หลวงปู่ทิม อิสริโก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 21 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ประวัติหลวงปู่ทิม อิสริโก โดยย่อ<O:p</O:p
    หลวงปู่ทิม อิสริโก
    วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง<O:p</O:p

    หลวงปู่ทิม นามเดิมชื่อ ทิม นามสกุลงามศรี
    หลวงปู่ทิม เกิดที่บ้าน หัวทุ่งตาบุตร
    หมู่ที่ 2 ตำบลละหาร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
    มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันเป็นชายทั้ง 3 คน
    หลวงปู่ทิมเป็นคนที่ 2 เกิดเมื่อ ปีมะแม วันศุกร์ เดือน 7 ตรงกับวันที่ 16 เดือน มิถุนายน 2422 ตรงกับวันศุกร์ เดือน
    7 ปีเถาะ
    เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี
    เป็นหลานของหลวงปู่สังข์ พระปรมาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หลวงปู่สังข์องค์นี้ เป็นผู้ก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น เป็นพระที่เรืองวิทยาอาคมมาก น้ำลายที่ท่านถมถ้าถูกพื้น ๆ จะแตก เมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าในวิทยาอาคมของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่ที่วัดเก๋งจีน และได้สร้างพระเนื้อตะกั่ว วัดเก๋งจีนขึ้น บรรดาตำรา และวิทยาการต่าง ๆ หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งไว้ที่วัดละหารไร่ และส่วนใหญ่หลวงปู่ทิมก็ได้ศึกษามาจากตำราของหลวงปู่สังข์นี้<O:p></O:p>
    เมื่อท่านพระครูภาวนาภิรัติ หรือหลวงพ่อทิม มีอายุเจริญวัยได้ 17 ปี นายแจ้ ผู้เป็นบิดาได้ส่งเสีย และนำตัวของหลวงปู่ทิมไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือ กับท่านพ่อสิงห์พระอาจารย์เป็นเวลาประมาณ 1 ปี และมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจเขียนได้อ่านออกดีแล้ว นายแจ้ผู้เป็นบิดาของท่าน จึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์ขอลา<O:p</O:p
    หลวงปู่ทิมกลับมาอยู่ที่บ้านเช่นเดิม และท่านพระครูภาวนาภิรัติ หลวงปู่ทิม ก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน และหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดีและรู้จักมีความกตัญญูกตเวที รู้จักปฏิบัติพ่อแม่มาด้วยดีตลอด แต่โดยในระยะนี้ท่านพระครูภาวนาภิรัติ มีนิสัยชอบเป็นพรานคะนอง ออกเที่ยวล่าสัตว์ แต่มิได้นำมาเพื่อเป็นการค้า โดยเลี้ยงชีวิตและครอบครัวเรื่อย ๆ มา จนถึงอายุได้ 19 ปี ท่านจึงถูกเลือกเข้าเป็นลูกหมู่หรือทหารประจำการในสมัยนี้ อยู่ที่กรุงเทพฯ ถึง 4 ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่ที่บ้านตามเดิม และเมื่อกลับมาอยู่บ้าน บิดาของท่านจึงได้ขออนุญาต และจัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อุปสมบท<O:p</O:p
    หลวงปู่ทิมอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน 2449 ตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ โดยมีพระคุณเจ้าท่าน พระครูขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชณายะ และพระอาจารย์สิงห์ เป็นพระอนุกรรมวาจา พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ พัทธสีมา
    วัดละหารไร่ ได้ฉายานามสงฆ์ว่า อิสริโก เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็มาอยู่ที่วัดกับพระอาจารย์ได้ 1 พรรษา เมื่ออยู่ครบพรรษาแล้วท่านก็ได้ขออนุญาต และมนัสการกราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี
    <O:p</O:p
    ครั้นใกล้เทศกาลเข้าพรรษา ท่านก็กลับมาถึงจังหวัดชลบุรี และท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมเป็นเวลาถึง 2 พรรษา และท่านได้เที่ยวร่ำเรียนวิช ากับเกจิอาจารย์หลายอาจารย์ด้วยกันรวมทั้งฆราวาส โยมเริ่ม โยมรอด และโยมสาย นอกจากนั้นยังศึกษาตำราซึ่งตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีน ซึ่งเป็นปู่แท้ ๆ ของหลวงปู่ทิม เป็นเวลา 2 ปี เศษ และต่อมาท่านพระครูภาวนารภิรัติ ท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดละหารไร่หรือ (วัดไร่วารี) ตามเดิมและท่านได้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐาน กับอาจารย์และอื่น ๆ อีกหลายอาจารย์ด้วยกัน<O:p</O:p
    ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดละหารไร่ และท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะบูรณะซ่อมแซมกุฏิ และอื่น ๆ อีกหลาย
    อย่างพร้อมด้วยญาติโยมทั้งหลาย ก็มีความเลื่อมใสต่อท่านมาก เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งในธรรมะ และวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก ต่อมาท่านจึงชักชวนบ้าน และญาติโยมทั้งหลายได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ประมาณ 1 ปีเศษ ก็แล้วเสร็จ และผูกพัทธสีมาเรียบร้อยในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น และต่อมาท่านจึงได้ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นอีก 1 หลัง โดยมีทางอำเภอ และจังหวัดร่วมด้วย โดยใช้เวลาการก่อสร้างเพียง 8 เดือน ก็แล้วเสร็จเรียบร้อยเปิด ให้นักเรียนเข้าเล่าเรียนได้เรียบร้อย ต่อมาท่านก็ชักชวนชาวบ้านช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง งานของท่านก็ได้บรรลุ ถึงความสำเร็จโดยเรียบร้อยทุกประการ และทางเจ้าคณะจังหวัดได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ทิมท่านมารับเป็น พระครูภาวนาภิรัติ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2507
    <O:p</O:p
    สมณศักดิ์<O:p</O:p
    - ปี พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน<O:p</O:p
    - ปี พ.ศ. 2497 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร<O:p</O:p
    - ปี พ.ศ. 2507 รับสัญญาบัตรพัดยศ "พระครูภาวนาภิรัต" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2507<O:p</O:p
    หลวงปู่เป็นพระที่น่าเคารพและบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรม และวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส เท่าที่ผมได้สังเกตดูท่านฉันเช้าประมาณ 1 โมงเช้าและน้ำชาก็เวลา 4 โมงเย็น ถ้าเลยเวลาหลวงปู่ไม่ยอมฉันแม้แต่น้ำชา ท่านฉันข้าวมื้อเดียวมาประมาณ 47 ปี และ เนื้อ หมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิด ท่านไม่ยอมฉัน มา 47 ปีแล้ว แม้แต่น้ำปลาก็ไม่ฉัน อาหารที่ท่านฉันเป็น ผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่นอย่างนี้อยู่เป็นนิจตลอดมา
    มรณภาพ

    หลวงปู่ทิม ท่านมรณภาพเมื่อวันที่
    16 ตุลาคม 2518
    ประวัติความเป็นมา
    วัดละหารไร่
    หมู่ที่
    8 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
    วัดละหารไร่นี้
    ได้ก่อนตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๕๔ เกิดขึ้นโดยหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า รองเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ในสมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งตรงด้านตรงข้าม ทางด้านเหนือของวัดละหารใหญ่ มีทำเลดีเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผัก จึงได้เกณฑ์พวกลูกศิษย์ช่วยกันหักร้างถางพง ใช้เป็นที่ปลูกพืชผักไว้ขบฉันกินเป็นอาหาร ในฤดูแล้ง ในขั้นแรกได้ทำการสร้างที่พักร่มเงาเอาไว้ เมื่อถึงเวลาเข้าพรรษาก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่ ต่อมามีผู้คนได้ไปทำไร่ในแถบใกล้ ๆ ที่นั้นมากขึ้น และเห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่ เมื่อถึงวันพระก็จัดทำ
    ภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ และต่อ ๆ มาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น ๆ จึงได้ก่อสร้างกุฎิวิหารขึ้น พระสงฆ์ก็จำพรรษาที่นั่นได้ แล้วตั้งชื่อว่าวัดละหารไร่ ตั้งแต่นั้นมา โดยมีหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า ไปเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
    <O:p</O:p
    ด้วยเหตุว่า การค้นคว้าหาประวัตินั้นลำบากมาก เพราะเป็นเวลาเกือบ ๒๐๐ ปีมาแล้ว จึงได้อาศัยการเล่าสืบต่อกันมา และหลักฐานบางประการ ที่พอจะสันนิษฐานได้เป็นเรื่องประกอบในขณะที่ก่อตั้ง วัดละหารไร่แล้วนั้น หลวงพ่อสังฆ์เฒ่าก็เป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ จึงสันนิษฐานว่า เมื่อวัดละหารไร่ทีภิกษุที่อาวุโสอยู่บ้างแล้ว หลวงพ่อสังฆ์เฒ่า จึงมอบให้ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นหลวงพ่อแดงเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ องค์ต่อมาจากหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า ส่วนตัวท่านกลังไปเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ตามเดิม ต่อจากคุณพ่อเฒ่าจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ในสมัยนั้น เหตุการณ์ต่อจากนั้นไม่มีใครทราบโดยละเอียด แต่มีหนังสือบางเล่มอ้างว่า หลังจากหลวงพ่อแดงแล้ว หลวงพ่อองค์ต่อ ๆ มาคือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์ หลวงพ่อจ๋วม เป็นลำดับ หลังจากหลวงพ่อจ๋วม ลาสิกขาไปแล้ว ทำให้วัดละหารไร่ ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เลยเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาหลวงพ่อทิม งามศรี (ฉายา อิสริโก) ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดละหารไร่นี้เป็นต้นมา จึงได้เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นสืบมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งหลวงพ่อทิม ได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่ง
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓
    หลวงพ่อทิมได้จัดให้มีการเปิดโรงเรียน ขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาของประชาชน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่สอน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยกับการศึกษา จึงร่วมมือกับหลวงพ่อสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ตามแบบ ป.๑ ข. ซึ่งปัจจุบันอาคารหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมและรื้อถอนไปไม่ได้ใช้แล้ว
    <O:p</O:p
    สร้างหอฉันและศาลาการเปรียญสำเร็จ ด้วยเงินกว่า ๔ ล้านกว่า หลวงพ่อทิมมีตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...