เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 29 กันยายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระผม/อาตมภาพเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ที่หอประชุมพระราชวิริยาลังการ วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง)

    หลังจากงานช่วงเช้าผ่านไปแล้ว ในช่วงบ่ายนั้น กระผม/อาตมภาพถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขึ้นไปร่วมเสวนาเชิงปฏิบัติการกับตัวแทนเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดจากจังหวัดนครปฐม ซึ่งได้คัดเลือกพระปลัดมณี วฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดใหม่ห้วยลึก ซึ่งเป็นลูกศิษย์เรียนปริญญาตรีกับกระผม/อาตมภาพมา สมัยที่ยังสอนอยู่วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

    ตัวแทนเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ก็คือพระครูใบฎีกาสุรเวช ปภสฺสโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชนาวาส

    และตัวแทนเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสมุทรสาคร คือ พระครูสาครธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดวังชัยทรัพย์วิมล ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสมุทรสาครดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งกระผม/อาตมภาพเคยไปขอสัมภาษณ์ท่าน ในช่วงที่ทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อจบปริญญาเอก ในหัวข้อ "รูปแบบการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ได้รับรางวัลดีเด่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔" ก็แปลว่าบรรดาวิทยากรที่เข้าร่วมการเสวนานั้น ล้วนแล้วแต่คุ้นเคยกันมาแต่ดั้งเดิม

    แต่คราวนี้เมื่อพิธีกร คือนายชิษณุพงศ์ แฉล้มรัมย์ จากสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติมาดำเนินการ กระผม/อาตมภาพก็บอกว่า หัวข้อที่ตั้งมานั้น ทางด้านผู้จัดงานหลงประเด็นไปแล้ว คือมาถามถึงเรื่องของสถานที่ เรื่องของวิธีการบริหารจัดการ เรื่องของหลักการปฏิบัติธรรม ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ บรรดาเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม กว่าจะหลุดมาเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแต่ละสำนัก จะต้องผ่านการพิจารณามาจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนกระทั่งมหาเถรสมาคมมีมติอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมได้ ดังนั้น..รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ทุกรูปมีครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    นอกจากนั้นบรรดาผู้บังคับบัญชาซึ่งตั้งใจให้จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำแต่ละจังหวัดขึ้นมา เพื่อดึงญาติโยมทั้งหลายให้เข้าวัดปฏิบัติธรรม โดยการมอบภาระให้แก่เจ้าอาวาสที่เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ๆ ในการดำเนินการเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ตั้งแต่ยื่นเอกสารขอจัดตั้งก็ดี การเขียนโครงการว่าจะจัดปฏิบัติธรรมในลักษณะใดบ้าง ? ปีละกี่ครั้ง ? ก็ดี ตลอดจนกระทั่งรายงานผลการปฏิบัติงาน ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแต่ละแห่ง ในทุกปีก็ตาม เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ผู้บังคับบัญชาก็น่าจะหลงประเด็น

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ส่วนใหญ่แล้วเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ที่เราคัดเลือกท่านขึ้นมาเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม เพราะว่าท่านรักการปฏิบัติธรรมมาแต่เดิม บุคคลที่รักการปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมมีความมักน้อย สันโดษเป็นปกติ ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับงานเอกสารต่าง ๆ แม้แต่น้อย

    ตรงจุดนี้แม้ว่าผู้บังคับบัญชาจะหลงประเด็น เอาคนรักสงบ ชอบอยู่เงียบ ๆ มากระโดดโลดเต้นตามจังหวะ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้พระภิกษุสามเณรของเรา "สูญพันธุ์" ก็คือทำให้วัดร้างจนไม่มีคนเข้า แต่ว่าก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการที่ ให้ท่านเจ้าสำนักมอบหมายให้ตัวแทนทำหน้าที่ อย่างเช่นว่าสนับสนุนพระภิกษุสามเณรในวัด ให้เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ทำการบริหารหรือว่าจัดการงานทั้งหลายเหล่านี้แทน โดยที่ตนเองกุมนโยบายอยู่ห่าง ๆ

    ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้ประสบความสำเร็จนั้น กระผม/อาตมภาพได้บอกกล่าวไปว่า วัดท่าขนุนนั้นมีแค่ยุทธศาสตร์เดียว คือทำอย่างไรจะให้วัดกลับไปเป็นศูนย์รวมของชุมชน แล้วมียุทธวิธีอยู่ ๗ ประการด้วยกัน คือ

    ข้อที่ ๑ สร้างศรัทธา ถ้าหากว่าเราเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญฺโญ ป.ธ.๘) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีนั้น ท่านมักจะบอกว่า ให้ทำวัตรสวดมนต์ ท่องบ่นภาวนา ศึกษาเล่าเรียน พากเพียรปฏิบัติ

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอ วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า ญาติโยมที่เห็นก็จะเกิดศรัทธาขึ้นมาเอง เมื่อความศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว เราจะปลูกจะฝังอะไรก็เป็นไปโดยง่าย
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    ข้อที่ ๒ หาต้นทุน ดูว่าในวัดของเรามีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นต้นทุนพอที่จะดึงคนเข้าวัด อย่างเช่นว่ามีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีเจ้าอาวาสขลัง มีแหล่งวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่จะดึงให้คนเข้ามาศึกษา เป็นต้น อย่างไม่มีอะไรเลย บางวัดมีตอตะเคียนให้ญาติโยมไปขูดหาหวยสักเดือนละ ๒ ครั้งก็ยังดี..!

    ข้อที่ ๓ เสริมของเก่าย่างเช่นว่า การสวดมนต์ ทำวัตร บิณฑบาต กรรมฐาน จัดปฏิบัติธรรม จัดค่ายพุทธบุตร เหล่านี้เป็นของเก่าที่ทุกวัดทำมาเป็นปกติอยู่แล้ว นอกจากเราละทิ้งไม่ได้แล้ว ยังต้องช่วยเสริมให้เป็นระบบยิ่งขึ้น อย่างเช่นของวัดท่าขนุน ก็มีการลงทะเบียนปฏิบัติธรรมออนไลน์ มีการรับวุฒิบัตรปฏิบัติธรรมออนไลน์ เป็นต้น

    เมื่อเสริมของเก่าแล้ว ถ้าพิจารณาดูว่ายังมีอะไรที่ไม่เพียงพอ ก็ต้องมาถึง

    ข้อที่ ๔ สร้างของใหม่ สิ่งที่เหมาะสมแล้วยังไม่มี แต่สามารถที่จะดึงคนเข้าวัดได้ อย่างเช่นวัดท่าขนุน ก็สร้างพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปนาก พระพุทธรูปเงิน มีการสร้างบันไดขึ้นสักการะรอยพระพุทธบาท มีการสร้างบันไดขึ้นสักการะพระพุทธเจติยคีรี มีการจัดโครงการ "หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าซิ่น นั่งแคร่ไม้ ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์" มีการจัดสร้างตลาดชุมชนริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย เป็นต้น

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ นอกจากเข้ากับบริบทของชุมชน ตลอดจนกระทั่งสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนในชุมชนแล้ว ยังสามารถที่จะเรียกนักท่องเที่ยวได้ดีมาก ต่อให้นักท่องเที่ยวเหล่านั้นไม่คิดที่จะถือศีลปฏิบัติธรรม อย่างน้อย ๆ ก็ได้อนุสติ เช่นว่ามากราบไหว้พระพุทธรูปทองคำ นาก เงิน มากราบไหว้รอยพระพุทธบาท มากราบขอพรสังขารหลวงปู่สาย อดีตเจ้าอาวาส หรือว่ามากราบพระพุทธเจติยคีรี เป็นต้น ดังนั้น..สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าหากว่าเป็นไปได้ ต้นทุนถึง และเหมาะสมกับบริบทของชุมชน ก็ให้สร้างของใหม่เหล่านี้ขึ้นมา

    ประการที่ ๕ เทิดไท้องค์ราชัน อย่างไรเสียการจัดงานต่าง ๆ นั้น ถ้าหากว่าเราอิงสถาบันเอาไว้ อย่างน้อยส่วนราชการก็ดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม ซึ่งอยู่รอบวัดนั้น ก็จะต้องมาอิงอาศัย เพื่อที่อย่างน้อยก็จะได้มีผลงานเป็นของหน่วยงานตนเองไปด้วย
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    ในส่วนนี้เราจึงควรที่จะจัดงานในวาระสำคัญของราชวงศ์ต่าง ๆ อย่างเช่นว่าวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น เมื่อเราจัดงานตรงนี้ ก็แปลว่ามีการแอบอิงสถาบันเพื่อดึงศรัทธาประชาชนได้เป็นอย่างดี

    ข้อที่ ๖ ประสาน ๑๐ ทิศ คืออาศัยหลัก บ ว ร บ้าน วัด ส่วนราชการ โรงเรียน ในการร่วมมือกัน ถึงเวลาจะจัดงานก็แจ้งให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้มาเข้าร่วมงานด้วย ซึ่งส่วนราชการทั้งหลายเหล่านี้ แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย นอกจากให้เกียรติมาร่วมงาน เท่ากับว่าท่านมีผลงานไปรายงานผู้บังคับบัญชาด้วย เราแค่เสียหนังสือเชิญฉบับเดียวเท่านั้น ท่านทั้งหลายเหล่านี้ก็ยินดีที่จะมาร่วมงานแล้ว เป็นการดึงคนเข้าวัดได้ดีมากอีกวิธีหนึ่ง

    ข้อที่ ๗ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน อย่างของวัดท่าขนุน เราก็ไปเสาะหาว่ามีวัฒนธรรม ประเพณี หรือว่าสินค้าชุมชนอะไร ที่สามารถนำมาแปรเป็นตัวเงินได้ โดยที่ถึงเวลาแล้วไม่ต้องพึ่งพาสิ่งต่าง ๆ จากภายนอก

    เราสามารถมีสินค้ามาจำหน่าย หารายได้เข้าครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำอาหาร เรื่องของเครื่องจักสาน เรื่องของผ้าทอ เรื่องงานฝีมืออื่น ๆ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในชุมชน เรื่องพืชผักผลไม้ที่มีชื่อเสียงของชุมชน เหล่านี้เป็นต้น ถ้าหากว่าเราส่งเสริมอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องหาตลาดให้เขาจำหน่ายสินค้าได้ด้วย สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จึงจะเป็นการส่งเสริมอย่างยั่งยืน

    ดังนั้น..ถ้าหากว่าสำนักปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ปฏิบัติตาม ๑ ยุทธศาสตร์ ๗ ยุทธวิธีของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรีแห่งที่ ๒๓ (วัดท่าขนุน) ก็เชื่อมั่นได้ว่าท่านทั้งหลายสามารถประสบความสำเร็จเช่นกัน เพียงแต่ว่าอย่าได้ทำงานใหญ่ขนาดวัดท่าขนุน..!

    ให้ยึดหลักที่โบราณว่า "นกน้อยทำรังแต่พอตัว" เราอาจจะมีคนแค่ ๓ คน ๕ คน ๑๐ คน ๒๐ คน เราก็พยายามจัดให้มีการสวดมนต์ไหว้พระ มีการเจริญกรรมฐานบ่อย ๆ ระยะแรกอาจจะจัดในทุกวันหยุด คือวันเสาร์หรือว่าวันอาทิตย์ แล้วหลังจากนั้น เมื่อเริ่มผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เราก็อาจจะทำให้เข้มข้นขึ้นมา ด้วยการจัดในวันหยุดราชการ หรือวันสำคัญทางนักขัตฤกษ์อื่น ๆ โดยกำหนดเป็นหลักสูตร ๓ วัน ๒ คืนบ้าง หรือว่า ๕ วัน ๔ คืนบ้าง
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,840
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,415
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ให้ท่านทั้งหลายทำแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสามารถที่จะยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่ง ท้ายที่สุดก็กลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

    หลังจากนั้น พระเดชพระคุณพระเทพศาสนาภิบาล, ดร. (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าคณะภาค ๑๔ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ท่านก็มาช่วยสรุปอีกที แล้วกล่าวปิดโครงการ

    โดยที่ตอนที่จะแยกย้ายกันไปนั้น พระเดชพระคุณพระธรรมวชิรมุนี วิ., รศ.ดร. (บุญชิต ญาณสํวโร ป.ธ. ๙) ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เมตตามาเป็นหนึ่งในวิทยากรในวันนี้ ท่านได้เดินผ่านมา พระเดชพระคุณพระเทพศาสนาภิบาลแนะนำกระผม/อาตมภาพ แบบกึ่ง ๆ จะเย้าเล่นว่า "ไอ้ท่าขนุนนี้ นอกจากเหาะมาให้ดูต่อหน้าต่อตาแล้ว ที่เหลือมันทำได้ทุกอย่างขอรับพระเดชพระคุณ..!" ทำเอาท่านเจ้าคุณอาจารย์บุญชิตยิ้มกว้าง

    เนื่องเพราะว่ากระผม/อาตมภาพกับท่านนั้น คุ้นเคยกันมานานตั้งแต่ท่านเพิ่งจะขึ้นเป็นเจ้าคุณพระศรีวรญาณใหม่ ๆ โดยเป็นอาจารย์แนะนำกรรมฐานในสมัยที่กระผม/อาตมภาพ เพิ่งจะเข้าศึกษากรรมฐานในโครงการอบรมพระธรรมฑูตสายวิปัสสนา รุ่น ๑ มานั่นเอง

    เมื่อแยกย้ายกันกลับมาจนถึงที่พักแล้ว กระผม/อาตมภาพก็รีบมาบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุน อย่างที่ท่านทั้งหลายกำลังได้ฟังอยู่นี้

    สำหรับวันนี้ ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...