สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ความรู้โดยพระราชพรหมเถร (ท่านเจ้าคุณภาวนา-หลวงปู่วีระ) จากหนังสือยุทธวิธี และ ยุทธศาสตร์ ของการสะสางธาตุธรรม(อาสวักขยญาณ)ชั้นสูง






    จิตตกภวังค์ก็คงอยู่ทีฐานที่ ๗ แต่สภาพของดวงจิตที่อยู่ในน้ำเลี้ยงหัวใจนั้นลอยอยู่ในระดับเสมอกับน้ำเลี้ยงหัวใจ และต่างก็ใสสนิทเสมอกันทั้งน้ำเลี้ยงหัวใจและดวงจิต

    ก่อนอื่นต้องทราบสภาพของคำว่า "ใจ" ก่อน ใจนี้ประกอบด้วยดวงใส ๔ ดวงซ้อนกันอยู่ ดวงแรกขนาดโตเท่ากับเบ้าตาทั้งหมด เรียกว่า ดวงเห็น หรือ กาย ดวงที่สองซ้อนถัดเข้าไปขนาดเท่าดวงตาขาวทั้งหมด เรียกว่า ดวงจำ หรือ หัวใจ ในหัวใจนี้มีน้ำเลี้ยงหัวใจขังอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ (หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่า น้ำเลี้ยงหัวใจนี้เองเป็นสิ่งเดียวที่ได้รับสืบเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษของตน) ถ้าใจสงบ สะอาดดี น้ำเลี้ยงหัวใจก็จะใสบริสุทธิ์ ถ้าบุคคลประกอบด้วยราคะ น้ำเลี้ยงหัวใจก็จะมีสีแดง ถ้ามีโทสะน้ำจะเป็นสีเขียว ถ้ามีโมหะน้ำเลี้ยงหัวใจก็จะขุ่นมัว เราจะอ่านหัวใจคนได้จากตรงนี้ ในน้ำเลี้ยงหัวใจนี้ มีดวงกลมใสขนาดเท่าดวงตาดำลอยอยู่ ซึ่งเรียกว่า ดวงคิด หรือ ดวงจิต คนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านหรือนอนไม่หลับ เป็นเพราะดวงจิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำ ถ้าลอยมากๆ ก็อาจะเสียสติไปเลย นี่เองที่เขาเรียกกันว่า "คนใจลอย" คนที่ตื่นอยู่ตามปรกติ ดวงจิตก็จะลอยอยู่ในน้ำครึ่งหนึ่ง เหนือน้ำครึ่งหนึ่ง ถ้าจมมากกว่าธรรมดาเล็กน้อยก็เป็นจิตของคนหลับ แต่ถ้าจมมากเกินไป เจ้าของก็อาจไม่ได้สติเช่นกัน

    เวลาฝันจิตก็คงอยู่ฐานเดิม แต่ทว่าถ้าหากน้ำเลี้ยงหัวใจไม่สะอาด อันเป็นเหตุให้ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย ขณะนั้นความฝันก็มักจะฟุ้งซ่านไปตามภาพของดวงจิต คือ ประกอบด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ และถ้าเห็น จำ คิด รู้ สะอาด ก็จะฝันเห็นแต่สภาพที่เป็นมงคลหรือฝันเห็นอดีตและอนาคตได้แน่นอน

    เวลาฝัน กายมนุษย์ละเอียดจะออกไปในที่ต่างๆ อันนี้บางทีอาจทำให้สงสัยได้ว่า ถ้ากายออกไปเสียแล้ว มิเป็นการถอดกายหรือและเหตุใดกายมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของจึงยังไม่ตาย ข้อนี้เป็นเพราะอายตนะที่ละเอียดระหว่างกายมนุษย์หยาบกับกายมนุษย์ละเอียดยังเนื่องกันอยู่ มิได้ขาดออกจากกันเลย ฉะนั้นไม่ว่ากายมนุษย์ละเอียดจะไปยังที่ใด ก็สามารถกลับคืนมาสู่กายมนุษย์หยาบได้รวดเร็วเช่นเดียวกับการที่เราส่งใจคิดไปในที่ต่างๆ นั่นเอง

    กลางดวงจิตมี ดวงรู้ หรือเรียกว่า ดวงวิญญาณ เล็กละเอียดขนาดเท่าๆ กับแววตาดำเล็กข้างใน ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วเรียกว่า "ใจ" ใจนี้อาจจะเปลี่ยนสภาพ คือ เปลี่ยนสีได้ตามอำนาจของกิเลส แต่ละชนิดที่ผ่านเข้ามาบังคับ
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ความสำคัญของ... “ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗”

    โดย
    * มงคลบุตร
    * ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)




    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จนฺทสโร) ได้ย้ำนักหนาว่า.....

    ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้...สำคัญนัก
    ให้เอาใจไปจรดไว้ที่นั่นเสมอ...ทุกอิริยาบถเมื่อมีโอกาส
    ไม่ว่าจะในขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือ ในขณะไหว้พระสวดมนต์
    และ อธิษฐานปรารถนาในสิ่งที่ดีที่ชอบทั้งหลาย
    เพราะที่ศูนย์กลางกายนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าที่ใดๆทั้งสิ้น


    การรวมใจให้หยุดในหยุด ณ ศูนย์กลางกายนั้น...นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก
    เพราะเป็นจุดแห่ง “ดุลย” ทั้งกายภาพและจิตใจ กล่าวคือ

    ในทางกายภาพ
    ศูนย์กลางของสรรพวัตถุทั้งหลาย ย่อมอยู่ในแนวเดียวกันกับแรงดึงดูดของโลก
    ที่เรียกว่า Center of Gravity


    ส่วนทางด้านจิตใจ
    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาธรรมจนถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    ก็จะสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า.....
    ศูนย์กลางกายนั้นเอง คือ “ที่ตั้งถาวรของใจ”

    เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    ดวงธรรม...จะลอยมาสู่ศูนย์กลางนี้ก่อนอื่นที่เดียว
    และศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ.....
    อายตนะภพสาม อายตนะนิพพาน และ อายตนะโลกันต์


    จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด มีพลัง และอำนาจมากที่สุด
    ช่วยให้รู้เห็นได้แม่นยำ และกว้างขวาง...ไม่มีประมาณ





    *** คัดลอกบางตอนจาก
    หนังสือ ธรรมสู่สันติ เล่มที่ ๑
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    มิถุนายน ๒๕๒๐
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคลแล้วใช่ไหม ?

    
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เข้าโลกุตตระ เห็นพระนิพพานตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม ? ถ้าไม่ใช่ จะอุปมาการเห็นนั้นให้เข้าใจได้อย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถ้าเพียงแต่เข้าถึงรู้เห็นชั่วคราว ชื่อว่าโคตรภูบุคคล เมื่อใดที่จิตจรดอยู่ในความรู้สึกเป็นธรรมกายอยู่ จิตจรดที่ใสละเอียดอยู่ ก็ปราศจากกิเลส ตามระดับของความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่จิตจรดอยู่อย่างนั้น แต่ขณะใดที่จิตออกจากที่สุดละเอียดของธรรมกาย กิเลสก็สามารถทำอะไรได้ เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป

    เพราะฉะนั้นกระผมถึงกล่าวเสมอว่า ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วอย่าเหิมเกริม ต้องมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ อย่างน้อยต้องคอยพิจารณาดูว่า จิตใจเราขุ่นมัวหรือผ่องใส ถ้าขุ่นมัวก็รีบดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียดถึงความเป็นธรรมกายพระอรหัตในพระอรหัตๆ ๆ หรือถึงธรรมกายในเบื้องต้นก็ดีแล้ว นี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่พิจารณาเห็นเฉย ๆ แต่ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขารและวิสังขาร ให้เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 ไปตามระดับภูมิธรรม แล้วดับหยาบไปหาละเอียด ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ถึงพระนิพพาน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยญาณของธรรมกาย ดำรงอยู่ในที่สุดละเอียดนั้นเสมอ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส โลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานก็จะปรากฏมีขึ้นได้เสมือนหนึ่งชาวนาที่ทำหน้าที่ของชาวนาดีที่สุด ปลูกข้าวไขน้ำเข้านาใส่ปุ๋ย ถอนวัชพืชศัตรูข้าว ฯลฯเป็นต้นดีแล้ว เมื่อถึงเวลา ข้าวก็ออกรวงเอง นี้เป็นพระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    ธาตุธรรมเมื่อแก่กล้า บุญบารมีเต็ม ก็จะสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งและกำจัดกิเลสอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ว่าผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ เพราะการอธิษฐานจิตบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน เช่นบางคนตั้งใจบำเพ็ญบารมีเป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานในระดับปกติสาวก ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าเร็วกว่าผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีจนถึงปรมัตถบารมีตามส่วนของท่านแล้ว จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน และพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

    ถ้าบำเพ็ญบารมีถึงธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล แล้วกลับประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีศีลสังวรเมื่อใดหรือขาดอินทรีย์สังวร ญาณสังวรก็เป็นอันเสร็จ คือจิตตกต่ำไปด้วยอำนาจของกิเลสได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น กระผมจึงกล่าวเสมอ แม้เมื่อเช้านี้ก็กล่าวกับพระให้ท่านรับคำว่า ต่อแต่นี้ไปผู้ถึงธรรมกายแล้วพึงจะมีอินทรีย์สังวร ศีลสังวร ญาณสังวร เพื่อรักษาตนไปจนถึงธาตุธรรมแก่กล้าบุญบารมีเต็ม สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้แล้วโดยสิ้นเชิงนั่นแหละจึงวางใจได้

    แต่ว่าท่านผู้ใดถึงธรรมกายแล้วเจริญภาวนาให้เกิดปัญญาแจ้งชัดในสภาวธรรมด้วยสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    โลกุตตร มรรคจิต มรรคปัญญา เกิดและเจริญขึ้นให้สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ข้อนี้ไม่มีประมาณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมอาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะกำจัดสัญโญชน์ได้หมดโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นวิสุทธิขันธ์เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม แล้วย่อมไม่ดับ ไม่มัวหมอง เพราะธาตุธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว แต่สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่ยังตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการยังไม่ได้ ก็ยังเห็น ๆ หาย ๆยังไม่ใช่ธรรมกายมรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์แท้ ๆ ยังประกอบด้วยเครื่องปรุงแต่งทั้งธรรมที่เป็นบาปอกุศลและทั้งกุศล มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ มีส่วนประกอบอยู่ แต่ว่ากุศลธรรมที่บริสุทธิ์ มีมากยิ่งกว่าฝ่ายบาปอกุศล จึงสามารถปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายได้ชั่วขณะที่จิตใจยังบริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงธรรมกายโคตรภูบุคคล ฯลฯ ได้เป็นต้น

    ธรรมกายที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว คือกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว นั่นแหละแน่นอนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ถอยคืนกลับมามีแต่จะเจริญงอกงามจนถึงที่สุด คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่าพระนิพพาน นั่นแหละเป็นวิสังขารแท้ ๆ เป็นพระนิพพาน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ ๆ ไม่ประกอบด้วยปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งเลย
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรม

    ไม่อาศัยญาณพระธรรมกายเพื่อการตัดสังโยชน์ ชำระกิเลส อาสวะ ฯลฯไปจนดับอวิชชาได้เด็ดขาด อาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]



    “การเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย ... ให้ก้าวหน้าได้ผลดี”

    โดย
    หลวงป๋า




    เมื่อเห็น “ธรรมกาย” แล้ว
    โปรดจำไว้ว่า ... เห็นแล้วต้อง “เข้าถึง”
    ทุกอย่างต้อง ... “เข้าถึง”

    “วิธีเข้าถึง”
    ไม่ว่าจะเห็นดวงธรรม หรือกายละเอียดกายใดก็ตาม
    มีอุบายวิธีคือ “เหลือกตากลับนิดๆ”
    นั้นก็เพื่อมิให้สายตาเนื้อ ไปแย่งหน้าที่ตาใน
    ในขณะเดียวกันนั้นก็มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งคือ
    “ใจ” ของคนเรานี้ชอบที่จะฟุ้งซ่านออก “ข้างนอกตัว”

    ถ้าจะให้ ... “เข้าใน”
    เมื่อ ใจ ... จะ “เข้าใน” เมื่อไหร่
    ตาจะเหลือกกลับเองเมื่อนั้น ... นี้เป็นธรรมชาติ
    แต่เราไม่ได้สังเกตตัวเอง
    แต่ถ้าใครสังเกต เด็กทารกเวลานอนหลับ
    ก็จะพบว่า ตาของเด็กนั้นจะเหลือกกลับตลอดเวลา
    และนี่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลก

    ซึ่ง “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ท่านพบและเข้าใจเลยว่า ...
    เวลาที่สัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    เมื่อจิตหยุดนิ่งตรงศูนย์กลาง “กำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    จิตดวงเดิม ... จะ “ตกศูนย์”
    จิตดวงใหม่ จะเกิดขึ้นมาใหม่ตรงนั้น
    อาการของสัตว์โลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เรา ... ตาจะเหลือกกลับ

    เพราะฉะนั้น ... “อุบายนี้ เป็นเรื่องสำคัญ”
    เมื่อเราเหลือกตากลับนิดๆ ... ใจจะ “หยุดข้างใน” ได้โดยง่าย
    จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ
    ผู้ที่ทำวิชชาชั้นสูงนั้น ... ตาเขาจะเหลือกกลับตลอดเวลา
    แต่ต้องไม่ลืมตา คือ ตาจะพรึมๆอยู่แล้วนั่นแหละ
    ใจจะ “เข้าใน และ ตกศูนย์” อย่างละเอียดด้วย

    เพราะฉะนั้น …
    วิธีทำให้ใจสามารถเข้าไปเห็น “ดวงในดวง” “กายในกาย”
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระหรือ “ธรรมกาย” ได้สนิทดีนั้น
    ให้เหลือกตากลับนิดๆ ... แล้วนึกเข้าไปเห็น “ศูนย์กลางองค์พระ”
    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ... ไม่ใช่มองดูเฉยๆ


    ถ้ามองดูเฉยๆ ... มองไปอย่างไร ก็ไม่ก้าวหน้า
    ต้องนึก ... “เข้าไปเห็น” และ “เข้าไปเป็น”


    ถ้า “เห็นดวง” ก็นึก ... “เข้าไปเห็น ณ ภายใน”
    ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา ... เข้าไปเห็นภายใน
    เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเรา ... เข้าไปเห็นข้างใน
    ทำอย่างนี้ ... จะก้าวหน้าได้

    ถ้า “เห็นกาย” แล้ว ก็ให้ ... “ดับหยาบไปหาละเอียด”
    คือ สวมความรู้สึก เข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย
    ทิ้งความรู้สึก อันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา

    “กายละเอียด” ปรากฏขึ้นมาเมื่อไหร่
    ก็ “ดับหยาบไปหาละเอียด” เข้าไปเป็นกายละเอียดนั้น
    แล้ว ใจ ก็จะ “ตกศูนย์” เอง
    เพราะว่า ใจของกายละเอียดนั้น ... จะทำหน้าที่เอง
    โดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียด ... จะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ
    หยุดนิ่งเข้าไปจนถึง ... ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    อันเป็น เจตสิกธรรม ที่สุดละเอียดของใจ ของกายนั้น
    แล้วก็จะถึงธาตุธรรม เห็น, จำ, คิด, รู้
    คือ “ใจ” ของอีกกายหนึ่ง ที่ละเอียดๆต่อไป
    เหมือนกับการถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกัน ... เข้าไปจนสุดละเอียด



    ที่กล่าวมานี้ก็เป็นอุบายวิธี ในการเจริญจิตตภาวนาให้ได้ผลดี
    ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อๆได้ ๔ ประการ คือ

    ๑. เห็นดวง ให้ “เดินดวง”
    คือ นึกเข้าไปเห็น “จุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง”
    ให้ “ใจ” ... หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางดวง
    ให้เห็นใสละเอียด ... ไปจนสุดละเอียด

    ๒. เห็นกาย ให้ “เดินกาย”
    คือ “ดับหยาบไปหาละเอียด”
    คือนึกเข้าไปเห็น “จุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายละเอียด” ที่ปรากฏขึ้นใหม่
    ให้ ใจของกายละเอียด นั้น ... เจริญภาวนา
    ... หยุดในหยุด กลางของหยุด
    ให้เห็นใสละเอียด ทั้งดวง ทั้งกาย ทั้งองค์ฌาน

    ๓. โดยวิธีเหลือกตากลับนิดๆ(ไม่ต้องลืมตา) ... ขณะเจริญภาวนา
    จะป้องกันไม่ให้สายตาเนื้อ ไปแย่งงานจิตตภาวนาของตาใน
    และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง “กลางของหยุด” ณ ศูนย์กลางกายได้ดี

    ๔. “เข้ากลาง ทำให้ขาว”
    คือ นึกเข้าไป “หยุดในหยุด” “กลางของหยุด”
    ณ “ศูนย์กลางดวง” หรือธาตุธรรม เห็น, จำ, คิด, รู้
    ... ของกายที่ใสละเอียดที่สุดไว้เสมอ *






    ที่มา “หนังสือตอบปัญหา ธรรมปฏิบัติ”
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เห็นนิมิตแปลกๆ บางทีก็เป็นนิมิตที่น่ากลัว

    
    เห็นนิมิตแปลกๆ บางทีก็เป็นนิมิตที่น่ากลัว

    ----------------------------------------------

    ตอบ:


    สาเหตุข้อที่ 1 เมื่อพิจารณาตามเรื่องราวที่เล่าไปให้ฟังแล้วปรากฏว่า ผู้ที่มักเห็นนิมิตแปลกๆ ที่น่ากลัวนั้นเกิดกับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ไม่มีพื้นฐานการปฏิบัติสมถกรรมฐานดีพอ แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานเลยทีเดียว จึงเกิดวิปัสสนูปกิเลส ข้อ อุปัฏฐานัง คือการมีสติปรากฏยิ่งเกินไป หรืออีกนัยหนึ่ง มีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงเจริญไม่ทัน มีแต่ปัญญาที่จำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก ใจจึงปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยมีสติพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ นิมิตลวงจึงปรากฏขึ้นที่ใจให้เห็นโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้เห็น

    นิมิตลวงเหล่านี้เอง ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ข้ออุปัฏฐานัง ซึ่งมักปรากฏขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาด้วยตนเอง โดยศึกษาเอาจากตำราหรือจากการได้รับคำแนะจากผู้แนะนำที่ไม่มีพื้นฐานทางสมถปัสสนากรรมฐานดีพอ นี้เป็นสาเหตุข้อที่หนึ่ง

    สาเหตุข้อที่ 2 ในขณะที่เจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นขณะพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานก็ดี หรือในขณะเจริญสมาธิที่เรียกว่า สมถกรรมฐานก็ดี ผู้เจริญภาวนามิได้ตั้งใจไว้ให้ถูกที่ คือ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งถาวรของใจ จึงเป็นเหตุให้ความเห็นนิมิตด้วยใจความจำได้หมายรู้ ความคิดและความรู้เล่ห์ คือ ผิดไปจากนิมิตจริง เพราะดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิดและดวงรู้มิได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอย่างแท้จริง การย่อหรือการขยายความรู้เห็นจึงเบี้ยว มิได้เป็นไปในมิติเดิม จึงทำให้เห็นนิมิตแปลกๆ มีลักษณะที่น่ากลัวต่างๆ

    วิธีแก้ไข พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้รู้เคล็ดลับของการเจริญภาวนาให้ได้ผลดีทั้งในส่วนสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมิต้องผ่านวิปัสสนูปกิเลส จึงไม่ปรากฏว่า ผู้เจริญภาวนาที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายได้เห็นนิมิตลวงแปลกๆ โดยมิได้ตั้งใจแต่ประการใดเลย ทั้งนี้เพราะการเจริญภาวนาตามแนวนี้มีลักษณะที่เป็นสมถะและวิปัสสนากรรมฐานคู่กัน สติสัมปชัญญะและปัญญาจึงเจริญขึ้นเสมอกัน และเป็นอุปการะแก่กัน จนธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนากลมกลืนคู่กันได้อย่างสนิท สมตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ไปสู่ความสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบตามแนวทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าว จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายนี้แต่ประการใด

    เพื่อความเข้าใจอันแจ่มแจ้ง อาตมาจะยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่ายๆว่า การเจริญภาวนาตามแนวนี้ มีอุบายวิธีให้ใจหยุดใจนิ่งเป็นสมาธิอยู่เสมอด้วยการรวมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ หยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ผ่านกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมไปในตัวเสร็จ ซึ่งช่วยให้บังเกิดผลดีหลายประการ คือ ทำให้จิตใจสงบระงับจากนิวรณธรรม อันเป็นผลดีทางด้านสมถกรรมฐาน นี้ประการหนึ่ง ทำให้เกิดอภิญญา คือ ความสามารถพิเศษที่แน่นอน เช่น ทิพพจักษุ ทิพพโสต อันช่วยให้รู้เห็นสภาวธรรมทั้งหยาบและละเอียด ทั้งใกล้และไกล ทั้งภายในและภายนอกได้ชัดแจ้ง กว้างขวาง โดยเจตนาที่จะพิจารณาเห็น มิใช่เห็นโดยการบังเอิญ นี้ประการหนึ่ง และการรู้เห็นก็ไม่เล่ห์ เพราะตั้งใจไว้ถูกที่ สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามจริง

    แม้จะพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้งภายในและภาวนอกใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะพิจารณาสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดที่เรียกว่า อสุภกรรมฐาน หรือสมณสติ หรือการเห็นนรก เห็นสวรรค์ ฯลฯ ก็ตาม เมื่อจะพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจังในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริงแล้ว ก็ให้รวมจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดลงไป ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นอีกต่อไป ผู้ถึงธรรมกายกจะพิสดารกายไปจนสุดละเอียดอยู่เสมอ ใจก็จะละอารมณ์ที่พิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสต่างๆ จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้เจริญภาวนาที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายนี้ จิตใจก็มีแต่ความสงบสุขปราศจาก กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน วางเฉยเป็ย อุเบกขาด้วยปัญญาอันเห็นชอบเท่านั้นเอง สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" แปลว่า สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบกายวาจาและใจเป็นไม่มี และก็จะไม่มีการเห็นนิมิตที่แปลกๆ หรือน่าเกลียด น่ากลัว โดยที่มิได้ตั้งใจที่จะรู้เห็นแต่ประการใด

    นี้เองคือ เคล็ดลับสำคัญของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายที่ให้ผลดีแต่ส่วนเดียว ไม่มีโทษ

    โดยเหตุผลนี้ อาตมาจึงใคร่จะชี้แจงเพิ่มเติมถึงผลดีของการเจริญภาวนาตามแนวนี้อีกว่า ถ้าได้เจริญภาวนาให้ถูกต้องตามแนววิชชาธรรมกายนี้แล้ว มีแต่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น ผู้ที่เคยฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆ คลายจากความฟุ้งซ่านลง ตามระดับธรรมที่ปฏิบัติได้ จึงไม่ต้องกลัวว่าจะเสียสติหรือเป็นโรคประสาทแต่อย่างใดทั้งสิ้น ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามแนวนี้เท่านั้น ถ้าผิดไปจากวิธีนี้ อาตมาไม่รับรอง และนอกจากผลดีที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังให้ผลดีในข้ออื่นๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรมอีกมากมายนัก ขอให้ท่านหมั่นพิจารณาที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ดีก็แล้วกัน

    เพราะฉะนั้น ข้อแก้ปัญหาสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติเองโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ในเบื้องต้น ให้พยายามทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ อันเป็นฐานที่ตั้งถาวรของใจให้ได้แน่นอนเสียก่อน

    ถ้ายังนึกหาศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่พบ ก็ให้จินตนาการให้เห็นเส้นตรงขึ้นสองเส้นตัดกัน เส้นหนึ่งจากหน้าท้องเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ ไปจรดกึ่งกลางหลัง อีกเส้นหนึ่งจากกึ่งกลางสีข้างซ้ายไปกึ่งกลางสีข้างขวา ตรงจุดตัดกันนั้นมีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ให้รวมใจอันประกอบด้วยความเห็นนิมิต (ด้วยใจ) ความจำนิมิต ความคิดตรึกนึกเห็นนิมิต และความรู้ให้หยุดเป็นจุดเดียวกันที่นั่น หรือจะกล่าวย่อๆ ก็ว่าให้พยายามนึกให้เห็นเครื่องหมายเป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม ขึ้นที่ศูนย์กลางกายนั้น แล้วก็ให้ใจอยู่ที่กลางดวงใสหรือพระพุทธรูปขาวใสนั้น คือให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มตรงกลางนิมิตนั้นแหละ พร้อมด้วยบริกรรมภาวนานั้น คือ นึกในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสหรือพระพุทธรูปขาวใส ใจอยู่ในกลางนิมิตที่ใสนั้นเรื่อยไป พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตก็จะตกศูนย์ เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นก็จะหายไป แล้วจะปรากฏเห็นดวงกลมใสแจ่มบังเกิดขึ้น ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ อย่างเล็กเท่าดวงดาวในอากาศ อย่างโตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หรือบางรายอาจจะเห็นพระพุทธรูปขาวใสปรากฏขึ้นก็มี คือ ธรรมกาย

    สำหรับบางรายที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปอยู่นอกตัว เช่น ตามในหน้าบ้าง หรือในที่อื่นใดก็ตาม แปลว่าใจยังไม่หยุดถูกที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 จึงให้น้อมเข้ามาอยู่เสีย ณ ที่ศูนย์กลางกายใหม่ โดยเหลือบตากลับขึ้นข้างบนโดยไม่ต้องแหงนหน้าขึ้นไปตาม เพื่อให้ความเห็นนิมิตนั้นกลับไปข้างหลังแล้วก็ให้ความเห็นกลับเข้าข้างใน คือ นิกให้เห็นนิมิตที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นต่อไปอีกใหม่ พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาประคองดวงนิมิตนั้นไว้เรื่อย ก็จะเห็นดวงกลมใสแจ่มหรือพระพุทธรูปขาวใสขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เอง

    เมื่อเห็นแล้ว ก็หยุดบริกรรมภาวนาเสีย เพียงให้แตะในเบาๆ ลงไปหยุดนิ่งที่กลางดวงกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใสนั้น มีที่หมายเป็นจุดเล็กขาวใสเท่าปลายเข็มอีกต่อไป กลางของกลางๆๆ นิ่ง พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใสดวงใหม่บังเกิดขึ้น ก็ให้ดำเนินไปในแบบเดิม คือ หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดเรื่อยไป เมื่อเห็นดวงที่ใสละเอียดหนักเข้าก็จะเห็นกายละเอียดๆ ต่อๆ ไป จนถึงธรรมกายเอง
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย


    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป









    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด



    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก


    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด




    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน



    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3



    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียด


    ปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น







    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ

    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก





    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ





    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา







    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว

    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป





    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา





    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กันยายน 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?

    
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?


    ------------------------------------------------------



    ตอบ:




    การปฏิบัติธรรม  ณ  ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ     มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ   และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน  แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน  คือ

    1.ประการแรก   คือ สมถภาวนา  เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์  หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส    นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) 1   ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) 1   ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) 1    ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) 1   และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) 1

    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้  หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว  ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้    ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ  เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง  ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ  ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด

    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ  วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต)  สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้    ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้  และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้

    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน   เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น  เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ”  ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน

    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน   พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ 40 วิธี  รวมเรียกว่า สมถภูมิ 40   วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย 3 ประการขึ้นมาประกอบกัน   เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน  และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก   อุบายวิธีทั้ง 3 นั้นก็คือ  พุทธานุสติ  อานาปานสติ  กับ อาโลกกสิณ    กล่าวคือใช้อุบาย

    ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต”  คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ”  ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ  เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้  ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน  โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส  จำดวงแก้วดวงใส   คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส   และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น  เพื่อให้ธรรมชาติ 4 อย่างของใจนั้น  รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
    การนึกนิมิต  บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง  บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา   แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน  ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น   แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก  นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต  เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน   เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย  แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก   แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง   มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา”  คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป   เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า   เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ   คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ,  อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    กำหนดฐานที่ตั้งของใจ  กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7  เป็นจุดที่พักใจอันถาวร  คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น  จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี  เรียกว่า  ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย  เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  ณ ที่ตรงนี้   และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย   กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น  ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว  เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก  จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ”  เพราะเป็นธรรมชาติของใจ   เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน  และลมหายใจละเอียดเข้าๆ  แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า  เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น   ใจอันประกอบด้วยความเห็น  ความจำ  ความคิด  ความรู้  จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน  ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ  แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ  เรียกว่า “อุคคหนิมิต”  อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว  จัดเป็น “ขณิกสมาธิ”    ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม  ติดตาติดใจ  แนบแน่น  จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้  นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”    อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น  จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ”    อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง 5 คือ  วิตก วิจาร  ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้)  และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 ให้สิ้นไป

    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี    ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา   จัดเป็นการเห็นของจริง (เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม   คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา    ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง  ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ”   เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง   เหมือนกับการเห็นมนุษย์  เช่นเห็นนาย ก. นาย ข.  หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น   เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา   




    แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ  



    ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด  นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม    แต่ยังไม่ได้ “เป็น”   เพียงแค่ “เห็น”  หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์  และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน) คือ “ปฏิภาคนิมิต”  ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ  


    ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ 7 นั้น  ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย  กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด   และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้   ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ  โสตวิญญาณธาตุ  ฆานวิญญาณธาตุ  ชิวหาวิญญาณธาตุ  กายวิญญาณธาตุ  และมโนวิญญาณธาตุ  ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย   มีผลให้เกิดทิพจักขุ  ทิพโสต  ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ  คือ  กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น  จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย   สูงขึ้นไปถึงเห็น  และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด

    การเห็นกายในกาย  และธรรมในธรรม  เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้   ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม   คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา    ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง  ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ”   เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง  
    เหมือนกับการเห็นมนุษย์  เช่นเห็นนาย ก. นาย ข.  หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น   เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา    แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ  

    ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด  นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม    แต่ยังไม่ได้ “เป็น”   เพียงแค่ “เห็น”  หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์  และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน




    ประการที่ 2 คือ วิปัสสนาภาวนา    มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ?  (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร)   และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตาอย่างไร ?   ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา”   แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4  คือ  ทุกขสัจ  สมุทัยสัจ  นิโรธสัจ  และมรรคสัจ  อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา”   ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  ได้แก่  พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม   ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้”  เป็นการเห็นปรมัตถธรรม  คือธรรมชั้นสูงสุด  หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์

    อันที่จริง  การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น   เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการคือ  สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  และสีลัพพตปรามาสได้   ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล  ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว   แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน   เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด   เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย  คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด)   กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง)    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน

    กล่าวโดยสรุป   

    การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต  เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน   นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง  
    ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง   เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง   ไม่ได้คิดเห็น  แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว   และมีผลให้เกิดทิพจักขุ  ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้  นี้ก็เป็นการเห็นของจริง  เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้   ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า  เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ  คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง    สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ทำไมต้องกำหนดเส้นเชือกขาวใส ?

    
    [​IMG]




    ทำไมต้องกำหนดเส้นเชือกขาวใสตัดกันเป็นรูปกากบาท ? อยากให้หลวงพ่ออธิบาย

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ที่แนะนำให้เห็นเส้นตรงขาวใส 2 เส้นตัดกันนั้น เป็นเพียงอุบายวิธีให้รู้จุดศูนย์กลางกายว่าอยู่ตรงไหน? เท่านั้นแหละ ทีนี้ ทำไมต้องเอาเชือกขาวใสตัดกัน ถ้าไม่นึกอย่างนั้นแล้วจะนึกยังไงละ? นี่เป็นเพียงอุบายให้เห็นว่า ศูนย์กลางกายอยู่ตรงไหน? เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อยู่ตรงไหน เพราะไม่ยังงั้นนะโยม ถ้าว่านึกเอาเฉยๆ บางทีมันเลื่อนมาอยู่ข้างหน้า ใจไม่หยุดอยู่ศูนย์กลางกายตรงนั้นหรอก ถึงได้หยุดไม่ถูกที่ซะที ต้องตาเหลือบกลับด้วยนะ แล้วทำไมต้องเอาเส้นขาว ด้ายใส ด้วย? นี่โยมจะเอาเส้นดำมันไม่ดีหรอก เอาเส้นขาวใสน่ะดีแล้ว หรือจะเอาสีเขียวสีแดง มันก็ยิ่งพิลึกไปอีก

    นี่ก็เรื่องธรรมดาๆ ไม่มีอะไรหรอก โยมอย่าไปคิดมาก กลายเป็น “วิจิกิจฉา” เป็นกิเลสนิวรณ์ไปเสียอีก ใจก็ไม่เป็นสมาธิ เพราะฟุ้งซ่านเสียแล้ว.



    [​IMG]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2014
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    การพิสดารกายให้มากขึ้น เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด เป็นเรื่องของกายซ้อนกาย คือแต่ละกายก็จะมีกายในกายซ้อนกันอยู่สุดหยาบสุดละเอียด แต่ละกายสุดหยาบสุดละเอียดนั้นก็จะมีกายในกายซ้อนกันอยู่สุดหยาบสุดละเอียด จึงเรียกกายในกายที่ซ้อนกันนั้นว่า เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ทุกลมหายใจเข้าออกนั้น ... มีค่าเสียเหลือเกิน
    มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ
    ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย

    ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีล
    อย่างน้อยศีล 5 เราไม่บกพร่อง
    ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว


    ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกาย...ก็ไม่ยากเลย
    เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น
    ที่ว่ายาก นั่นก็เพราะ...เราไม่หยุดจริงนั่นเอง

    ถ้าจิตของเรา...หยุดนิ่งจริงแล้ว
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้น
    จะรู้ได้ทันทีว่า...วิชชาไม่มีสิ้นสุด
    คือ เราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดของ...องค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้เรื่อยๆ


    ถ้าท่านทำได้ จะรู้สึกว่า....
    การเจริญภาวนานั้น ไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย
    เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูล หรือ สิ่งใหม่ๆ...ได้อยู่ตลอดเวลา

    เป็นการเจริญปัญญา รู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติ
    ทั้งฝ่ายพระ บุญกุศลสัมมาทิฐิล้วนๆ และ ฝ่ายบาปอกุศล อวิชชามิจฉาทิฐิ...ในตัวเรานี้แหละได้ดี
    อย่างที่ท่าน...ไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้มีปัญญาด้อย อายุก็มาก ควรบำเพ็ญธรรมข้อใด ?

    
    ผู้มีปัญญาด้อย อายุก็มาก ควรบำเพ็ญธรรมข้อใดจึงดีที่สุดและมีผลที่สุดต่อการปฏิบัติ ?

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผมเองก็เป็นคนแก่ ปัญญาก็ไม่ได้เฉียบแหลมอะไรนักหนา ผมเห็นว่าไม่ว่าปัญญาจะเฉียบแหลม ไม่ว่าหนุ่ม ไม่ว่าแก่ ก็เหมือนกัน

    ปฏิบัติแนวทางเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สังเกตอัธยาศัยตัวเราเป็นอย่างไร และอินทรีย์เราแก่ข้อไหน เราก็ดำเนินข้อนั้นให้หนัก และข้ออื่นให้เต็ม เพราะอินทรีย์ทั้ง 5 ข้อต้องเต็ม ที่เคยหนักอยู่แล้วก็หนักให้ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้ได้ผลดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีศีลเป็นบาท และมีสติเป็นเครื่องรักษาตน ส่วนศรัทธา วิริยะ เมื่อเข้าไปรู้ไปเห็น ศรัทธา ความเพียรก็เกิดเอง

    ผมเน้นที่สมาธิ ปัญญา คู่กัน ไม่ให้หย่อน และพยายามให้มีสติสัมปชัญญะ พิจารณากิเลสนิวรณ์ อย่าให้เกิดมากนัก พิจารณาให้เกิดปัญญาเสมอๆ มีสติดูกิเลสในใจตน มันจะเกิดขึ้นมาที จะหงุดหงิด ให้รู้ตัวไว้ ด่าตัวเองไว้ สังเกตตัวเองไว้ เมื่อปัญญามี กิเลสก็เบา สมาธิดี ศีลก็ดี พระพุทธเจ้าตรัสให้รักษาใจ นั่นแหละคือตัวหัวใจของสติปัฏฐาน 4 อย่าลืมว่าสมาธิต้องทำ ปัญญาจึงจะเกิดและแน่น ที่ปัญญาแน่น คือมันโปร่งใส รู้ทั่ว เมื่อรู้ทั่ว สติเอามาใช้บ่อยๆ จะไม่ผิด

    ศีลต้องหมั่นดู หมั่นรักษา หมั่นพิจารณา ต่อวันนี้แหละครับ อย่างน้อยพิจารณาศีลของตน เราบกพร่องข้อไหน ตั้งแต่เช้าเย็นนี่ มดตายไปกี่ตัว เพราะเราเจตนาหรือเปล่า หรือเผลอไผลบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 เราพิจารณาหรือเปล่า ถ้าไม่พิจารณา ตกเย็นทำวัตรเสีย แต่อย่าลืม เภสัชต้องพิจารณาในขณะฉัน จึงจะพ้นได้ ไม่อย่างนั้นอาบัติ ถึงแม้ขณะรับ เราจะพิจารณาหรือพิจารณาภายหลัง ไม่อาจพ้นอาบัติได้ เฉพาะเภสัช ให้มั่นไว้อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ทั้งวินัยก็ต้องศึกษา ย่อหย่อนเหลาะแหละไปนรกง่ายๆ อย่านึกว่าห่มผ้าเหลืองไปนรกไม่เป็น คล่องที่สุด เผลอไม่ได้ เป็นภิกษุอย่าประมาท อันตรายเร็วกว่าธรรมดา

    ท่านว่าใครอาบัติปาราชิกแล้ว รีบสึกเสีย อย่าแสดงตนเป็นภิกษุ มีอยู่ในมงคลทีปนี สึกแล้วยังมีโอกาสทำดีได้ เพราะฉะนั้น ศีล วินัย ต้องพิจารณา ต้องสังฆาทิเสส ต้องรีบทีเดียว อยู่กรรมแล้วบอกเพื่อนภิกษุ ส่วนที่ต่ำรองลงมา ต้องรีบแสดงอาบัติ อย่าให้ข้ามพ้นอรุณ แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ต้องพยายามพิจารณาให้มีสติอยู่เรื่อย นี้เรื่องของศีล

    เรื่องสมาธิก็ต้องทำ พอว่างมีโอกาสเล็กๆ น้อยๆ ต้องทำ ก่อนนอน ตื่นนอน ทำเลย นั่งก็ทำ นอนก็ทำ สติต้องอยู่ที่ศูนย์กลาง อาบน้ำก็ทำ น้ำเย็นๆ ราดไป เห็นชัด เพราะสบายใจ อาการที่จะบรรลุธรรมที่ดีที่สุด คืออาการพอดีๆ สบายๆ

    เพราะฉะนั้น เรื่องปัญญาด้อย อายุมาก ผมว่าไม่ต้องไปคิด ท่านให้มา 3 อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตรงนี้ และแยกแยะรายละเอียดออกมา ท่านดู “หลักทำนิพพานให้แจ้ง” แล้วอ่านประกอบสติปัฏฐาน 4 มีสติพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในส่วนที่เป็นสังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาต่อไปว่าเป็นทุกข์ ดูเหตุแห่งทุกข์ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ หนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ตรงนี้ค่อนข้างเห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย ถ้ายังไม่ถึง ลองพิจารณาเท่าที่ทำได้ ทำของเราดีที่สุดแล้ว ได้เท่าไรเอาเท่านั้น เป็นอุเบกขา ธรรมะจะเจริญเอง ไม่ต้องดิ้นรน แต่จงตั้งใจทำอย่างต่อเนื่องจริงจัง พิจารณาเหตุสังเกตผลในวิชชา คือหลักปริยัติ วิธีการปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพราะท่านทั้งรู้ทั้งเห็น และในยุคนี้หลวงพ่อวัดปากน้ำแสดงเรื่องวิสังขารอย่างแจ่มแจ้ง ท่านแสดงทั้งสภาวะของนิพพาน ผู้ทรงสภาวะและอายตนะนิพพาน คนอื่นยังไม่ปรากฏว่าแสดง 3 อย่างนี้อย่างชัดเจน.
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    สวดปาฏิโมกข์ ได้อานิสงส์แค่ไหน

    
    สวดปาฏิโมกข์ ได้อานิสงส์แค่ไหน ?

    -------------------------------------------

    ตอบ:


    ได้อานิสงส์มากทีเดียว คนสวดปาฏิโมกข์ได้โดยถูกอักขระ ชัดเจน อย่าอ้อมๆ แอ้มๆ คิดดูว่า พระพุทธศาสนาทั้งพระพุทธศาสนา ถ้าว่าเมื่อไรพระวินัยพุทธบัญญัติสลายหายไป ไม่มีคนทรงจำไว้ ไม่มีคนปฏิบัติ โลกมันมืดแค่ไหน

    แต่คนละเมิดศีล 5 โลกยังปั่นป่วนแค่นี้ ถ้ามีคนรักษาศีล 5 มาก โลกจะสงบแค่ไหน และถ้ามีคนรักษาศีล 10 ศีล 227 จะดีแค่ไหน โลกจะสว่างไสวและสันติสุขแค่ไหน

    การที่เราทรงและสวดปาฏิโมกข์ได้ ช่วยให้พระภิกษุได้พิจารณาพระวินัยของตนให้บริสุทธิ์ เป็นการทรงพระธรรมพระวินัยของพระพุทธเจ้าไว้ ทรงพระวินัย ซึ่งจะช่วยให้ทรงพระธรรม บุญมหาศาลประมาณไม่ได้
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    จิตสงบดีแล้ว เย็นไปทั้งตัว รู้สึกสบาย แล้วรู้สึกลอย หมุน ?

    
    เมื่อจิตสงบดีแล้วอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกสบาย และลอยเหมือนไม่ได้นั่งอยู่บนพื้น แล้วรู้สึกมีอาการหมุน แต่ไม่ได้เห็นดวงแก้ว รู้สึกกลัวจึงลืมตาขึ้น แล้วลากัมมัฏฐาน ?


    -----------------------------------------------

    ตอบ:


    ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อใจค่อยๆ สงบ รวมหยุดนิ่งสนิทระดับหนึ่ง ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ จะทำหน้าที่รับอารมณ์ภายนอกน้อยลงๆ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรม เริ่มเป็นอิสระ ขาดจากรูปธรรม จึงรู้สึกกายเบาเหมือนกับจะลอย และกิเลสนิวรณ์ค่อยๆ ถูกกำจัดให้หมดไปด้วยสมถภาวนานี้ จึงเกิดปีติ รู้สึกมีอาการเย็นไปทั้งตัวและรู้สึกสบาย

    แต่ที่ไม่ได้เห็นดวงแก้วนั้น เพราะใจอันประกอบด้วยเห็น-จำ-คิด-รู้ ยังไม่รวมหยุด เป็นจุดเดียวกันนิ่งสนิทถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ธาตุทั้ง 6 คือธาตุละเอียดของ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม-อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ยังไม่ประชุมกันถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ปฐมมรรคจึงยังไม่เกิด และอายตนะภายในอันเป็นทิพย์ก็ยังไม่เกิดและเจริญขึ้น จึงยังไม่เห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายปรากฏขึ้นตามธรรมชาติที่เป็นจริง

    ที่รู้สึกมีอาการหมุน เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งสนิทได้ถูกส่วนเครื่องธาตุเครื่องธรรม ฝ่ายบุญกุศลจึงทำงานไม่เต็มที่ เพราะถูกต่อต้านด้วยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาปอกุศล เรื่องนี้ลึกซึ้ง เข้าใจเท่านี้ก็พอ แล้วท่านลืมตาจากกัมมัฏฐาน... น่าเสียดาย

    ถ้าท่านกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมต่อไปไว้เรื่อย พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มปรากฏขึ้นมาเอง สบายใจยิ่งกว่าเดิมอีก ดังพระพุทธวจนะว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ (ใจหยุดใจนิ่ง) ไม่มี
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้ถึงธรรมกาย ลักษณะเหมือนเข้าฌานไหม ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ ยังคงธรรมกายไว้ได้ไหม ?

    
    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?
    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ 2-3 ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ 5 มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่

    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ 5 วาขึ้นไป สกิทาคามี 10 วาขึ้นไป อนาคามี 15 วาขึ้นไป พระอรหัต 20 วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ

    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ 5) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก

    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก

    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เกิดธรรมกายไม่เห็นกายมนุษย์หยาบถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะทำอย่างไร ?

    

    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    -------------------------------------------------------



    ตอบ:





    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ ถึงธรรมกายเลยทีเดียว ไม่ผิดครับ ถูก ไม่ต้องกังวลใจ เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด คือว่า



    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย หยุดนิ่งกลางธรรมกาย ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่ โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ให้ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต ขนาดหน้าตักและความสูง 20 วาขึ้นไป ให้ใสสว่างดี พอใสสว่างดีแล้ว นึกชำเลืองดูนิดเดียว นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด เห็นเป็นดวงใส ศูนย์กลางขยายออก เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ ใจหยุดกลางกายทิพย์ หยุดนิ่งเป็นดวงใส ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส รูปพรหมก็ปรากฏ ทำไล่ไปทีละกายๆ อย่างนี้ในภายหลังก็ได้ ไม่ยาก เมื่อทำไล่ไปทีละกาย ถึง 18 กายสุดท้าย ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ ดำเนินต่อไป เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่ กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่ต้องเป็นห่วง



    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น เมื่อถึง 18 กายแล้วนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ 18 กายทุกวันๆ ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู 18 กาย ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย ไม่ต้องสนใจ ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่ เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ ไม่ได้เกิดที่ไหน เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว กระดิกใจดูนิดเดียว เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียด เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย คือไม่ติดอยู่ แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี เป็นสักแต่เป็น นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ



    สำหรับผู้เบื้องต้น เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ 18 กายให้ครบ เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ) เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า สะดวกกว่า



    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ อันเป็นสังขารธรรม เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต” อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ 18 กายนั้นเอง เป็นเถาเหมือนปิ่นโต แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ กลางของกลางซึ่งกันและกัน ศูนย์กลางตรงกัน 18 กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา 18 กายนั้นแล้ว กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี 18 กาย ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ 18 กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน



    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี 18 กาย ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้ นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ” เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ของกายในภพ 3 และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังติดอยู่ เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้



    เพราะฉะนั้น ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยไปจนถึงนิพพาน ทำไปเถิด 18 กายอยู่ข้างในนั้น ไม่มีปัญหา เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ 3 ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...