เรื่องเด่น ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ของชาวไทพวน พรหมบุรี

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 ธันวาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    วันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.


    ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นประเพณีที่คนไทยกระทำสืบต่อมาเป็นเวลายาวนานจนได้รับการกำหนดไว้ในพระราชพิธีเดือนสิบซึ่งกระทำพร้อมๆ กับการกวนกระยาสารท หุงข้าวยาคู รวมเรียกว่านักขัตฤกษ์ภัทรบท ซึ่งตามประวัติระบุว่ากระทำมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย สืบต่อมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพิธีนี้ ครั้นสิ้นรัชกาลประเพณีนี้ถูกละเลยไป จนมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยปรับให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เพราะทรงเห็นว่าเป็นประเพณีสำคัญที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ช่วยเสริมสร้างพลังใจให้ชาวนา และเสริมส่งคติธรรมด้านอาชีพเกษตรกรรม

    แรกเริ่มนั้น ประเพณีกวนข้าวทิพย์เกิดขึ้นในชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ จนกระทั่งในสมัยพุทธกาลก็มีการกล่าวถึงข้าวทิพย์ เมื่อนางสุชาดาน้อมถวายข้าวมธุปายาสแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

    ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ บอกว่าประเพณีกวนข้าวทิพย์ช่วยเสริมส่งให้ต้นกล้าข้าวในนาเจริญงอกงามสมบูรณ์ดี และให้ผลบริบูรณ์ เนื่องจากชาวนาได้ทำกาลทาน ด้วยการเสียสละข้าวของให้กับผู้ทรงศีล โดยการนำน้ำนมข้าวจากรวงข้าวที่กำลังตั้งท้องไปกวนเป็นข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์ นับเป็นบุญกิริยาวัตถุของผู้คนในยุคนั้น

    0b980e0b897e0b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b980e0b89ee0b893e0b8b5e0b881e0b8a7e0b899.jpg

    ประเพณีนี้ได้เข้าสู่กรุงสุโขทัยโดยมากับศาสนาพราหมณ์ ดังปรากฏหลักฐานจากพระราชนิพนธ์สิบสองเดือน ดังความปรากฏว่า ฝ่ายข้างพระพุทธศาสนา พระราช
    พิธีภัทรบทนี้ มหาชนทำมธุปายาส ยาคูอังคาสพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงพราหมณ์ ทั้งบูชาพระรัตนตรัย อุทิศส่วนกุศลให้ญาติในปรโลก พระราชพิธีภัทรบทนี้ พุทธศาสนาไสยศาสตร์ เจือกันได้โดยโบราณราชประเพณี

    ส่วนพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ของไทยแต่โบราณนั้น ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดเป็นพระราชพิธี ที่กระทำกันในเดือน 10 พร้อมการกวนกระยาสารท ข้าวยาคู ทำร่วมกันทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีพุทธ โดยพราหมณ์ทำพิธีประกาศโองการบูชาเทพยดาและพระสยามเทวาธิราช ส่วนพิธีสงฆ์จัดสามวัน โดยวันแรกสวดพระจุลปริตร วันที่สองสวดพระมหาปริตรวันที่สามสวดธรรมจักกัปปวัตนสูตรและมหาสมัยสูตร โดยมีการประโคมตลอดทั้งสามวันการกวนข้าวทิพย์ต้องใช้สาวพรหมจรรย์ผู้บริสุทธิ์ นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาวเป็นผู้กวนประจำกระทะละสองคน แต่เดิมนั้นพระราชพิธีนี้กระทำในเขตพระบรมมหาราชวัง ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายไปกระทำพระราชพิธีนี้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกเธอฝ่ายในทรงทำหน้าที่ลงใบพายก่อนเป็นปฐม จากนั้นจึงทรงมอบให้ผู้อื่นทำหน้าที่ฝีพายกวนต่อไป โดยทรงให้สวมมงคล และทรงเจิมพายลงยันต์อุณาโลมไว้เป็นสำคัญ

    980e0b897e0b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b980e0b89ee0b893e0b8b5e0b881e0b8a7e0b899-1.jpg

    ไฟสำหรับกวนข้าวทิพย์ใช้แว่นขยายจุดไฟจากแสงอาทิตย์ ใช้ฟื้นคือไม้ชัยพฤกษ์และไม้พุทราเพื่อเป็นมงคล เครื่องปรุงข้าวทิพย์ประกอบด้วย ถั่วดำ ถั่วขาว ถั่วแม่ตายถั่วราชมาศ ถั่วเหลือง ถั่วทอง ถั่วเขียนเมล็ดงา ผลเดือย สาคูวิลาด สาคูลาน เมล็ดแตงอุลิต ข้าวโพด ข้าวเม่า ข้าวฟ่าง เผือก มันเทศ กระจับสด แห้วไทย ข้าวสารหอม ผลไม้แดง ผลบัว ผลมะกล่ำใหญ่ น้ำนมโคเนย น้ำผึ้ง มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ชะเอมเทศน้ำอ้อย น้ำตากรวด น้ำตาลทราย น้ำตาลหม้อข้าวตอก ผลทับทิม ผลน้อยหน่า เงาะ ลางสาด ละมุด พลับสด สาลี่ แห้วจีน กล้วยหอมกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน ส้มแป้นส้มซ่า ส้มเกลี้ยง ส้มตรังกานู และเนื้อผลไม้แห้ง เช่น ลิ้นจี่ ลำไย พุทราริ้ว พลับ อินทผลัม ส่วนผลไม้กวนมีดังนี้ ทุเรียน สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม มีดังนี้ ผลชิด ผลสะท้านและมีน้ำนมข้าวอ่อน ชะเอมสด ข้าวแดง ขนมปัง (ขนมปังมีเพิ่มมาในสมัยรัชกาลที่ 4) รวมของทั้งสิ้น 65 ชนิด แต่ละชนิดใช้จำนวนและน้ำหนักไม่เท่ากัน

    เมื่อพระราชพิธีนี้เสร็จสิ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝีพายผู้กวนข้าวทิพย์ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นกลุ่มแรก ในฐานะผู้ออกแรงกวน โดยให้ฝีพายควักเอาข้าวทิพย์ให้ติดใบพายไปเท่านั้น จากนั้นจึงทรงให้แบ่งเป็นสี่ส่วนคือ เครื่องต้นบูชาพระสยามเทวาธิราชและอีกส่วนหนึ่งพระราชทานให้พระสงฆ์ที่รับพระราชทานฉันเช้า อีกส่วนหนึ่งจัดเป็นห่อขนาดต่างๆ กันเพื่อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ตามพระราชบรรดาศักดิ์ และอีกส่วนหนึ่งพระราชทานพระเถรานุเถระ พระราชาคณะตามฐานานุกรม

    สำหรับภาพที่นำมาแสดงในวันนี้เป็นพิธีกวนข้าวทิพย์ของชาวบ้านไทพวนหมู่บ้านโภคาภิวัฒน์ พรหมบุรี สิงห์บุรี เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พระราชทานน้ำนมโคเพื่อประกอบพิธีนี้ โดยหม่อมราชวงศ์ยงยุพลักษณ์ เกษมสันต์ เป็นประธานในพิธี


    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.naewna.com/lady/621522
     

แชร์หน้านี้

Loading...