_N8brm_PWxSoxr9qxRHmYQ2W-Im59FFR47alf0B8Mw2q0z6eaFbZzYql38Vhpt_XxXl-CiA6WFZ5RddhGRtUxAAL_NelaBcZ8B4DiRJYR5xkx8zH-s_Ru_yX3jc-QTPsdTL6JG85nO4FLpM6-o8tccFmY8hBOsnVNsT4Udpk9S5f3-0LKrLKxrosCBXdsW4Xm2pKtgpdUoG0q9KA&__tn__=%2CO%2CP-y-R']1 มกราคม 2020 ·
คำสอนของหลวงตาม้า : อธิษฐานสัจจะบารมี
หลวงตาท่านเมตตาสอนว่า “เราทั้งหลายควรหมั่นอธิษฐานสัจจะไว้บ้าง แต่ต้องดูเค้าของตัวเองก่อนว่าจะทำได้ไหม โดยให้อธิษฐานจากสิ่งรอบกายที่พอจะทำได้ก่อน เมื่อทำได้แล้ว ก็ให้ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น การอธิษฐานสัจจะบารมีนี้ เป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง เพราะสัจจะบารมีที่เราอธิษฐานนี้ เราสามารถทำได้แล้ว จะได้บารมีอื่นๆ อีกหลายบารมีตามมา เช่น ขันติบารมี ทานบารมี ฯลฯ นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้เราเกิดกำลังใจในการปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นอีก เวลาจะตั้งอธิษฐานจิตให้กล่าวว่า “อิมัง สัจจะวาจัง อธิษฐานมิ”
หลวงตายังบอกอีกว่า “นักปฏิบัติควรจะมีการตั้งจิตอธิษฐาน แต่ก่อนที่จะเริ่มตั้งจิตอธิษฐานนั้น อย่าลืมพิจารณาก่อนว่า สิ่งนั้นๆ เราต้องแน่ใจว่าเราสามารถทำได้ เราต้องเข้มแข็งพอกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น... -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนมกราคม ๒๕๖๖
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนมกราคม ๒๕๖๖ -
"ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ"
" .. กำลังไม่มีที่เปรียบ "คือกำลังที่ยิ่งใหญ่กว่ากำลังอื่นใดทั้งสิ้น" กำลังของความโลภก็ตาม กำลังของความโกรธก็ตาม กำลังของความหลงก็ตาม "ไม่ยิ่งใหญ่เหนือกำลังของศีล"
ขอให้พิจารณาให้ดี "พิจารณาให้เกิดความอบอุ่นใจว่า ศีลจะช่วยให้สามารถชนะกำลังของอะไรอื่นทั้งสิ้น" ไม่ว่าจะเป็นกำลังที่ใหญ่ยิ่งเพียงไหน ความจริงเป็นเช่นนี้ "กำลังของศีลอาจเอาชนะกำลังอื่นใดได้ทั้งหมด" .. "
"แสงส่องใจ ส.ค.ส. ๒๕๔๑"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14509 -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)โอวาทสุดท้ายเพื่อจบกิจ
พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)โอวาทสุดท้ายเพื่อจบกิจ -
"พุทโธเป็นอย่างไร" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
.
"พุทโธเป็นอย่างไร"
.. หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า ..
" .. เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก "ความรู้อะไรทั้งหลาย ทั้งปวงอย่าไปยึด" ความรู้ที่เราเรียนกับตำรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ "รู้จากจิตของเรานั้นแหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง" ต้องภาวนาให้มาก ๆ เข้า "เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง" ความรู้อะไร ๆ ให้มันออกจากจิตของเรา
ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ "เป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง ถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละ" มันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว "อย่าส่งจิตออกนอก" ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง "ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ" พุทโธอยู่นั่นแหละ "แล้วพุทโธนั่นแหละ จะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธนั้นเป็นอย่างไร" แล้วรู้เอง .. เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย .. "
"หลวงปู่ฝากไว้"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
วิธีถอยจากกระแสโลก
วิธีถอยจากกระแสโลก -
"ทำให้เราประมาทลืมตัว" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
.
"ทำให้เราประมาทลืมตัว"
" .. "ใคร ๆ เมื่อเกิดมาแล้วก็ไม่อยากตาย แต่จำต้องตาย" หมดบุญหมดกรรมลงไปเมื่อใดแล้ว อยู่ไม่ได้ "ใครก็ไม่อยากเจ็บป่วยไข้" อยากมีร่างกายสมบูรณ์อยู่ตลอดไป "แต่แล้วมันก็ไม่เป็นไปตามใจหวัง"
"เวลามันอยู่ดีสบาย มันลืมตัว เวลาโรคภัยเบียดเบียนขึ้นมาละก็ทุกข์ร้อน" คนเราเป็นอย่างนั้น "ความประมาท ความไม่ขวนขวายภาวนา ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า" เมื่อเวลามันสบายอยู่ โรคภัยไม่เบียดเบียน "มันทำให้คนเราประมาท ลืมตัว" ไม่ฝึกฝนจิตของตน "ปล่อยให้จิตมัน เร่ร่อนพเนจรไปทั่ว"
ให้จิต "มันหลงรักบ้างหลงชังบ้าง" หลงถือเรา หลงถือเขา หลงถือโน่นถือนี่ "อันนั้นก็ว่าของเรา อันนี้ก็ของเขา" เราเป็นอย่างนั้น เขาเป็นอย่างนี้ เรายากจน เขาร่ำรวย หรือว่าเราร่ำรวย
"คนอื่นเขายากจนก็ดูถูกดูหมิ่นคนยากคนจนไป" มันมีแต่เขา มีแต่เรา อยู่ในใจนี้ "คนหลงคนเมามันเป็นอย่างนั้น" เพราะฉะนั้น "มันถึงได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน" มันจึงพ้นทุกข์พ้นภัยไปไม่ได้ .. "
"ธรรมโอวาทหลวงปู่เหรียญ"
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
ควรจะใช้ชีวิตอย่างไรในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ครับ ?
ถาม : ใกล้จะสิ้นปีแล้ว อยากขอพรหลวงพ่อ ควรจะใช้ชีวิตอย่างไรในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ครับ
ตอบ : ในส่วนของการใช้ชีวิตนั้น ควรที่จะเอาหลักธรรมที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาของเรามาใช้เลย ก็คือในเรื่องของการละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม แล้วก็ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส
แต่คราวนี้ ท่านทั้งหลายที่ฟังอยู่ เราอาจจะเคยชินกับโอวาทปาฏิโมกข์ตรงนี้ แต่ว่าท่านทั้งหลายก็อาจจะตีความไม่ออก คำว่าละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ก็คือให้ท่านเว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
ก็คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ดื่มสุราหรือว่าติดยาเสพติด ตลอดจนกระทั่งเว้นจากการโกหกมดเท็จ เว้นจากการผิดลูกเขาเมียใคร
ตลอดจนกระทั่งในส่วนของการเว้นจากการโกหกหลอกลวงผู้อื่น เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ เว้นจากการกล่าวคำหยาบ และเว้นจากการนินทาส่อเสียดให้คนอื่นแตกร้าวกัน
ในส่วนของมโนทุจริตก็คือ เว้นจากการโลภ การโกรธ ตลอดจนกระทั่งความหลง ซึ่งตรงจุดนี้ได้กล่าวไปแล้วในการบรรยายที่ผ่านมา
สรุปลงในคำเดียวว่า อย่าใช้ชีวิตโดยประมาท คาดว่าขยายความขึ้นมานิดหนึ่งน่าจะเข้าใจกันได้ดีขึ้น... -
ประโยชน์ของการสวดมนต์
ปกิณกธรรมก่อนทำวัตรค่ำ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕
การสวดมนต์ทำวัตร ไม่ว่าจะเป็นทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ มีประโยชน์มหาศาล ส่วนใหญ่แล้วพวกเราบางคนอาจจะรำคาญ ไม่รู้จะสวดไปทำอะไร ภาวนาไปเลยไม่ดีกว่าหรือ ? ถ้าวันไหนกำลังใจของเราฟุ้งซ่าน ไม่ยอมลงให้กับการภาวนา ลองนึกดูว่าถ้าเราสวดมนต์จะช่วยได้ไหม ?
ที่บอกว่าการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมหาศาล ก็เพราะว่าอันดับแรกเลย เป็นการสร้างสมาธิ ถ้าสมาธิไม่ดี จิตใจวอกแวกเมื่อไร จะสวดผิดทันที
ประการที่สอง ถ้าเป็นนักภาวนา ทุกคำที่สวดมนต์คือคำภาวนา เพียงแต่เป็นคำภาวนาที่ค่อนข้างจะยาวอยู่สักหน่อย
ดังนั้น..ถ้าจะให้มีความคล่องตัว ก็ควรที่จะใช้เป็นคำภาวนาที่ไม่กำหนดฐานกระทบของลม ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าเราไม่คล่อง ไม่เก่ง ก็จะมัวแต่ไปกังวลว่าลมหายใจจะผ่านฐานที่ได้กำหนดเอาไว้หรือเปล่า ?
ข้อที่สาม ถ้ามีความคล่องตัวจริง ๆ สามารถทรงฌานใช้งานได้ เนื่องเพราะว่าเวลาสวดมนต์ เราต้องเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะปาก ถ้าทรงอัปปนาสมาธิ คือฌานปกติทั่วไปแล้ว เราจะเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แต่บุคคลที่ซักซ้อมจนมีความคล่องตัวแล้ว สามารถทรงฌานในขณะที่เคลื่อนไหวได้... -
"วจีสุจริต สัมมาวาจา" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"วจีสุจริต สัมมาวาจา"
- เว้นจากการ "พูดเท็จ"
- เว้นจากการ "พูดส่อเสียด"
- เว้นจากการ "พูดคำหยาบ"
- เว้นจากการ "พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล"
คือ "แม้ว่าจะเป็นความจริง" แต่หากว่าเป็น "คำส่อเสียดก่อให้เกิดความแตกร้าว" เช่น "นำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้" เพื่อจะยุให้ทั้งสองฝ่ายแตกกัน "แม้จะเป็นความจริงที่ไม่ควรพูด" เพราะทำให้เขาแตกกัน "เข้าในพวกส่อเสียด"
หรือแม้ว่า "เป็นคำหยาบ" ไม่ได้มุ่งจะหลอกลวงให้เข้าใจผิด "แต่ว่าเป็นคำหยาบคาย" เช่น "เป็นคำด่าว่า เป็นสัตว์ดิรัจฉานอย่างโน้นอย่างนี้" อะไรเป็นต้น
หรือแม้วาจาอย่างอื่น "ซึ่งเป็นการกล่าวกดให้เลวลง" ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และก็ไม่ได้มุ่งที่จะหลอก "แต่ว่ากล่าวด้วยความโกรธ ด้วยความเหยียดหยาม ต้องการจะกดเขาให้เลว" ก็ไม่ควรพูด
และแม้ว่า "เป็นคำที่เพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย" ไม่มีขอบเขตจำกัด หาสาระแก่นสารมิได้ หรือว่ามีสาระแก่นสารน้อยเกินไป "ก็เป็นคำไม่ควรพูด" .. "
"ทศบารมีและทศพิธราชธรรม"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
✨️บุญคืออะไร✨️ลักษณะจิตไม่มีกำลังเป็นอย่างไร✨️ฝึกอย่างไรจะรู้จิตรู้ใจคนอื่นได้ และคำถามอื่นๆ
✨️บุญคืออะไร✨️ลักษณะจิตไม่มีกำลังเป็นอย่างไร✨️ฝึกอย่างไรจะรู้จิตรู้ใจคนอื่นได้ และคำถามอื่นๆ -
เมื่อเทวดาหมดบุญ และ อานิสงส์ของการสร้างพระ
.
เมื่อเทวดาหมดบุญ
และ
อานิสงส์ของการสร้างพระ -
"รักษาใจให้ดีเรียบร้อย" (หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ)
.
"รักษาใจให้ดีเรียบร้อย"
" .. จะเอาทางจิตทางใจก็เอา "แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นี้มีขึ้นที่ใจอย่างเดียว" รักษาแต่ใจอย่างเดียวให้แน่นหนา "รักษาแต่ใจอย่างเดียวตลอดชีวิต รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถสิบ รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์" นี่เป็นเบื้องต้น
เวลาอยู่ในคนหมู่มาก ได้พูดกับคนหมู่มาก บางทีจะลืมตัวไป "จงมองเข้ามาดูใจนี่ ใจนี้เป็นใหญ่ คุมกายกรรม วจีกรรม" ให้รู้เข้ามาในกาย ให้มองมาดูใจนี่แหละ เอาใจนี้เป็นผู้รู้ ใจนี้เองน่ะแหละเป็นผู้หลง
"ใจนี้แหละเป็นผู้ละ ปฏิบัติกายวาจาใจนี่ให้เรียบร้อย" กายนี่ก็ออกไปจากใจนี่แหละ ให้พิจารณา "กายนี่เขาก็ไม่เที่ยง ใจนี่เขาก็ไม่เที่ยง" .. "
"รักษาจิตให้ดี"
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ -
การกราบพระด้วยกายทิพย์
การกราบพระด้วยกายทิพย์ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ -
สร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เอาไว้สู้กับงาน
สร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เอาไว้สู้กับงาน
สมัยที่บวชอยู่กับหลวงพ่อวัดท่าซุงใหม่ ๆ ท่านให้ปฏิบัติให้มากเข้าไว้ ท่านบอกว่าในช่วงแรกเราต้องสร้างกำลังใจของตัวเอง ให้เข้มแข็งที่สุดเท่าที่จะสร้างได้ ถ้าหากว่ามีงานเข้ามาเมื่อไร จะได้มีกำลังไว้สู้กับงาน
ตอนนั้นอาตมาเป็นคนที่ค่อนข้างจะพลังงานเหลือเฟือ ให้ปฏิบัติอย่างเดียวรู้สึกไม่ชอบใจ อยากมีงานในรับผิดชอบเร็ว ๆ ในเมื่อไม่มีงานอื่นทำก็หางานทำเอง
งานแรกที่เท่ากับเป็นความผิดชอบก็คือ กวาดถูศาลานวราชบพิตร เพราะว่าเป็นศาลาที่หลวงพ่อท่านจะต้องลงรับสังฆทานทุกวัน ปรากฏว่าถูศาลาอย่างมีความสุขได้ไม่กี่วัน มีคนมาแย่งทำ เขาคงเห็นว่าพระรูปนี้ขยันอะไรนักหนา ถูอยู่ได้ทุกวัน
ในเวลาทำงานเรากำหนดความรู้สึกตามไปด้วย เวลากวาด เวลาถู ไม้ถู..ไม้กวาด ไปข้างหน้า ไปข้างหลัง แรงหรือเบา ยาวหรือสั้น กำหนดรู้ไปด้วย ก็เท่ากับเราปฏิบัติกรรมฐานไปด้วย ในขณะที่ทำงานตอนนั้นก็คิดว่า กำลังของเราสามารถที่จะทำงานได้
มาในระยะหลัง พอออกจากวัดไปทำงานด้วยตนเอง จึงพอที่จะเข้าใจที่หลวงพ่อท่านว่ามา เพราะว่าการทำงานต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้างก็ดี การบริหารวัดวาอารามต่าง ๆ ก็ดี... -
ฝึกรูปนามแบบง่ายๆ⚡วิธีใช้กำลังจักรพรรดิ
ฝึกรูปนามแบบง่ายๆ⚡วิธีใช้กำลังจักรพรรดิ -
"รู้อะไรไม่เท่ารู้ใจของตนเอง" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
..
"รู้อะไรไม่เท่ารู้ใจของตนเอง"
" .. การอบรมภาวนานั้นหมายความว่า "ทำใจของตนให้เป็นอารมณ์อันเดียว" อยู่ในจุดเดียวให้รู้ใจของตนว่า คิดดีคิดชั่วหยาบและละเอียดอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน "คิดดีก็พยายามประครองอารมณ์นั้นไว้ให้เกิดปิติอิ่มใจ คิดชั่วก็พยายามละทิ้ง อย่าให้ติดอยู่กับใจ"
ทำความรู้เรื่องของใจเท่านี้เป็นพอ ไม่ไปรู้เรื่องอื่น เรื่องอื่นของคนอื่นไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วจะทำอะไรให้เราไม่ได้ "ภาวนาคือหัดทำความสงบของใจ รู้ใจของตนอยู่เสมอว่า คิดดีคิดชั่วหยาบและละเอียดทุกอิริยาบถ" ไม่ต้องอยากรู้โน่นนี่ต่าง ๆ นานา มันไม่เป็นภาวนาเสียแล้ว
"รู้อะไรไม่เท่ารู้ใจของตนเอง" หากมันจะรู้ก็ให้มันเกิดเองเป็นของมัน "จะไปคิดปรุงแต่งให้มันเกิดขึ้นมาใช้ไม่ได้" เมื่อมันเกิดขึ้นก็จงรักษาสติคุมใจให้อยู่ก็แล้วกัน .. "
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ธรรมเทศนา ณ พุทธสมาคม
เมืองบันดุง อินโดนีเซีย -
ธรรมบรรยายในงานปฏิบัติธรรมประจำปี ๒๕๖๕ แก่นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ธรรมบรรยายในงานปฏิบัติธรรมประจำปี ๒๕๖๕
แก่นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น.
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน บรรยายธรรมแก่นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเข้าปฏิบัติธรรมประจำปี ๒๕๖๕
ณ ศาลาการเปรียญ ดร.อุไรศรี - คนึง สุขเกษม วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕
หน้า 53 ของ 414