คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖ -
จิตกับวิญญาณ
กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อระบายความอัดอั้นในใจนะครับ ไม่ได้เน้นเนื้อหาสาระอะไร
ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสนั่งคุยกับผู้ทรงศีลสายนักปราชญ์ท่านนึง เรื่องขันธุ์ 5
ท่านว่าขันธุ์ 5 ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณหรือจิต...
เรานั่งฟังอยู๋เราก็แย้งว่า วิญญาณเป็นอรูปธาตุประกอบอยู่ในขันธุ์ไม่ใช่จิต
ท่านก็ว่า จิต และวิญญาณ เป็นไวพจน์ของกันและกัน เป็นคำศัพท์ที่สามารถใช้แทนกันได้ ดังนั้นจิต ก็คือวิญญาณ วิญญาณก็คือจิตนั่นเอง
เราก็สวนไปอีกว่า จิตนั้นมาอาศัยในกาย ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านวิญญาณธาตุ เมื่อกายสังขารดับ วิญญาณธาตุก็สลายตามกาย ส่วนจิตนั้นก็ไปตามบุญตามกรรม
ท่านก็สวนกลับมาว่าที่ไปเกิดหรือมาเกิดนั้นคือสัตว์ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่วิญญาณ ทีนี้งงหนักเลย อิหยังวะ
คือผมไม่ใช่คนที่ศึกษาธรรมะเยอะนะครับ ไปหาข้อมูลเฉพาะที่สงสัยเฉยๆ ตรงไหนไม่สงสัยก็ไม่ได้ขวนขวายอะไร แล้วก็ไม่ได้รู้ด้วยว่าสายนักปราชญ์เขาศึกษาอะไรกันบ้าง
แต่ส่วนตัวลึกๆก็สำนึกอยู่ว่ารู้น้อยกว่า ก็เลยนั่งฟังต่อแบบงงๆไปเรื่อยๆ
จากนั้นท่านก็ยกตัวอย่างการทำงานของจิตหรือวิญญาณในกายว่า เมื่อรูปมากระทบตา จิตก็จะวิ่งไปที่ตาเพื่อรับรูป... -
กิเลสมีอยู่ในตัวเราทุกคน แค่อย่าไปคิดปรุงแต่งต่อ
กิเลส รัก โลภ โกรธ หลง เป็นสมบัติของร่างกายนี้ ทุกคนมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพียงแต่ว่าถ้าเราไม่ไปนึกคิดปรุงแต่ง กิเลสก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายแก่เรา ได้
กระผม/อาตมภาพเคยเปรียบเทียบมานักต่อนักแล้วว่า เหมือนกับเราลวกก๋วยเตี๋ยวใส่น้ำเปล่า ก็ไม่มีใครอยากที่จะกิน แต่เราเปลี่ยนจากน้ำเปล่าไปเป็นน้ำซุป มีการใส่หมูสับ ใส่ตังฉ่าย ใส่ต้นหอมสับ ใส่กุ้งแห้ง ใส่ถั่วลิสงป่น ใส่พริกป่น ใส่น้ำตาล ใส่น้ำปลา ใส่น้ำส้มสายชู ยิ่งปรุงก็ยิ่งอร่อย เมื่ออร่อยเรากินแล้วก็อยากกินอีก
ดังนั้น..ถ้าหากว่าเราไม่มีการปรุงแต่ง รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ ก็ไม่มีรสชาติ เราเองก็จะเบื่อหน่าย ถอนจิตออกมาเองโดยอัตโนมัติ การที่เราจะไม่ปรุงแต่งก็คือ หยุดการคิดให้ได้ เพราะว่าคิดเมื่อไรก็ปรุงแต่งเมื่อนั้น
การที่เราจะหยุดความคิดได้ ในเบื้องต้นก็คือต้องอยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าความคิดของเรานั้น ถ้าไม่ไปในอดีตก็จะไปในอนาคต ก็จะไปยึดติดห่วงหาอาลัยกับอดีต หรือไม่ก็จะไปยึดติดด้วยการฝันเฟื่องถึงอนาคต เราต้องอยู่กับปัจจุบันด้วยสติรู้ตัวสมบูรณ์พร้อม ก็จะสามารถหยุดการปรุงแต่งทั้งปวงลงได้
การที่เราจะมีสติ อยู่กับปัจจุบันตรงหน้าได้... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๖ -
"สถานที่สร้างกรรม" (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญฺโญ)
.
"สถานที่สร้างกรรม"
" .. "โลกมนุษย์นี้เป็นสถานที่สร้างกรรม" โดยเฉพาะ คนที่เกิดมาในโลกนี้มีการสร้างกรรมกันหมดทุกคน "พระพุทธเจ้าสร้างบารมี ก็มาสร้างในโลกมนุษย์" บารมีที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ก็เต็มอยู่ในโลกมนุษย์นี้ มีดวงตาเห็นธรรม มีสติปัญญาละอาสวกิเลส ตัณหา ก็ละกันในโลกมนุษย์นี้
หรือ "พระอรหันต์อริยสาวกก็เช่นเดียวกัน ก็ได้มาบำเพ็ญบารมีอยู่ในโลกมนุษย์นี้" จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ได้บรรลุธรรมในโลกมนุษย์นี้ "หรือผู้จะไปตกนรกอเวจี ไปเกิดเป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นอสุรกาย ก็ทำกรรมชั่วอยู่ในโลกมนุษย์นี้เช่นกัน" .. "
ฉะนั้น "โลกมนุษย์จึงเป็นศูนย์กลางเป็นต้นทางของจิตวิญญาณที่จะไปท่องเที่ยวในวัฏจักรอื่นต่อไป" หรือเหมือนกับท่าอากาศยาน ใครต้องการไปเที่ยวที่ไหนประเทศใด ก็ตีตั๋วไปสายการบินนั้นๆ นี้ ฉันใด "ใครอยากจะไปสู่ภพไหนชาติใด ก็สร้างกรรมประเภทนั้น ๆ ผลของกรรมจะเป็นเครื่องบินพาท่านไปเอง" .. "
"โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม"
หลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญฺโญ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๖ -
"เวรนี้เป็นของน่ากลัวที่สุด" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เวรนี้เป็นของน่ากลัวที่สุด"
" .. เมื่อพูดถึงกรรมแล้ว จะต้องพูดถึงเวรด้วยจึงจะเข้าใจดี "กรรม คือ การกระทำของบุคคล ด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจในทางดีและไม่ดี เรียกว่า กรรม" กรรมนี้เมื่อบุคคลทำลงไปแล้ว "ย่อมให้ผลตามมาไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป" ดังได้อธิบายแล้ว และไม่จำเป็นที่ผู้นั้นหรือสิ่งนั้น ๆ จะต้องมาให้ผลกรรมที่ทำไว้
ตัวอย่างเช่น "นายแดงไปดักสัตว์ในป่า มีอีเก้งตัวหนึ่งมาติดบ่วงแล้วตาย" นายแดงเลยไปเอามากิน นายแดงนั้นผู้ทำกรรมแล้ว เพราะไปดักอีเกิ้ง อีเก้งจึงตาย
"กรรมนั้นตามทันให้นายแดงได้รับกรรม" คือดักบ่วงให้นายแดงมาถูกบ่วง อย่างนายแดงทำให้แก่อีเก้งตัวนั้น อาจเป็นเรื่องอื่น เป็นต้นว่า "เกิดมาอายุสั้นตายเร็ว หรือตายเพราะตกต้นไม้" หรือตกบันได ฟ้าฝ่า ควายขวิด ตกหลุมตกบ่อก็ได้ "อันนี้เรียกว่า กรรม"
"เวร นั้นต้องมีจิตมุ่งมั่นอาฆาต" ปรารถนามุ่งร้ายต่อกันและกันด้วยเหตุขัดเคืองเคียดแค้นต่อกันอย่างใดอย่างหนึ่ง "แล้วผูกอาฆาตจองเวรกัน" เช่น นายเหม็นไปทำร้ายร่างกายแก่นายหอม โดยที่นายหอมไม่ได้ทำอะไรให้แก่นายเหม็นเลย นายหอมต่อว่านายเหม็น นายเหม็นเลยโกรธเอานายหอม... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖ -
วิธีแก้อารมณ์กำหนัด
ถาม : เมื่อก่อนสังเกตอารมณ์ตัวเอง อย่างเวลามีความกำหนัดเกิดขึ้น จะมีอยู่สองอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็คือ พยายามที่จะทำตามความรู้สึกนั้น กับพยายามที่จะให้ความรู้สึกนั้นหายไป ทีนี้เกิดมีอีกอารมณ์หนึ่งเกิดขึ้นเข้ามา ก็คือ รู้สึกว่าความกำหนัดเกิดขึ้น แต่ไม่ได้อยากให้หายไป และก็ไม่ได้อยากจะทำตาม ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังขารุเปกขาญาณหรือเปล่า ?
ตอบ : อันหลังนี่เป็นอารมณ์ที่ถูกต้องกว่า เพราะว่าสภาพร่างกายของเราถ้ายังดีอยู่ เรื่องของราคะ โทสะ โมหะ จะแรงเป็นปกติ แต่จะแรงก็แรงไป เราไม่ให้ความใส่ใจ ไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งจินตนาการ ก็จะอยู่ได้ไม่นาน แล้วก็จะหายไปเอง
เพราะฉะนั้น..เราทำตัวเป็นคนดู พอถึงเวลามีตัวละครขึ้นเวทีมา เราก็ดูไปเรื่อย พอเล่นครบบทเดี๋ยวมันก็ลงเวทีไปเอง ถ้ายิ่งสติ สมาธิ ปัญญาของเราเข้มข้น แหลมคม ว่องไวมากเท่าไร ระยะเวลาที่จะอยู่ได้ก็สั้นลงเท่านั้น และท้ายสุดถ้าหากว่าไวจริง ๆ ก็จะตัดตั้งแต่เหตุเลย แล้วมันจะเกิดไม่ได้ ถ้าถึงตอนนั้นคุณสบายแล้ว
อย่างเช่นมองไปจะสักแต่เห็นว่าเป็นคนหรือเป็นสัตว์เท่านั้น จะไม่มีการคิดต่อว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย สวยหรือไม่สวย ชอบหรือไม่ชอบ... -
สู้ขณะเป็นพระกับ สู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
สู้ขณะเป็นพระกับ สู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
ถาม : สู้ขณะเป็นพระกับสู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
ตอบ : ขณะเป็นพระได้เปรียบกว่าเยอะ เพราะถูกจำกัดเขตอยู่ด้วยศีล ถ้าหากประเภทไม่หน้าด้านหน้าทนจริง ๆ ชั่วอย่างไรก็ไม่หลุดไปจากกรอบของศีลหรอก
ถาม : ผมว่าเป็นฆราวาส มีเรื่องกวนใจทุกวัน ?
ตอบ : ชีวิตฆราวาส เหมือนกับว่าเราถูกปล่อยไว้ในป่ากับเสือตัวหนึ่ง บางครั้งเดินทั้งปีก็ไม่เจอเสือตัวนั้นหรอก แต่ชีวิตของพระ เขายัดเราเข้ากรงไปอยู่กับเสือตัวนั้น ก็เลยฟัดกันอยู่ทุกวันจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง
ถาม : เราว่าเราใจเย็น แบบไม่มีใครเหมือน พอเก็บเงินได้สักก้อน ก็จะไปปฏิบัติ ไม่รู้ตอนนั้นจะไหวหรือเปล่า ?
ตอบ : ระวังเอาไว้...ประเภทอีกเดี๋ยวหนึ่งค่อยไปก็ได้ เดี๋ยวตายเสียก่อนไม่ได้ทำหรอก หรือไม่ก็คลานไม่ไหวแล้ว แก่เกินแกง
พวกเรายังได้เปรียบ คือ คิดมุ่งไปทางปฏิบัติดีอย่างนี้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก ใช้คำว่ายังไม่มาก เพราะว่าถ้าคนทุกข์มาก ๆ อยู่มาขนาดนี้ เหลือจะเข็นแล้ว เพราะฉะนั้น..มัวแต่ไปประมาทอยู่ว่าเรายังไหว เดี๋ยวเสร็จ..ตายเสียก่อนก็หมดโอกาสเลย
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก... -
"ปัญญาแท้ แก้กิเลส " (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"ปัญญาแท้ แก้กิเลส"
" .. นี่เคยพูดเสมอเรื่องสติปัญญาที่จะแก้กิเลสนี้ "เป็นสติปัญญาที่ผลิตขึ้นโดยธรรม" โดยตรงทีเดียว สิ่งที่เราคิดทางโลก ๆ ที่จะนำมาใช้นั้นได้นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่พ้นที่กิเลสจะคว้าเอาไปเป็นเครื่องมือของมันจนได้แหละ "จึงต้องสติปัญญาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติของตนนี้เท่านั้น"
สรุปลงแล้ว "คือสติปัญญาในวงจิตตภาวนานี้เท่านั้น" เป็นที่จะล้างป่าช้าภายในจิตใจออกให้หมดโดยสิ้นเชิงไม่มีอะไรเหลือ คือปัญญาประเภทนี้เท่านั้น ไม่มีปัญญาใดในสามแดนโลกธาตุนี้ที่จะสามารถถอดถอนกิเลสออกไปได้โดยลำดับลำดา
มีปัญญาที่กล่าวมา ๓ ประเภทนั้นแหละ ดังที่เคยพูดแล้ว ..
- "สุตมยปัญญา" การได้ยินได้ฟังจากครูจากอาจารย์ เพื่อสติปัญญาเพื่ออุบายวิธีที่จะนำไปใช้ในการแก้กิเลสของตน
- "จินตามยปัญญา" คิดอ่านไตร่ตรองด้วยอุบายแยบคาย เพื่อจะแก้กิเลส
- "ภาวนามยปัญญา" นี้เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหลาย "นี่ละปัญญาแท้เครื่องมือแท้ที่จะแก้วัฏจักรออกภายในจิต มีปัญญานี้ประเภทเดียวเท่านั้น" รวมลงไปอยู่ประเภทนี้อย่างเดียว จำให้ดีผู้ปฏิบัติ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ -
คุณลุงปรุง ตุงคเศระณี ฆราวาส ผู้จบกิจแห่งวัดท่าซุง
คุณลุงปรุง ตุงคะเศระณี ฆราวาส ผู้จบกิจที่วัดท่าซุง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้
คุณลุงปรุง ตุงคะเศระณี ศพของท่านแสดงอสุภกรรมฐาน ความโดยย่อมีว่า ท่านเป็นบุคคลแต่ผู้เดียวที่เฝ้าดูแลตึกกลางน้ำ ที่หลวงพ่อฤๅษีท่านพักอยู่ตอนสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อหลวงพ่อฤๅษีจากไป ท่านก็ยังดูแลอยู่แต่ผู้เดียวต่อไป ผมจำได้ว่าหลวงพ่อเคยพูดว่า ลุงปรุงเป็นพระอนาคามีมานานแล้ว แต่ยังไม่ยอมไป คือ ไม่ยอมทำจิตให้จบกิจในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่รู้หนทางปฏิบัติอย่างดี
ในเมื่อหลวงพ่อท่านจากไปแล้ว ท่านจึงปฏิบัติธรรมให้จบกิจในพระพุทธศาสนา ในเมื่อท่านเป็นฆราวาส พอจิตจบกิจ โดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้หมดแล้ว ขันธ์ ๕ ก็จะต้องตายภายในวันนั้นทุกคน
แต่ท่านต้องการจะโปรดพระวัดท่าซุง โดยเอาศพของท่านแสดงอสุภกรรมฐาน โดยปล่อยให้ศพเน่าจนหนอนขึ้นเต็มไปหมด แล้วจึงจะให้พระประทีปไปพบ เป็นการแสดงธรรมครั้งสุดท้ายที่สูงสุด เรื่อง กายคตานุสสติควบอสุภกรรมฐานในทางธรรม ส่วนทางโลกก็เรื่อง คนเราเกิดมาก็มาตัวเปล่า เวลาตายไปก็ไปตัวเปล่า ในขณะนั้นผมมิได้อยู่วัด และไม่รู้เรื่องการตายของท่าน เมื่อไปวัดจึงทราบ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖ -
คู่ชีวิตที่เป็นพรหมเป็นยังไง❓⚡ตำรายารักษาแผลใจหลวงตา
คู่ชีวิตที่เป็นพรหมเป็นยังไง❓⚡ตำรายารักษาแผลใจหลวงตา -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖ -
ชีวิตนี้เป็นของน้อยยิ่งนัก
ตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ที่ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติด้วยชีวิต จนมาถึงอายุ ๖๑ ปี ในวันนี้ ตัวเลขพอดีพ้องกันในด้านกลับ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน สิ่งหนึ่งที่อาตมาเห็นว่าน่ากลัวที่สุด คือ จิตสังขาร การปรุงแต่งของใจ ที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง พาให้ต้องทุกข์อยู่ไม่รู้จักจบจักสิ้น
สิ่งหนึ่งที่นักปฏิบัติธรรมมักจะต้องพบเจอ ก็คือการที่ จิตตก สมาธิตก กรรมฐานแตก ตามแต่จะเรียกกันไป สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะว่าสภาพจิตของเราไปปรุงแต่ง แล้วหลุดจากอารมณ์ปัจจุบัน ไปเสวย รัก โลภ โกรธ หลง เท่ากับยื่นหัวไปให้กิเลสฟันเอง แล้วก็มาโอดครวญว่า ทุกข์อย่างนั้น ลำบากอย่างนี้
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เข็ด เพราะว่ากิเลสชักนำไป ให้รู้สึกว่าถ้าทำแบบนั้นแล้วจะดี ทำแบบนี้แล้วจะเด่น แทนที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส ก็กลายเป็นปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมกิเลส กอบโกยหาทุกข์ใส่ตัวอยู่ทุกวัน แต่ก็โง่เขลาเบาปัญญาพอ คิดว่ากำลังโกยเอาของดีใส่ตัว ซึ่งความจริงแล้วมีแต่ขี้ทั้งนั้น..!
อาตมาขอยืนยันว่า เท่าที่มีประสบการณ์มา สิ่งที่ครูบาอาจารย์พูดมานั้น พอดี พอเหมาะ พอควรกับสถานการณ์นั้น ๆ แล้ว แต่ว่าพวกเรามักจะไปปรุงแต่งเพิ่มเติม... -
อย่าทำตัวมักง่าย คิดว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วชีวิตจะดีขึ้น
พวกเรามักง่าย อะไรไม่ดีเกิดขึ้นแทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ดันไปเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนชื่อให้ตายถ้าไม่เปลี่ยนความประพฤติก็ไร้ประโยชน์ ที่แย่อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความประพฤติของเรา กาย วาจา ใจ ไม่ดีพอ ถ้าขัดเกลาด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ กาย วาจา ใจ ดีพอ ทุกอย่างก็จะดีหมด
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
"จริงอยู่กับหัวใจของเรา" (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
.
"จริงอยู่กับหัวใจของเรา"
" .. ธรรมก็แปลว่า "สิ่งที่ทรงไว้ คือสภาพไม่สูญหายไม่ตาย" คือทำจริงก็เป็นธรรมที่จริง "จริงอยู่กับหัวใจของเรา"
เหมือนอย่าง "ทองคำธรรมชาติ ถึงแม้ว่าไปตกในตม ในโคลนอย่างใดก็ตาม เมื่อเราเอามาชำระล้างให้สะอาดแล้วเนื้อทองนั้นก็ยังเป็นทองอยู่" ฉันใดก็ดี "จิตใจของเรา ถ้าชำระความชั่วออกได้ทั้งหมดแล้ว ย่อมเป็นเช่นนั้น" .. "
"๑๐๓ โอวาทธรรมคำสอน"
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ -
"กรรมนิมิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"กรรมนิมิต"
" .. "คนเรา ก่อนกายจะแตกดับ" เมื่อจิตปล่อยวางร่างกาย ไม่มีความรู้สึกแล้ว "จะมีภาพอันหนึ่งเกิดขึ้น ให้ปรากฏเห็นเฉพาะใจตนคนเดียว" โดยที่เราจะตั้งใจดู หรือไม่ก็ตาม ภาพอันนั้นถ้าจะเปรียบให้เห็นง่าย ๆ ก็คล้ายกับภาพนิมิตในความฝัน "ภาพนิมิตอันนั้นแล มันจะมาแสดงผลกรรมของเราที่เราได้กระทำไว้แล้วในอดีต" บางทีเราอาจลืมไปแล้วนาน "แต่มันมาปรากฏให้เราเห็นและระลึกขึ้นมาได้"
เป็นต้นว่า "เราเคยได้สร้างโบสถ์วิหารถวายกฐินทานเป็นอาทิ วัตถุทานนั้นก็จะมาปรากฏขึ้นให้เราเห็น" แต่ภาพนิมิตนี้จะสวยสดงดงามและวิเศษยิ่งกว่าที่เราได้กระทำไว้นั้น "จนเป็นเหตุให้เมื่อเราได้เห็นเข้าแล้วเกิดปีติ อิ่มอกอิ่มใจจนหาที่เปรียบมิได้" แล้วจิตจะไปจดจ้องจับเอานิมิตนั้นมาไว้เป็นอารมณ์ ให้เกิดความสุขโดยส่วนเดียวที่เรียกว่า "สัคคะ" ผู้สร้างบุญกุศลจะเห็นผลชัดแจ้งด้วยใจตนเองก็ตอนนี้
ตรงกันข้ามผู้ที่กระทำกรรมชั่วไว้ "กรรมนิมิต ก็จะเกิดในขณะเดียวกัน" แต่จะเป็นเรื่องทนทุกข์ทรมานมากจนเหลือจะอดทน เพราะกรรมตามสนอง "ความทุกข์ทรมานของกายถึงขนาดร่างกายจะแหลกเหลวเปื่อยเน่าไปก็ตาม แต่มันก็ยังมีชีวิตอยู่ไม่ตาย"... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนเมษายน ๒๕๖๖
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนเมษายน ๒๕๖๖ -
"ความผูกพัน คือกรรมทางใจ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"ความผูกพัน คือกรรมทางใจ"
" .. "กรรมที่อาจทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่ง หรือทำสัตว์ในชาติหนึ่งให้กลับเป็นมนุษย์ในอีกชาติหนึ่ง" มีผู้เขียนบ้างเล่าบ้างไว้หลายเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องที่มีปรากฏในพุทธกาล "จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามพึงไม่ประมาท" กรรมใดที่เคยมีแสดงไว้ว่า "ทำให้มนุษย์ต้องเกิดเป็นสัตว์ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่พึงทำ"
กรรมสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ "เป็นกรรมทางใจคือความผูกพัน" ผู้ตายมีความผูกพันในภพภูมิของตน เช่น "ผูกพันในทรัพย์สมบัติของตน" ในภพภูมินั้น "ความผูกพันยึดมั่นอาจนำให้กลับมาเกิดในบ้านเรือนตนอีกได้" แต่จะมิใช่เป็นมนุษย์
มีเรื่องเล่าว่า "เกิดเป็นเล็นก็มี เกิดเป็นสุนัขก็มี" ซึ่งน่าจะไม่มีผู้ใดปรารถนาจะเป็น จึงน่าจะต้องระวังกรรมทางใจให้มาก เช่นเดียวกับกรรมทางกายทางวาจา อย่ายึดมั่นห่วงใยในอะไรให้มากนัก วางเสีย ปล่อยเสีย "ท่องพุทโธไว้เสมอนั่นแหละจะทำให้ถอนใจจากความยึดมั่นได้"
เคยมีผู้เล่าเรื่องเจ้าของพระพุทธรูปงดงามองค์หนึ่ง "สิ้นชีวิตไปในขณะที่จิตใจกำหลังรักและหวงแหนพระพุทธรูปองค์นั้นอย่างยิ่ง" เมื่อมีผู้มาขอชมพระพุทธรูป... -
จากธาตุรู้ สู่กระแสธรรม จิตเป็นอิสระ
จากธาตุรู้ สู่กระแสธรรม จิตเป็นอิสระ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
หน้า 44 ของ 414