+++ "ณิชา" วัตถุมงคลพระเกจิคณาจารย์ พระเครื่องทั่วไป พร้อมจัดส่ง+++

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย nicha_ch, 20 เมษายน 2014.

  1. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,495
    ค่าพลัง:
    +1,346
    จัดส่งครับ คุณsuphot ED 872972767TH ขอบคุณครับ
    _____________________
    คนเก่งนั้นมีมาก แต่คนหายากนั้นคือ คนดี
     
  2. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,495
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2487
    พระรอดฟ้าฮ้องหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกแห่งล้านนาไทย ผสมผงพระรอดวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร ปีพ.ศ.2478 - 2479 ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยอธิษฐานบารมีนานถึงครึ่งปี
    บูชา 300 บาท

    DSC_8318.JPG

    ประวัติการสร้างและปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ที่ผู้สร้างได้ถ่ายทอดไว้อย่างละเอียด ดังนี้
    สร้างจากผงพระรอดวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย นำไปจากลำพูนคราวไปแก้อธิกรณ์ครั้งสุดท้ายระหว่างปี 2478 – 2479 โดยครูบาศรีวิไชยได้อธิษฐานจิตพระรอดชุดนี้เสมือนหนึ่งเป็นการแก้เคล็ดเสริมบารมี ณ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรที่ทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธได้นิมนต์ครูบาไปพำนักตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่กรงเทพ ยาวนานถึงกว่า “ครึ่งปี” (6 เดือน 17 วัน) จึงนับเป็นพระเครื่องชุดพิเศษที่ครูบาศีลธรรมเจ้าอธิษฐานจิตตรงๆและนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ หาเหรียญหรือพระเครื่องใดๆเสมอเหมือนมิได้ ซึ่งปัจจุบัน พระรอด วิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.2479 นี้ เป็นสุดยอดพระเครื่องดี 2 แผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดและหาของจริงของแท้ได้ยากยิ่งที่สุด เพราะได้สืบทราบมาจาอดีตไวยาวัจกรของวัดเบญจมบพิตร อายุ 80 กว่าปีที่เกษียณไปแล้วว่า พระรอดชุดนี้ ครูบาศรีวิไชยนำมาจากลำพูนเพียง 200 กว่าองค์เท่านั้น

    และภายหลังจากครูบาเจ้าศรีวิไชยพ้นจากอธิกรณ์ครั้งสุดท้ายแล้ว พระรอดวิหารสมเด็จที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยอธิษฐานแก้เคล็ดเสริมบารมีขององค์ท่านเองนานถึงกว่าครึ่งปีก็ได้เก็บรักษาไว้ที่วิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรที่หรูหรา สูงส่ง และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งตลอดมาอีกเกือบ 80 ปีให้หลัง จึงได้ค่อยออกสู่มือของผู้ศรัทธาที่มีวาสนาบางส่วน แต่ก็เล็กน้อยเต็มที

    แต่อาจจะเป็นด้วยบูรพวาสนาที่เกี่ยวเนื่อง แบบ “ต๋ามหน้าบุญเต๊อะ”หรือ “มาต๋ามหน้าบุญ” ก็สุดแท้แต่ เมื่อครั้งที่ผู้สร้างนำเหรียญลายมือลายเซ็นครูบาเจ้าศรีวิไชยไปอธิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรเมื่อกลางปี 2557 จึงทำให้ผู้สร้างได้พบกับกรุพระรอด วิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชยทั้งที่สมบูรณ์และชำรุดเป็นจำนวนมาก จึงได้บูชาผาติกรรมมาเกือบทั้งหมด พร้อมนี้ จึงคิดจะสืบสายป๋ารมีในบวรพระพุทธศาสนาและเผยแผ่บุญญาป๋าระมีแห่งท่านพระครูบาเจ้าศีลธรรมศรีวิไชยให้ลือชาปรากฏและแพร่หลายไปยิ่งๆขึ้น จึงได้นำผงพระรอดวิหารสมเด็จ พ.ศ.2479 ที่ชำรุดมาสร้างเป็นพระรอดรุ่นใหม่ โดยได้อัญเชิญลายเซ็นตั๋วเมืองที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้ลงนามในคำมั่นต่อคณะสงฆ์กรุงเทพในคราวที่ไปแก้อธิกรณ์เมื่อปี 2479 ซึ่งเป็นวาระโอกาสเดียวกับที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้อธิษฐานพระรอดวิหารสมเด็จ ระหว่างปี 2478 -2479 ไปพร้อมกันมาประดิษฐานทั้งที่ด้านหลังขององค์พระและใต้ฐาน โดยทำการกดพิมพ์และเผาที่วัดมหาวัน ที่น่าจะเป็นที่สร้างพระรอดวิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชยเมื่อปี 2478 ด้วยทั้งหมด นับเป็นการประจวบเหมาะและลงตัวเป็นหนึ่งเดียวแบบครบวงจรอย่างพอดิบพอดี เกินกว่าที่จะเป็นความบังเอิญใดๆ น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง

    อนึ่ง เมื่อพระรอดสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญไปอธิษฐานบารมีพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก่อนเป็นปฐม แล้วจึงไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก,สืบธาตุขันธ์,สืบชะตาหลวง 100 ปี ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่ พระมหาเถรเจ้าที่ “เกิดทัน”และได้เคยร่วมสร้างสมภารป๋าระมีด้วยครูบาศีลธรรมเจ้าศรีวิไชยโดยตรงอย่างแท้จริงระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม พ.ศ.2557 ทุกพิธี มีพระมหาเถรานุเถระมาร่วมพิธีมากมายเป็นร้อยๆรูป เป็นมหาพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง

    อนึ่ง ตอนที่ติดต่อให้ทางวัดมหาวันช่วยกดพิมพ์สร้างพระรอดหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกสุดแห่งล้านนาไทยนี้ ก็ได้บังเกิดอสนีบาต แลบสว่าง ส่งเสียงลั่นฟ้าดังสนั่นครืนใหญ่ต่อหน้าผู้สร้างหลังจากที่ตกลงใจสร้างต่อหน้าต่อตาในทันทีทันใด นับเป็นมหามงคลนิมิตที่สอดคล้องกับชีวประวัติของครูบาศีลธรรมศรีวิไชย ที่ตอนอุบัติ ก็มีฟ้าร้องฟ้าผ่าอย่างน่าอัศจรรย์ จนเป็นที่มาของชื่อเดิมหนึ่งของครูบาศรีวิไชยว่า “ฟ้าฮ้อง” ไม่ผิดเพี้ยน เสมือนหนึ่งดวงพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของครูบาศรีวิไชยจะรับรู้และอนุโมทนา จึงได้สำแดงเตชะฤทธีมหามงคลนิมิตให้ประจักษ์ซึ่งๆหน้าดังว่า จึงเห็นสมควรถวายพระนามพระรอด ผสมผงพระรอดวิหารสมเด็จ หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกสุดแห่งล้านนาไทยนี้ว่า “พระรอดฟ้าฮ้อง หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย” โดยแท้ทีเดียว

    ขอให้ท่านผู้ที่มีบุญวาสนาได้ครอบครองพระรอดฟ้าฮ้อง หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกนี้ จงทราบซึ้งถึงคุณค่าอันไม่มีที่จะประมาณของพระที่ได้รับไว้นี้ให้จงหนัก และเร่งรักษ์บูชาสักการะไว้ในที่อันควร ก็จักเกิดความเป็นสิริสวัสดิมงคลอย่างยวดยิ่งสืบไปเมื่อหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเที่ยงแท้ หาที่สงสัยบ่มิได้เลยแลฯ

    หมายเหตุส่งท้าย : แม้เมื่อตอนที่อัญเชิญพระรอดฟ้าฮ้องหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชยไปอธิษฐานปิดท้ายที่พระพุทธบาทสี่รอยก่อนน้อมถวายเป็นกฐินทานเมื่อตอนบ่ายของวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2557 ที่ผ่านมานั้น ทันทีที่โยงสายสิญจน์เสร็จ ก็เกิด “ฟ้าฮ้อง” ฟ้าร้องซ้ำอีก 3 ครั้งดังสะเทือนครืนครั่นลั่นเลื่อนไปทั่ววัดพระพุทธบาทสี่รอยอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งแม่ชีและโยมแม่ของครูบาเจ้าอาวาสก็ได้ยินกันโดยทั่ว นับเป็นนิมิตมิ่งมหามงคลที่บังเกิดแต่บารมีอมตะแห่งท่านพระครูบาเจ้าศรีวิไชยยาชนะ ได้ดลบันดาลให้บังเกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์แบบจะๆ ซึ่งๆ หน้าตั้งแต่ปฐมวาระเบื้องต้นจนอวสานกาลเป็นที่สุดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างเหนือความคาดหมายเป็นสุด ยากที่จะเกิดแก่พระเครื่อง หรือวัตถุมงคลใดๆ เป็นที่ยิ่งโดยแท้ จึงเห็นสมควรที่จะจัดบันทึกเป็นหมายเหตุแห่งพระรอด “ฟ้าฮ้อง” หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชยรุ่นนี้ไว้ให้ปรากฏเป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะแก่สาธารณชนคนทั้งหลายสืบไป
     
  3. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,495
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2488
    เหรียญรุ่นแรก อายุครบ 74 ปี ครูบาดวงจันทร์ หรือครูบาผีเบื่อ วัดศรีชุม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ปี2558 ครูบาท่านได้ปลุกเสกในคืนวัดลอยกระทง(เพ็ญเดือน12) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 21.00 น. ซึ่งเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และปลุกเสกอีกครั้งในวันที่26 พฤศจิกายน 2558
    บูชา 300 บาท

    DSC_6304.JPG
     
  4. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,495
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2489
    เหรียญอรหันต์ยิ้ม ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก รุ่นพิเศษ เสด็จพระราชดำเนินเททองและมหาพุทธาภิเษก ปี2519 พระพิธีดีปีลึก เหรียญคมชัดตอกโค๊ต สวยเดิมๆครับ
    บูชา 350 บาท

    DSC_2878.jpg


    เหรียญอรหันต์ยิ้ม หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า... เหรียญรับเสด็จ

    รุ่นนี้สร้างโดยวัดบุพพาราม มีพิธีปลุกเสกหมู่โดยครูบาคำแสนทั้งสองคำแสน(อินทจักโก , คุณลังกาโร) เป็นประธาน พุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตา พิธีเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์

    ด้านหลังระบุ สร้างขึ้นเพื่อที่ระลึกในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองและพุทธาภิเษก ณ วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2519

    ด้านหน้าของเหรียญ ระบุ... ชื่อท่าน ครูบาคำแสนฯ อายุ 89 พรรษา 69 ด้านล่าง ระบุวัดสวนดอก
    เหรียญนี้ ได้สมญานามว่าเหรียญ "อรหันต์ยิ้ม" เนื่องจากใบหน้าของหลวงปู่คำแสนท่านมีรอยยิ้มและเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา มีทั้งตอกโค๊ตและไม่ตอกโค๊ต ส่วนใหญ่ไม่มีกล่อง

    จัดพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกราวต้นปี พ.ศ.2519 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม

    พร้อมด้วยรายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้งสิ้น 49 รูป ได้แก่...

    1. สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18)
    2. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19)
    3. สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักรวรรดิ์ฯ
    4. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    5. พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตร
    6. พระธรรมวโรดม วัดประทุมคงคา
    7. พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    8. พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    9. พระเทพวิสุทธิโสภณ วัดเชียงราย
    10. พระเทพวิสุทธิ์ วัดเจดีย์หลวง
    11. ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก
    12. ครูบาคำแสน คุณาลังกาโล วัดป่าดอนมูล
    13. ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    14. ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    15. หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาป่อง
    16. พระอาจารย์หนู วัดดอยแม่ปั๋ง
    17. ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    18. ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    19. พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    20. ครูบาบุญมี(พระครูธรรมธร) วัดท่าสะต๋อย
    21. ครูบาคำปัน(พระครูมงคลคุณาทร) วัดหม้อคำตวง
    22. ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    23. ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    24. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    25. ครูบาจีนา วัดท่าข้าม
    26. ครูบาคำตั๋น วัดดอนจืน
    27. พระอาจารย์ทองบัว วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
    28. ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี
    29. พระประสาท สุตาคม วัดจามเทวี
    30. พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธ
    31. ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
    32. พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    33. ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    34. ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    35. พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    36. ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    37. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    38. ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    39. พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    40. พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    41. พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    42. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    43. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    44. หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    45. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    46. หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไลย์
    47. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    48.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
    49. พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา

    4286141.jpg

    42867.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...