เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 14 กันยายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระผม/อาตมภาพมีภารกิจตั้งแต่ช่วงเช้า คือได้มอบรางวัลคนคู่คุณธรรมให้กับเครือข่ายทั้ง ๒๖ แห่งของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน รางวัลคนคู่คุณธรรมนั้น ตั้งใจยกย่องบุคคลผู้ทำความดี จนกระทั่งสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ และเป็นบุคคลที่ตั้งใจทำความดีต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน

    บุคคลที่ทำความดีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกคือ ทำความดีเพราะอยากทำ ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะทำได้ทน ทำได้นาน ไม่สนใจเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถากถางเยาะเย้ยของคนอื่น อีกประเภทหนึ่ง คือ บุคคลที่ทำความดีเพราะอยากดี ประเภทนี้ถ้าผลความดีไม่ตอบแทนในระยะใกล้ ก็อาจจะหมดกำลังใจไปเลย

    รางวัลคนคู่คุณธรรมของสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมินั้น ตั้งใจที่จะให้กับบุคคลทั้ง ๒ ประเภท คือประเภทที่ทำความดีเพราะอยากทำ ก็จะได้มีเครื่องยืนยันว่า สิ่งที่เขาทำนั้น บุคคลอื่นมองเห็นและยกย่องในสิ่งที่เขาได้กระทำต่อเนื่องมายาวนาน ส่วนประเภททำความดีเพราะอยากดี ก็จะได้เห็นว่ามีผลของความดีตอบ คือได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ได้รับเงินรางวัล ได้ออกสื่อ มีชื่อเสียง ยืนยันว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง เป็นสิ่งที่สังคมยกย่อง

    แต่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าท่านทำความดีเพราะอยากทำ ท่านก็จะทำได้ทน ทำได้นาน ไม่ท้อถอย ถ้าทำความดีเพราะอยากดี แล้วผลความดีไม่ตอบแทน ก็อาจจะหมดกำลังใจ เลิกทำความดีไปเลยก็ได้

    ดังนั้น..ในเรื่องของการกระทำความดี จึงเป็นเหมือนอย่างกับการว่ายทวนกระแสโลก การทำความชั่วนั้น ถ้านับไปแล้ว เหมือนกับน้ำที่ไหลลงที่ต่ำ สามารถที่ทำไปได้โดยสะดวก การทำความดีเหมือนกับการทวนน้ำขึ้นสู่ที่สูง ทั้งหนัก ทั้งเหนื่อย ต้องทนกับการเยาะเย้ยถากถางจากคนอื่น
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    แม้แต่กระผม/อาตมภาพเอง ในระยะแรกที่เริ่มทำความดี แล้วเจอการเสียดสีทุกรูปแบบ ยังได้แต่งกลอนเอาไว้เตือนใจตัวเองว่า

    เมื่อแรกทำ ความดี สิ่งที่พบ
    คือประสบ ความเจ็บปวด รวดร้าวแสน
    ถูกเยาะเย้ย ถากถาง ทั้งดินแดน
    ซ้ำหมิ่นแคลน ดังเราไซร้ ไร้ฝีมือ

    คนทำดี มีเท่าใด ในหล้าโลก
    คิดว่าโชค จะเข้า ข้างเจ้าหรือ ?
    อยากจะเป็น คนดี ที่โลกลือ
    ช่างซื้อบื้อ น่าทุเรศ สังเวชใจ

    เอาเถิดท่าน ตัวฉัน นั้นย่อมรู้
    ว่าฉันทำ อะไรอยู่ ไหวไม่ไหว
    เมื่อท่านติ ก็เป็นครู ดูต่อไป
    ถ้าไม่ดี เชิญติใหม่ ไม่ว่ากัน

    ไม่ย่อท้อ ต่อคำใคร ในโลกหล้า
    ปณิธาน หาญกล้า ยังคงมั่น
    จะทำดี ให้เลิศฟ้า กว่าไกวัล
    ตราบจนถึง ซึ่งนิพพาน ฉันจึงพอ

    ตอนนั้นต้องเรียกว่าเป็นการแต่งกลอนระบายอารมณ์ของตนเอง มาถึงตอนนี้ก็ยังนึกขำว่า ถ้าเราไม่ไปแบกสิ่งที่คนอื่นเขาทำเอาไว้ ก็ไม่ต้องมาเสียเวลาแต่งกลอนแบบนี้อีก

    ฝากกลอนนี้เอาไว้สำหรับท่านทั้งหลายที่ทำความดี แล้วมีแรงเสียดทาน มีแรงกระทบสูงมาก นำเอาบทกลอนนี้ไปเป็นเครื่องเตือนใจตนเอง ว่าสิ่งที่คนอื่นเขากล่าวมาว่ามานั้น ก็คือสิ่งที่เป็นมุมมองของเขา ส่วนตัวเราทำอะไร เพื่ออะไรนั้น ตัวเราเองจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    หลังจากนั้น กระผม/อาตมภาพก็ได้ทำการเจิมฉัตรยอดเจดีย์พระพุทธเจติยคีรีของวัดท่าขนุน ซึ่งพระพุทธเจติยคีรีนั้น พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงปู่สาย อคฺควํโส) อดีตเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ท่านได้สร้างเอาไว้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ผ่านมา ๓๑ ปี กระผม/อาตมภาพทำการบูรณะไปแล้ว ๒ รอบ เมื่อปี ๒๕๔๔ หนึ่งรอบ และเมื่อปี ๒๕๕๙ อีกหนึ่งรอบ

    มาถึงปีนี้ ปรากฏว่าฉัตรยอดเจดีย์นั้นได้ผุพังลงมา ตอนแรกพระในวัดก็บอกว่าจะทำการซ่อมด้วยตนเอง แต่กระผม/อาตมภาพเห็นว่า การซ่อมฉัตรนั้นก็เป็นการดี แต่ว่าเสียเวลาเนิ่นนาน เพราะว่าเราไม่ใช่ผู้ชำนาญการ

    อีกประการหนึ่ง พี่น้องไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า ทวาย กะเหรี่ยง หรือว่า ลาวพม่า ซึ่งคำว่า ลาวพม่านี้ จริง ๆ แล้วก็คือไทยโบราณ แต่ว่ามีสำเนียงพูดคล้ายกับคนลาว เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วเอ่ยปากออกมา คนไทยก็ไปว่าเขาเป็นคนลาว แต่ความจริงเป็นคนไทยเชื้อสายไทยโบราณที่โดนกวาดต้อนไป พร้อมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๑ นั่นเอง

    พี่น้องทั้งหลายเหล่านี้นิยมในการสร้างฉัตรยอดเจดีย์ และสร้างพระเจดีย์เป็นที่สุด กระผม/อาตมภาพจึงมอบให้หลวงตาดำ (พระดำริ สนฺติกโร) วัดวังปะโท่ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกที่กระผม/อาตมภาพเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ให้ท่านไปบอกกล่าวแก่ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง มาช่วยกันทำบุญกุศลในส่วนนี้

    ในเมื่ออยู่ ๆ บุญใหญ่ก็หล่นทับลงมา หลวงตาดำจึงใช้เวลาแค่ไม่กี่วัน ก็สามารถรวบรวมปัจจัยซื้อฉัตรยอดเจดีย์ทั้ง ๕ หลัง ใหม่เอี่ยมอ่องมาได้ นำมาให้กระผม/อาตมภาพทำการเจิมเป็นปฐมฤกษ์ แล้วก็ได้มอบหมายให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น นำไปฉลองที่วัดวังปะโท่ จะกี่วันกี่คืนก็แล้วแต่

    เมื่อฉลองเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดวันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลาระหว่าง ๘ โมงถึง ๙ โมงเช้า ให้นำฉัตรมาสวมถวายเป็นพุทธบูชา ที่ยอดเขาพระพุทธเจติยคีรี วัดท่าขนุน ตรงนี้ก็นับว่าเป็นบุญใหญ่อีกประการหนึ่ง ที่พี่น้องไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า กะเหรี่ยง ทวาย ลาว ตลอดจนกระทั่งคนไทยได้ ร่วมกันสร้างกองบุญการกุศลตรงนี้
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    หลังจากนั้น กระผม/อาตมภาพก็ได้ทำการเจิมฉัตรยอดเจดีย์พระพุทธเจติยคีรีของวัดท่าขนุน ซึ่งพระพุทธเจติยคีรีนั้น พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงปู่สาย อคฺควํโส) อดีตเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ท่านได้สร้างเอาไว้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ผ่านมา ๓๑ ปี กระผม/อาตมภาพทำการบูรณะไปแล้ว ๒ รอบ เมื่อปี ๒๕๔๔ หนึ่งรอบ และเมื่อปี ๒๕๕๙ อีกหนึ่งรอบ

    มาถึงปีนี้ ปรากฏว่าฉัตรยอดเจดีย์นั้นได้ผุพังลงมา ตอนแรกพระในวัดก็บอกว่าจะทำการซ่อมด้วยตนเอง แต่กระผม/อาตมภาพเห็นว่า การซ่อมฉัตรนั้นก็เป็นการดี แต่ว่าเสียเวลาเนิ่นนาน เพราะว่าเราไม่ใช่ผู้ชำนาญการ

    อีกประการหนึ่ง พี่น้องไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า ทวาย กะเหรี่ยง หรือว่า ลาวพม่า ซึ่งคำว่า ลาวพม่านี้ จริง ๆ แล้วก็คือไทยโบราณ แต่ว่ามีสำเนียงพูดคล้ายกับคนลาว เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วเอ่ยปากออกมา คนไทยก็ไปว่าเขาเป็นคนลาว แต่ความจริงเป็นคนไทยเชื้อสายไทยโบราณที่โดนกวาดต้อนไป พร้อมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๑ นั่นเอง

    พี่น้องทั้งหลายเหล่านี้นิยมในการสร้างฉัตรยอดเจดีย์ และสร้างพระเจดีย์เป็นที่สุด กระผม/อาตมภาพจึงมอบให้หลวงตาดำ (พระดำริ สนฺติกโร) วัดวังปะโท่ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกที่กระผม/อาตมภาพเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ให้ท่านไปบอกกล่าวแก่ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง มาช่วยกันทำบุญกุศลในส่วนนี้

    ในเมื่ออยู่ ๆ บุญใหญ่ก็หล่นทับลงมา หลวงตาดำจึงใช้เวลาแค่ไม่กี่วัน ก็สามารถรวบรวมปัจจัยซื้อฉัตรยอดเจดีย์ทั้ง ๕ หลัง ใหม่เอี่ยมอ่องมาได้ นำมาให้กระผม/อาตมภาพทำการเจิมเป็นปฐมฤกษ์ แล้วก็ได้มอบหมายให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น นำไปฉลองที่วัดวังปะโท่ จะกี่วันกี่คืนก็แล้วแต่

    เมื่อฉลองเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดวันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลาระหว่าง ๘ โมงถึง ๙ โมงเช้า ให้นำฉัตรมาสวมถวายเป็นพุทธบูชา ที่ยอดเขาพระพุทธเจติยคีรี วัดท่าขนุน ตรงนี้ก็นับว่าเป็นบุญใหญ่อีกประการหนึ่ง ที่พี่น้องไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า กะเหรี่ยง ทวาย ลาว ตลอดจนกระทั่งคนไทยได้ ร่วมกันสร้างกองบุญการกุศลตรงนี้
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    หลังจากนั้นกระผม/อาตมภาพก็เป็นประธานในการทำบุญถวายบูรพาจารย์วัดท่าขนุน ซึ่งความจริงวัดท่าขนุนนั้นน่าจะมีประวัติที่ยาวนานมาแล้ว แต่ว่าเพิ่งจะมาปรากฏชัดในปี ๒๔๗๒

    ที่มั่นใจว่ามีประวัติยาวนานกว่านั้น ก็เพราะว่าเมืองท่าขนุนนั้น เป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่ตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ในเมื่อเป็นชุมชน ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมของคนไทย คนพม่า คนมอญ คนกะเหรี่ยง มีหมู่บ้านที่ไหนก็ต้องสร้างวัดที่นั่น จึงทำให้มั่นใจว่าวัดท่าขนุนนั้น ต้องมีมาพร้อมกับเมืองท่าขนุนในตั้งแต่ต้น

    เพียงแต่ว่ามาปรากฏหลักฐานชัดเจนในปี ๒๔๗๒ ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรประพันธรำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระราชธิดาทั้ง ๒ พระองค์ในสมเด็จพระปิยมหาราช ในหลวงรัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาอ่อน ซึ่งทั้ง ๒ พระองค์นี้มีพระอุปนิสัยชอบในการเดินป่าเดินเขาเป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อได้มาประพาสป่าทองผาภูมิแล้วติดใจ จึงได้เดินทางมาซ้ำอีก พร้อมกับได้ขอพระราชทานพระพุทธรูปรัชกาล หน้าตักประมาณ ๑ ศอก ๒ องค์ และธรรมาสน์ทรงบุษบกฝีมือช่างหลวง ที่สามารถถอดประกอบได้ นำลงเรือมาถวายหลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล เจ้าอาวาสวัดท่าขนุนในช่วงนั้น จึงทำให้ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนขึ้นมา ชาวบ้านทั้งหลายจึงระบุลงไปว่า หลวงปู่พุกเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนรูปที่ ๑

    ถัดมาเมื่อหลวงปู่พุกล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว ชาวบ้านก็ได้นิมนต์หลวงปู่เต๊อะเน็ง โอภาโส พระกะเหรี่ยงนอก คือเป็นพระกะเหรี่ยงที่มาจากประเทศพม่า มาช่วยดูแลรักษาวัดอยู่ ๕ ปี แล้วหลวงปู่เต๊อะเน็งก็ได้ธุดงค์กลับพม่าไป ไม่ได้ย้อนกลับมาอีกเลย ทำให้วัดท่าขนุนชำรุดทรุดโทรมลง

    จนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปู่สาย อคฺควํโส ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่หลวงปู่เดิม วัดหนองโพธิ์ ได้เมตตาถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ ให้ ได้เดินทางธุดงค์มาทางด้านนี้ เพื่อที่จะข้ามไปแสวงบุญยังประเทศพม่า

    เมื่อเห็นสถานที่สงบสงัด เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่สายจึงได้ปักกลดอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดร้างท่าขนุน ชาวบ้านทั้งหลายในยุคนั้น นำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก ก็ได้เข้ามาอาราธนาหลวงปู่สายให้เป็นเจ้าอาวาส แต่ว่าหลวงปู่ท่านก็ไม่ได้รับปาก เมื่อธุดงค์ข้ามไปพม่า จนกระทั่งปี ๒๔๙๖ ท่านค่อยกลับมาปักกลดบริเวณนั้นอีกวาระหนึ่ง ชาวบ้านท่าขนุนจึงได้นิมนต์ซ้ำ

    หลวงปู่สายกล่าวว่าครูบาอาจารย์ของท่าน คือหลวงปู่น้อย เตชปุญฺฺโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ ยังมีชีวิตอยู่ ต้องไปกราบขออนุญาตให้ครูบาอาจารย์ท่านเอ่ยปากอนุญาต ท่านถึงจะกล้ามาเป็นเจ้าอาวาสให้ที่นี่
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    จนกระทั่งปลายปี ๒๔๙๗ นายบุญธรรม นกเล็ก พร้อมด้วยคณะ จึงได้เดินทางไปยังวัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ กราบเรียนหลวงปู่น้อย เตชปุญฺโญ ขออนุญาตให้หลวงปู่สาย อคฺควํโส ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ได้แห่หลวงปู่สายลงเรือมาเป็นเจ้าอาวาส และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๘ แล้วทำการพัฒนาวัดสืบมา

    แต่ว่าหลวงปู่สายเป็นพระที่รักสงบ เมื่อโดนญาติโยมรบกวนมาก ๆ จึงได้ละทิ้งตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ หนีเข้าป่าไปเป็นเวลาถึง ๗ ปี..!

    ในระยะนั้นทางคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีก็ได้ส่งพระภิกษุมาดูแลวัดอยู่หลายรูป หลายวาระ แต่ว่าไม่มีใครสามารถทนความลำบากอยู่ได้ เพราะว่านอกจากจะเดินทางลำบากแล้ว ยังมีโรคภัยไข้เจ็บ อย่างเช่นมาลาเรียรุนแรงมาก จนกระทั่งหลวงปู่เสงี่ยม ฐิตธมฺโม ซึ่งภายหลัง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูกาญจนเสลาภรณ์ได้มารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน

    ครั้นพอชาวบ้านได้ทราบว่าหลวงปู่สายนั้นธุดงค์ไปหลบซ่อนอยู่ที่ไหน ก็พากันขนคน ขนรถไปแห่แหนหลวงปู่สายกลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกวาระหนึ่ง ทำให้หลวงปู่เสงี่ยมท่านน้อยใจว่า ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านมากมายเหมือนกับหลวงปู่สาย จึงได้ออกจากวัดท่าขนุนไปอยู่ที่วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ภายหลังก็มรณภาพลงที่นั่น หลวงปู่สายจึงต้องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนสืบมา

    เมื่อสิ้นหลวงปู่สายแล้ว พระอธิการสมเด็จ วราสโย ก็ได้ดูแลวัดต่อมาเป็นระยะเวลา ๖ ปี จนกระทั่งสึกหาลาเพศไป พระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต ก็ได้ดูแลวัดต่อมาอีก ๑๐ ปี จนกระทั่งสึกหาลาเพศไปอีกรูปหนึ่ง
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,759
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,561
    ค่าพลัง:
    +26,401
    บรรดาพระลูกศิษย์หลวงปู่สายที่ทันท่าน ก็เป็นอันว่าหมดสิ้นไป ชาวบ้านเล็งว่ากระผม/อาตมภาพเคยมาขอศึกษาวิชาต่าง ๆ จากหลวงปู่สาย แล้วตอนนี้ก็พักอยู่ที่เกาะพระฤๅษี ซึ่งไม่ได้ไกลจากที่นั่นมากนัก จึงได้แห่แหนกันไปขอตัวกระผม/อาตมภาพมาเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

    ตามธรรมเนียมของทางวัดท่าขนุนนั้น ตั้งแต่หลวงปู่สายท่านได้มรณภาพลงในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๕ คณะศิษย์ก็ได้จัดการทำบุญถวายท่านทุกวันที่ ๑๔ ของเดือน แล้วพอวันที่ ๑๔ กันยายนของทุกปี ก็จัดทำบุญใหญ่เป็นงานประจำปี โดยทำบุญอุทิศอดีตบูรพาจารย์วัดท่าขนุนที่ล่วงลับไปแล้วทั้งหมด ไม่ว่าจะไม่ปรากฏชื่อหรือว่าที่ปรากฏชื่ออย่างเช่น หลวงปู่พุก หลวงปู่เต๊อะเน็ง หลวงปู่เสงี่ยม หลวงปู่สาย เป็นต้น

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถือว่าเป็นความกตัญญูกตเวทิตาที่แสดงออกอย่างชัดเจน เมื่อกระผม/อาตมภาพมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี ๒๕๕๑ จึงได้สืบสานการทำบุญวันบูรพาจารย์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    ดังนั้น..ในสิ่งใดที่เป็นของดี เราต้องรักษาเอาไว้ และพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป สิ่งใดที่เป็นของที่ยังไม่มี ถ้าเป็นไปได้ เราก็สรรหาให้มีขึ้นมา เพื่อความเจริญของวัดวาอาราม และของชุมชนที่จะได้ก้าวไปด้วยกัน

    สำหรับวันนี้ ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพุธที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...