คลังเรื่องเด่น
-
มีชีวิตอยู่กับปัจจุบันตรงหน้าเท่านั้น
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เป็นวันสอบนักธรรมสนามหลวงชั้นตรีวันแรก ซึ่งคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิของเรา ก็ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่ออำเภอทองผาภูมิ นำโดยท่านนายอำเภอนภเดช เกลียวศิริกุล ให้ทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ก่อนที่จะเข้าสอบ ตรวจแล้วก็เจอจนได้ ปรากฏว่าแจ็กพ็อตไปแตกที่วัดทองผาภูมิ มีผลตรวจเป็นบวก ๑ รูป พระทั้ง ๓ รูปที่จะเข้าสอบของวัดทองผาภูมิ ก็เลยต้องโดนขอร้องให้งดการสอบ
ต้องบอกว่าทองผาภูมิของเราระยะนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ค่อนข้างจะรุนแรง ตรวจเมื่อไรก็เจอเมื่อนั้น ผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าอีก ๓ วันที่เหลือจะโดนตรวจอีกกี่ครั้ง ในฐานะรองประธานกรรมการสนามสอบ เป็นหน้าที่ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเข้าไปดำเนินงานให้เสร็จสิ้นลง..
ตรงจุดนี้ไม่ว่าจะพระภิกษุสามเณรหรือว่าญาติโยม ทั้งที่อยู่ที่นี่หรือว่าอยู่ที่บ้านก็ตาม จำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างสูง เพราะว่าไม่มีใครที่สามารถจะช่วยเราได้ นอกจากดูแลตัวเองให้ดี
พวกเราเองจึงต้องระมัดระวังตนเอง ห้ามประมาท ห้ามการ์ดตก... -
"จิตหลงความคิด หลงความเห็นของตน" (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
.
"จิตหลงความคิด หลงความเห็นของตน"
" .. เรื่องสรรพสิ่งต่าง ๆ เกิดมาในโลก "ไม่ได้เป็นภัยแก่เรา มีแต่คุณทั้งนั้น" แต่ความเห็นผิดของจิตใจ ที่ไปยึดอยู่ในร่างกาย "อันนี่แหละเป็นตัวผิดว่ามันเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"
ของทั้งหลายเหล่านี้ เขาเป็นอย่างนั้นมานับกัปนับมาแล้วกัลป์ "แต่เรื่องของจิตใจที่เราไม่รู้ไม่เห็นนี่สิ ก็เลยหลงความคิด หลงความเห็นของตน" จนกลายเป็นอุปาทาน ยืดมั่นถือมั่น นึกว่าของต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นของดิบของดี
"ถ้าหากของเหล่านั้นเสียหายไป ก็เป็นเหตุดึงจิตใจเสียไปด้วย" จิตใจก็เลยพลอยเดือดร้อนวุ่นวาย ฉะนั้น "พระพุทธองค์เลยหาทางแก้อาการของจิต ไม่อยากให้ไปยืดถือในสิ่งเหล่านั้น" ให้ปล่อยวางว่า "เป็นธรรมดาของเขา" .. "
"วีระปฏิปทา มหาวีโร"
หลวงปู่ศรี มหาวีโร -
การปฏิบัติธรรมเป็นการทวนกระแสโลก
การปฏิบัติธรรมเป็นการทวนกระแสโลก เหมือนกับเราว่ายทวนน้ำ เมื่อถึงเวลาออกแรงว่ายไปเต็มที่ พอได้ระยะที่เรารู้สึกว่าพอแล้ว เราก็ปล่อยมือ ก็จะไหลตามน้ำไป พอต้องการที่จะว่ายขึ้นมาใหม่ ก็ตั้งหน้าตั้งตาว่ายอีก แล้วก็ปล่อยไหลตามน้ำไปอีก
ต่อให้เราขยันแค่ไหน ก็จะเป็นคนขยันที่ไม่มีผลงานอะไรเลย เพราะว่าทุกวันจะไหลตามน้ำไป แล้วถ้าหากว่าขี้เกียจขึ้นมาเมื่อไร ก็จะไหลไปไกลกว่านั้นอีก ยิ่งไหลไปไกลเท่าไร เราก็ต้องใช้เรี่ยวแรงในการที่จะว่ายทวนน้ำขึ้นมามากเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ท่านทั้งหลายเกิดความท้อแท้ แล้วท้ายที่สุดก็เลิกการปฏิบัติธรรมไปโดยปริยาย
เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักวิธีว่า เมื่อเลิกจากการนั่งสมาธิภาวนาแล้ว กำลังใจเราสงบแค่ไหน เราต้องประคับประคองรักษาอารมณ์ใจนั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถไป จากนั่งเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอน เป็นดื่ม กิน คิด พูด ทำ ใจเราต้องอยู่กับการภาวนาหรือลมหายใจโดยอัตโนมัติ
ถ้าสามารถรักษากำลังใจไว้ในลักษณะนี้ได้บ่อย ๆ เราก็จะยืนระยะได้นานขึ้น จากที่ได้แค่ครู่เดียว เมื่อขยับเคลื่อนไหวสมาธิก็คลายตัวหมด... -
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ สมัยเป็นฆราวาส เคยแอบไปสำรวจดูอุจจาระของผู้สาว จนเห็นสัจธรรม ก่อนตัดสินใจออกบวช
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ สมัยเป็นฆราวาส เคยแอบไปสำรวจดูอุจจาระของผู้สาว จนเห็นสัจธรรม ก่อนตัดสินใจออกบวช -
ศิษย์ยุคอภิญญาใหญ่ - ฝึกมโนมยิทธิถอดจิตเต็มกำลัง
ศิษย์ยุคอภิญญาใหญ่ - ฝึกมโนมยิทธิถอดจิตเต็มกำลัง -
สติความระลึกได้ และสัมปชัญญะความรู้ตัว / พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
สติความระลึกได้ และสัมปชัญญะความรู้ตัว -
"อันนี้เป็นหลักของพระพุทธศาสน า ("หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
"อันนี้เป็นหลักของพระพุทธศาสนา"
" .. พุทธศาสนาสอนอะไร หรือศาสนาทุกศาสนาสอนอะไรกัน "ศาสนาสอนให้ละความชั่ว คือไม่ให้ประพฤติความชั่ว แล้วก็ให้ประกอบคุณงามความดี" พูดง่าย ๆ ว่า "ละชั่วทำดี หลักของศาสนาทุก ศาสนามีอย่างนี้"
ตามลำพัง "การที่จะละการทำชั่วทางกายทางวาจานั้นมันทำได้ยาก" เพราะมีเจ้านายอยู่ คนหนึ่งคือ ใจ มันเป็นตัวบังคับบัญชาให้กาย ให้วาจากระทำธุรกิจต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ "พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้พากันรักษาใจอีกทีหนึ่ง ควบคุมใจให้ได้อีกอย่างหนึ่ง" จึงจะครบพร้อมมูลบริบูรณ์
เราจะไปบังคับให้กายวาจาละชั่วอย่างเดียวไม่ได้ "เราต้องบอกหรือสอนให้ใจบังคับใจให้อยู่เสียก่อน จึงจะบังคับกายวาจาให้อยู่ในอำนาจได้ อันนี้เป็นหลักของพระพุทธศาสนา" .. "
"คุณค่าและประโยชน์ ของพระพุทธศาสนา"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
ศาสตร์หลวงปู่ดู่ : หลวงตาม้าบรรยาย
ศาสตร์หลวงปู่ดู่ : หลวงตาม้าบรรยาย -
"ในหลวง ร.๙ พระราชาผู้แตกฉานในธรรม"
"กิเลส" คือ ความเศร้าหมองแห่งจิตใจ
พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า
กิเลสเป็นสิ่งที่จรเข้ามา
ไม่ใช่ "สิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมของจิตใจ"
(จิตเดิมแท้ ประภัสสร)
เมื่อ ๓๐-๔๐ ปี หรือ ๕๐ ปีมาแล้ว ทาง BBC มาทำสารคดีเรื่องเชื้อพระวงศ์ไทย ผู้สัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.๙ ถามเรื่องศาสนา เขาเป็นชาวคริสต์ ซึ่งเชื่อเรื่องบาปเดิม คือเชื่อว่า จิตใจของมนุษย์เศร้าหมองโดยธรรมชาติ เพราะบาปเดิมของมนุษย์คู่แรก คือ อดัมกับอีฟ
เมื่อเขาถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ว่าชาวพุทธเชื่อเรื่องบาปเดิม (Original Sin) หรือไม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงตอบเป็นภาษาอังกฤษว่า
"No, we believe in original purity.
เราเชื่อใน "ความบริสุทธิ์ดั้งเดิม"
ไม่เชื่อใน "ความเศร้าหมองดั้งเดิม"
จากพระธรรมเทศนา เรื่อง นิวรณ์บั่นทอนจิต โดยพระอาจารย์ชยสาโร ในการปฏิบัติธรรมครู ประจำปี ๒๕๕๙ ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
พระธรรมพัชรญาณมุนี
(พระอาจารย์ชยสาโร)
Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก Facebook พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น -
"พุทโธ นี่แหละเป็นสรณะที่พึ่ง" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
"พุทโธ นี่แหละเป็นสรณะที่พึ่ง"
" .. "พุทโธ พุทโธ นี้เป็นผู้รู้ นี่แหละเป็นสรณะที่พึ่งของเราแท้แน่นอน" ถ้าเราไม่มีพุทธะคือผู้รู้แล้วเราก็พึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้สักอย่างพ่อแม่พี่น้องข้าวของเงินทองก็พึ่งไม่ได้ บ้านช่องก็พึ่งไม่ได้ เงินทองอะไรก็พึ่งไม่ได้ ชาวบ้านร้านตลาดประเทศชาติก็พึ่งไม่ได้ ถ้าเราไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆแล้ว สังขารร่างกายเราก็พึ่งไม่ได้
ทำไมจึงพึ่งไม่ได้ "ก็พุทธะ คือผู้รู้ ถ้าเราไม่มีผู้รู้จะพึ่งอะไรได้" อุปมาเหมือนกับคนตาย คนตายแล้วมีความรู้หรือหูตาก็มีคู่แข่งขันก็มี อะไร ๆ มีหมด ข้าวของเงินทองก็มีอยู่ "แต่พึ่งไม่ได้สักอย่าง มันไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆถ้าเรามีพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วพึ่งได้หมด สังขารร่างกายเราก็พึ่งได้" พ่อแม่พี่น้องก็พึ่งได้ ข้าวของเงินทองพึ่งได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง .. "
"การฟังและการปฏิบัติ" หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร ๓ กันยายน ๒๕๑๑
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
อุบาสกอภิญญาแห่งรามอินทรา
อุบาสกอภิญญาแห่งรามอินทรา -
"แก่นแท้ของธรรมอยู่ที่สติ" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"แก่นแท้ของธรรมอยู่ที่สติ"
" .. แก่นแท้ของธรรมอยู่ที่สติ จงหมั่นทำสติให้แก่กล้า สติทำอย่างไม่ให้ผิดพลาด กุศลและธรรมทั้งหลาย "คุณงามความดีทั้งหลายเกิดขึ้นได้ เพราะบุคคลมีสติอย่างเดียว"
จะคิด จะพูด จะทำ ให้มีสติระลึกนึกเสียก่อน มันผิดก็ให้รู้ มันถูกจึงค่อยทำ "ผู้อื่นไม่ได้ทำให้จิตของเราเศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว เราเองเป็นผู้ทำให้จิตของตนเศร้าหมอง" ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ท่านทรงเป็นผู้บอกทางให้เท่านั้น
ผู้ปรารถนาความเจริญ ความสุข ต้องหมั่นฝึกฝน อบรมตนเอง "ทำเอง-รู้เอง-ได้เอง ใครทำ-ใครได้" ผู้ทำคุณงามความดี มีศีล ศีลที่บริสุทธิ์แล้วย่อมเป็นที่มาแห่งโภคทรัพย์
จิตดี จิตที่ไม่อิจฉาริษยาพยาบาทเบียดเบียน เป็นดวงจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทำให้คนบริสุทธิ์ ทำให้คนมีศีล มีโภคทรัพย์ .. "
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12239&sid=efec9c45f6354e098efb11a15167723d -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร // ทำสมาธิให้ถูกกับจริตของตน
หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร // ทำสมาธิให้ถูกกับจริตของตน -
๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน
๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน
เด็กรุ่นหลัง ๆ ไม่รู้ว่า ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนานที่โบราณเขาว่า คืออะไร ? ๗ ตำนานก็เกี่ยวกับพุทธประวัติในวาระต่าง ๆ มีทั้งที่เป็นชาดกและพระสูตร
๗ ตำนานขึ้นที่ มงคลสูตร ที่เทวดาทั้งหลายเขาถกเถียงกันว่า อะไรเป็นมงคล ที่เราเรียกกันว่า มงคล ๓๘
แล้วก็ไป รัตนสูตร รัตนสูตรนี่เขาเรียก น้ำมนต์พระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าให้พระอานนท์ทำน้ำมนต์ด้วยพระสูตรนี้ แล้วไปพรมเมืองไพศาลีที่เกิดโรคระบาด บรรดาอมนุษย์ที่ทำให้เกิดโรคระบาด ทนอำนาจน้ำพระพุทธมนต์ไม่ได้ แย่งหนีออกไปจากเมือง กำแพงพังเป็นแถบ ๆ บทนี้หลวงพ่อฤๅษีท่านบอกไว้เลยว่า ใครต้องการทำน้ำมนต์เองก็ได้ ให้อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า ท่องรัตนสูตรด้วยความเคารพ หยดเทียนลงบนน้ำมนต์ แล้วอธิษฐานใช้เอา
หลังจากนั้นจะเป็นพวกชาดกต่าง ๆ เช่น วัฏฏกปริตร อันนี้เป็นเรื่องของลูกนกคุ่ม ที่ท่านเพิ่งจะเกิดไม่นาน เดินก็ยังไม่ได้ บินก็ไม่ได้ แล้วไฟป่าไหม้มา ท่านจึงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ตัวท่านเองถึงแม้จะมีพ่อแม่ ท่านก็ออกไปหากิน มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินไม่ได้ ด้วยสัจจะบารมีอันนี้ ขอให้ไฟอย่าได้ทำอันตรายเลย ไฟที่มาแรงขนาดนั้นก็ดับหมด... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
หลวงปู่ดู่ กับ หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
หลวงปู่ดู่ กับ หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
หลวงพ่อฤาษีบอกคนที่ไปกราบว่าที่อยุธยามีพระดีน่ากราบไหว้
หลวงพ่อฤาษีบอกต่อไปอีกว่า หลวงพ่อดู่ วัดสะแกบารมีท่านสูง บารมีท่านเท่าพระอรหันต์
เมื่อมีคนมาบอกหลวงพ่อดู่ หลวงพ่อก็ยิ้มและพูดว่าท่านเข้าใจชม
โดยที่ หลวงปู่เรียกว่า วิมานแก้วพระพุทธเจ้า
หลวงพ่อฤาษีเรียกว่า พระนิพพาน
โดยความหมายเหมือนกัน. ทางเหนือเรียกว่าเวียงแก้วมหาเนรปาน
จึงมีการบอกว่านิพพานเป็นอัตตาเพราะมีสถานที่ อีกทางหนึ่งบอกเป็นอนัตตาตามบาลี สัพเพธัมมาอนัตตา แม้แต่ธรรมก็ไม่มีตัวตน ซึ่งความจริงเป็นอนันตาคือไม่มีสิ้นสุด คนที่ไปอยู่ได้ต้องมีจิตว่างคือพระอรหันต์ จิตต้องบริสุทธิ์
ถ้าดูในแบ็งค์ดอลลาร์จะมีInfinity 3 ตัวคืออนันตสภาวะในทางพุทธคือ อัปมาโน พุทโธ ธัมโม สังโฆ ผู้ที่จะเข้าถึงต้องรู้แจ้งแดงตลอดในไตรลักษณญาน จนจิตมีความบริสุทธิแจ่มใส จึงเข้าถึงพลังนี้ได้
หลวงพ่อดู่ท่านจึงใช้คำว่าได้ภูติพระเจ้า
พระมหาโพธิสัตว์สามารถเข้าถึงได้เพราะท่านรู้เรื่องความว่าง แต่ยังไม่ถึงเวลาของท่าน
ผู้ที่ไปวิมานแก้วจิตขณะนั้นมีสภาวะความว่างหลวงพ่อฤาษีฯท่านใช้คำว่าจิตเป็นประกายพฤกษ์จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้... -
กิเลสกำเริบ
กิเลสกำเริบ
ถาม : บางคนบอกว่า ถ้าทำพวกสมาธิจะทำให้ยังตัดราคะโทสะไม่ได้..?
ตอบ : ถ้าหากสมาธิทรงตัวจริง ๆ จะกดราคะโทสะให้ดับลงได้ชั่วคราว แต่ถ้าเผลอหลุดเมื่อไรก็เหมือนกับเก็บกดมานาน แล้วจะกำเริบมาก เหมือนกับเราเอาก้อนหินใหญ่ ๆ มาทับต้นหญ้าไว้ ถ้าทับไปนาน ๆ หญ้าก็ตาย แต่ถ้าหญ้ายังไม่ตายแล้วเรามาพลิกก้อนหินขึ้นมาอีก คราวนี้หญ้าจะงอกงามใหญ่เลย เพราะกลัวตายก็เลยต้องดิ้นรนขึ้นของเขาอย่างเต็มที่
ลักษณะของกิเลสก็เหมือนกัน ถ้าโดนกดเอาไว้นาน ๆ แล้ว ถ้าถึงเวลากำเริบได้ จะกำเริบหนักกว่าปกติ เหตุที่กำเริบหนักกว่าปกติเพราะได้กำลังจากเราไป ก็คือกำลังสมาธิที่เราทำนั่นแหละ
เราได้สร้างสมาธิเกิดขึ้นแล้ว เราไม่ได้ไปใช้พิจารณาในการตัดละกิเลส เราสร้างขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ทิ้ง สร้างขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ทิ้ง พอถึงเวลาตัวกิเลสรัก โลภ โกรธ หลง ก็เอากำลังตรงนั้นแหละไปฟุ้งซ่าน จะไปกันใหญ่เลย เพราะว่ากิเลสแข็งแรงเสียแล้ว กลายเป็นว่าเราเลี้ยงโจรให้แข็งแรงแล้วก็มาปล้นเราหนักขึ้น
ถาม : แล้วเราจะวิปัสสนาอย่างไร ?
ตอบ : พิจารณาให้เห็นจริงอย่างที่ว่ามานั่นแหละ พอเห็นแล้ววางลงให้ได้... -
ความกลัวตายเป็นธรรมดาของสัตว์ทุกรูปทุกนาม
ความกลัวตายเป็นธรรมดาของสัตว์ทุกรูปทุกนาม บาลีบอกว่า อาหาระนิททัง ภะยะเมถุนัญจะ สามัญญะเปตัปปะสุภีนะรานัง
อาหาระ คืออาหาร , นิททัง คือการนอน , ภะยะ คือความกลัว , เมถุนะ คือการเสพกาม ท่านบอกว่า ๔ อย่างนี้เป็นปกติของสัตว์ทุกรูปทุกนาม สามัญญะเปตัปปะสุภีนะรานัง สามัญญะ ก็คือ ปกติธรรมดา ธัมโมหิ เตสัง อะธิโก วิเสโส ธรรมเท่านั้นที่ให้เกิดความต่างขึ้นได้ ธัมเมนะ วีณา ปะสุภิสสะมานา มีแต่ธรรมเท่านั้นที่ทำให้คนต่างออกไปจากสัตว์
เพราะฉะนั้น..เรื่องความกลัวถือเป็นเรื่องปกติ แต่ทำอย่างไรที่จะไม่ให้กลัวจนขาดสติ ถ้ามานึกอีกที น่าขายหน้ามากเลย เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุงมา ๓๐-๔๐ ปี ถึงเวลามัจจุราชยื่นหน้ามาหน่อยเดียว กลัวจนหัวหด ต้องประเภทยื่นหน้ามาก็กระโดดขี่คอ ไปไหนไปเลย อยากไปนานแล้ว ทำไมมาช้าจัง..!
คือเรายังไม่เห็นธรรมดา ถ้าเห็นธรรมดาว่าทุกรูปทุกนาม ต้องป่วย ต้องตายเป็นปกติ แล้วทำใจยอมรับได้ว่าปกติของสัตว์ ของมนุษย์เป็นอย่างนี้เอง ถ้าทำอย่างนั้นได้ ความตายไม่ใช่ของน่ากลัว ความเจ็บป่วย ความเจ็บปวดก็ไม่ใช่ของน่ากลัว ถึงเวลาก็ดูแลรักษาไปตามมารยาท ร่างกายนี้เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม... -
"เราเดือดร้อน ก็เพราะจิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เราเดือดร้อน ก็เพราะจิต"
" .. การภาวนา "เบื้องต้นจะต้องให้เห็นใจของตนเสียก่อน" พวกเราจะต้องฝึกหัดใจ ถ้าไม่เห็นใจก็ไม่ทราบว่าจะไปฝึกหัดตรงไหน ฝึกหัดจิตกำหนดจิต
คือว่า "มีสติไปกำหนดจิตที่มันคิดมันนึกนั่นแหละ" เอาตรงนั้นให้เห็นเสียก่อน เห็นจิตเสียก่อน เราจะต้องควบคุมดูแลรักษาตลอดเวลา คิดนึกสิ่งใดก็ให้เห็นจิตนั่นแหละมันคิด
"จิต คือผู้คิดผู้ปรุงผู้แต่งผู้ส่งส่าย เราเดือดร้อนก็เพราะจิตไม่อยู่ มันส่งส่ายไปคิดนึกฟุ้งซ่าน เราจะต้องเอาสติตัวนั้นคุมจิตให้มันอยู่ในอำนาจของเรา" อย่าให้จิตบังคับเรา
"จิต โดยทั่วไปแล้วบังคับเราให้วุ่นวายส่งส่ายเดือดร้อน" อันนั้นจิตบังคับเรา ไม่ใช่เราบังคับจิต เมื่อไม่บังคับอย่างนั้นมันก็ส่งส่ายไม่รู้แล้วรู้รอดกันสักที "จิตที่ไม่อยู่ในบังคับของตน มันจะทำให้เราเดือดร้อนวุ่นวายสารพัดอย่าง"
เศร้าโศกเสียใจ รักใคร่พอใจยินดี อยากได้โน่นอยากได้นี่ของในโลกนี้ไม่จบไม่สิ้นสักที "ถ้าหากเป็นอยู่อย่างนั้นจิตมันเป็นกามโลก มันอยู่ในกามภพมันอยู่ในกามภูมิ" จิตมันคอยวิ่งไปตามอันนั้นแหละในกามนั่นแหละ "ส่งส่ายไปอดีตอนาคตล้วนแล้วแต่กามภพกามภูมิ ล้วนแล้วแต่กามกิเลส"... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
วิชามหาสะท้อน
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔
วันนี้เป็นวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เมื่อวานนี้ช่วงเช้า ผมทำการไหว้ครูประจำปี แล้วก็ปลุกเสกวัตถุมงคล ต้องบอกว่าเป็น "รุ่นมหาสะท้อน"
การไหว้ครูประจำปีตามสายครูบาอาจารย์ ตั้งแต่ยุคหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เป็นต้นมา โดยปกติแล้วใช้วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนไหนก็ได้ แต่ถ้าหากว่าตรงกับเดือน ๕ ก็ยิ่งดี แต่ถ้าหากว่าวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำไม่สะดวก ท่านให้ไหว้ครูในวันวิสาขบูชา ถ้าวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำและวันวิสาขบูชาไม่สะดวก ท่านให้ไหว้ครูในวันมาฆบูชา ใช้ได้เพียง ๓ วันนี้เท่านั้น
ผมเคยบอกกับทุกท่านว่า วิชาการที่ผมศึกษามา ก็ตำราเดียวกันกับที่พวกท่านศึกษามา แล้วทำไมผมทำแล้วได้ผลมากกว่าคนอื่น ? ก็เพราะส่วนใหญ่แล้ว เมื่อผมจะศึกษาอะไร ผมมักจะหาหลักการและเหตุผลว่า ทำไมโบราณาจารย์ถึงได้บัญญัติวิชานั้น ๆ ขึ้นมา ? ถ้าเข้าใจถึงหลักการและเหตุผลแล้ว เราก็สามารถที่จะทำได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวิชานั้น ๆ
คราวนี้วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำของปีนี้ คาดว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ก็ยังคงมีอยู่ ไม่สะดวกที่จะจัดพิธีกรรม... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
"เอาไปได้เฉพาะบุญกุศล" (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
"เอาไปได้เฉพาะบุญกุศล"
" .. เมื่อหมดลมหายใจคือตายนั้น สิ่งเหล่านั้นเอาไปไม่ได้ ทุก ๆ คนจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี มีเงินจนล้นฟ้าล้นแผ่นดิน "เมื่อหมดลมหายใจคือตาย ก็ทิ้งไว้กับโลก" เมื่อตายไปแล้ว คนอื่นเขาก็เอาไปใช้ เราไม่ได้อะไรสักอย่าง "สิ่งที่เราจะเอาไปได้นั้น ก็คือบุญกุศล" .. "
"๑๐๓ โอวาทธรรมคำสอน"
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป -
อนุสติ 10 โดยพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง /กรรมฐานสำหรับคนที่ชอบคิดนึก(ทางดี)
อนุสติ 10
กรรมฐานสำหรับคนที่ชอบคิด-นึก (ทางดี)
อนุโมทนาและขอบคุณที่มา
https://www.youtube.com/@Channel-ge6vj -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ -
การปฏิบัติให้ได้ผล เกินไม่ได้ ขาดไม่ได้
เกินไม่ได้ ขาดไม่ได้
ถาม : อ่านในหนังสือแล้วรู้สึกว่าท่านทำง่ายมากเลย ?
ตอบ : ถ้าเอาจริงเอาจังก็ง่าย สำคัญว่าเราเอาจริงหรือเปล่า ? บางอย่างต้องทำให้พอดี เกินก็ไม่ได้ ขาดก็ไม่ได้
ถ้าหากว่าเกินพอดี ร่างกายจะทรมานมากเกินไป ถ้าร่างกายได้รับการทรมานมาก จิตใจก็จะกระวนกระวาย กังวลอยู่ตรงนั้น จะไม่ก้าวหน้า ขณะเดียวกันถ้าสบายเกินไป กิเลสก็จะเป็นเจ้านายเราแทน ไม่ก้าวหน้าอีกเหมือนกัน จะต้องพอดี
คราวนี้พอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นไปตามกำลังใจ กำลังกาย กำลังสติปัญญาของเราที่จะต่อสู้กับกิเลส
ถ้าจิตบอกว่าไม่ไหวอย่าเพิ่งไปเชื่อ จิตบอกว่าไม่ไหวก็ลองฝืนดูนิดหนึ่ง ถ้าฝืนได้ก็อย่าให้เกินชั่วโมง เพราะว่าเกินนั้นจะเป็นการทรมานร่างกายแล้ว ตั้งเวลาไว้เลย แต่ใหม่ ๆ อย่าเพิ่งไปตั้งเวลานะ เพราะว่าถ้าร่างกายแย่จริง ๆ ห้านาทีก็นานเหมือนกับเป็นชั่วโมงแล้ว
อาตมาเคยนั่งจนเหงื่อไหลอย่างกับงูเลื้อยอยู่ตามหลังเลย ลองดูว่านั่งห้าชั่วโมง สิบชั่วโมง แล้วรสชาติจะเป็นอย่างไร ลักษณะเหมือนก้นจะทะลุ นั่งไป ๆ เหมือนกับเนื้อก้นบางลง ๆ จนกระทั่งจะทะลุหนังออกมา สุดยอดของความทรมานเลย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
หน้า 49 ของ 414