วัดหนองแดง-วิหารไม้ไทลื้อแห่งสุดท้ายของไทย

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    [​IMG]


    ท่องเที่ยววัฒนธรรมในฉบับนี้ ยังคงอยู่ที่จังหวัดน่านค่ะ ค่าที่เป็นเมืองเล็ก แถมยังเงียบสงบ ก็เลยมีแหล่งวัฒนธรรมที่ยังคงความสมบูรณ์ รอให้นักท่องเที่ยวอย่างเราไปเยี่ยมชมอยู่มากมาย ลองขับรถไปที่บ้านหนองแดง ตำบลเบือ อำเภอเชียงกลาง ก็จะพบ วิหารไทลื้อ วัดหนองแดง ที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่เหมือนใคร สถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สร้างมานานกว่า 200 ปี แต่ยังคงความเป็นไทลื้อไว้ได้ ด้วยศรัทธาของชาวน่านทุกคน
    วัดหนองแดง แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2330 โดยช่างชาวไทลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา) ร่วมกับไทพวน ถึงจะมีการบูรณะมาบ้าง แต่รูปร่างลักษณะภายนอก ก็ยังคงรูปเดิมไว้มาก ตัววิหารส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ พื้นเป็นอิฐก่อ ถมและเทปูนทับ ต่อมาความชื้นจากดิน และสภาพรอบด้านเป็นทุ่งนา จึงทำให้วิหารเสียหาย และฝนทำให้กระเบื้องไม้ กับโครงหลังคาผุ จึงต้องมีการซ่อมแซม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นบ้างบางส่วน
    รูปทรงของวิหารมีลักษณะดูเตี้ยทึบ หลังคาทรงสูง แต่ทั้งนี้เมื่อได้เข้าไปในวิหาร ก็จะรู้สึกว่าอากาศถ่ายเทได้ดี ฝ้าเพดานแต่เดิมไม่มี หลังคาจะเปิดโล่ง ไม่มืดทึม หน้าต่างแต่เดิมมีลักษณะเล็กแคบ มีซี่ลูกกรงไม้อยู่ตรงกลางเพื่อกันขโมย ไม่มีบานเปิดปิด ทั้งนี้เพื่อให้อากาศ และแสงแดดเข้ามาในวิหาร และเมื่อแสงสว่างเข้ามาสะท้อนกับองค์พระประธาน และลวดลายต่างๆ ที่เป็นสีทอง ก็เกิดเป็นแสงสะท้อน ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความขลัง และความศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น
    จุดเด่นอีกอย่างที่สวยงาม และหาดูได้ยาก ก็เห็นจะเป็นช่อฟ้าพระอุโบสถ ที่สลักรูปนกหัสดีลิงค์ (ศีรษะเป็นช้าง ตัวเป็นหงส์) ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อกันว่า เป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุลายน้ำหยาด ซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="12%" align=left bgColor=#66ccff border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD>
    พระครูพิบูลนันวิทย์​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระครูพิบูลนันทวิทย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแดง พร้อมชาวบ้านหนองแดงในชุดแต่งกายพื้นเมืองแบบชาวไทลื้อ ได้ออกมาต้อนรับคณะนักข่าวของเรา ด้วยไมตรีจิตที่สัมผัสได้ผ่านจากแววตา และคำพูด รวมทั้งเกร็ดความรู้ดีๆ ที่มีประโยชน์ เลยนำมาบอกเล่าให้ผู้อ่านที่มีใจรักการท่องเที่ยว คอเดียวกันกับเราซะเลย
    "ย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปี ที่แล้ว วัดของเราขาดการดูแล ขาดการบริหารจัดการที่ดี แต่หลังจากที่หลวงพ่อเข้ามาตรงนี้ก็เห็นว่า วิหารไทลื้อหลังนี้ มีคุณค่ามากมายมหาศาล ไม่สามารถประมาณค่าได้ รวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในละแวกนี้ ที่ยังคงหลงเหลือความเป็นไทลื้อเอาไว้บ้าง นั่นก็คือ ความใจบุญ ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ยิ่งทำให้หลวงพ่อต้องเข้ามาสืบสาน ให้ความเป็นไทลื้อ ยังคงอยู่ต่อไปได้
    ...จังหวัดน่าน ก็เป็นหนึ่งจังหวัด ที่ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของพม่า ประมาณ 500 - 600 ปี ที่เราต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นเขา หลังจากที่เราได้รับอิสรภาพกลับคืนมา ประมาณปี 2111 เจ้าเมืองเชียงใหม่ก็เลยส่งช่างที่มีฝีมือที่ดีที่สุด ให้มาบูรณะ และสร้างวิหารขึ้นมา ตามตำนานบอกว่า การสร้างวิหาร หรือสร้างศาสนสถาน ตามหัวเมืองต่างๆ เป็นการประกาศถึงชัยชนะ ดังนั้น คนที่จะมาสร้าง จะต้องเป็นคนที่มีภูมิรู้จริงๆ
    ...วิหารไทลื้อแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน น่าจะได้รับอิทธิพลจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ให้ลงมาสร้างวิหารตรงนี้ มีหลักฐานชิ้นหนึ่งก็คือ ก่อนการสร้างวิหาร มีการตระเวนดูสถานที่ แล้วมาพบต้นโพธิ์ 3 ต้น อายุเก่าแก่มากประมาณ 700 - 800 ปี จึงถือเอาจุดที่พบต้นโพธิ์ สร้างเป็นวิหารขึ้นมา"
    นอกจากนี้ก็ยังค้นพบหลักฐานอ้างอิงถึงที่มาของชื่อ อย่างคำว่า บ้านหนองแดง บ้านป่าแดง ที่มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า ที่บ้านป่าแดงจะเป็นที่อยู่ของเหล่าทหารหาญ และใช้เป็นสนามรบเพื่อปกป้องบ้านเมือง ทำให้ทั่วทั้งป่ากลายเป็นสีแดงฉาน และเมื่อสู้รบกันเสร็จแล้ว พวกทหารก็จะเอามีด ดาบ ที่ใช้ในการต่อสู้ มาล้างที่สระน้ำใหญ่ของบ้านหนองแดง จนน้ำเปลี่ยนสีไปจนดูคล้ายเลือด
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="42%" align=left bgColor=#66ccff border=0><TBODY><TR><TD width="28%">
    [​IMG]






    </TD><TD width="13%">
    [​IMG]






    </TD><TD width="12%">
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD height=32>
    ภายในวิหาร​






    </TD><TD>
    พญานาค บนหลังคาวิหาร​






    </TD><TD>
    นกหัสดีลิงค์​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>"เฉพาะตัววิหาร ไม่รวมถึงตัววัดที่สร้างขึ้นทีหลัง มีอายุกว่า 400 ปีแล้ว ถ้าจะเอาวิหารอื่นมาเปรียบเทียบ ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าวิหารเหล่านั้น ผ่านการบูรณะมาแล้วกี่ครั้ง แต่วิหารแห่งนี้ยังคงเดิม ร่องรอยการบูรณะแทบมองหาไม่เห็นเลย มีเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้น
    ...อย่างเสาทุกต้นภายในวิหาร จะมีการเจาะรูไว้ ถ้าจะพูดตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็ต้องบอกว่า ต้องการให้เป็นที่ระบาย เมื่อก่อนพื้นตรงนี้เขาจะเอาอิฐก้อนโตๆ ก่อตั้งแต่ฐานรากขึ้นมา เป็นการคำนวณของช่างในสมัยนั้น เสาตรงนี้เมื่อก่อนเป็นเสาไม้ ที่ฝังรากลึกลงไปถึงใต้ถุนนั่นเลย เขาก็คำนวณไว้ว่า อีกหน่อยต้องมีการผุกร่อน จึงได้เจาะรูเอาไว้เรียกว่า รูใจ ที่เสาทุกต้น หมายถึงรูที่คอยตรวจตาดูแล ว่ามีปลวกไหม ทรุดลงไปบ้างหรือไม่ อันนี้เป็นการคำนวณที่น่านับถือมาก ของคนในสมัยเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว
    ...พอมาถึงปัจจุบันก็เป็นประโยชน์ในการระบาย เพราะว่าอยู่ในที่ลุ่ม ป้องกันไม่ให้ผุกร่อน แล้วก็อีกอย่างที่เขาทำเอาไว้ก็คือ เวลาจะมีการบูรณะ เขาก็จะเอาไม้เป็นลิ่มสอดเข้าไปในรู แล้วก็เอาเสามาค้ำไว้ ทีนี้จะซ่อมแซมตรงไหนก็ทำไป ไม่ต้องรื้อซ่อมทั้งหลัง และจะสังเกตได้ว่าไม่เห็นร่องของน็อต และตะปูอยู่เลย จะมีแต่ลิ่มไม้เจาะทั้งหลัง เหล่านี้คือภูมิปัญญาในแบบของชาวไทลื้อ ทำให้วิหารแห่งนี้ คงความสมบูรณ์ไว้ได้กว่า 400 ปี"
    อย่างต่อมาก็คือ ความเรียบง่าย เวลาที่ดูจากภายนอก จะเห็นว่าวิหารมีลักษณะเตี้ยๆ เล็กๆ แต่ประโยชน์ใช้สอยนั้นกวางขวาง เดิมทีนั้นหน้าต่างจะมีเพียงแค่บานเดียว ส่วนประตูจะทำไว้เตี้ยมาก เวลาเดินเข้ามาก็จะต้องก้ม หน้าต่าง ที่สร้างให้มีขนาดเล็ก ก็เพื่อให้แสงเข้ามาได้น้อย เพื่อที่เวลาพุทธศาสนิกชนมาทำบุญ จิตใจจะได้มีแต่ความสงบ แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญขยายเข้ามา ก็เลยต้องมีการขยายขนาดประตู และเพิ่มจำนวนหน้าต่าง เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้มากขึ้น จนมีลักษณะคล้ายกับเป็นห้องโถงไป
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="17%" align=left bgColor=#66ccff border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD>
    องค์พระประทาน นาคบัลลังก์ ​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>องค์พระประธานภายในวิหาร ประดิษฐานบนฐานชุกชี เรียกว่า นาคบัลลังก์ จากความเชื่อที่ว่า นาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และเป็นอารักษ์แห่งพุทธศาสนา มีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อครั้งที่เณรสองรูป มานั่งกรรมฐานอยู่หน้าองค์พระประธานนั้น พอลืมตาขึ้นมา ก็เห็นพญานาคทั้งสองตนเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิต
    รวมไปถึงความเป็นปริศนาธรรมต่างๆ ที่อยู่รายรอบบริเวณวิหาร ล้วนเป็นสื่อสะท้อน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคันทวย หรือภาพฝาผนังนิทานชาดกเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีเพื่อไปสู่การเป็นพระโพธิสัตว์ บริเวณใต้ถุน เมื่อขุดลึกลงไป ก็จะพบพวกหอก ดาบ สำเภาทอง ของโบราณที่มีความสำคัญ ที่คนโบราณได้ฝังเอาไว้
    เวลาญาติโยมคนไทลื้อทำบุญเสร็จ ก็จะกรวดน้ำลงไปตรงนั้น เป็นเหมือนเราสะสมน้ำที่ได้จากการทำบุญเอาไว้ในภพหน้า เป็นความเชื่อในเรื่องของ เทวดาบีบมวยผม ซึ่งพระพุทธเจ้าต่อสู้กับพญามาร 3 ตน ในตอนนั้นท่านได้นึกถึงบารมีที่บำเพ็ญเพียรมาหลายภพ หลายชาติ เพื่อท่านอธิษฐานเสร็จ ก็บีบมวยผม น้ำที่ออกมาจากมวยผมกลายเป็นมหาสมุทร ท่วมพญามารทั้ง 3 ตนตาย ดังนั้น เมื่อทำบุญเสร็จ จึงมีความเชื่อว่าต้องกรวดน้ำลงตรงนั้น
    "ตัวหลวงพ่อเองมีอุดมการณ์ที่จะดูแลรักษา ได้มีการปลูกฝังจิตสำนึกของชาวบ้านในละแวกนี้ ให้พวกเขาเกิดจิตสำนึก รัก และช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิมแบบนี้ได้นานที่สุด ผลตอบรับจากชาวบ้านก็เป็นไปได้ด้วยดี เป็นการขับเคลื่อนไปอย่างช้าๆ แต่ว่ามั่นคง ถ้าจะพูดกันจริงๆ ความเป็นไทลื้อมันหายไปตามระยะเวลา เราก็ทำได้เพียงแต่ เรื่องของการอยู่ การกิน การแต่งกาย ภาษาพูด เหล่านี้เป็นเรื่องที่หลวงพ่ออยากให้กลับมา และเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้
    ...ทุกคนที่อยู่ที่นี่ ก็ล้วนแต่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวไทลื้อ แต่ขาดคนที่จะให้ความรู้ และเข้ามาดูแลมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ขาดการชี้แนะ และชี้นำที่ถูก ทั้งๆ ที่มีของดีอยู่ จึงต้องช่วยกันดูแลรักษา ทุกวิถีทาง นอกจากจะจัดเวรยามมาคอยดูแลแล้ว สิ่งที่อยากให้ยั่งยืนกว่านี้ก็คือขยายผลออกไปอีก โดยเฉพาะในด้านการประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป
    ...หลวงพ่อไม่ได้คิดว่า ต้องการจะบูรณะขึ้นมาใหม่ให้มีความสวยงามมากขึ้น คิดเพียงแต่ว่าจะอนุรักษ์เอาไว้อย่างไร ให้คงสภาพ คงความสมบูรณ์แบบเดิมเอาไว้ให้ได้ ตอนนี้ทางวัดก็มีโครงการ ที่จะนำเยาวชนที่อยู่ในละแวกนี้ มาเป็นไก๊ด์รุ่นจิ๋ว โดยมีวัตถุประสงค์ 2 อย่าง อย่างแรกคือ อยากให้เด็กเหล่านี้ได้รู้ถึงประวัติที่ลึกลงไปมากกว่านี้อีก และสองสามารถที่จะถ่ายทอดประวัติความเป็นมาของวิหาร แทนพระ แทนชาวบ้าน ให้แก่นักท่องเที่ยวได้"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="58%" align=left bgColor=#66ccff border=0><TBODY><TR><TD width="14%">
    [​IMG]






    </TD><TD width="15%">
    [​IMG]






    </TD><TD width="11%">
    [​IMG]






    </TD><TD width="60%">
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD>
    รูใจ​






    </TD><TD>
    การสอดไม้ เพื่อการซ่อมแซม ​






    </TD><TD>
    พิธีสืบชะตา​






    </TD><TD>
    หน้าบันแบบไทลื้อ​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>อีกหนึ่งวัฒนธรรม แบบชาวไทลื้อแต่ดั้งเดิม เรียกกันว่า ประเพณีสืบชะตา เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของชาวไทยลื้อ มีนิทานเล่าว่า สามเณรรูปหนึ่ง เข้าใจว่าตนเองจะมรณภาพภายใน 7 วัน จึงคิดว่าจะขอกลับไปตายที่บ้านเกิด ได้เห็นหน้าพ่อแม่ก่อน ระหว่างเดินทางกลับบ้านก็ไปเจอแม่น้ำที่กำลังจะแห้งขอด มองเห็นตัวปลาที่กำลังจะตาย นึกสงสารก็เลยช่วยชีวิตโดยเอาปลาไปปล่อย พอครบ 7 วัน ปรากฏว่าเณรไม่มรณภาพ เพราะได้อานิสงส์จากการช่วยชีวิตสัตว์ และนั่นก็เป็นที่มาของการปล่อยนก ปล่อยปลา กลายเป็นความเชื่อว่าจะช่วยสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิต เหมือนกับเณรในนิทาน
    ส่วนนิทานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ผู้ชายคนหนึ่งรู้ว่าตัวเองจะต้องตาย แต่ยังไม่อยากตาย เพราะมีภาระต้องรับผิดชอบอยู่มากมาย เทวดาจึงแปลงกายลงมาถามคำถามว่า จำได้ไหม ตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน เติบโตมาได้เพราะอะไร ก็พอดีมีต้นกล้วยโผล่ขึ้นมาบอกว่าเมื่อยังเล็ก พ่อแม่จะป้อนข้าว กับกล้วยบด โตขึ้นมาได้ก็เพราะกล้วย เทวดาเลยบอกจะทำพิธีให้ โดยการนำต้นกล้วยมาทำเป็น 3 เหลี่ยม ให้ผู้ชายคนนี้เข้าไปนั่งตรงกลาง แล้วเทวดาก็บริกรรมคาถาให้ คนที่กำลังทุกข์ พอมีคนเข้ามาให้ศีลให้พร ก็เกิดความเชื่อมั่น ก็เลยกลายเป็นว่าไม่ตาย กลับอยู่ดีมีสุข
    <TABLE height=118 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="19%" align=right bgColor=#66ccff border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD>
    การแต่งกายแบบชาวไทลื้อ​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากนั้นก็มีการทำเป็นเป็นพิธีกรรมสืบเนื่องกันมา ที่เรียกว่า ประเพณีสืบชะตา เพื่อชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น โดยให้ผู้มาทำพิธีนั่งอยู่ตรงกลางต้นกล้วย ซึ่งนำมาทำเป็นสามเหลี่ยม มีสายสิญจน์พันโดยรอบ และธงประจำราศีทั้ง 12 ราศีปักอยู่ พระท่านจะสวดมนต์เพื่อทำพิธีให้ ซึ่งสามารถทำได้ทุกคน ไม่เฉพาะการต่ออายุ แต่ยังทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตได้ด้วย
    โบราณสถานวิหารไทลื้อ วัดหนองแดง เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นแบบไทลื้อที่หาดูได้ยาก คงจะเป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ และยังคงรูปทรงอย่างเดิม ร่องรอยของช่างฝีมือรุ่นเก่า ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวิหารแห่งนี้ สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ให้คงสภาพเดิม เพื่อรักษาและสืบทอดมรดกทางสถาปัตยกรรมของช่างรุ่นนี้เอาไว้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าถึงที่มา และแบบอย่างสถาปัตยกรรมไทลื้อ
    ปัจจุบันเทคโนโลยีและวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก้าวหน้าไปมาก การจะสร้างวิหารสักหลังให้มีความสวยงาม และทันสมัย กลายเป็นเรื่องง่าย ผิดกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่กลายเป็นเรื่องยากเข้าไปทุกที ทั้งๆ ที่ศิลปวัฒนธรรมนั้นเป็นทั้งมรดกของท้องถิ่น รวมทั้งพวกเราทุกคนก็มีส่วนเป็นเจ้าของ สมควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และทำนุบำรุงรักษา ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมวลชนต่อไป
    สุดท้ายแล้ว คงต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาเท่านั้น ที่จะบอกได้ว่า คนรุ่นนี้ทำได้ดีเพียงใด


    ที่มา : นิตยสารหญิงไทย
    ฉบับที่ 699 ปีที่ 30
     
  2. พระบางวัน

    พระบางวัน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +14
    ภาพโบราณสถานวิหารไทลื้อวัดหนองแดง อ.เชียงกลาง จ.น่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p wat.JPG
      p wat.JPG
      ขนาดไฟล์:
      138.7 KB
      เปิดดู:
      151
    • Nd53_11.JPG
      Nd53_11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      181.4 KB
      เปิดดู:
      156
    • Sanasna-00.jpg
      Sanasna-00.jpg
      ขนาดไฟล์:
      357.7 KB
      เปิดดู:
      206
    • biw01.JPG
      biw01.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.9 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2010
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    อนุโมทนาจ่ะ....

    วัฒนาธรรมดีๆ แต่โบราณ ควรค่าแก่การรักษา...
     
  4. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    อยากไปทุกที่เลยค่ะ
     
  5. พระบางวัน

    พระบางวัน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +14
    ไปเยี่ยมบ้างนะ

    ไปเยี่ยมบ้างนะ www.ndm1.com
     
  6. พระบางวัน

    พระบางวัน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +14
    ดีใจที่ไปเยี่ยม

    ดีใจที่ไปเยี่ยม ก็อย่าลืมแวะเยี่ยมยามถามข่าวบ่อยๆสิ
    thaxx ;41
     
  7. 12PANNA

    12PANNA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +71
    กราบนมัสการพระคุณเจ้า โมทนาสาธุการเป็นอย่างสูง ที่ท่านเป็นพระนักเทศน์ นักพัฒนา และพยายามเผยแผ่ธรรมะทางสื่อออนไลน์ ในโลกยุคดิจิตอล ธรรมะในขั้นต้นและระดับกลาง จะอุดหนุนเกื้อกูลกันเป็นอย่างดีในทางโลกและทางธรรม ...
    กราบอนุโมทนาสาธุครับ....ในโอกาสนี้ขออนุญาตนำภาพบางส่วนมาร่วมเผยแผ่ด้วยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. 12PANNA

    12PANNA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +71
    ลิงค์ที่ให้มาข้างบนเข้าชมไม่ได้ครับ ช่วยดูอีกทีนะครับท่าน
     
  9. 12PANNA

    12PANNA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +71
    ได้มีโอกาสเดินชมรอบๆ วัดบรรยากาศร่มรื่นดีมาก มีต้นโพธิ์ยักษ์ใหญ่อยู่ข้างวัดเป็นต้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำจังหวัดด้วย ไม่เพียงแต่ให้ร่มเงาแก่ผู้คน ผึ้งยังได้อาศัยทำรังด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. พระบางวัน

    พระบางวัน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +14
    อิอิอิ ช่างสังเกตุดีแท้ แต่แน่ๆ ใจ.. ที่เป็นธรรม มีธรรม อนุโมทนาสาธุ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2010
  11. เด็กสร้างบ้าน

    เด็กสร้างบ้าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,195
    ค่าพลัง:
    +538
    สถาปัตยกรรมสวยงามมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...