คลังเรื่องเด่น
-
วาระบุญวาระกรรมของแต่ละคนสั้นยาวไม่เท่ากัน หากพลาดรอบนี้แล้ว ไม่รู้เมื่อไรจะมีโอกาสอีก
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระผม/อาตมภาพไม่สามารถที่จะบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงค่ำได้ เพราะว่าช่วงนั้นจะมีงานพิธีเปิดงานประจำปีปิดทองรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน และงานทำบุญอุทิศอดีตเจ้าเมืองหน้าด่าน ๗ หัวเมือง จึงต้องขยับมาบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงเช้านี้แทน
พวกเราที่มาปฏิบัติธรรมในวันนี้ก็ถือว่าเป็นรุ่นที่ ๒/๒๕๖๖ แต่ว่าหลายท่านก็พลาดไปเพราะความนิ่งนอนใจของตนเอง ก็คือเมื่อมาถึงวัดแล้ว เข้าที่พักบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง บางคนก็มัวแต่โทรศัพท์หรือส่งไลน์แจ้งทางบ้านบ้าง ปรากฏว่าในศาลาแห่งนี้ กระผม/อาตมภาพนำเจริญพระกรรมฐานไปแล้ว
พวกเราต้องเข้าใจว่าในเรื่องของวาระบุญวาระกรรมนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นวงเวียน คือการหมุนวนอย่างหนึ่ง อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า กิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ก่อให้เกิดกรรม คือการกระทำ เมื่อมีการกระทำก็ส่งให้เกิดผลแห่งการกระทำ ที่เรียกว่าวิบาก ในเมื่อมีวิบาก ย่อมส่งผลให้กิเลสสามารถเกาะกินได้ ก็หมุนเวียนกันไม่รู้จบในลักษณะแบบนี้
แต่คราวนี้การหมุนเวียนที่กล่าวถึงในที่นี้ ก็คือวาระบุญวาระกรรมของพวกเราทั้งหลาย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ -
นักปฏิบัติต้องแลกกันด้วยชีวิต ต้องตามตี ตามบี้กิเลสให้ตายไปเลย
การที่เราจะต่อสู้เพื่อชนะกิเลส เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติตั้งแต่โบร่ำโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ต้องทุ่มเทอย่างชนิดที่เอาชีวิตเข้าแลก ไม่ใช่สักแต่ว่าปฏิบัติธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็จะสามารถชนะกิเลสได้ ต้องตั้งใจจริง ใช้ความเพียรพยายามในการปฏิบัติ ทุ่มเทชนิดสุดกำลังกาย สุดกำลังใจ ขนาดนั้นแล้วหลายต่อหลายท่านก็ยังไปได้ไม่ถึงไหน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจาก ๒ อย่างด้วยกัน
อย่างแรกก็คือทำผิด คำว่าผิด ในที่นี้คือผิดวิธี เนื่องเพราะว่าการปฏิบัติธรรมจะให้ได้ผลนั้นต้องเป็นมัชฌิมาปฎิปทา คือทางสายกลาง ทุ่มเทมากเกินไปก็ไม่ได้ผล ย่อหย่อนมากเกินไปก็ไม่ได้ผล แล้วที่สำคัญที่สุด ทางสายกลางนี้ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาของแต่ละท่านที่สั่งสมมา กำลังใจสูงก็มาตรฐานสูง กำลังใจต่ำก็มาตรฐานต่ำ
เราจะเห็นว่าบางท่านนั่งกรรมฐานกันที ๓ วัน ๓ คืนสบายมาก ส่วนของเราแค่ ๓๐ นาทีก็จะตายแล้ว นั่นเป็นเพราะว่าทางสายกลางของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น...เมื่อท่านปฏิบัติธรรมไปแล้วจนรู้สึกว่าไปต่อไม่ไหว ขอให้ลองฝืนดูก่อน ถ้าฝืนแล้วไม่ไหวจริง ๆ ค่อยเลิก หันไปทำสิ่งอื่น ๆ แทน... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖ -
"เจ้ากรรมนายเวร คือใจ" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"เจ้ากรรมนายเวร คือใจ"
" .. จึงให้เข้าใจเสียว่า "เจ้ากรรมนายเวรคือใจ ตัวกรรมแม่นใจ" ดวงใจอันเดียว วิญญาณอันเดียวเป็นตัวกรรม แต่งกรรมเสียแล้ว ให้เวียนตายเวียนเกิดที่นี่ ไม่เลิก
เรารู้จักแล้วเราต้องควบคุมใจ "แนะนำสั่งสอนใจ ทำใจของเราให้ผ่องแผ้ว" ว่าเอาย่อ ๆ นี่แหละ กว้างขวางก็ได้ยินมาพอแฮงแล้ว "เอาย่อ ๆ ควบคุมใจเท่านั้นแหละ" เดี๋ยวนี้ ใจนี้ เจ้าของนรกก็แม่นใจนี่แหละ ม่าง(เลิก, ทิ้ง) นรกก็แม่นใจนี่แหละ
ครั้นมันไม่ดีละก็ ร้อนเป็นทุกข์เหมือนใจจะขาด "ครั้นใจไม่ดีละก็ มันกลุ้ม เป็นทุกข์จนฆ่าตัวตายนี่แหละ" ถือว่าเรา เป็นเรา นี่ก็เพราะใจนี่แหละ ไม่ใช่อื่นดอก .. " -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๖ -
... 'บ่มนิสัย' ...
"... ปฏิบัติธรรม ก็คือเอากาย วาจา ใจของเรา เอาอายตนะเราเข้าสัมผัส คน สัตว์ มีอะไรบ้าง ตามันเห็นรูป มีหูมันได้ยินเสียง จมูกมีกลิ่น ลิ้นมีรส กายสัมผัส แล้วมันมีตัวรับข้อมูลคือ 'ใจ' พวกนี้เข้าไปฟ้อง
'ใจ' เป็นราชามหากษัตริย์ ผู้ครองเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ก็ ตา หู จมูก ลิ้น มันไปพบอะไร เห็นอะไร ก็มาทูลเกล้าพญา พระราชาให้รับทราบ ถ้าตาเห็นอะไรบ่อยๆ มันฟ้องบ่อยๆ ใจมันก็หลงเชื่อ มันก็โน้มน้าวไปตามนั้น หูได้ยินเสียงอะไรบ่อยๆ ใจมันก็โน้มน้าวไปสิ่งนั้น จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส เช่นเดียวกัน ฟ้องอยู่ตลอด แล้วจะทำยังไง จะสร้างนิสัยของเราให้เกิดอุดมมงคล
'นิสัย' กับ 'วาสนา' ก็อันเดียวกัน ก็ต้องอาศัยเอาตานี่ไปสัมผัส เอาหูไปสัมผัส เช่น เรามาวัดบ่อยๆ ตาก็เห็นพระสงฆ์องค์เจ้า ผู้เป็นอุดมมงคล หูก็ได้ยินเสียงธรรม สรรเสริญธรรม ฟังธรรมบ่อยๆเข้า ใจมันจะไปไหนล่ะ มันก็มาที่นี่ ที่อื่นไม่ไปเหรอ? ไป!! แต่มันไปน้อย ถ้าเรามาวัดมาก ถ้าเราไปตกเบ็ดตกปลา หาทำไร่ ทำสวนอะไรเป็นส่วนมาก มันก็จะไปตามนั้น แม้แต่นอนยังฝันไปเลย
อาศัยสร้างนิสัย สร้างจริต ฝึกหัดกรรมฐาน ตบะ บำเพ็ญ เผา บ่ม โดยเฉพาะบําเพ็ญในธุดงค์เช่นนี้... -
สร้างพลังจิตให้ดีขึ้น ทนต่อการกระทบกับอารมณ์รอบตัว /พระอาจารย์เยื้อน วัดเขาศาลา จ.สุรินทร์
สร้างพลังจิตให้ดีขึ้น ทนต่อการกระทบกับอารมณ์รอบตัว
/พระอาจารย์เยื้อน วัดเขาศาลา จ.สุรินทร์ -
ทำไมใช้มโนมยิทธิดูเรื่องต่าง ๆ แล้วถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง ?
ถาม : ใช้มโนมยิทธิดูเรื่องต่าง ๆ แล้วถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง ?
ตอบ : ถ้าหากว่าเคยถูก ให้จำด้วยว่าเราวางอารมณ์แบบไหนถึงถูก ถ้าเราจำได้แล้ว ถึงเวลาใช้อารมณ์อย่างนั้นก็จะถูกไปเรื่อย แต่ถ้าเราจำไม่ได้ ไปมั่วเข้าก็จะถูกบ้างไม่ถูกบ้าง
ถาม : ยกจิตไปเกาะพระนิพพาน มีอานิสงส์อย่างไร ?
ตอบ : อันดับแรกได้พุทธานุสติ ถ้ากำลังใจปักมั่นแน่วแน่ เชื่อว่าตรงนั้นคือพระนิพพานก็เป็นอุปสมานุสติ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของเรา
สมัยก่อนบางทีอาตมาร่างกายแย่ ๆ จับภาพพระไม่เห็นองค์ท่านเลย จิตมัวมากเพราะร่างกายแย่ ป่วยหนัก เห็นแต่ยอดเกตุนิดเดียวแหลม ๆ ก็ตั้งใจน้อมกราบลงไปตรงนั้น มั่นใจว่าพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนั้นก็ใช้ได้แล้ว ดังนั้น..กำลังใจของเราแต่ละวันไม่เท่ากัน บางวันก็ชัดเจน บางวันก็มัว แต่ให้เรามั่นใจว่าตรงนั้นคือพระนิพพานแน่นอน
ถาม : การปฏิบัติมโนมยิทธิที่จะให้ดี มีขั้นตอนอย่างไร ?
ตอบ : ถ้าหากว่ามีเวลา เราก็นั่งสมาธิจนทรงตัว พิจารณาตัดร่างกายได้แล้วค่อยส่งจิตไปจะดีมาก แต่ถ้าหากทำจนคล่องตัวจริง ๆ แค่นึกก็ถึงแล้ว ถ้าหากว่านึกก็ถึงแล้ว นั่นเป็นการตัดโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว นี่ว่ากันตามทฤษฎีพื้นฐานก่อน... -
ขั้นตอนฝึกมโนมยิทธิ ญาณ8
ขั้นตอนฝึกมโนมยิทธิ ญาณ8 วันที่1 ระลึกชาติ ดูอนาคต ดูกรรม สมาทานกรรมฐาน-นั่ง-แผ่เมตตา ในคลิปเดียว -
"รวมอยู่ที่ใจ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"รวมอยู่ที่ใจ"
" .. อะไรในโลกนี้...มารวมอยู่ที่ใจ
ทุกข์ทั้งโลก-สุขทั้งโลกมารวมอยู่ที่ใจหมด
เวลาชำระได้แล้วเหลือแต่สุขล้วนๆ
"อยู่ที่ใจ"นั่นแหละ แสนสบายตรงนั้น
นอกนั้นไม่อะไรสบายล่ะ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ -
การทำความดีให้ได้ผลเร็ว ให้นึกน้อมใจว่าเราทำความดีนี้เพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัย
ถาม : รูปแบบของการปฏิบัติกรรมฐาน บางแห่งมีการกำหนดสภาวะ สัมมา อะระหัง พุทโธ การนับเลข แบบใดจะได้ผลเร็วกว่ากันครับ ?
ตอบ : เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ คือ เรื่องของสายกรรมฐานนั้น จะได้ผลเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังที่เป็นสัจจบารมี ขึ้นอยู่กับความพากเพียรที่เป็นวิริยบารมี และขึ้นอยู่กับความอดทนอดกลั้นของเราที่เป็นขันติบารมี
ใครก็ตามที่มีความอดทน พากเพียร ตลอดจนกระทั่งการกระทำอย่างสม่ำเสมอที่เป็นสัจจะแล้ว ท่านสามารถที่จะเข้าถึงธรรมได้เร็วกว่าบุคคลอื่น
จะปฏิบัติในสายไหนก็ตาม จะขาดใน ๓ สิ่งนี้ไม่ได้
โดยเฉพาะในส่วนของปัญญา ที่จะทำให้เรารู้จักปล่อยวางว่า เรามีหน้าที่แค่ภาวนา จะดีหรือไม่ดี จะได้หรือไม่ได้ก็ช่างมันเถอะ เราขอทำถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชาก็พอ ถ้าท่านทั้งหลายกระทำอย่างนี้ได้แล้ว โอกาสที่จะเข้าถึง ความดีจะมีเร็วกว่า ไม่ว่าจะปฏิบัติในสายใดก็ตาม
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ -
นิยาม ๕ จำแนกบุคคลและสัตว์ให้แตกต่างกันไป
นิยาม ๕
คนใต้จะผิวดำกว่าคนภาคเหนือ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อุตุนิยาม
มีนิยาม ๕ อย่าง ที่ทำให้บุคคลต่างกัน อุตุนิยาม คือสภาพดินฟ้าอากาศ คนในเขตร้อนอย่างแอฟริกาตัวดำปี๋เลย ถ้าอยู่ในเขตหนาวอย่างยุโรปก็ผิวขาว ถ้าอยู่ในเส้นศูนย์สูตรอย่างพวกเราก็ผิวเหลือง อันนี้คืออุตุนิยาม
พีชนิยาม คือเกิดจากดีเอ็นเอ (พีชะ คือ พืชพันธุ์) เกิดจากสายเลือด ทำให้เราต่างกันไป
จิตนิยาม เกิดจากสภาพจิตใจของตนที่อบรมบ่มเพาะมา คนที่มีสภาพจิตใจอ่อนโยน ประกอบด้วยเมตตาเกิดมาก็สวยงามดูดี คนที่จิตใจประกอบด้วยโทสะ เกิดมาหน้าตาก็ดูไม่ได้
กรรมนิยาม เกิดจากการกระทำของตน กรรมดีกรรมชั่วที่สร้างมาส่งผลให้ต่างกันไป
ธรรมนิยาม อันนี้ต้องบอกว่าธรรมะจัดสรร ถ้าหากว่าธรรมนิยามบางส่วนที่จะอธิบายนอกเหนือจากพระไตรปิฎก ก็ต้องบอกว่าเป็นการผ่าเหล่าตามกฎของเมนเดล ที่มีลักษณะเด่น ๓ ลักษณะด้อย ๑ แต่การผ่าเหล่านี้ก็เพราะสิ่งที่เขาสร้างสมมานั่นแหละ บางทีก็ผ่าเหล่าจนกลายเป็นอัจฉริยมนุษย์สุดประเสริฐอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปก็มี
เพราะฉะนั้น..ในเรื่องของนิยาม ๕ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัด จำแนกบุคคลและสัตว์ให้แตกต่างกันไป... -
"เวลา กับลมหายใจ" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
.
"เวลา กับลมหายใจ"
" .. พุทธบริษัทบางกลุ่ม ผู้หญิงก็ดี ผู้ชายก็ดีเคยพูดว่า "ฉันมีธุระมากเกี่ยวแก่การงาน ไม่มีโอกาสที่จะทำความเพียร" จะให้ฉันทำอย่างไร อาตมาตอบว่า "โยมทำงานนั้นโยมหายใจหรือเปล่า" เขาตอบว่าหายใจอยู่ ทำไมโยมมีโอกาสหายใจ เมื่อโยมทำงานอยู่เขาก็ไม่พูด
"โยมมีสติอยู่เท่านั้นแหละ ก็มีเวลามากเหลือเกินที่จะทำความเพียร" ที่จะทำกรรมฐานเหมือนกับลมหายใจเข้าออก "เราทำงานอยู่ก็หายใจอยู่ นอนอยู่ก็หายใจอยู่ นั่งก็หายใจอยู่ ทำไมมันมีโอกาสหายใจอย่างนั้น" ถ้าเรามีความรู้สึกถึงความมีชีวิตของเรากับลมหายใจนั้น มันก็ต้องมีเวลาอยู่ตลอดกาล .. "
หลวงปู่ชา สุภัทโท -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ -
ปัจเจกพุทธาปธาน | เหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ปัจเจกพุทธาปธาน | เหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
-----------------
https://www.youtube.com/@Uttayarndham -
ประโยชน์ของการสมาทานพระกรรมฐาน
ถาม : การสมาทานพระกรรมฐานมีประโยชน์ต่อพัฒนาการผลของการปฏิบัติอย่างไรครับ ?
ตอบ : การสมาทานพระกรรมฐาน จะว่าไปแล้วก็สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ขอกล่าวถึงในด้านของโลกเราก็คือว่า เท่ากับเราเป็นศิษย์มีครู ในเมื่อเราเป็นศิษย์มีครู พรรคพวกเพื่อนฝูงที่เป็นสายธรรมเดียวกันก็จะชักนำเราไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน เวลาบุคคลที่กำลังใจไปในด้านเดียวกัน อยู่รวมกันมาก ๆ กระแสความดีจะดึงเราให้เข้าถึงธรรมโดยง่าย
อีกส่วนหนึ่งก็คือส่วนของโลกทิพย์ที่เรามองไม่เห็น ครูบาอาจารย์ที่ท่านอยู่ในกายทิพย์ทั้งหลายนั้น เมื่อเห็นเราสมาทานกรรมฐานตามแนวของท่าน ก็แปลว่าเป็นลูกศิษย์ของท่าน ถึงเวลามีสิ่งหนึ่งประการใดที่จะเกิดอันตรายท่านก็จะช่วยป้องกันให้ หรือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของกำลังใจเรา ถ้ายังขาดนิดขาดหน่อย ท่านอาจจะช่วยชักช่วยจูงด้วยกำลังของท่าน ทำให้เราสามารถที่จะเข้าสมาธิได้ง่ายกว่าปกติ
ดังนั้น..ในส่วนของการสมาทานพระกรรมฐาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรที่จะขาด ยกเว้นว่าท่านทั้งหลายมีเวลาน้อยมาก ก็ให้เข้าสู่อารมณ์ของการภาวนาไปเลย แล้วหลังจากนั้น เมื่อมีเวลาเมื่อไร ค่อยมาสมาทานกันอีกทีหนึ่ง
........................................ -
หนทางต้องเดินทีละก้าว กินข้าวต้องกินทีละคำ
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นการปฏิบัติธรรมวันที่หกของบรรดาเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔
เมื่อวานนี้บรรดาเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเกิดอาการขวัญหนีดีฝ่อกันไปหลายรูป เหตุก็เพราะว่าผู้บรรยายถวายความรู้ในช่วงค่ำ ก็คือพระปลัดสมทบ ปรกฺกโม วัดกลาง (บางปลาม้า) ท่านเป็นผู้ที่ศึกษาทั้งในด้านพระอภิธรรมและในด้านการปฏิบัติธรรม จึงได้บรรยายถวายความรู้ด้วยภาษาทางวิชาการ แทรกศัพท์แสงทางพระศาสนาอย่างเต็มที่ ทำเอาบรรดาท่านที่ฟังอยู่ถึงขนาดใจหายว่า "ถ้าการปฏิบัติธรรมต้องยากเย็นขนาดนี้ ตนเองที่เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม จะสามารถบริหารสำนักไปได้รอดหรือไม่ ?"
หลังจากที่หลวงพ่อพระปลัดสมทบท่านเหมายาวจนหมดรายการตอน ๒ ทุ่มครึ่ง กระผม/อาตมภาพจึงได้ให้กำลังใจทุกคนว่า สิ่งที่หลวงพ่อสมทบท่านพูดมาคือสิ่งที่ท่านปฏิบัติมาตลอด ๔๐ ปี ท่านทั้งหลายไม่สามารถที่จะใช้ระยะเวลาสั้น ๆ แค่ประมาณ ๒ ชั่วโมงซึมซับรับได้หมด หากแต่ว่าฟังไว้เป็นแนวทาง เมื่อถึงเวลาแล้วเราสามารถที่จะศึกษาเพิ่มเติมได้ เหมือนกับรับอาหารไปแล้ว ถึงเวลาก็ค่อย ๆ เคี้ยว ค่อย ๆ กลืน... -
"สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา"
" .. "เมื่อจิตเราสงบภายในแล้ว อุปมาเหมือนน้ำสงบ" น้ำสงบมันก็ใส ใสแล้วก็มองเห็นเหตุ มองเห็นผล มองเห็นบุญกุศล มองเห็นสุข "มองเห็นทุกข์ มองเห็นดี มองเห็นชั่ว"
มันสงบแล้ว อันนี้จิตของเราสงบแล้ว พอมันจะออกข้างซ้าย หรือจะออกข้างขวา ข้างหน้าข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง เราก็รู้ จึงว่ามันตั้ง นี่ เพ่งเล็งตั้งสติอยู่ตรงนี้ นี่หละให้พึงรู้ พึงเข้าใจต่อไปการที่ทำสมาธิ
อันนี้เมื่อจิตของเราเห็นแล้วอย่างนี้ เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลายและมันจะได้เกิด ปัญญา ความรอบรู้ในกองสังขาร ใครเป็นผู้ปรุง ใครเป็นผู้แต่ง ไม่ใช่อันอื่นปรุงแต่ง กายสังขาร จิตสังขาร นี่หละ ปรุงแต่งขึ้นจากจิตของเรา
นี่หละมันจึงได้เกิดเป็น วิปัสสนา ขั้นต่อไปของสมถะ .. "
"สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา"
" .. เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายว่าแท้วิปัสสนา ๆ ได้ แต่ว่าไม่รู้จักว่า วิปัสสนามันเป็นยังไง นี่ "สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา" คือเมื่อจิตสงบแล้ว มาเห็นที่เกิดแห่งสังขาร แล้วก็เห็นที่ดับแห่งสังขารนี่หละ มันเป็นยังงี้
ให้พากันรู้ เดี๋ยวนี้เราไม่รู้ว่าอะไรมันเกิดจากไหน ไม่รู้จักที่เกิดและไม่รู้จักที่ดับ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ -
การฝ่าทะลุขีดจำกัดของตัวเอง
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระผม/อาตมภาพเปิดเว็บไซต์วัดท่าขนุนขึ้นมาก็ "น้ำตาจิไหล..!" เพราะว่ามีดหมอหลวงพ่อกวยที่ตั้งใจเก็บไว้เองหายไปรวดเดียว ๓ เล่ม แต่ก็ไม่ว่ากัน เพราะว่าท่านทั้งหลายถือว่าเป็นผู้มีบุญ จึงสามารถที่จะได้ครอบครองของดีซึ่งกระผม/อาตมภาพใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเสาะหามาได้
สำหรับวันนี้กระผม/อาตมภาพก็ยังกรำงานอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครปฐมแห่งที่ ๒ ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในฐานะรองประธานคณะพระวิปัสสนาจารย์ตามโครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ซึ่งตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าวิธีเรียกแขกของกระผม/อาตมภาพนั้นใช้ได้ผลดี
แต่ว่าที่นึกไม่ถึงก็คือในระหว่างที่กำลังทำการเรียกแขกอยู่ ก็มีเสียงดังมาจากข้างหลังว่า "ท่านหยุดพูดสักครู่หนึ่งแล้วนั่งลงก่อนได้ไหมเจ้าคะ ?" เมื่อหันมาก็เจอคณะญาติโยม ๔ - ๕ คน ถามโยมว่า "มีธุระอะไรหรือ ?" โยมบอกว่า "มาถวายภัตตาหารแก่ผู้เข้าปฏิบัติธรรม ฟังท่านมาหลายวันแล้วรู้สึกชอบใจมาก เพราะว่าท่านสามารถที่จะนำเอาเรื่องราวหลากหลาย... -
"เจตนาความงดเว้นเป็นศีล" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เจตนาความงดเว้นเป็นศีล"
" .. พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจตนาความงดเว้นเป็นศีล เจตนานับว่าเป็นธรรมโดยแท้ เมื่อเจตนา คือธรรม งดเว้นซึ่งโทษนั้น ๆ แล้วกลายมาเป็นศีล" ศีลและธรรมจะแยกออกจากกันไม่ได้
"ผู้ชอบธรรม คือสมถะและวิปัสสนา เห็นว่าเป็นทางตรงต่อมรรคผลนิพพาน ศีลยังเป็นอาการภายนอก" แล้วสรรเอาแต่เฉพาะธรรมมาปฏิบัติ "เลยลืมนึกถึงการปฏิบัตินั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว"
"หรือผู้ชอบศีลเห็นว่า ธรรมเป็นของปฏิบัติยาก แล้วตั้งใจรักษาเอาแต่ศีลอย่างเดียว" เลยลืมคิดว่า "การมีเจตนางดเว้นจากโทษนั้น ๆ ก็คือธรรมนั่นเอง จิตที่แน่วแน่อยู่ในศีลนั้นเป็นสมาธิมิใช่หรือ"
พระพุทธเจ้าทรงวางธรรมเป็นอมตะไว้เป็นอย่างดีเลิศ ธรรมนั้น ๆ อันใคร ๆ ผู้ไม่หยั่งถึงธรรมของพระพุทธองค์ "ไม่ควรจะไปบัญญัติขึ้นมาใหม่ให้ถูกต้องตามกิเลสของตนเลย มันจะเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว" .. "
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
พระป่า กับปฏิปทาการต่อสู้ราคะกิเลส
พระป่า กับปฏิปทาการต่อสู้ราคะกิเลส -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖ -
การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง เป็นการทำเพื่อพระศาสนาอย่างเต็มที่ไปพร้อมกัน
ถาม : ถ้าอยากมีโอกาสในการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต้องอธิษฐานอย่างไร ?
ตอบ : ไม่ต้องอธิษฐาน ถึงเวลาก็ทำเลย ทำเพื่อพระศาสนา ทำเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานของตัวเอง คือการทำเพื่อพระศาสนาอยู่แล้ว ถ้าศีล สมาธิ ปัญญาของเราดี สร้างความเลื่อมใสให้กับคนอื่น ทำให้เขาหันเข้ามาทำนุบำรุงพระศาสนากันมากขึ้น แล้วปฏิบัติตามหลักพระศาสนามากขึ้น คือการที่เราช่วยอย่างเต็มที่แล้ว
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
ขอบคุณภาพจากคุณภัทร์ษกรณ์ จิระประเสริฐสุข -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖
หน้า 46 ของ 414