คลังเรื่องเด่น
-
กลยุทธ์ การเรียกแขก
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นวันอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้กับเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ วันที่สาม
ในงานนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระศรีวิสุทธิวงศ์, ดร. (สุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู ป.ธ.๙) ประธานคณะวิปัสสนาจารย์ได้ปรารภว่า เป็นงานอบรมที่เรียบร้อยที่สุดเท่าที่เคยพบมา เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าบรรดาเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทั้ง ๑๑๒ แห่งที่มานั้น ลงปฏิบัติธรรมโดยพร้อมเพรียงกันทุกรอบ
คณะสงฆ์ภาค ๑๔ มีสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ๑๒๐ แห่ง แต่ว่ามาปฏิบัติธรรมแค่ ๑๑๒ แห่ง เหตุก็เพราะว่ามีเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่งชราภาพ เจ็บป่วย และได้รับอุบัติเหตุ ส่งใบลาโดยตรงต่อพระเดชพระคุณพระธรรมวชิรานุวัตร, ดร. (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าคณะภาค ๑๔ แล้ว
ส่วนในเรื่องที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์สุวิทย์ได้ปรารภนั้น เกิดจากการที่กระผม/อาตมภาพใช้วิธีที่บอกกับคนอื่นว่า "เรียกแขก" ซึ่งวิธีการนี้ กระผม/อาตมภาพใช้มาตั้งแต่สมัยการปฏิบัติกรรมฐานประจำปีของบรรดานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖ -
บุญใหญ่ที่พระพุทธเจ้าสอนเราก็คือ ทาน ศีล ภาวนา ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นั่นเอง
วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นวันที่สองของโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ วันนี้ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงปู่พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘) เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ ท่านเดินทางมาเป็นวิทยากรบรรยายให้ในช่วงบ่าย
พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านก็อายุกาลพรรษาถึง ๙๐ ปีแล้ว ช่วงสองปีที่ผ่านมาก็เจ็บไข้ได้ป่วยจนกระทั่งไม่สามารถที่จะรับกิจนิมนต์ที่ไหนได้ แต่เมื่อทราบว่ามีการปฏิบัติธรรมของเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง ๑๒๐ สำนัก ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ท่านก็เต็มใจที่จะมาบรรยายถวายความรู้ให้ โดยมีรถประจำตัวซึ่งมีบุคคลช่วยเข็นเข้ามาให้จนถึงกลางศาลา
แม้ว่าหลวงปู่ท่านจะอายุกาลพรรษามาก แต่ด้วยความที่เคยทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ถึงระดับเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เคยเรียนบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค และที่สำคัญก็คือท่านปฏิบัติธรรมแบบสัมมาอะระหังตามสายของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
เมื่อครั้งแรก ๆ ที่กระผม/อาตมภาพจับได้ว่าหลวงปู่ท่านเป็นพระกรรมฐาน... -
"เพ่งแต่โทษผู้อื่น" (ท่านพ่อลี ธัมมธโร)
.
"เพ่งแต่โทษผู้อื่น"
" .. กิเลสหนา ปัญญาทื่อ ดวงจิตก็ดื้อ "เพ่งแต่โทษผู้อื่น คอยแต่ใส่ร้ายป้ายสีให้เขาเสียหาย ด้วยความเกลียด โกรธและความพยาบาทของตน"
บุคคลผู้นั้น "ย่อมมีแต่ความเดือดร้อนในดวงใจ หาความสงบสุขมิได้" เป็นโทษแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย .. "
ท่านพ่อลี ธัมมธโร -
วิธีฝึกจิตไม่ให้หลงทาง : หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
วิธีฝึกจิตไม่ให้หลงทาง
: หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖ -
อยู่ใกล้พระ อย่ามักง่าย อย่าทำตัวเคยชิน เสี่ยงต่อการเกิดโทษ
เวลาแม่ชีอยู่กับพระ ให้ถือหลักของพระไว้ว่า "ไม่แน่ใจอย่าทำ" ศีลของพระเขามีว่า ต้องอาบัติเพราะไม่ละอาย ต้องเพราะไม่รู้ ต้องเพราะสงสัยแล้วขืนทำ ต้องเพราะสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ต้องเพราะสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ต้องเพราะลืมสติ ฉะนั้น..ให้ถือหลักการนั้น สงสัยก็อย่าไปทำ เอาให้แน่ใจแล้วค่อยทำ ไม่อย่างนั้นพลาดขึ้นมาแล้วได้ไม่คุ้มเสีย
ส่วนใหญ่บุคคลที่อยู่กับพระไประยะหนึ่ง แล้วมักจะเกิดความเคยชิน พอเกิดความเคยชิน คำว่า “ไม่เป็นไร” หรือ “อย่างไรก็ได้” เกิดขึ้น ก็จะลำบากมาก เพราะพาให้เกิดโทษได้ง่าย
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระมหากัสสปะว่า ให้เกรงใจในภิกษุทั้งเป็นผู้เก่า ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า จะดีจะชั่วอย่างไรก็ตาม อย่างน้อยสิ่งที่เขาห่มอยู่ก็คือธงชัยพระอรหันต์ เขาเอาผ้าเหลืองไปห่มต้นโพธิ์ เอาผ้าเหลืองไปห่มตอยังยกมือไหว้ได้ โบราณเขาถึงได้ใช้คำว่า "ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์" เอาปลอดภัยไว้ก่อน แต่คราวนี้เราอยู่ในเหตุการณ์ บางอย่างถ้าจะเอาอย่างนั้นก็เสียหาย ทำไปแล้วก็ขอขมาพระเสีย
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน... -
"สมบัติใดในโลก ไม่เสมอด้วยใจ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
,
"สมบัติใดในโลก ไม่เสมอด้วยใจ"
" .. นี่ละจิต ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเรื่องของจิต จะทำให้เลวไม่มีอะไรที่จะเลวกว่าจิตกว่าคนไป ถ้าจะทำให้ดีก็ไม่มีอะไรที่จะดียิ่งกว่าจิตกว่าคนเราไป ธรรมะทั้งหมดจึงทุ่มเทลงที่จิตใจของคน
ศาสนาจึงสอนคนเราให้รู้เรื่องว่า "ของดีเยี่ยมคืออะไร คือดวงใจที่ได้รับการระมัดระวังรักษา" ดวงใจที่ได้รับการซักฟอกตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงอวสานสุดท้ายนี้ "เป็นใจที่ประเสริฐ สมบัติใดในโลก จะไม่เสมอเหมือนสมบัติคือใจ" นี้
ก่อนที่เราจะหาสมบัติอื่น เราต้องพยายามรักษาสมบัติ คือใจและชีวิตร่างกายของเรานี้ไว้ เป็นหลักประธานหรือหลักประกันไว้ก่อน ถ้าอันนี้ดีแล้วสิ่งอื่น ๆ ก็เป็นผลพลอยได้ไปตาม ๆ กัน
ยิ่งได้รับการอบรมให้ถูกต้องตามหลัก จนถึงความบริสุทธิ์วิมุตติในปัจจุบันจิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นผู้เสมอตัว ไม่มีคำว่าได้ว่าเสียอยู่ภายในใจ จึงไม่มีการกล้าการกลัวอะไรทั้งนั้น มีแต่ความจริงล้วน ๆ ที่อยู่ภายในใจ นั่นละท่านว่าเสมอตัว .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
บอกวิธีการปฏิบัติภาวนาอย่างละเอียด ทีละขั้นตอน /หลวงพ่อเยื้อน
บอกวิธีการปฏิบัติภาวนาอย่างละเอียด ทีละขั้นตอน /หลวงพ่อเยื้อน -
สมาบัติ 8 / เดินจิต - พระมหาวรพรต
สมาบัติ 8 | คอร์สเดินจิตสติปัฏฐาน 4 ตอนที่ 17 || 06 มี.ค. 66 (ค่ำ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๖ -
เทศน์วันมาฆบูชา วันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕
เทศน์วันมาฆบูชา วันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ติฯ
ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชชนาในมาฆปูชากถา เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมีของบรรดาทานิสสราธนบดีทั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศล เนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้
ญาติโยมทั้งหลาย วันมาฆบูชานั้นจัดว่าเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เนื่องจากว่าเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้นทรงประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งถ้าหากว่าญาติโยมทั้งหลายซึ่งเป็นบุคคลสมัยใหม่ ไม่ว่าเราจะไปบริหารหน่วยงานก็ดี บริหารบริษัทใดก็ตาม ตลอดจนกระทั่งถ้าหากว่าบริหารราชการในระดับอำเภอ จังหวัด หรือว่าประเทศ เราก็ต้องประกาศนโยบาย เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหลายจะได้ทราบว่า แนวทางของการบริหารองค์กรของเราจะเดินไปในทางไหน -
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ณ วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
รายละเอียดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
สนใจติดต่อ พระพัฒน์ ฐิตาจาโร
โทร ๐๙๒-๖๗๐-๑๓๗๕ (092-670-1375) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๖ -
ทำอย่างไรไม่ให้โกรธ
ทำอย่างไรไม่ให้โกรธ
ถาม : ถ้าหากจะไม่ให้โกรธเจ้าคะ..?
ตอบ : ต้องมีสติรู้ให้ทัน
ความโกรธจะเข้ามาหาเราง่ายที่สุด ทางตา กับทางหู เมื่อตาเห็นรับเข้าไปสู่ใจ ก็ไม่พอใจ หูได้ยินรับเข้าไปสู่ใจ เกิดความไม่พอใจ
ในเมื่อไม่พอใจ ก็จะเริ่มกรุ่นขึ้นมา ลักษณะเหมือนกับควันขึ้น
พอควันขึ้น ถ้าเราปล่อยโดยการที่ไปนึกคิดปรุงแต่งต่อ ก็จะเป็นเปลวไฟลุกขึ้นมา คราวนี้กลายเป็นโทสะ
พอทำเขาไม่ได้ ด่าเขาไม่ได้อย่างใจ ทำร้ายเขาไม่ได้อย่างใจ คราวนี้จะกลายเป็นไฟสุมขอน คือพยาบาท
ไฟโทสะก็มีแต่เผาทำลายเราอยู่คนเดียว เพราะฉะนั้น..สติต้องรู้เท่าทัน พอตาเห็น ต้องสักแต่ว่าเห็นเท่านั้น หูได้ยิน ต้องสักแต่ว่าได้ยินแค่นั้น อย่ารับเข้ามาสู่ใจ
ให้คิดว่าธรรมดาของเขาเป็นอย่างนั้น บุคคลที่ยังไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นโทษแก่คนอื่นอย่างไร เป็นโทษแก่ตัวเองอย่างไร เขาก็ยังทำสิ่งนั้นอยู่ด้วยความยินดีและเต็มใจ
แต่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโทษสาหัสกับเขาในภายภาคหน้า เขาไม่สามารถจะมองเห็นได้ คนที่มองไม่เห็นโทษของตัวเองจริง ๆ ไม่ใช่คนที่น่าโกรธ แต่หากเป็นคนที่น่าสงสารที่สุด
ถ้าเรารู้จักคิดอย่างนี้ก็จะไม่โกรธ... -
ถ้าจิตอยู่ในฐาน(กรรมฐาน)..คลื่นไม่ดีจะลดลงเอง
ถ้าจิตอยู่ในฐาน(กรรมฐาน)คลื่นไม่ดีจะลดลงเอง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ -
"มาฆบูชา" - ย่อธรรม หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
"มาฆบูชา" - ย่อธรรม หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๖ -
พระโมคคัลลานะ มาสอนหลวงพ่อฤาษีฯที่ภูกระดึง
พระโมคคัลลานะ มาสอนหลวงพ่อฤาษีฯที่ภูกระดึง -
จิตเข้าสู่สมาธิ / พระอาจารย์ เยื้อน ขันติพโล
พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล -
การปฏิบัติธรรมก็มีวาระที่บุญส่งผล หากทำในเวลาที่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสเข้าถึงมรรคผลได้เร็วขึ้น
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระผม/อาตมภาพไม่สามารถที่จะบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงค่ำได้ เพราะว่าช่วงนั้นจะมีงานพิธีเปิดงานประจำปีปิดทองรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน และงานทำบุญอุทิศอดีตเจ้าเมืองหน้าด่าน ๗ หัวเมือง จึงต้องขยับมาบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงเช้านี้แทน
พวกเราที่มาปฏิบัติธรรมในวันนี้ก็ถือว่าเป็นรุ่นที่ ๒/๒๕๖๖ แต่ว่าหลายท่านก็พลาดไปเพราะความนิ่งนอนใจของตนเอง ก็คือเมื่อมาถึงวัดแล้ว เข้าที่พักบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง บางคนก็มัวแต่โทรศัพท์หรือส่งไลน์แจ้งทางบ้านบ้าง ปรากฏว่าในศาลาแห่งนี้ กระผม/อาตมภาพนำเจริญพระกรรมฐานไปแล้ว
พวกเราต้องเข้าใจว่าในเรื่องของวาระบุญวาระกรรมนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นวงเวียน คือการหมุนวนอย่างหนึ่ง อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า กิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ก่อให้เกิดกรรม คือการกระทำ เมื่อมีการกระทำก็ส่งให้เกิดผลแห่งการกระทำ ที่เรียกว่าวิบาก ในเมื่อมีวิบาก ย่อมส่งผลให้กิเลสสามารถเกาะกินได้ ก็หมุนเวียนกันไม่รู้จบในลักษณะแบบนี้
แต่คราวนี้การหมุนเวียนที่กล่าวถึงในที่นี้ ก็คือวาระบุญวาระกรรมของพวกเราทั้งหลาย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๖ -
บอกคนสวดมนต์เค้าไม่สนใจจะทำยังไง❓
บอกคนสวดมนต์เค้าไม่สนใจจะทำยังไง❓ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖ -
คุณความดีของพระอรหันต์ ๖ องค์
คุณความดีของพระอรหันต์ ๖ องค์
๑. พระอานนท์ เราก็รู้ว่าท่านเป็น "พหูสูตร" มีความรู้ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก และพระพุทธเจ้าทรงชมเชยว่า
"อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ต่อไปเธอไปเทศน์ที่ไหน ผู้ฟังจะไม่อิ่มไม่เบื่อ ไม่อยากให้อานันทะเลิก"
ฉะนั้น ถ้าบูชาพระอานนท์ก็บูชาการทรงความจำ มีลีลาในการแสดงธรรมสวยมาก กำลังสูงมาก
๒. สำหรับท่าน พระมหากัจจายนะ นี่เก่งในด้าน "ปฏิภาณ" เป็นผู้เลิศ ปฏิภาณกับปัญญาไม่เหมือนกัน คนมีปัญญาดีแต่ความฉลาดคือเชาว์อาจจะไม่เท่ากัน เรื่องเชาว์นะไวมาก ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงทราบก่อนว่า พระมหากัจจายนะเก่งในด้านปฏิภาณ
๓. ส่วน พระสารีบุตร หนักในด้าน "ปัญญา"
๔. สำหรับ พระโมคคัลลาน์ หนักในด้าน "ฤทธิ์"
๕. พระอนุรุทธ เป็นผู้เลิศในด้าน "ทิพจักขุญาณ"
๖. ส่วน พระมหากัสสป องค์นี้สำคัญมาก หนักในด้าน "นิโรธสมาบัติ" เป็นจอมให้ลาภให้เป็นมหาเศรษฐีในปัจจุบัน
จำให้ดีนะ! เวลาบูชา แต่อย่าลืมตั้ง นะโม ก่อน เพื่อนึกถึงพระพุทธเจ้า ทีนี้คนที่ภาวนาว่า "สัมปจิตฉามิ" นะ เมื่อนึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็อย่าลืมนึกถึงพระโมคคัลลาน์ เพราะคาถานั้นเป็นคาถาอภิญญา... -
"หลวงปู่ดู่กับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร"
"หลวงปู่ดู่กับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร"
หลวงปู่บรมครูพระครูธรรมเทพโลกอุดร
(คัดลอกจากหนังสือ ตามรอยหลวงปู่ใหญ่ พ.ศ.2549 โดยคุณพรหมินทร์ อึ้งสกุลรัตน์)
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นพระอริยสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เคยพบ หลวงปู่บรมครูพระครูธรรมเทพโลกอุดร ดังที่คุณวิรัตน์ โรจนจินดา ได้บันทึกไว้ ดังนี้
“เหตุการณ์ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ข้าพเจ้าเริ่มตระเวณหาครูบาอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ ตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัตธรรม วันหนึ่งข้าพเจ้าได้เดินทางไปกราบหลวงปู่ดู่ ที่วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อไปถึงนั้นเป็นเวลา 4 โมงเย็น ข้าพเจ้าได้ไปถามเด็กวัดว่า กุฏิหลวงปู่ดู่อยู่ทางไหน เด็กคนนั้นก็พาข้าพเจ้าไปจนพบตัวท่าน ขณะท่านกำลังอยู่ที่ศาลาริมน้ำ ข้าพเจ้าเข้าไปกราบเท้าท่าน ท่านก็เมตตาและถามว่ามาจากที่ไหน ข้าพเจ้าก็กราบเรียนถามท่านว่า มาจากกรุงเทพฯ ครับ แล้วท่านก็นั่งหลับตาอยู่นานสองนาน จนข้าพเจ้าคิดไปต่าง ๆ นานาว่าท่านคงไม่สบาย เวลาผ่านไปนานพอสมควร พอท่านลืมตาขึ้นข้าพเจ้าก็รีบถามท่านทันทีว่า หลวงปู่ไม่สบายหรือเปล่า หลานจะไปซื้อยามาถวาย ท่านก็ตอบข้าพเจ้าว่า “ฉันกำลังคุยกับหลวงพ่อเกษมที่ลำปางอยู่... -
หลวงพ่อฤๅษีฯ เรื่อง เรียนวิธีทำน้ำมนต์
หลวงพ่อฤๅษีฯ เรื่อง เรียนวิธีทำน้ำมนต์ -
การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง คือการทำเพื่อพระศาสนาอยู่แล้ว
ถาม : ถ้าอยากมีโอกาสในการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต้องอธิษฐานอย่างไร ?
ตอบ : ไม่ต้องอธิษฐาน ถึงเวลาก็ทำเลย ทำเพื่อพระศาสนา ทำเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง คือการทำเพื่อพระศาสนาอยู่แล้ว ถ้าศีล สมาธิ ปัญญาของเราดี สร้างความเลื่อมใสให้กับคนอื่น ทำให้เขาหันเข้ามาทำนุบำรุงพระศาสนากันมากขึ้น แล้วปฏิบัติตามหลักพระศาสนามากขึ้น คือการที่เราช่วยอย่างเต็มที่แล้ว
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
ขอบคุณภาพจากคุณภัทร์ษกรณ์ จิระประเสริฐสุข -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖
หน้า 47 ของ 414