วัดไทย ลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 6 มกราคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    WatThaiLasVegas.jpg
    วัดไทย ลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา
    ข้อมูลทัวไป

    ชื่อ : วัดไทยลาสเวกัส - WAT THAI LAS VEGAS
    นิกาย : มหานิกาย
    เจ้าอาวาส : พระมหานรินทร์ นรินฺโท
    ที่อยู่ : 2920 Mcleod Drive Las Vegas, Nevada USA 89121
    Phone : (702) 384-2264
    อีเมล : watthailasvegas @ hotmail.com
    เว็บไซต์ : http://www.alittlebuddha.com/
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    B04.jpg





    PMNARIN.jpg


    PMNARIN102.jpg



    พระมหานรินทร์ ใน อินเดีย ตอนที่ 9


    มัวแต่บรรยายภาพ ลืมบรรยายบรรยากาศพุทธคยาให้ท่านผู้อ่านฟัง ความจริงก็เป็นเรื่องของผู้เขียนเองนั่นแหละที่อยากฝอยให้คนอื่นรู้ ก็เลยเหมาเอาว่าเป็นบรรยากาศ มิใช่อะไร กลัวไม่มีคนอ่าน ฟังนะ อะแฮ่ม !

    ขอเท้าความว่า นับจากคืนแรกที่เดินทางถึงพุทธคยา คืนต่อมานั้นผู้เขียนก็พบกับครูบาอาจารย์ที่รู้จักและเคารพรักหลายท่าน เช่น ท่านพระครูวรกิตติโสภณ หรือท่านพระครูเศรษฐกิจ สมาหิโต ซึ่งคุ้นเคยท่านแต่ครั้งยังจำพรรษาอยู่ที่วัดไทย แอลเอ ก่อนจะกลับไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาคปรก ที่เมืองไทย ท่านเดินทางไปเป็นคณะพระอุปัชฌาย์ให้แก่คณะ บ.ย.ส. รวมทั้งเป็นพระวิทยากรกิตติมศักดิ์ นำคณะพระ บ.ย.ส. ไปนมัสการสังเวชนียสถานทั่วอินเดียอีกด้วย พบหน้าท่านก็เหมือนพบหน้าญาติละครับ เพราะท่านเป็นอดีตพระธรรมทูตไทยสายอินเดียระดับซีเนียร์ ไม่มีใครในอินเดียไม่รู้จักหลวงพ่อพระครูเศรษฐกิจ พอท่านพบหน้าผู้เขียนก็กวักมือเรียกเข้าไปพูดคุย เลยถือโอกาสร่วมวงน้ำชาเสวนากับผู้หลักผู้ใหญ่ในอินเดีย เช่น หลวงพ่อพระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในโครงการบรรพชาของคณะ บ.ย.ส. ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และเจ้าอาวาสวัดไทย ลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นต้น นับว่าการเดินทางโดยไม่มีแผนการณ์ของผู้เขียนครั้งนี้ได้ผลดีเกินคาด

    อีกท่านหนึ่งก็คือ อาจารย์ ดร.พระมหาบาง เขมานนฺโท ชาวขอนแก่น ซึ่งก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จำได้ว่าผู้เขียนเคยเป็นสารถีพาท่านไปปั๊มวีซ่าที่สถานกงสุลอินเดียถึงเมืองซานฟรานซิสโก นั่นก็เป็นเหตุการณ์เมื่อ ปี พ.ศ.2541 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา อาจารย์มหาบางท่านเป็นนักท่องอินเดียระดับเซียน หลับตาเห็นทุกซอกมุมของอินเดีย คุยกับอาจารย์ ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ แห่งวัดพุทธปัญญา เมืองโพโมน่า แคลิฟอร์เนีย ท่านบอกกับผู้เขียนว่า "มีใครไปอินเดียแล้วไม่เจออาจารย์บางบ้างล่ะ เพราะว่าท่านไปอินเดียอาทิตย์ละ 2 เที่ยว" "ปานนั้นเชียว" ผู้เขียนกึ่งถามกึ่งสงสัย อาจารย์มหาบางเคยชวนผู้เขียนไปอินเดียก็หลายครั้ง ตั้งแต่สมัย หลวงตาโสบิน โสปาโก โพธิ จะบินไปอุปสมบทที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อหลายปีก่อน นั้นก็ครั้งหนึ่ง ครั้งหลังๆ พอโทรคุยกัน ท่านก็จะถามว่า "มาเมืองไทยเมื่อไหร่ ไปอินเดียด้วยกันไหม สำหรับท่านมหาฟรีตลอดรายการ" ฯลฯ

    ทีนี้พอได้ยินพระในวัดไทยพุทธคยาเล่าให้ฟังว่า "มีคณะพระ ดร.บาง มาพักที่วัดด้วย" ผู้เขียนจึงถามว่า "บางไหน" ท่านก็ตอบว่า "ดร.บาง ขอนแก่นไง มาบ่อย" ทราบดังนั้นผู้เขียนจึงถือวิสาสะเดินไปยังห้องพักของอาจารย์ ดร.บาง ตามที่พระท่านบอก แล้วก็ได้พบอาจารย์บางสมใจ นี่ก็เหมือนเจอญาติอีกคน เพราะพอเจอท่าน ดร.พระมหาบาง เข้าเท่านั้น ท่านก็คะยั้นคะยอผู้เขียนให้ไปในโบสถ์ เพื่อร่วมพิธีถวายผ้าป่า เพราะว่าท่านพาคณะพระและโยมมาหลายสิบคน หนึ่งในนั้นมีท่านอาจารย์สิงห์ทอง ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐาก ผู้ดูแลหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุจนกระทั่งละสังขารไป เห็นไหมว่าเรื่องยาวนะ

    พอเข้าโบสถ์แล้ว ท่านอาจารย์บางก็ขึ้นสัคเคฯ ประกาศเสียใหญ่โต แนะนำให้พระและโยมเต็มโบสถ์ทราบว่า "พระองค์นี้ชื่ออะไร มาจากไหน สำคัญอย่างไร" ผู้เขียนรู้สึกเขินน่ะ เพราะอยากไปแบบติดดิน ดันโดนอาจารย์บางจับแขวนนวมเสียแล้ว นี่แหละความลับไม่มีในโลก

    ก็เอา ท่านก็อยากให้เรามีหน้ามีตา จะว่าเป็นเจตนาร้ายนั้นหามิได้ ท่านเชิญให้เป็นประธานจุดเทียน-ธูป บูชาพระรัตนตรัย เพื่อเริ่มพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีในคืนนั้น เราก็ทำตามเพราะเป็นเด็กดี ทีนี้พอจบพิธีแล้ว อาจารย์บางท่านยังคะยั้นคะยอให้ตามไปถึงในห้องพัก สั่งแม่ชีนำเอาน้ำชากาแฟมาเลี้ยงไม่อั้น แถมด้วยเจ้ามะขามป้อมดองซึ่งลูกโตยังกะไข่ไก่ไม่น่าเชื่อ ก็ชิมไปบ่นไป เอ๊ย ฉันไปคุยไป อาจารย์บางท่านก็ถามว่ามายังไงและจะไปยังไง ผู้เขียนก็จาระไนให้ท่านทราบ ท่านก็บ่นว่า "แหมเสียดาย น่าจะโทรติดต่อผมซัก 15 วันก่อนหน้านี้ จะได้มีเวลาพาทัวร์อินเดีย" ผู้เขียนก็ยกมือขอบคุณ เพราะแค่นี้ก็ถือว่ามีน้ำใจใหญ่ยิ่งแล้ว อาจารย์บางท่านบอกว่า กำหนดการของท่านจะสิ้นสุดลงในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 4 ที่ผู้เขียนไปถึงพุทธคยา) ก็หมายถึงว่า พอถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน นั้น ทั้งผู้เขียนและอาจารย์บางก็ต้องจากกันไปตามแรงเหวี่ยงของโลก อาจารย์บางจะนำคณะเดินทางกลับเมืองไทย เพราะมาหลายวันแล้ว ส่วนผู้เขียนก็จะเริ่มต้นเดินทางออกจากพุทธคยา เพื่อไปยังเมืองราชคฤห์ ซึ่งมีท่านพระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (ดร.พระมหาวิเชียร) เป็นเจ้าอาวาส ท่านสั่งให้ผู้เขียนไปหา จะได้แนะนำว่าควรไปอย่างไรในอินเดีย

    จากนั้น อาจารย์บางก็ควักย่าม นำเอาเงินรูปีออกมาเป็นฟ่อนๆ แจกแจง "นี่เป็นค่าสามล้อไปกลับระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ นี่เป็นค่ารถไปราชคฤห์ และนี่เป็นค่าขนม แล้วแต่จะชอบ ฯลฯ" นับรวมแล้วท่านยัดใส่ย่ามผู้เขียนมาไม่ต่ำกว่า 5,000 รูปี เงินจำนวนนี้แหละที่ผู้เขียนได้ใช้จ่ายทั้งเป็นค่าสามล้อและค่าของฝากจากพุทธคยา โดยตลอดเวลา 4 วันที่พุทธคยานั้น ผู้เขียนยังไม่ได้ควักเงินของตัวเองสักสลึง จะว่าเป็นบุญก็คงใช่ แต่ผู้อ่านบางท่านอาจจะมองว่า แหมผู้เขียนนี่ตระหนี่จังเลย ไปถึงเมืองนอกเมืองนายังไม่ยอมควักกระเป๋า ถ้าออกเหรียญคงเหนียวน่าดู

    จากนั้น พระอาจารย์ ดร.บาง ก็พาผู้เขียนไปฝากเนื้อฝากตัวและฝากท้องไว้กับแม่ชีแดง ซึ่งประจำอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ซึ่งแม่ชีแดงก็ดีนักหนา หาน้ำร้อนน้ำชากาแฟพร้อมทั้งสบู่ยาสีฟันมาให้ผู้เขียนเสียยกใหญ่ อยากได้อะไรผู้เขียนจึงแค่เพียง "เดินไปที่กุฏิแม่ชีแดง แล้วตะโกนเรียกชื่อเหมือนท่านอาจารย์ ดร.บางเรียก" ก็สมปรารถนาแล้ว

    ราวตีห้า ผู้เขียนตื่นขึ้นมาล้างหน้าแปรงฟัน ทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ครองผ้าไปทางโรงอาหาร พบว่าพระนวกะ คณะ บ.ย.ส. หลายท่านยังครองผ้าไม่เสร็จ เพราะมือใหม่กันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่บางท่านก็เป็นผู้พิพากษาระดับอาวุโส บางท่านเป็นนายพันนายพล บางท่านก็เป็นระดับอธิบดี พอถูกจับมานุ่งสบงของพระสงฆ์เข้า กลายเป็นมือใหม่หัดขับไปเลย ผู้เขียนเลยอาสาเข้าไปช่วยครองผ้าให้ ก็ช่วยได้หลายรูปอยู่ ดูเหมือนว่า ผู้ใหญ่ระดับ บ.ย.ส. ดังที่เราเห็นนั้น ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจทั้งทางโลกและทางธรรมกันพอตัว แบบว่าไม่อยากฟังเทศน์นาน หรือถ้าจะฟังก็ต้องเลือกแล้วเลือกอีก เทศน์ไม่ถึงธรรม หรือเทศน์ไม่ถูกจริตก็อาจจะถูกปิดไมค์ได้ แต่สำหรับเรื่องเล็กน้อย เช่นการครองผ้า เป็นต้นนี้ กลับเป็นเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

    มีเรื่องจริงว่า ท่านสมภารเจ้าวัดนั้น มียศศักดิ์อัครฐาน กินก็กินก่อน ที่นั่งที่นอนก็เป็นที่อันควรแก่การเคารพนบนอบของพระภิกษุสามเณรทั้งวัด แต่ในวันโกนนั้น จะเห็นว่า มีเณรน้อยองค์หนึ่งมีโอกาสจับหัวเจ้าอาวาส เพราะเจ้าอาวาสต้องอาศัยเณรช่วยปลงผมให้ นี่ไงที่เรียกว่า เรื่องสูงเรื่องใหญ่บางทีไม่ต้องการ แต่เรื่องเล็กเรื่องน้อยกลับมีความสำคัญ ดังยัดเยียดให้ท่านผู้อ่านรำคาญตามาจนบัดนี้

    จากนั้น เวลา 06.30 น. ก็เป็นเวลาถวายอาหารเช้าแก่พระสงฆ์ในโรงอาหาร ผู้เขียนก็ถูกนิมนต์ให้เข้านั่งที่โต๊ะของคณะพระวิทยากร (ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ใช่พระวิทยากร เป็นพระวิทยากินเสียมากกว่า) อาหารเช้าก็มีข้าวต้มกุ๊ย ไข่เจียว ผัดผักอะไรไม่รู้ดูขมๆ แต่รสชาติก็ใช้ได้นะ และอะไรอีกก็จำไม่ได้ ที่เห็นๆ ก็คือ อาหารจากเมืองไทย โยมคนโน้นคนนี้ ถือห่ออาหารมาจากห้องพัก ตักถวายโต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง แนะนำว่ามาจากตลาดไหนในเมืองไทย หรือทำมาเอง เป็นต้น ไปต่างบ้านต่างเมืองเรื่องสีเรื่องภาคไม่มีใครพูดถึง ก็ดีไปอย่าง อย่างน้อยก็ค่อยยังชั่วกว่าคนไทยในสหรัฐอเมริกาที่แบ่งสีกันจนวัดมีสองสีไปหมดแล้ว นี่ฉันเช้าหรือคุยการเมืองเนี่ย

    ฉันเช้าเสร็จราว 7 โมง ได้ฟังหัวหน้าคณะทัวร์ที่จะไปนาลันทาประกาศว่า "รถออกเวลา 08.00 น. นะครับพระคุณเจ้าและท่านผู้มีเกียรติ กรุณาขึ้นรถตรงเวลา เพราะเดี๋ยวจะไม่ทันเพล" ผู้เขียนเห็นว่ายังพอมีเวลา จึงเดินไปยังกุฏิเจ้าอาวาสเพื่อจะกราบลา ปรากฏว่าหลวงพ่อพระเทพโพธิวิเทศนั้นท่านอยู่ที่โรงฉันอีกด้านหนึ่ง (โรงฉันของวัดอยู่ด้านหลังวัด แต่โรงฉันที่ต้อนรับแขกนั้นอยู่ด้านหน้าวัด) จึงตามไปจนพบท่าน กราบขอบพระคุณที่เมตตาให้ที่พำนัก และกราบลาท่าน ซึ่งหลวงพ่อท่านเป็นคนพูดน้อย พิธีการลาจึงไม่โอ้เอ้ ไม่กี่นาทีจากนั้นผู้เขียนก็ทำการเช็คเอ๊าท์ออกจากห้องพัก

    รถที่ผู้เขียนได้รับอนุญาตให้ห้อยไปยังนาลันทานั้นเป็นรถคันที่ 2 ซึ่งพระวิทยากรประจำรถได้แก่ ท่าน ดร.พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ อดีตท่านเคยศึกษาอยู่ที่ วัดศรีบุญเรือง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้บ้านเกิดของผู้เขียนแค่ 5 กิโลเมตร แถมผู้เขียนก็เคยเรียนสำนักวัดศรีบุญเรืองอีกด้วย เรียกว่าร่วมสำนักกัน พอพบกันครั้งแรกไล่ไปไล่มาก็พบว่า "กากี่นั๊ง" เพราะท่านเป็น "เสี่ยว" ของพระมหาพิศิฏฐ์ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง องค์ปัจจุบันอีกด้วย แหมแบบนี้ก็คุยกันรื่น นั่นเองที่เป็นโอกาสให้ผู้อ่านได้ "โหนรถ" คณะ บ.ย.ส. ไปถึงนาลันทาในครั้งนี้ เพราะท่าน ดร.ดาวสยามบอกว่า "สบายมาก ผมเป็นพระวิทยากร มีสิทธิพิเศษ อาจารย์นั่งไปกับผมก็แล้วกัน คันนัมเบอร์สองนะ" อา..เห็นไหมล่ะว่า นอกจากจะห้อยคณะหลวงพ่อสมชายไปรอบหนึ่งแล้ว ผู้เขียนยังสามารถห้อยคณะ บ.ย.ส. เป็นรอบสอง อะไรๆ ก็ดูลงตัวไปหมด สำหรับนักห้อยอย่างผู้เขียน

    รถทัวร์หมายเลข 2 ของผู้เขียนนั้น เป็นรถที่จัดไว้สำหรับคณะแม่บ้านและผู้ติดตามผู้ใหญ่ที่ไปบวชในคณะ บ.ย.ส. ซึ่งแต่ละคันก็จะมีการจัดพระวิทยากรระดับพระกาฬ หมายถึงว่าต้องมือโปรจริงๆ มีประสบการณ์ในการนำพุทธศาสนิกชนไปนมัสการสังเวชนียสถานอย่างโชกโชน เรียกว่าได้ทั้งบุ๋นได้ทั้งบู๊ เพราะเคยมีการ "เชิญลง" สำหรับพระวิทยาการผู้อ่อนหัดกลางเส้นทางแสวงบุญมาแล้ว ยิ่งคณะ บ.ย.ส. ซึ่งย่อมาจาก "บริหารยุติธรรมระดับสูง" อีกด้วย ทางโครงการจึงต้องคัดแล้วคัดอีกยิ่งกว่าเนสกาแฟ งานใหญ่ระดับประเทศเช่นนี้ต้องชี้เป็นชี้ตายว่า "พลาดไม่ได้" ขนาดระดับ พระราชรัตนรังษี หรือท่านเจ้าคุณวีรยุทธ เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ซึ่งเป็นถึงระดับ "อาจารย์ของอาจารย์" ก็ยังสู้อุตส่าห์ "ลงสนาม-นำทีม" ด้วยตนเอง คนทำงานเป็นเห็นแล้วก็ย่อมมองออกว่า "งานนี้ไม่ธรรมดา" ดร.พระมหาดาวสยาม ซึ่งได้รับการยอมรับในแวดวงพระธรรมทูตไทยในอินเดียระดับแนวหน้า แม้ว่าท่านจะจำวัดอยู่ไกลถึงเมืองพาราณสีโน่น แต่ก็ถูกนิมนต์ให้เดินทางมารับงานใหญ่ร่วมทีมพระวิทยากรมือพระกาฬในวันนี้ นี่ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งซึ่งต้องเรียกว่าโชคดี ที่ผู้เขียนได้เห็นลีลาเซียนของ ดร.พระมหาดาวสยาม นำคณะ บ.ย.ส. ท่องอินเดียแดนพุทธภูมิ แม้ว่าจะเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ก็ได้รับรู้เรื่องราวมากมายที่ไม่เคยรู้ นึกๆ ไปว่า นี่ถ้าเราติดตามคณะไปอีก 7 วัน คงรู้เรื่องอินเดียมากขึ้นอีกหลายสิบเท่า

    ภูมิความรู้ของพระวิทยากรไทยในอินเดียนั้น ว่ากันว่า ตามรายทางที่ผ่านไปทุกเส้นทาง ไม่ว่าจะจากพุทธคยาไปราชคฤห์ นาลันทา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี จนถึงเดลลี และกัลกัตตา ทุกตารางนิ้วที่เดินทางผ่านจะต้องอยู่ในสายตาของพระวิทยากรหมด เรียกว่าประวัติของต้นไม้ทุกต้น บ้านทุกบ้าน เรือนทุกหลัง ท่านจะบรรยายได้ละเอียดยิบ ขนาดว่าขึ้นเขาคิชฌกูฏท่านยังชี้ให้เห็นเปรตที่พระมหาโมคคัลลาน์เห็นในสมัยพุทธกาลเลย ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ นี่ไงที่เรียกว่าอัจฉริยะของพระไทยในอินเดีย

    กล่าวถึงรถทัวร์เบอร์ 2 ที่ผู้เขียนโดยสารไปด้วยนั้น แม้ว่าจะติดป้ายหมายเลข 2 แต่ถึงเวลาแล้ว ปรากฏว่าได้รับเกียรติให้ออกก่อน คือนำหน้าคณะ คณะของเราจึงกลายเป็นรถเบอร์ 1 สตาร์ทเครื่องออกจากวัดไทยพุทธคยา ในเวลา 08.00 น. เต็ม วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2552



    B002.jpg



    ก่อนออกจากโรงฉัน มีคนเอากล่องนี้มาถวาย ถามว่าคืออะไร ตอบว่าคือ ยาหม่องขาวตราลิงถือลูกท้อ แต่ถ้าเรียกอย่างนี้ที่อินเดียไม่มีคนรู้จัก ความจริงต้องเรียกว่า มั๊งคี่บาล์ม แต่ถือว่าเป็นการไม่เคารพอีก เพราะชาวอินเดียนั้นนับถือลิงว่าเป็นหนุมาน ในฐานะทหารเอกของพระรามในยุคบุกเมืองลงกาในรามเกียรติ์ ดังนั้นชื่ออันเหมาะสมก็คือ หนุมานบาล์ม หรือยาหม่องตราหนุมาน โดยท่านบรรยายสรรพคุณให้ฟังว่า ยาหม่องชนิดนี้เป็นที่นิยมในทุกชนชั้นของชาวภารตะ แถมยังใช้ได้ใช้ดี ทั้งถู ดม นวด ทา ฯลฯ สารพัดประโยชน์ ส่วนประโยชน์สำหรับคนไทยก็คือ "ให้เภสัชเป็นทาน" เพราะให้อย่างอื่นก็ราคาแพง สู้เอากล่องละ 5 บาทไปหว่านบุญไม่ได้ บางแห่งยังสามารถใช้เป็น "ใบเบิกทาง" คือค่าผ่านด่าน ซึ่งถ้าหากไม่มีหนุมานแล้ว เห็นทีจะต้องใช้ "ท่านมหาตมะ คานธี" เพียงยี่ห้อเดียว



    DSCN6115%20[1600x1200].jpg

    ดร.พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ ไกด์ประจำรถทัวร์ คณะ บ.ย.ส. คันที่ 2
    กำลังบรรยายให้แก่ผู้โดยสาร สังเกตว่าพระวิทยากรจะต้องยืนพูด เพื่อให้เห็นหน้าผู้โดยสาร


    ท่านบอกรหัสลับให้แก่คณะไว้ว่า ถ้าปวดท้องเบา (ฉี่) ให้ยกนิ้วก้อยขึ้นโชว์ เพื่อบอกให้โชเฟอร์รู้ว่า ขอให้หาที่อันเหมาะสำหรับทำกิจดังกล่าว ถ้าปวดท้องหนัก ท่านให้ทำกำปั้นโดยโชว์หัวแม่มือขึ้นด้านบน แต่ว่าถ้าอาการน่าเป็นห่วง คือว่าอั้นไม่ไหวแล้ว ยังไงก็ต้องจอด ดร.ดาวสยามท่านบอกว่า "ให้คว่ำหัวแม่มือลง" ละทีนี้ เมื่อโชเฟอร์เห็นก็จะทำการเหยียบเบรคจนหน้าทิ่มหน้าหงาย พอๆ กับมีหมาวิ่งตัดหน้ารถ เพื่อให้เจ้าทุกข์ไปปลดทุกกันทันที นี่คือกติกาสากล ปรากฏว่าทุกคนจำแม่น ผู้เขียนเหลียวไปมองด้านหลัง เห็นโยมๆ ลองยกมือกันยกใหญ่ บ้างลองยกนิ้วก้อย บ้างเอาหัวแม่โป้งขึ้น บ้างเอาหัวแม่โป้งลง สงสัยไม่เคยใช้รหัสลับ 007 มาก่อน เลยชอบใจกันใหญ่ แต่ไม่ทราบว่าตลอดรายการนั้นมีใครยกส่งสัญญาณให้แก่โชเฟอร์บ้าง เพราะผู้เขียนไปได้ไม่ถึงครึ่งทางก็กระโดดลงเสียก่อน



    DSCN6117%20[1600x1200].jpg

    ตะแลงแกง หรือ ทางสามแพร่ง
    ซ้ายไปพุทธคยา ขวาไปราชคฤห์ และนาลันทา




    DSCN6120%20[1600x1200].jpg

    สะพานข้ามแม่น้ำฟันกุ



    DSCN6121%20[1600x1200].jpg

    แม่น้ำฟันกุ



    DSCN6122%20[1600x1200].jpg

    ฟันกุ นะ ไม่ใช่ฟันผุ



    DSCN6123%20[1600x1200].jpg

    เขาลูกนี้ชื่อว่าคยาสีสะ
    เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตลักขณะสูตร
    โปรดพระชฏิล 1003 รูป ให้เป็นพระอรหันต์




    DSCN6124%20[1600x1200].jpg

    ดอยลูกนี้แหละ เคยเป็นอาศรมของชฏิล
    นักบวชผู้มีอิทธิพลต่อราชสำนักพระเจ้าพิมพิสารในสมัยพุทธกาล




    DSCN6125%20[1600x1200].jpg

    สะพานทางสายเอก เดินรถได้ทีละคัน รักหรือไม่รักก็ต้องรอ



    DSCN6126%20[1600x1200].jpg

    พระอาจารย์รัตน์ วัดพระศรี ชิคาโก้ ท่านเล่าประสบการณ์สำคัญให้ฟังว่า เคยนั่งรถโดยสารในอินเดียไปจ๊ะเอ๋กันกลางสะพาน ปรากฏว่าโชเฟอร์ไม่มีใครยอมใคร ต่างคนต่างลงมายืนเถียงกันข้างรถ โดยมีผู้โดยสารลงมาเป็นกองเชียร์อยู่ด้วย เถียงกันหน้าแดงหน้าดำอยู่นานถึง 4 ชั่วโมง กว่าจะรู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย สุดท้ายโชเฟอร์คนที่เถียงแพ้นั้นต้องยอมถอยรถไป นับว่าเป็นกติกานายกย่อง เพราะเอาชนะกันด้วยเหตุและผล ต่างจากเมืองไทย คนไทยนั้นถือว่าการต่อปากต่อคำเป็นการไม่เคารพ ดังนั้น ถ้าเคารพก็ห้ามเถียง ใครคู่ไหนเถียงกันเสียงดังก็รอดูฉากต่อไปเถิด ไม่ลงไม้ก็ลงมือ จะว่าคนไทยเป็นคนอารมณ์ร้อนที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะเถียงไม่ได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมประชาธิปไตยในเมืองไทยไม่เจริญ ก็เพราะวัฒนธรรมของเรามันขัดกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยไง อ้าว พูดเรื่องอินเดีย ไหงกลายเป็นไทยไปอีกเนี่ย



    DSCN6127%20[1600x1200].jpg

    ตลาดสดริมทางยามเช้า



    DSCN6128%20[1600x1200].jpg

    ยิงชัตเตอร์ลงจากหน้าต่างรถ



    DSCN6129%20[1600x1200].jpg

    นี่แม่น้ำอะไรไม่รู้



    DSCN6130%20[1600x1200].jpg

    แห้งเหมือนแม่โขง พ.ศ.2553 ยังไงยังงั้นเลย



    DSCN6131%20[1600x1200].jpg

    อีกภาพ



    DSCN6132%20[1600x1200].jpg

    บ้านหม้อ หรือโรงงานอิฐ มีให้เห็นดาษดื่นทั่วอินเดีย

    พระวิทยากรเล่าให้ฟังว่า คนไทยที่เคยอ่านนิทานพระเจ้าอโศก รู้จักเสาอโศกจากตำรา พอมาเห็นเสาเตาเผาอิฐในอินเดีย ก็ทึกทักเอาว่าเป็นเสาอโศก



    DSCN6133%20[1600x1200].jpg

    นี่แหละเสาอโศกยุคใหม่



    DSCN6134%20[1600x1200].jpg

    ใกล้เข้าสู่ตัวเมืองราชคฤห์

    คือว่า ระยะทางจากพุทธคยาไปนาลันทานั้น ต้องผ่านราชคฤห์ แต่ระยะทางไม่ห่างกันเท่าไหร่ คณะ บ.ย.ส. มีกำหนดจะไปยังนาลันทาซึ่งอยู่ไกลที่สุดนั้นก่อน จึงค่อยย้อนกลับมาทางราชคฤห์ และกลับไปพักที่วัดไทยพุทธคยาอีก ซึ่งก็ใช้ทางเส้นเดียวกันนั่นเอง เราจึงเดินทางผ่านตัวเมืองราชคฤห์ดังที่เห็นข้างหน้านี่แล้ว



    DSCN6135%20[1600x1200].jpg

    ทุ่งนาหน้าเมืองราชคฤห์



    DSCN6136%20[1600x1200].jpg

    กำแพงเมืองราชคฤห์



    DSCN6137%20[1600x1200].jpg

    ปราการมหานครราชคฤห์ อดีตอภิมหาอำนาจในสมัยพุทธกาล



    DSCN6138%20[1600x1200].jpg

    พระเจ้าพิมพิสารเป็นเจ้าเมืองนี้



    DSCN6139%20[1600x1200].jpg

    กำแพงเมืองราชคฤห์



    DSCN6140%20[1600x1200].jpg

    กำแพงนั้นสร้างไว้บนดอยอีกที



    DSCN6141%20[1600x1200].jpg

    ภูเขารอบเมืองราชคฤห์ดูสลับซับซ้อน



    DSCN6142%20[1600x1200].jpg

    ท่ารถเมล์ในเมืองราชคฤห์

    เจ้าลานั่นมีถุงห้อยคอสวมปากไว้ตลอด น่าจะเป็นอาหาร ถ้าเปรียบกับรถก็ต้องเป็นน้ำมัน แบบว่าเติมและเตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา ถ้าเป็นเครื่องบินก็อาจจะเป็นประเภทเติมน้ำมันกลางอากาศ



    DSCN6143%20[1600x1200].jpg

    รถไฟวิ่งผ่านเมืองราชคฤห์



    DSCN6144%20[1600x1200].jpg

    ผ่านราชคฤห์ไปครึ่งทาง ก็จะเป็นหมู่บ้านขายขนม
    แต่ว่าวันนี้จะยังไม่บรรยาย เพราะผู้เขียนจะกลับมานาลันทาอีกรอบ


    ไว้พรุ่งนี้จะโม้ให้ฟัง



    DSCN6145%20[1600x1200].jpg

    ตลาดหมู่บ้านขนมครึ่งทาง



    DSCN6146%20[1600x1200].jpg

    ร่มไม้ชายคา



    DSCN6147%20[1600x1200].jpg

    หมดแล้ว ขายดีจริงๆ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    DSCN6156%20[1600x1200].jpg

    ประตูทางเข้าสู่เมืองเก่านาลันทามหาวิหาร



    DSCN6157%20[1600x1200].jpg

    ผ่านประตูเข้ามาก็จะเป็นทางเดินเข้าไปอีกไกล



    DSCN6159%20[1600x1200].jpg

    ป้ายภาษาอังกฤษ



    DSCN6160%20[1600x1200].jpg

    ห้องน้ำในนาลันทา



    DSCN6161%20[1600x1200].jpg

    ดูสะอาดสะอ้านดี เสียทีก็แต่กลิ่นนี่แหละ เจ้าลูกเหม็นที่แขกใช้ในห้องน้ำนั้นเหม็นจริงๆ ฉุนยิ่งกว่าอะไร ถ้าเอาลุกเหม็นออกดูจะเหม็นน้อยกว่าส้วมทั่วไปด้วยซ้ำ



    DSCN6162%20[1600x1200].jpg

    นี่มาตรฐานอินตะระเดีย ไม่ใช่ อเมริกัน แสตนดาร์ด



    DSCN6163%20[1600x1200].jpg

    คณะพระนวกะ บ.ย.ส. มาพร้อมกันที่หน้านาลันทา



    DSCN6164%20[1600x1200].jpg

    ป้ายประวัติย่อ นาลันทา ภาษาฮินดี



    DSCN6165%20[1600x1200].jpg

    ป้ายนี้ภาษาอังกฤษ



    DSCN6167%20[1600x1200].jpg

    ขยาย เผื่อใครอ่านภาษาอังกฤษคล่องจะได้ความหมาย



    DSCN6169%20[1600x1200].jpg

    องค์กลางถือไม้เท้า พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา

    ขวาสุด ห่มผ้าสีเหลือง พระครูวรกิตโสภณ (หลวงพ่อเศรษฐกิจ) เจ้าอาวาสวัดนาคปรก



    DSCN6170%20[1600x1200].jpg

    เหลืออีกไม่กี่ก้าวก็จะเข้าสู่นาลันทาแล้ว



    DSCN6171%20[1600x1200].jpg

    แค่ดูข้างนอกก็ขลัง



    DSCN6168%20[1600x1200].jpg

    อยากรู้เหลือเกิน ว่าข้างในมีอะไรบ้าง



    DSCN6172%20[1600x1200].jpg

    ถึงนาลันทามหาวิหารแล้ว



    DSCN6173%20[1600x1200].jpg

    ถ่ายจากปากประตู



    DSCN6174%20[1600x1200].jpg

    ผ่านประตูเข้ามาก็จะเป็นเช่นนี้



    DSCN6175%20[1600x1200].jpg

    บริเวณภายในนาลันทา



    DSCN6176%20[1600x1200].jpg

    ป้ายประวัติ บอกว่าเป็นวัดที่ 5 แสดงว่ามีหลายวัด ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งตามประวัติก็บอกว่า นาลันทาพัฒนาขึ้นมาจากการรวมวัดหลายวัดเข้าด้วยกัน จนกระทั่งกลายเป็นมหาวิทยาลัยในที่สุด แต่กว่าจะเป็นได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีทีเดียว
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    DSCN6177%20[1600x1200].jpg

    พื้นชั้นสอง มองลงไปก็จะเห็นพื้นด้านล่าง



    DSCN6178%20[1600x1200].jpg

    2000 กว่าปี นี่คืออดีตแห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
    อย่าชะล่าใจว่ามีวัดมีพระเยอะแล้วจะอยู่ได้นาน




    DSCN6179%20[1600x1200].jpg

    ความอลังการของนาลันทา ทัศนาเอาเองเถิด



    DSCN6180%20[1600x1200].jpg

    เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ อาณาประชาราษฎร พุทธศาสนิกชน ร่วมกันสร้าง



    DSCN6181%20[1600x1200].jpg

    ถูกทำลายล้างจนเหลือแต่ตอ



    DSCN6182%20[1600x1200].jpg

    มันถูกฝังอยู่ในดิน นานนับ 1000 ปี จึงมีคนมาพบ แต่ก็สายเสียแล้ว



    DSCN6183%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย พ.ศ.1750



    DSCN6184%20[1600x1200].jpg

    กล่าวได้ว่า นาลันทาคือปราการสุดท้าย



    DSCN6185%20[1600x1200].jpg

    ยิ่งใหญ่เพียงใด



    DSCN6186%20[1600x1200].jpg

    เราไม่เบียดเบียนเขาน่ะ-ใช่ แต่เขานั้นใช่ว่าจะไม่เบียดเบียนเรา



    DSCN6188%20[1600x1200].jpg

    ประวัติศาสตร์บนทึกว่า ซากศพชาวพุทธเกลื่อนเต็มบริเวณนี้
    ถูกฆ่า ถูกเผา ทำลายไม่เหลือ




    DSCN6189%20[1600x1200].jpg

    บ่อน้ำโบราณในนาลันทา



    DSCN6201%20[1600x1200].jpg

    อีกมุม



    DSCN6200%20[1600x1200].jpg

    ฟังไกด์บรรยายว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นหอพักนักศึกษา



    DSCN6197%20[1600x1200].jpg

    แต่ละห้องล้วนแต่โอ่โถง



    DSCN6199%20[1600x1200].jpg

    มีบันไดขึ้นลงเชื่อมต่อทุกด้าน



    DSCN6196%20[1600x1200].jpg
    DSCN6202%20[1600x1200].jpg

    บันไดใหญ่ลงไปยังห้องกลาง



    DSCN6206%20[1600x1200].jpg

    ลงมาแล้วก็ถ่ายภาพขึ้นไป





    DSCN6205%20[1600x1200].jpg
    DSCN6214%20[1600x1200].jpg

    ความอลังการในนาลันทา





    DSCN6203%20[1600x1200].jpg
    DSCN6204%20[1600x1200].jpg

    ประตูห้องหับต่างๆ ดูยังมั่นคงแข็งแรง





    DSCN6195%20[1600x1200].jpg

    ภาพมุมกว้างถ่ายจากชั้นสอง



    DSCN6194%20[1600x1200].jpg

    มุมนี้ถ่ายรวบไปทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก)



    DSCN6193%20[1600x1200].jpg
    DSCN6190%20[1600x1200].jpg

    มุมกว้างไกลไปจนสุดแนว



    DSCN6192%20[1600x1200].jpg

    ทิศเหนือของนาลันทา



    DSCN6191%20[1600x1200].jpg

    ตะวันตกเฉียงเหนือ



    DSCN6209%20[1600x1200].jpg

    ผู้เขียนในนาลันทา
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    DSCN6210%20[1600x1200].jpg

    ผู้เขียนกับหลวงพ่อพระธรรมวรนายก



    DSCN6207%20[1600x1200].jpg

    หลวงพ่อเศรษฐกิจเต๊ะท่าให้เก็บภาพ

    ชื่อจริงของท่านนั้นคือ "เศรษฐกิจ" ซึ่งมี 2 ความหมายขึ้นกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ช่วงเศรษฐกิจดีนั้น หลวงพ่อเศรษฐกิจท่านรู้สึกยิ้มแย้มแจ่มใส ไปทางใดผู้คนก็ยกย่อง แต่ถึงช่วงเศรษฐกิจตก ท่านก็บ่นพึมพัมให้ผู้เขียนได้ยิน ท่านบอกว่าช่วงนี้เก็บตัวไม่อยากไปไหน เพราะไปแล้วได้ยินแต่เรื่องไม่เป็นมงคล ใครต่อใครก็ไม่พอใจ แถมรุมด่านินทาท่าน ขึ้นเครื่องบินก็ได้ยินผู้โดยสารก็นินทาว่า "เศรษฐกิจห่วย เศรษฐกิจเฮงซวย ไม่ไหว ไม่ได้เรื่อง หุ้นก็ตก เศรษฐกิจแบบนี้ไม่มีใครกล้าลงทุน" พอจับแท็กซี่กลับวัด ถามเรื่องการทำมาค้าขาย ก็ได้รับคำตอบว่า "แย่ครับหลวงพ่อ เศรษฐกิจไม่ได้เรื่องเลย ทำมาหากินไม่ขึ้น วันหนึ่งแทบไม่มีผู้โดยสาร ไม่รู้จะเป็นแบบนี้อีกนานไหม ทำไมเศรษฐกิจเป็นอย่างงี้ก็ไม่รู้ ฯลฯ" แต่ก็ยังดีที่ไม่มีใครบ่นว่า "เศรษฐกิจไร้น้ำยา" ท่านถึงกับปรารภว่า "เห็นใครเขาเปลี่ยนชื่อแล้วดีขึ้น ผมก็อยากจะเปลี่ยนชื่อมั่ง" ตอนหลังท่านก็เปลี่ยนสมใจ คือพอได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวรกิตโสภณ จึงพ้นข้อครหาว่าด้วยเศรษฐกิจไป นี่แหละชื่อนั้นสำคัญไฉน



    DSCN6211%20[1600x1200].jpg

    หลวงพ่อเศรษฐกิจกับพระธรรมวรนายก



    DSCN6212%20[1600x1200].jpg

    พระนวกะคณะ บ.ย.ส. แสวงบุญ ณ นาลันทา



    DSCN6213%20[1600x1200].jpg

    ฟัง ดร. พระมหาน้อย บรรยาย ชวนให้ตื่นใจในประวัติศาสตร์



    DSCN6215%20[1600x1200].jpg

    ใครเป็นใคร ดูเอาเองเด้อ



    DSCN6216%20[1600x1200].jpg

    พระธรรมวรนายก เป็นพระเถระรูปเดียวของเมืองไทย
    ที่ไม่เคยปฏิเสธกิจนิมนต์ไปอินเดีย (ยกเว้นป่วยหนัก)




    DSCN6218%20[1600x1200].jpg

    หลวงพ่อนำท่องสังเวชนียสถาน มองแล้วชวนสังเวชสมชื่อจริงๆ



    DSCN6219%20[1600x1200].jpg

    ถ้าไม่ผ่องถ่ายพระพุทธศาสนาไปไว้ในต่างประเทศ
    ก็คงไม่มีโอกาสกลับมาเห็นพุทธศาสนาในอินเดียอีก


    พระธรรมทูตสายต่างประเทศจึงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา
    อย่างหาที่เปรียบไม่ได้




    DSCN6220%20[1600x1200].jpg

    ตามมาเถิด ลูกหลานเอ๊ย
    หลวงพ่อจะพาไปดูบรรพบุรุษของเราแต่โบราณ




    DSCN6221%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธศาสนามิใช่นารายณ์อวตาร
    แต่เป็นพัฒนาการของมนุษยชาติในช่วงหนึ่ง


    ช่วงที่คนเราเริ่มรู้จักคำว่า "สิทธิและเสรีภาพ"



    DSCN6222%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธองค์ทรงปลดปล่อยชาวโลกจากความเป็นทาส เป็นคนแรก



    DSCN6217%20[1600x1200].jpg

    ทาสมี 2 นัยยะ ได้แก่ ทาสทางกาย และทาสทางใจ

    ทาสทางกาย ได้แก่ ความไม่ทัดเทียมทางด้านสิทธิ์และเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งถูกกดขี่ข่มเหงโดยระบบชนชั้นวรรณะ ทรงประกาศอิสรภาพว่า ชาวพุทธไม่ต้องขึ้นกับระบบชนชั้นอีกต่อไป แต่ให้ใช้ระบบใหม่ นั่นคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครดีหรือชั่วมาแต่กำเนิด

    ทาสทางใจ ได้แก่ การตกอยู่ภายใต้กิเลสตัณหา เป็นความอ่อนแอของตนเอง

    แต่ทั้ง 2 นัยยะนี้ ต้องต่อสู้ด้วยตนเองเท่านั้นจึงจะชนะ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครหยิบยื่นประชาธิปไตยให้แก่เราฟรีๆ



    DSCN6223%20[1600x1200].jpg

    ด้านบนแดดร้อนระอุ
    แต่ในซอกมุมเหล่านี้ กลับเย็นยะเยือก




    DSCN6225%20[1600x1200].jpg

    มหาวิทยาลัยคือสถานที่ติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ประชาชน
    ไม่ใช่ร้านขายประกาศนียบัตรของบรรดาคณาจารย์จอมปลอม




    DSCN6226%20[1600x1200].jpg

    ครูที่ดีย่อมไม่มีสิ่งปิดบังสำหรับศิษย์
    พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า
    ตถาคต ไม่มี อาจริยมุฏฐิ (กำมือแห่งอาจารย์)


    ทรงแบมือทุกด้านให้ดูจนหมดสิ้นแล้ว
    สอนจนหมดไส้หมดพุงแล้ว
    ไม่มีอะไรปิดบังหรือหลงเหลืออีกต่อไป


    ดังนั้น เวลาตายก็ไม่ต้องร้องไห้เสียดายเวลา

    นี่ไง คือความเป็นพระบรมศาสดา



    DSCN6227%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธองค์ไม่มีห้องติวเตอร์นอกโรงเรียนเป็นการเฉพาะ
    ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องจ่ายแพง ไม่ต้องเรียนพิเศษ
    ก็สำเร็จการศึกษาได้




    DSCN6228%20[1600x1200].jpg

    เพราะ..ไม่ได้ถ่ายทอดเคล็ดลับให้ใครเป็นการเฉพาะตัว



    DSCN6229%20[1600x1200].jpg

    ถึงทุกวันนี้ก็ยังท้าพิสูจน์พุทธธรรม



    DSCN6230%20[1600x1200].jpg

    นาลันทา นาลันทา นาลันทา



    DSCN6255%20[1600x1200].jpg

    นาลันทา นาลันทา นาลันทา



    DSCN6231%20[1600x1200].jpg

    นักประวัติศาสตร์เล่าให้ฟังอีกว่า
    แรกนั้นนาลันทาก็เป็นมหาวิทยาลัยพุทธบริสุทธิ์
    แต่ช่วงหลังกลับ "เปลี่ยนไป๋" ปล่อยให้วิชาการเข้ามาครอบงำ
    จึงเหลือความเป็นพุทธไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นป้าย




    DSCN6235%20[1600x1200].jpg

    สุดท้าย นาลันทาจึงเหลือเพียงชื่อ



    DSCN6224%20[1600x1200].jpg

    ดร.สด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา กับท่านพระครูเศรษฐกิจ
    กำลังสนทนาเรื่องนาลันทาอย่างออกรส




    DSCN6239%20[1600x1200].jpg

    ป้ายนี้บอกว่าเป็นวัดที่ 1 A-B



    DSCN6240%20[1600x1200].jpg

    ภาพการขุดค้นนาลันทาบนกระดาน



    DSCN6241%20[1600x1200].jpg

    นี่แหละ สมัยที่พบครั้งแรกนั้น นาลันทามีสภาพดังที่เห็น



    DSCN6242%20[1600x1200].jpg

    อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ขุดค้นขึ้นมา จึงมีสภาพดังที่เห็น



    DSCN6243%20[1600x1200].jpg

    ตรงนี้เป็นอาคารเอกในนาลันทา แต่อยู่ด้านหลังสุด



    DSCN6244%20[1600x1200].jpg

    อีกภาพนะ

    ขอเรียนให้ทราบว่า การไปกับคณะทัวร์จำนวนมากนั้น ทำให้การถ่ายภาพสถานที่เป็นไปอย่างลำบาก เพราะกว่าจะรอจังหวะให้คนเดินหนีไป ต้องใช้เวลานานมาก ส่งผลให้ผู้เขียนเกือบตกรถ เกือบอดไปราชคฤห์เลยทีเดียว



    DSCN6245%20[1600x1200].jpg

    ดังนั้น แม้ว่าแดดจะร้อนเพียงใด
    แต่ภาพที่เห็นเหล่านี้ ได้มาด้วยความใจเย็น (เชื่อสิ)
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    DSCN6246%20[1600x1200].jpg

    บริเวณโดยรอบอาคารใหญ่ในนาลันทา



    DSCN6247%20[1600x1200].jpg

    อิฐพันปีที่นาลันทา



    DSCN6250%20[1600x1200].jpg

    ด้านข้างอาคารหลังใหญ่ ถ่ายจากทิศตะวันออก ประมาณ 10 โมงเช้า



    DSCN6249%20[1600x1200].jpg

    ป้ายระบุ เป็นวัดแห่งที่สาม



    DSCN6251%20[1600x1200].jpg

    บ่อน้ำ แสดงให้เห็นว่า เป็นที่อยู่อาศัย เพราะต้องใช้ดื่มกินและซักล้าง



    DSCN6252%20[1600x1200].jpg

    ใช้เหล็กกั้นไว้ ป้องกันคนชะโงกและตกลงไป



    DSCN6253%20[1600x1200].jpg

    ตีแฟรชลงไปให้เห็นก้นบ่อ เออ ยังมีน้ำอยู่นะ





    DSCN6254%20[1600x1200].jpg

    อาคารหลังใหญ่ในอีกมุมหนึ่ง



    ตรงนี้ต้องขอขัดสัคเค คือว่า โดยรอบอาคารหลังใหญ่ที่เห็นนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการซ่อมแซม เจ้าหน้าที่จึงกวดขันห้ามมิให้ใครเข้าไปใกล้ตัวอาคาร ซึ่งก็กลัวจะเป็นอันตรายนั่นแหละ ดังนั้น นักท่องเที่ยวทั่วไปจึงถ่ายได้แต่ไกลๆ คือยืนอยู่บนเส้นทางยกกล้องถ่ายกันอย่างฉาบฉวยเท่านั้น ผู้เขียนอยากได้ภาพเล็กๆ เช่นพระพุทธรูปบนผนัง จึงขยับเข้าใกล้ แต่เจ้าหน้าที่ก็ออกมาไล่ทุกทีไป อาศัยเวลาที่คณะ บ.ย.ส. ไปชุมนุมสวดมนต์กันอีกด้านหนึ่ง ผู้เขียนจึงเลี่ยงไปทางด้านหลัง ทำทีว่าไปธุระ จากนั้นจึงย่องเข้าไปเก็บภาพในระยะใกล้ๆ ดังจะนำเสนอต่อไปนี้ เสี่ยงชีวิตเชียวนะจะบอกให้



    DSCN6256%20[1600x1200].jpg

    เปิดกล้องกันตรงมุมนี้เลย ภาพแรกติดชัตเตอร์มาแล้ว



    DSCN6257%20[1600x1200].jpg

    ภาพที่สอง ขยับมุมนิดหน่อย



    DSCN6259%20[1600x1200].jpg

    ภาพมุมกว้าง จะเห็นว่ามีเจดีย์อยู่สององค์ซ้ายขวา



    DSCN6260%20[1600x1200].jpg

    ร่องทางเดินซึ่งผู้เขียนแอบเข้ามาจากทางทิศใต้ (ด้านหลัง)



    DSCN6258%20[1600x1200].jpg

    โฟกัสเจดีย์เล็กองค์นี้





    DSCN6261%20[1600x1200].jpg

    มุมนี้สูงที่สุด ผนังตึกเป็นกำแพงสูงใหญ่ใกล้ๆ ปิรามิด



    DSCN6262%20[1600x1200].jpg

    เจดีย์องค์ด้านหน้า มีพระพุทธรูปอยู่สองชั้น ชั้นบนนั่ง ชั้นล่างยืน



    DSCN6263%20[1600x1200].jpg

    ยกกล้องส่องข้ามกำแพงเข้าไป ก็จะเห็นรายละเอียดดังนี้



    DSCN6264%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธรูปบางองค์ก็เหลือแต่เศียร บางองค์ก็เหลือแต่ตัว



    DSCN6265%20[1600x1200].jpg

    ถ่ายตรง



    DSCN6266%20[1600x1200].jpg

    พระเจดีย์ที่ว่านี้ เป็นมุขที่ยื่นออกไปจากอาคารใหญ่
    ซึ่งก็คงจะคล้ายพระเจดีย์ที่พุทธคยานั่นแหละ




    DSCN6267%20[1600x1200].jpg

    หันมุมกล้องกลับไปถ่ายเจดีย์องค์ด้านใต้



    DSCN6268%20[1600x1200].jpg

    มุมด้านข้างก็ยังมีพระพุทธรูปอยู่



    DSCN6269%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธรูปยืน



    DSCN6270%20[1600x1200].jpg

    พระพุทธรูปนั่ง



    DSCN6271%20[1600x1200].jpg

    กำแพงและกองอิฐบังไว้ ทำให้ถ่ายภาพได้ไม่สะดวกนัก
    ถ้ากล้องไม่มีซูมด้วยก็คงไม่เห็นอะไรเลย




    DSCN6272%20[1600x1200].jpg

    นี่ถ่ายพระเจดีย์องค์ใต้ จากทิศใต้



    DSCN6273%20[1600x1200].jpg

    ขยับมาทางซ้ายอีกนิด กดหน้ากล้องให้ต่ำลงเพื่อดูฐาน



    DSCN6274%20[1600x1200].jpg

    แหงนหน้ากล้องขึ้น เพื่อดูยอด



    DSCN6275%20[1600x1200].jpg

    เปิดหน้ากล้องให้กว้าง เพื่อดูภาพรวมในมุมนี้



    DSCN6276%20[1600x1200].jpg

    คราวนี้ต้องเดินไกลออกมาจนเกือบถึงทุ่งนา เพราะต้องการภาพรวม



    DSCN6277%20[1600x1200].jpg

    ภาพรวมทิศใต้ของอาคารใหญ่ในนาลันทา
    รับรองว่าท่านผู้อ่านไม่เคยเห็นจากที่ไหน
    ขนาดในหนังสือที่ซื้อมาจากนาลันทายังไม่มีภาพเหล่านี้เลย (คุย)




    DSCN6278%20[1600x1200].jpg

    ซูมจับภาพพระพุทธรูปบนยอดเจดีย์



    DSCN6279%20[1600x1200].jpg

    อีกภาพ กันบูด



    DSCN6280%20[1600x1200].jpg

    คราวนี้ผู้เขียนเดินเวียนไปทางตะวันตก เพื่อเก็บภาพทุกมุมมอง



    DSCN6281%20[1600x1200].jpg

    มุมนาลันทาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถัดไปก็เป็นทุ่งนา



    DSCN6282%20[1600x1200].jpg

    อาคารใหญ่จากทิศตะวันตกเฉียงใต้



    DSCN6283%20[1600x1200].jpg

    ภาพนี้ถ่ายเอาไทรย้อยเข้าฉากด้วย



    DSCN6284%20[1600x1200].jpg

    อีกภาพ



    DSCN6285%20[1600x1200].jpg

    ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ



    DSCN6286%20[1600x1200].jpg

    Question ?



    DSCN6287%20[1600x1200].jpg

    ทุ่งนาข้างนาลันทา (ทิศตะวันตก)
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    DSCN6288%20[1600x1200].jpg

    คนงานในนาลันทา กำลังซ่อมบริเวณฟุตบาท



    DSCN6289%20[1600x1200].jpg

    อินเดียเป็นเมืองที่คนนิยมใช้หัวมากที่สุดในโลก



    DSCN6290%20[1600x1200].jpg

    นั่นแหละ ฟุตบาทที่กำลังซ่อม



    DSCN6291%20[1600x1200].jpg

    ถ่ายเยื้องมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ไปทางตะวันออก)
    สังเกตว่าแสงเริ่มส่องเข้าหน้ากล้องเป็นจุดๆ




    DSCN6292%20[1600x1200].jpg

    หลบมุมเข้าใต้ร่มไม้จึงจะได้ภาพที่ไร้จุด



    DSCN6293%20[1600x1200].jpg

    บริเวณโดยรอบนาลันทา



    DSCN6295%20[1600x1200].jpg

    คณะ บ.ย.ส. เสร็จพิธีกรรม เดินทางกลับ



    DSCN6296%20[1600x1200].jpg

    ถ่ายภาพจากมุมสูง

    DSCN6297%20[1600x1200].jpg

    คณะ บ.ย.ส. ถือว่าเป็นคณะใหญ่ที่สุดในบรรดาคณะทัวร์ไทยไปอินเดีย



    DSCN6298%20[1600x1200].jpg

    ชีวิตหนึ่ง ได้ทั้งบวช ทั้งศึกษาในอินเดีย ก็เกินคุ้ม



    DSCN6299%20[1600x1200].jpg

    ลาแล้ว นาลันทา



    พบกับ พระมหานรินทร์ในอินเดีย ตอนที่ 10

    coming soon



    พระมหานรินทร์ นรินฺโท
    วัดไทย ลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา
    19 มีนาคม 2553
    3:00 P.M. Pacific Time.

    E-Mail ถึง บก.
    peesang2003@hotmail.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...