เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 23 มีนาคม 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระผม/อาตมภาพเดินทางไปเยี่ยมสนามอบรมบาลีก่อนสอบที่วัดพุทธบริษัท ซึ่งเป็นการซักซ้อมในการแปลภาษาบาลี ของนักเรียนบาลีวัดท่าขนุน เพื่อเตรียมเข้าสอบในรอบที่สอง หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าสอบซ่อม

    เมื่อเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วก็ต้องเร่งเดินทางไปยังวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) เพราะว่าพระเดชพระคุณพระธรรมวชิรานุวัตร, ดร. (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าคณะภาค ๑๔ ได้มีคำสั่งให้ไปร่วมงานปลุกเสกวัตถุมงคลของวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ในวันนี้

    เมื่อไปถึงปรากฏว่าเพิ่งจะเป็นเวลาบ่ายโมง ตามฎีกานิมนต์นั้น กระผม/อาตมภาพต้องเข้าอธิษฐานจิตในเวลาบ่ายสองโมง แต่ว่าพอพระเดชพระคุณหลวงพ่อแย้มท่านเห็น ก็ผลักเข้าโบสถ์ไปเลย บอกว่า "ไปดู..ถ้ามีที่ว่างก็นั่งไปเลย" ในเมื่อเป็นเช่นนั้น กระผม/อาตมภาพจึงต้องเข้าโบสถ์ไปทั้งอย่างนั้น

    เมื่อเริ่มพิธี
    กระผม/อาตมภาพก็เห็นหลวงพ่อวัดไร่ขิง ท่านขยายองค์ใหญ่มหึมา ซึ่งถ้าหากว่าเป็นในโลกของความเป็นจริงคาดว่าคงไม่มีใครสามารถสร้างได้ เพราะว่าองค์ท่านเป็นทองคำสุกอร่าม หน้าตักประมาณ ๒๐ วา ครอบคลุมไปทั้งมณฑลพิธี..! จนกระทั่งเสร็จสรรพเรียบร้อย กระผม/อาตมภาพทำน้ำมนต์พรมในบริเวณพิธี และโปรยดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ค่อยมาทักทายกับพรรคพวกเพื่อนฝูง

    ไม่ว่าจะเป็นหลวงพ่อเจ้าคุณโสภณ คือหลวงพ่อเจ้าคุณพระสมุทรวชิรโสภณ, ดร. (โสภณ ธมฺมโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๕ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเรียนปริญญาเอกมาด้วยกัน หรือว่าหลวงพ่อแป๊ะ (พระครูยติธรรมานุยุต) วัดสว่างอารมณ์ ที่รู้จักกันมาเกิน ๓๐ ปีแล้ว

    ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อท่านเจ้าคุณสุรศักดิ์ - พระภาวนาวิสุทธิโสภณ วิ. (สุรศักดิ์ อติสกฺโข ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดประดู่พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี เพราะว่าเจอกันมาเกือบทุกงาน

    ส่วนอีกท่านหนึ่งก็คือหลวงพ่อแดง - พระครูสิริวรธรรมาภินันท์ (ชูชาติ อานนฺโท ป.ธ.๔) รองเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดมะนาว ซึ่งถ้าหากว่าจะว่าไปแล้ว กระผม/อาตมภาพเองก็เป็นเด็กสุพรรณบุรีครึ่งหนึ่งเหมือนกัน เพราะว่าบ้านของตายายอยู่ที่บางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    เมื่อรับไทยธรรมแล้วเดินออกมาก็จ๊ะเอ๋กับเจ้านายใหญ่ คือพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ที่ท่านเดินทางมาเพื่อเตรียมที่จะเข้าปลุกเสกในรอบที่สอง ก็คือในรอบบ่ายสองโมง ซึ่งกระผม/อาตมภาพโดนจัดให้อยู่ในรอบนั้นนั่นแหละ

    แต่ในเมื่อเจ้านายรองก็คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมวชิรานุวัตร, ดร.ท่านผลักเข้าไปก่อน ก็ต้องแซงเจ้านายใหญ่ไปโดยไม่ได้เจตนา แต่ก็เป็นการดี เพราะถ้าหากว่าช้า ก็ไม่สามารถที่จะออกมาได้ง่ายนัก เนื่องจากว่ารถราต่าง ๆ ก็จะเริ่มติดแล้ว โดยเฉพาะช่วงนี้จะมีรถติดมาก ๆ เลยแถวบางใหญ่ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามีเรื่องเกี่ยวกับการปิดทางด่วนช่วงบางใหญ่ ที่กระผม/อาตมภาพก็ไม่เข้าใจว่าทำไมช่วงนี้ถึงได้สร้างอะไรกันหนักหนา

    เมื่อกราบเจ้านายใหญ่แล้วก็ออกมาทางด้านนอก ได้กราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณทองดำ - พระราชวิสุทธาภรณ์ (ทองดำ อิฏฺฐาสโภ ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี พระเดชพระคุณพระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๗ ที่ทั้ง ๒ รูปท่านมาเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงที่ปลุกเสกรอบแรกนั่นเอง

    หลังจากที่กราบลาพระมหาเถระทุกรูปแล้ว กระผม/อาตมภาพก็เดินทางเข้าสู่ที่พัก เพราะว่ายังมีภารกิจต่อไป ก็คือจะต้องจัดหาวัตถุมงคลทั้ง ๑๕ ชุด และ ๑ ชุดพิเศษ เพื่อที่จะมอบให้แก่ทางผู้รับเหมาก่อสร้างพิพิธภัณฑ์วัดท่าขนุน ในการที่จะเตรียมจัดแสดงเมื่อพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    คราวนี้วัตถุมงคลทั้ง ๑๕ ชุด ซึ่งนับว่าเป็นชุดพิเศษนั้น ก็เพราะว่าวัตถุมงคลชุดใหญ่ที่ตั้งใจจัดแสดงนั่นก็คือ
    เครื่องรางสะท้านแผ่นดิน ที่บรรดานักเล่นเครื่องรางของขลังเสาะหากันเป็นหนักหนา
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    หมากดี ที่วัดหนัง
    ถ้าเบี้ยขลัง วัดนายโรง

    ไม้ครู คู่วัดอินทร์
    ส่วนมีดบิน วัดหนองโพธิ์

    พิสมร วัดพวงมาลัย
    ครั่งเหลือร้าย วัดโตนดหลวง

    ราหู คู่วัดศีรษะ
    แหวนอักขระ วัดหนองบัว

    ลูกแร่ ที่วัดบางไผ่
    ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน

    เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล
    ทั่วทุกคนควรค้นหา

    ติดกายยามยาตรา
    ภัยมิกล้ามาแผ้วพานฯ

    คำว่า หมากดี ที่วัดหนังนั้น ก็คือ หมากทุยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังท่านได้สร้างขึ้นมา

    เบี้ยขลัง วัดนายโรง ก็คือเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2023
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    ไม้ครู คู่วัดอินทร์ ก็คือนิ้วเพชรพระอิศวรที่หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร ท่านสร้างขึ้นมาด้วยความยากลำบาก เพราะว่าวัสดุนั้นหายากเป็นอย่างยิ่ง ท่านธุดงค์อยู่ ๓๐ กว่าปี กว่าที่จะหากอไผ่ซึ่งล้มขวางทางช้างเดิน แล้วช้างทั้งโขลงเดินผ่านไป โดยไม่ดึงมากินเสียก่อน

    ส่วนมีดบิน วัดหนองโพธิ์นั้น ก็คือมีดหมอเทพศาสตราของหลวงปู่เดิม วัดหนองโพธิ์

    พิสมร วัดพวงมาลัย ได้แก่ พิสมร หรือว่าตะกรุดใบลานบังปืน ซึ่งคำว่า ใบลานบังปืน นั้นก็คือตัดเอาใบลานที่บ้านบางปืนมา คราวนี้คำว่า "บาง" กับ "บัง"นั้น เขาถือเคล็ดว่าออกเสียงใกล้เคียงกัน ในเมื่อบังปืนก็ถือว่าเป็นมงคลนาม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัยท่านจึงได้นำมาสร้างตามตำรา จนกลายเป็นตะกรุดบ้าง พิสมรบ้าง คำว่าพิสมรนั้น จริง ๆ แล้วก็คือตะกรุดสั้นนั่นเอง

    ครั่งเหลือร้าย วัดโตนดหลวง ได้แก่ วัตถุมงคลของหลวงปู่ทองศุข วัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี ที่ท่านได้ทำการพอกครั่งไว้ด้วย ถือเคล็ดว่าผู้คนจะได้ "คลั่งไคล้" ครั่งนั้นก็ต้องเป็นครั่งที่หามาเฉพาะครั่งที่เกาะกิ่งพุทรา ซึ่งชี้ไปด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

    ปกติทั่ว ๆ ไป ผู้คนก็จะเสาะหาตะกรุดพอกครั่งบ้าง หรือว่าจะเป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่งบ้าง ตะกรุดใบลานพอกครั่งบ้าง หรือว่าเหรียญรุ่นสองของท่านที่ด้านหลังมีการพอกครั่งเอาไว้บ้าง แต่กระผม/อาตมภาพนั้นโชคดี ไปได้เบี้ยแก้พอกครั่งของท่านมา จึงได้เอามานำเสนอไว้ในพิพิธภัณฑ์ สำหรับท่านที่ไม่มีโอกาสได้ครอบครอง หรือว่ายังไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น

    ราหู คู่วัดศีรษะ ได้แก่ กะลาตาเดียวแกะรูปราหู ไม่ว่าจะเป็นแบบแขวนคอ หรือว่าแบบติดบ้านของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง

    แหวนอักขระ วัดหนองบัว ก็คือแหวนพิรอดที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ปรมาจารย์ใหญ่แห่งจังหวัดกาญจนบุรี ได้สร้างเอาไว้

    ส่วนลูกแร่ ที่บางไผ่นั้น ก็คือลูกอมที่สร้างจากแร่บางไผ่ แต่ถ้าได้พระปิดตาแร่บางไผ่ก็ยิ่งดี เพียงแต่ว่ากระผม/อาตมภาพนั้นถือเอาตามโบราณว่า "ลูกแร่" จึงได้จัดให้เป็นลูกอมแร่บางไผ่

    ชุดนี้จะเป็นชุดพิเศษ ก็คือชุด ๙ เครื่องรางสะท้านแผ่นดิน จะได้เห็นกันว่าสิ่งที่ผู้คนเขานิยมกันนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2023
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    ส่วนวัตถุมงคล ๑๕ ชุดที่ทางผู้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เสนอให้จัดแสดงนั้น กระผม/อาตมภาพจัดให้เป็นชุดละ ๕ ชิ้น ตั้งแต่ชุดมีดหมอ มีดหมอทั้ง ๕ เล่มประกอบไปด้วยมีดหมอเทพศาสตราหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ซึ่งบรรดาผู้ที่เห็นต่างก็ร้องว่า "ทำไมถึงได้สวยงามสมบูรณ์ขนาดนี้ ?" เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า มีดหมอเทพศาสตราหลวงพ่อเดิมนั้น ผ่านมือกระผม/อาตมภาพน่าจะเกิน ๓๐ เล่ม ย่อมมีโอกาสที่จะคัดหาเล่มที่งดงามถูกใจ เก็บเอาไว้ให้คนชมในพิพิธภัณฑ์
    เล่มที่สองเป็นมีดหมอบรมครูปราบไตรภพ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ซึ่งถ้าหากว่าใครเล่นมีดหมอของสายนี้ มองปุ๊บก็จะเห็นปั๊บเลยว่าใช่แน่ เพราะว่าเนื้อโลหะนั้นไม่เหมือนใครเลย
    เล่มที่สามเป็นมีดหมอเทพศาสตรามหาปราบ หลวงปู่ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งถ้าหากว่ามีดหมอสายใต้นั้น ต้องยกให้หลวงปู่ทองเฒ่า วัดเขาอ้อมาเป็นอันดับหนึ่ง
    ต่อไปก็เป็นมีดหมอเทพศาสตราของหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล ซึ่งท่านเป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงพ่อเดิมเสียด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าวัดวาอารามของท่านนั้นอยู่ลึก..ไปยาก ไม่เหมือนกับวัดหนองโพธิ์ที่อยู่กับใกล้สถานีรถไฟ หลวงพ่อเดิมที่ต้องเรียนวิชาสร้างมีดหมอและศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อรุ่งที่เป็นลูกผู้พี่แท้ ๆ ก็เลยกลายเป็นมีชื่อเสียงมากกว่า
    เล่มสุดท้ายในชุดมีดหมอก็คือมีดหมอเทพศาสตรา หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งมีดหมอเทพศาสตราหลวงปู่บุญเล่มนี้ กระผม/อาตมภาพคาดว่าน่าจะมีส่วนผสมของ "เหล็กเปียก" เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า มีดหมอเทพศาสตราเล่มนี้ที่มีด้ามแกะเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ แต่ใบมีดนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่แปลกตรงที่ว่าเปียกแล้วสนิมไม่ขึ้น
    กระผม/อาตมภาพจึงคาดว่ามีส่วนผสมพิเศษพวกเหล็กเปียกอยู่ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2023
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    ชุดที่ ๒ เป็นเชือกคาดเอว ประกอบไปด้วยเชือกคาดเอวตะขาบไฟหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เชือกคาดเอวหลวงพ่อโชติ วัดตะโน เชือกคาดเอวหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ เชือกคาดเอวหลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ และ เชือกคาดเอวหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หรือวัดโฆสิตาราม ใครต้องการรายละเอียดลองไปศึกษาดู โดยพิมพ์ถามในกูเกิ้ลก็จะรู้ว่า แต่ละท่านนั้นเป็นสุดยอดในด้านเชือกคาดเอวอย่างไร ?

    ชุดที่ ๓ เป็นชุดเบญจภาคีลูกอมเมืองไทย ประกอบไปด้วยลูกอมมหาจินดามณีมนตราคมของหลวงปู่ปาน วัดตุ๊กตา ลูกอมมหากัน หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ลูกอมผงวิเศษยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ลูกอมเจ็ดพญาช้างสาร หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว และลูกอมผงธูปกรรมฐาน หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ลูกอมชุดนี้กระผม/อาตมภาพคัดเอาเฉพาะลูกที่โบราณใช้คำว่า "กลายเป็นแก้ว" ไปแล้ว แต่ถ้าหากคนทั่ว ๆ ไปก็จะรู้สึกว่าน่าจะเป็นหินมากกว่า

    ชุดที่ ๔ เป็นชุดไม้ครู ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านได้สร้างเอาไว้น้อยมาก ประกอบไปด้วย ไม้ครูหัวหนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ไม้ครูหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งสืบทอดกันมาสามยุคแล้ว ผู้ที่ครอบครองก่อนจะมาถึงมือของกระผม/อาตมภาพนั้นก็คือหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ไม้ครูด้ามพญาลิง หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ไม้ครูหัวบรมครูปู่พระฤๅษี หลวงปู่ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ และไม้ครูท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี ที่เป็นอาจารย์ฆราวาสชื่อดังสายวัดเขาอ้อเช่นกัน

    ชุดที่ ๕ เป็นชุดตะกรุด ซึ่ง
    กระผม/อาตมภาพ "รักพี่เสียดายน้อง" จึงหยิบเอาเฉพาะชุดที่อยู่ใกล้มือไปก่อน อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทีหลัง ประกอบไปด้วยตะกรุดมหาโสฬส หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

    ซึ่งแปลกมากว่าหลวงพ่อพิธ วัดฆะมังนั้น ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน แต่ว่าค่านิยมในตะกรุดของท่านในท้องตลาดนั้น สูงกว่าหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานมาก ต่อไปก็คือตะกรุดหลวงปู่ปาน วัดคลองด่าน หรือว่าวัดบางเหี้ย และตะกรุดหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตอนนี้กำลังรักพี่เสียดายน้องว่าจะเอาตะกรุดไมยราพณ์สะกดทัพของหลวงพ่อกุน วัดพระนอน กับตะกรุดมหาระงับของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม มาสับเปลี่ยนตอนไหนดี แต่ตอนนี้ก็ว่ากันตามนี้ไปก่อน

    ชุดที่ ๖ เป็นชุดมหาเสน่ห์ ก็คือชุดปลัดขิก ประกอบไปด้วยหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ซึ่งกระผม/อาตมภาพเลือกเอาปลัดขิกหัวหมวกทหาร ที่หายากมากมาลงเอาไว้ให้คนดู ดอกสุดท้ายเป็นปลัดขิก หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ที่ท่านโด่งดังทางสายมหาเสน่ห์ โดยเฉพาะสาลิกาจับปากโลงของท่าน
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    ชุดที่ ๗ เป็นชุดเสือแกะ ประกอบไปด้วย เสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านหรือว่าวัดบางเหี้ย เสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี เสือหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส เสือหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เสือหลวงพ่อพัว วัดบางเดือน ซึ่งความจริงยังมีเสือของครูบาอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน แต่ว่าตอนนี้นำเอา ๕ องค์นี้ขึ้นแสดงเอาไว้ก่อน ถ้าหากว่ามีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะมีการสับเปลี่ยนชุดอื่น ๆ กันภายหลัง

    ชุดที่ ๘ เป็นชุดลิงหรือหนุมาน ประกอบไปด้วยหนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัง องคตหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ ลิงหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หรือว่า หนุมานอาสา แล้วก็ลิงแกะจากหินสบู่ หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ


    ชุดที่ ๙ เป็นชุดสิงห์ ได้แก่ สิงห์หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ สิงห์หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน สิงห์ตาพลอย หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก และสิงห์คอยาว หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม


    ชุดที่ ๑๐ เป็นชุดแหวนพิรอด ประกอบไปด้วยแหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน และที่หายากสุด ๆ แทบจะนับเป็นอันดับหนึ่งในวงการแหวนพิรอดก็คือ แหวนพิรอดหัวพระปิดตา พ่อปู่หมอน้อย จังหวัดอ่างทอง


    พ่อปู่หมอน้อยนั้นท่านเป็นฆราวาส ถึงเวลาสร้างแหวนพิรอดแล้วก็โยนใส่เตาไฟ ถ้าหากว่าข้ามคืนไปแล้วยังไม่ไหม้ ถึงจะใช้ได้ เวลาจะมอบให้คนอื่น พ่อปู่หมอน้อยที่ลอยเรืออยู่ ก็ใช้วิธีโยนไปให้คนที่อยู่บนฝั่ง ซึ่งต้องยกนิ้วชี้รอไว้ แหวนพิรอดจะวิ่งไปสวมนิ้วให้เอง..!

    หลังจากนั้นเป็นชุดพระปิดตาลอยองค์ ประกอบไปด้วย พระปิดตาพิมพ์ปั้น หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระปิดตาไม้โพธิ์นิพพาน หลวงปู่รอด วัดโคนอน พระปิดตางาแกะ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พระปิดตาไม้โพธิ์นิพพาน หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และพระปิดตางาช้างกำจัด หลวงปู่ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2023
  9. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,739
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,558
    ค่าพลัง:
    +26,399
    ชุดที่ ๑๒ เป็นชุดพิรอดแขน ประกอบไปด้วยหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน และ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

    แล้วก็มาถึงชุดที่ทุกคนอยากเห็นเป็นนักหนา คือชุดเบี้ยแก้ ประกอบไปด้วยหลวงปู่รอด วัดนายโรง หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ และ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์คล้ำ ที่เขาถือกันว่าเป็นเบญจภาคีเบี้ยแก้เมืองไทย

    ชุดที่ ๑๔ เป็นชุดเสื้อยันต์ ประกอบไปด้วยหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ และ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน

    ชุดสุดท้ายที่กำลังรออยู่ก็คือชุดราหู ซึ่งกระผม/อาตมภาพจัดเตรียมไว้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าพระราหูทั้ง ๕ องค์นั้นท่านนึกอย่างไร อันตรธานไปต่อหน้าต่อตา..! ก็คงจะต้องรอจนกว่าท่านจะปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง

    ประกอบไปด้วยราหูกะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ซึ่งถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย หลวงพ่อปิ่น วัดศีรษะทองที่เป็นลูกศิษย์เอกของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ ที่ถือว่าเป็นกะลาราหู หรือ "กบกินเดือน" อันดับหนึ่งของภาคเหนือหรือล้านนา ครูบาเจ้าอโนชัย วัดปงสนุก ที่เป็นครูบาอาจารย์ของครูบานันตาแท้ ๆ แต่ชื่อเสียงสู้ลูกศิษย์ไม่ได้เหมือนกัน แล้วก็เป็นกะลาราหูของทางภาคอีสาน คือญาท่านสวน วัดนาอุดม

    ตอนนี้ก็ได้แต่รอว่าเมื่อไรท่านจะปรากฏตัวมา จึงไม่ได้ส่งเอาให้กับทางเจ้าหน้าที่จนครบ ขาดเพียงชุดสุดท้ายนี้ชุดเดียว ได้แต่รออยู่ว่าเมื่อไรที่จะมาครบถ้วนกันเสียที ทั้ง ๆ ที่ก็ถ่ายรูปลงทะเบียนเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ท่านบทจะไปก็ไป บทจะมาก็มา บางทีงอนอะไรก็ไม่รู้ ? หายไปทีเป็นเดือน ๆ ก็มี..!

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...