บทความที่เกี่ยวกับ "พญานาค" น่าสนใจมากๆค่ะ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย lynn@nice, 4 พฤษภาคม 2011.

  1. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สวัสดีค่ะ เพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่าน ลินได้ไปอ่านบทความที่เกี่ยวกับ พญานาค ที่ คุณ อำพล เจน ได้เขียนเอาไว้อย่างละเอียด เห็นว่าบทความนี้ ดีมากๆและ หน้าสนใจเหมาะสำหรับบางท่านที่ยังไม่เคยอ่าน ลองเข้ามาอานกันนะคะ บทความจะเริ่มกล่าวเรื่องการสร้าง นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล ของคุณ อำพลเจน ก่อนค่ะ
    ( ขอบคุณ บทความดีๆ ของ คุณ อำพล เจน ด้วยค่ะ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2012
  2. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล 1
    มูลเหตุที่เกิดรูปราชาแห่งนาค ทั้งปวง (พญานาค 7 เศียร) ซึ่งได้นำไปสถาปนาฤทธิคุณและเดชคุณ เป็นปฐมที่เมืองหลวงพระบางก่อนจะจบปัจฉิมที่เมืองอุดรธานี เนื่องด้วยพยากรณ์ของสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม
    “หลังหลวงปู่ตาย 3 ปี บ้านเมืองจะเริ่มวุ่นวายเดือดร้อนให้พวกเจ้าศรัทธา และบูชาพญานาค ก็จะพ้นวิกฤตินั้นได้”

    พยากรณ์นี้สอดคล้องกับพยากรณ์โบราณของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) ผู้บูรณะพระธาตุพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2233 – 2235

    “ปี 2555 เมืองไทยจะเกิดวิกฤติ จนถึงขั้นอาจตกต่ำลงไป”

    และยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 90 กว่าปี อดีตเพื่อนสำเร็จตัน (ศิษย์สำเร็จลุน) ได้ย้ำพยากรณ์นี้ว่า

    “เริ่มแล้วนะ (2549) เค้าของความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏชัดเจน ขึ้นเรื่อย จนอีก 5 ปีข้างหน้า, ถ้าเป็นผู้อยู่ในศีลธรรมจะปลอดภัย”

    พยากรณ์ เหล่านี้ไม่ใช่พุทธทำนายที่ถือเป็นพยากรณ์โลก แต่เป็นแค่พยากรณ์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ทำนายเฉพาะถิ่น คือจำกัดอยู่เพียงบ้านเมืองของเราเท่านั้น

    กลัวไหม?

    แม้ไม่มีทางทราบว่าพยากรณ์เหล่านี้จะจริงหรือเท็จ, ผมรับว่ากลัว

    เมื่อกลัว ต้องหาที่ยึดเหนี่ยว

    มวลชนชาวขลังย่อมรู้ว่าที่ยึดเหนี่ยวของพวกเขานั้น มักจะคล้ายๆกันหรือเหมือนกัน

    อาจกล่าว ได้ว่ารูปราชาแห่งนาคนี้เกิดด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ความกลัวต่อภัยที่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นอะไร อย่างไรในอนาคต และเกิดด้วยการชี้นำของครูบาอาจารย์หลายองค์

    บางทีจะมีเหตุประการที่สามซ้อนเข้ามาด้วย นั่นคือความเป็นเครื่องระลึกถึง และบูชาคุณผู้พิทักษ์พุทธศาสนา
     
  3. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    ความเชื่ออันมั่นคงของชาวพุทธ ที่ว่า เหล่าพญานาคทั้งปวงเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนามาช้านานนับพันปีนั้นเป็นความจริง ที่ปรากฏในวัดพุทธทั่วโลก พญานาคเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

    ครั้งแรกที่ พญานาคปรากฏตัวในพุทธศาสนา น่าจะเป็นคราวที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จออกจากที่นั่นมาประทับที่ใต้ร่มต้นจิก และทรงเสวยวิมุติสุข (สุขจากการหลุดพ้น) อยู่ 7 วัน

    ไม้จิกที่พระพุทธองค์ทรง ประทับเสวยวิมุติสุขนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา และอยู่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย

    ใน มุจจลินทสูตรกล่าวว่า “สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ คอกไม้มุจลินท์ (จิก) ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน”

    บัลลังก์อันเดียว คือประทับนั่งอยู่กับที่แห่งเดียวตลอด 7 วัน
    “สมัย นั้น อกาลเมฆใหญ่บังเกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด 7 วัน มีลมหนาวมาประทุษร้าย (อกาลเมฆ คือเมฆฝนนอกฤดูกาล) ครั้งนั้นแลพระยามุจลินท์นาคราช ออกจากที่อยู่ของตนมาวงรอบพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนดหาง 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนพระเศียร ด้วยตั้งใจว่า ความหนาวอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค”

    พญามุจลินท์สัตตมัง เป็นพญานาค 7 เศียร ได้ถวายการอารักขาพระพุทธองค์จนพ้นจากแดดลมฝน และสรรพสิ่งที่อาจรบกวนพระองค์ตลอด 7 วัน

    นี่ คือเหตุแห่งการเกิดพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งเชื่อว่าเป็นปางที่เป็นที่สุดแห่งความสุขสมบูรณ์ พร้อมกันนั้นก็เป็นครั้งแรกสุดของการปวารณาตนของพญานาค เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์พระพุทธศาสนาตลอดมาจนวันนี้

    พญานาค มีจริงหรือไม่

    บน พื้นฐานของความเชื่อในเรื่องพญานาคนั้น มีพระไตรปิฎกเป็นหลัก ด้วยมีการกล่าวถึงพญานาคอยู่หลายวาระ แม้ผู้ไม่เชื่อในเรื่องพวกนาคก็ยังคงสงบปาก ไม่วิจารณ์เพราะเกรงว่าบางทีพญานาคอาจมีจริง

    ผู้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาแม้ไม่เชื่อ หรือไม่รู้จักพญานาค ย่อมรู้จักอัตรายิกธรรมทุกคน

    อัตรายิกธรรม คือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ 8 ข้อ อันพระอุปัชฌาย์จะต้องถามผู้ขอบวช 8 คำถาม

    1 ใน 8 คำถามนั้นคือ

    “ท่านเป็นมนุษย์หรือไม่”

    ความ จริงของเรื่อง นี้มีปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎก พญานาคตนหนึ่งฟังธรรมของพระพุทธองค์จนบังเกิดความเลื่อมใส คิดออกบวชเพื่อติดตามพระพุทธองค์ ซึ่งเวลานั้นเป็นห้วงครึ่งพุทธกาล อันพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตให้คณะสงฆ์เป็นคณะอุปสมบทผู้มีจิตศรัทธาในพระ พุทธศาสนาได้ พญานาคตนนั้นสบโอกาส จึงขอบวชกับคณะสงฆ์ และได้เป็นพระภิกษุสมใจปรารถนา

    หลังจากบวชแล้ว พญานาคตนนั้นได้พำนักในวัดที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ (วัดชื่ออะไรไม่ทราบ....ลืม) เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธองค์ แต่ความที่เป็นพญานาคจึงมีความเป็นอยู่แตกต่างไปจากมนุษย์ คือในขณะหลับโดยไร้สติในกุฏิของตนนั้น ร่างเดิมของพญานาคก็จะปรากฏขึ้น บังเอิญมีพระภิกษุรูปหนึ่งมาเห็นเข้าจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธองค์ และได้ทรงเรียกพญานาคตนนั้นเข้าเฝ้าให้พญานาคสิ้นสุดความเป็นภิกษุ แล้วทรงเมตตาประทานโอวาทธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติแก่พญานาค

    เมื่อ พญานาคผิดหวังในการบวช จึงทูลขอถวายคำว่า นาค ให้แก่ผู้ขอบวชเพื่อเป็นอนุสรณ์ พระพุทธองค์ทรงเมตตาตามคำทูลขอนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดคำว่า บวชนาค และเกิดอัตรายิกธรรม เป็นต้นมา

    บาง ทีการที่ทรงประทานอนุญาตนามนาคก่อนบวชเป็นพระภิกษุ อาจด้วยเหตุอีกประการหนึ่งหนุนอยู่ นั่นคือ สมัยอดีตชาติหนึ่งของพระพุทธองค์ ทรงเคยเสวยชาติเป็นพญานาคชื่อว่า ภูริทัตต์ รวมถึงพุทธสาวกอีกหลายองค์ ที่มีอดีตชาติเป็นพญานาค อย่างเช่น พระสารีบุตรและพระอานนนท์ ซึ่งเคยเป็นพญานาคชื่อว่า เทวทัตนาคราช

    พญานาคเกี่ยวข้องแน่นแฟ้นและลึกซึ้งกับพระพุทธศาสนาเช่นนี้จึงไม่มี ปัญหาอะไรกับการประทานนามนาค เอาไว้เป็นเครื่องรำลึกถึง
     
  4. บุญพามา

    บุญพามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    605
    ค่าพลัง:
    +1,566
    สวัสดีครับคุณ ลิน อ่านแล้วเป็นบทความที่ดี และ น่าสนใจมากจริงครับ
    ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆ มาแนะนำกันครับ...
     
  5. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สวัสดีค่ะ คุณ หมอ บทความนี้อาจจะเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคล แต่ ลินไม่อยากให้ใครคิดว่าโปรโมท แต่อยากจะให้ลองอ่านบทความที่เกี่ยวกับพญานาค ดูนะค่ะ มีหลายตอนทีเดียว จะ ค่อยๆนำมาลงให้ได้อ่านกันนะคะ ขอบคุณค่ะ
     
  6. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    พญานาคคืออะไร

    เมื่อพูดถึง ความเป็นพญานาค ต้องรับว่าเกิดจากความเชื่อ ซึ่งยากจะหาข้อบ่งชี้ หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เปรียบเสมือนเรื่องผี ที่มีทั้งผู้เชื่อว่ามี และไม่เชื่อว่ามี

    แต่พญานาคก็มีเรื่องราวกล่าวถึงมากมายทั้งในตำรา และคำบอกเล่าของผู้รู้ ผู้เคยสัมผัส

    ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงกำเนิด 4 แห่งพญานาคเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
    1. พญานาคเกิดจากไข่
    2. พญานาคเกิดจากครรภ์
    3. พญานาคเกิดจากเถ้าไคล หรือที่ชื้นแฉะ
    4. พญานาคเกิดขึ้นเองคล้ายเทวดา

    ในที่นี้จะกล่าวถึงการเกิดขึ้นเองอย่างเทวดา

    พญา นาคเป็นชาติภพอีกชั้นหนึ่ง มีความละเอียดและพิเศษกว่าสัตว์โลกหรืองูทั่วไป คือ มีสภาวะเป็นทิพย์ มีกำเนิดในลักษณะเดียวกับเทวดา เป็นการเกิดแบบที่เรียกว่า โอปปาติกะ โดยมีบุพกรรมเป็นตัวกำหนด

    ภพ ภูมิของพญานาค คือหนึ่งในภพภูมิของเทวดา ซึ่งมีอยู่ 16 ชั้น (ดังที่ปรากฏในบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสุตตัง) โดยแบ่งเป็นกามาวจรภพ 6 ชั้น และ อกามาวจรภพ 10 ชั้น เหตุที่แบ่งออกมาเป็น 2 กลุ่ม ก็เพราะว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มแรกที่มี 6 ชั้นนั้น เป็นภพภูมิที่ยังติดอยู่ในสุข ยังเสพย์กาม ส่วนกลุ่มหลังที่มี 10 ชั้นนั้น ไม่ติดอยู่ในกามแล้วเรียกว่า กามาวจรภพ เป็นภพภูมิของเทวดาชั้นต่ำ ส่วนอกามาวจร เป็นภพ ภูมิของเทวดาชั้นสูง

    6 ชั้นของกามาวจรภพ มีดังนี้
    1. ภุมมานัง (ชั้นต่ำสุด)
    2. จาตุมมะหาราชิกา โดยมีชั้นละเอียดกว่าซ้อนอยู่อีกชั้น เรียกว่าจาตุมะหาราชิกานัง แต่ก็ถือว่าเป็นชั้นที่ 2 ด้วยกัน
    3. ตาวะติงสา เรานิยมเรียกชั้นนี้ว่า ดาวดึงส์ จนถึงชั้นเปรียบเทียบว่ามีความสุขเหมือนขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และในชั้นนี้ยังมีรายละเอียดเข้าไปอีก คือ ตาวะติงสานัง
    4. ยามา ก็มีซ้อนกันอีกชั้นหนึ่งที่ละเอียดกว่าคือ ยามานัง
    5. ตุสิตา ที่เรียกว่าสวรรค์ชั้นดุสิต ก็ยังมีที่ละเอียดเข้าไปอีกคือ ตุสิตานัง
    6. นิมมานะระตี ซึ่งละเอียดประณีตเข้าไปอีกเป็น นิมมานะระตีนัง, ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี และ ปะระนิมมิตะวะสะวะตีนัง

    กล่าว คือ 6 ชั้นภพภูมิแรกนี้เป็นภูมิของเทวดาชั้นหยาบ จากชั้นที่ 7 ขึ้นไปเป็นชั้นละเอียดและสูงกว่าจนถึงชั้นสุดท้าย คือชั้นที่ 16 ที่เรียกว่าชั้นอะกะนิฏฐะกา รวมแล้วเรียก 10 ชั้นนี้ว่า ชั้นพรหม หรือสวรรค์ชั้นพรหม ส่วน 6 ชั้นแรกเป็นชั้นต่ำ และไม่ถือว่าเป็นพรหม

    ภพภูมิของพญานาคนั้นอยู่ชั้นแรกสุดคือ ชั้นภุมมานัง ซึ่งไม่มีความโลภ แต่ยังมีราคะ และโทสะ

    พญานาคจึงมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัว
    ภพภูมิ ชั้นภุมมานัง ยังคงเป็นภพภูมิของเทวดาที่มีทิพยอำนาจเหนือธรรมดา และอยู่ใกล้ชิดภพภูมิของมนุษย์มากที่สุด
    แหล่งกำเนิดของพญานาค มีทั้งบนบกและในน้ำ เรียกตามพระไตรปิฎกว่า ถลชะ เกิดบนบก และ ชลชะ เกิดในน้ำ
    กำเนิดพญานาคในแบบอุบัติขึ้นเอง ที่เรียกว่า แบบโอปปาติกะนั้น เกิดได้ทั้งบนบกและในน้ำ
    คือนอกจากจะอาศัยบุพกรรมเป็นตัวกำหนดแล้วยังอาศัยสัญญาเป็นตัวพาให้เกิดด้วย

    พญา นาคที่เกิดบนบกและในน้ำ มีการดำเนินชีวิตเหมือนกัน คือเป็นไปด้วยอำนาจทิพย์ สุดแต่จิตปรารถนา โดยมีเรือนกายที่ประกอบด้วยธาตุ 3 คือ ธาตุน้ำ, ธาตุลม และธาตุไฟ สามารถไปไหนมาไหนได้ทุกที่ และเสวยสมบัติทิพย์เหมือนเทวดา

    ส่วน ฤทธิ์และอำนาจของพญานาคจะมีมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับกรรมที่เคยสร้างไว้ในอดีตชาติเป็นตัวส่งผลดลให้ รวมทั้งรูปลักษณ์ของพญานาคเท่าที่มีผู้พบเห็นก็จะแตกต่างกันไปด้วย พญานาคตนใดบำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างกุศลจะยิ่งมีลักษณะงดงาม และสามารถเนรมิตกายได้หลายรูปแบบ

    ด้วยความที่เป็นเพียงภพภูมิแรกสุดของเทวดา พญานาคจึงมีหลากหลายสายพันธุ์ และหลายอุปนิสัย ทั้งใจดีและดุร้าย

    ดังเช่นความเชื่อของชาวหลวงพระบาง ยังเชื่อว่าหลวงพระบางเป็นแดนแห่งพญานาค และมีพญานาคอยู่ที่นั่นมากถึง 15 ตระกูล

    ถ้าจะเปรียบกับภพภูมิของมนุษย์ก็จะเหมือนชาติพันธุ์ของมนุษย์มีหลายเผ่าพันธุ์ มีทั้งไทย เขมร จีน ฝรั่ง แขก และคนผิวดำ เป็นต้น
    พญานาคก็คงจะแตกต่างทางสายพันธุ์เช่นเดียวกั
    นนี้
     
  7. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สายพันธุ์ของพญามุจลินท์นาคราช คือ พญานาค 7 เศียร ซึ่งสืบสายพันธุ์มาจนถึง พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) ซึ่งเชื่อว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว ส่วนฝั่งไทยคือ พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) เป็นกษัตริย์พญานาคฝั่งไทย แต่เป็นพญานาคเศียรเดียว ซึ่งกล่าวกันว่า ทั้ง 2 ราชาพญานาคนี้เป็นสหายกัน

    เรื่องราชาแห่งนาคทั้ง 2 นี้ หลวงปู่คำพันธ์เคยเล่าไว้ว่า ในผืนแผ่นน้ำของประเทศไทยของเรานั้น มีพญานาคราชเป็นใหญ่นามว่า พญาศรีสุทโธ ท่านชอบจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่าพญานาค 6 อำมาตย์ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำศีลภาวนา

    หลวงปู่เอ่ยชื่อ 6 อำมาตย์แห่งพญานาคไว้เพียง 3 คือ
    1. พญาจิตรนาคราช เป็นพญานาคที่รักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ตาลีฟู ถึงจังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำโขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง
    2. พญาโสมนาคราช มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาจนถึงวัดพระธาตุพนม สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราช มีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช คือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจ และโปรดปรานแก่พญาศรี สุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่น ๆ
    3. พญาชัยยะนาคราช มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำโขงลงทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ทำสงคราม คือชอบการต่อสู้เป็นนิสัย

    ส่วนฝั่งลาวนั้น มี พญาศรีสัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ทรงอำนาจเหนือกว่าพญานาคทั้งหลายใน 2 แผ่นดินนี้ แต่ท่านเป็นพญานาคที่ชอบจำศีลและประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนพญาศรีสุทโธนาคราช โดยชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือนกัน จนถึงกับมีการให้พันธะสัญญาแก่กันว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการความช่วยเหลือก็จะช่วยกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง สามารถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้อยใหญ่ประการใด

    พญาศรีสัตตนาคราช มีความเด่นสง่าด้วยมี 7 เศียร ซึ่งถือได้ว่าเป็นตระกูลพญานาคที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล มีความใกล้ชิดพระพุทธองค์ และพระพุทธศาสนา จนอาจถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งพญานาคทั้งหมด

    หลวงปู่คำพันธ์ยังได้ กล่าวอีกว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร หรือหากมีพิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

    เกี่ยว กับพญานาคที่วัดธาตุพนม มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า ในคืนขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปี 2500 (วันออกพรรษา) คืนนั้นมีฝนตกหนัก นายไกฮวดและภรรยา ได้ลุกขึ้นมารองน้ำฝนไว้ดื่มกินตอนกลางดึก บังเอิญเห็นลำแสงแปลกประหลาดสว่างเป็นลำโต ขนาดต้นตาล 7 ลำแสง และมีสีสันแตกต่างกัน 7 สี สวยงามมาก โดยที่ลำแสงทั้ง 7 พุ่งมาจากฟากฟ้าทิศเหนือ ด้วยลักษณะแข่งกัน คือแซงกันไปแซงกันมา จนพุ่งเข้าซุ้มประตูวัดธาตุพนมแล้วก็หายไป

    มีสามเณรรูป หนึ่งในขณะนั้นประทับทรงบอกนายไกฮวดและภรรยาว่าลำแสงทั้ง 7 คือ พญานาค มาจากเทือกเขาหิมาลัย มาเพื่อปกปักรักษาพระธาตุพนม และช่วยเหลือประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก

    แต่หลวงปู่คำพันธ์บอกว่า นั่นเป็นพญาศรีสุทโธนาคราช และอำมาตย์ทั้ง 6 แสดงฤทธิ์
    ใน โอกาสที่ท่านได้บอกกล่าวเรื่องพญานาคนี้ ท่านจึงได้กล่าวพยากรณ์ดังข้างต้นว่า พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัติที่จะ เกิดขึ้นหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 3 ปี

    นี่ก็ก้าวเข้าปีที่ 3 แล้ว จวนเจียนจะครบตามกำหนดในพยากรณ์ ซึ่งท่านบอกว่าจงสังเกตดูให้ดีจะเห็นความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ
    หลวงปู่คำพันธ์มรณภาพ เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546
    ผมก็ได้แต่ตั้งความหวังเอาไว้ว่า พยากรณ์ของท่านและเหล่าครูบาอาจารย์ในอดีตจงอย่าได้เป็นจริง

    อย่างไรก็ตามพญานาคก็หาได้มีแต่ในพุทธศาสนา หรือเพิ่งเกิดมีขึ้นในสมัยพุทธกาล
    พญานาคมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าโคดมและปรากฏตัวอยู่ในศาสนาอื่นๆหลายศาสนา เฉกเช่นมนุษย์ก็ยังคงนับถือศาสนาไม่เหมือนกัน

    ชาว ฮินดูถือว่าพญานาคเป็นสะพานเชื่อมโลกกับแดนเทพเทวา การสร้างเทวสถาน เช่น ปราสาทขอมทุกปราสาท จะมีสะพานนาค หรือบันไดนาคทอดยาวรับมนุษย์เข้าไปสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ข้างในปราสาท

    มี เรื่องเล่าไว้ในพระไตรปิฎก (มหาวรรค) ว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดชฎิล 3 พี่น้อง ที่ตำบลอุรุเวลา คือ อุรุเวลากัสสป, นทีกัสสป และคยากัสสป ซึ่งชฎิลทั้ง 3 นี้ มิได้รู้จักพระพุทธองค์ ไม่ได้นับถือพระพุทธองค์ แต่พวกเขานับถือบูชาพญานาคมาช้านาน

    พญานาคที่ชฎิล 3 พี่น้องนับถือบูชาก็ไม่รู้จักและนับถือพระพุทธองค์เช่นกัน
    พุทธองค์ทรงขอเข้าพำนักในโรงบูชาไฟของพวกตนมีพญานาคดุร้าย อาศัยอยู่ พระพุทธองค์หาได้หวั่นเกรงไม่

    พญา นาคเห็นพระพุทธองค์เข้ามาก็ไม่พอใจ จนในที่สุดแสดงฤทธิ์สู้กัน แต่ก็พ่ายแพ้ต่อพระพุทธองค์ ถึงกับถูกพระพุทธองค์จับพญานาคนั้นขดไว้ในบาตร และทรงแสดงแก่ชฎิลทั้ง 3 ว่า

    “ดูกร กัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว”

    หลังจากนั้น ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างจนคลายทิฐิมานะของชฎิลทั้ง 3 ได้ และสุดท้ายชฎิล 3 พี่น้อง ได้ขอบวชพร้อมทั้งบริวารหลายร้อยคน

    อีก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จพร้อมพระอรหันต์ 500 รูป สู่เทวโลก ได้เสด็จผ่านวิมานของเหล่านาคที่กำลังรื่นเริงสนุกสนานกัน วิมานนี้มี นันโทปะ นันทะนาคราช เป็นใหญ่เกิดความไม่พอใจในการเสด็จผ่านคราวนั้น จึงแสดงฤทธิ์เป็นนาคขนาดใหญ่พันโอบรอบเขาพระสุเมรุ ปิดบังทางผ่านไปสู่เทวโลกไว้ (ดาวดึงส์) แล้วร้องด่าท้าทายพระพุทธองค์อย่างสาดเสียเทเสีย

    พระอรหันต์สาวกรูป หนึ่งกราบทูลพระพุทธองค์ว่าให้ทรงเรียกพญามุจลินท์นาคราชมาปราบนันโทนาคราช และพระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ โดยตรัสบอกว่า เวลานี้ พญามุจลินท์กำลังทรงฌานอยู่ ไม่ทรงอยากเรียก ทรงเกรงจะเป็นบาปกรรม

    ซึ่งถือเป็นตัวอย่าง ต่อมาในภายหลังว่า เวลาพระภิกษุกำลังบำเพ็ญเพียร สมาธิภาวนาอยู่ไม่ควรรบกวน เพราะจะเป็นบาปนั่นเอง
    พญามุจลินท์ก็กำลังอยู่ในสมาธิภาวนาเช่นกัน

    ในที่สุดทรงอนุญาตพระโมคคัลลาน์ให้เป็นผู้ปราบนันโทนาคราชจนสิ้นฤทธิ์
    เรื่องพญานาคเกเรที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพญานาคนั้นมีอยู่แล้ว และเป็นพญานาคที่ไม่รู้จักพุทธศาสนาอีกด้วย

    พญานาคทั้งปวงจะเลื่อมใสศรัทธา และกลายเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนานั้นไม่ง่ายเลย
    เดชานุภาพ คุณานุภาพของพระพุทธองค์มีเป็นล้นพ้น
    เมื่อพญานาคหันหน้าสู่พุทธศาสนาแล้ว พญานาคก็อยู่คู่กับพุทธศาสนาตลอดมา
    และยังเป็นผู้เลื่อมใสในภารกิจพิทักษ์พระศาสนาที่ไม่เคยคลอนแคลนศรัทธา
     
  8. Dhanainan

    Dhanainan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,174
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=nLHOTb8tNo0]YouTube - พญานาค 4 ตระกูล 1[/ame]

    มาช่วยครับ ชอบๆ
     
  9. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    พญานาคในเชิงชีววิทยาไม่มีตัวตนจริง ดังนั้นความเห็นในเชิงนี้จึงเห็นพญานาคเป็นเพียงจินตนาการ และเป็นแค่สัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดค้นแทนสิ่งที่มีอยู่จริงในโลก


    ในเชิงสัญลักษณ์เห็นว่า พญานาค คือตัวแทนของน้ำ ดังเช่น สถาปัตยกรรมรูปเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีมหาสมุทรล้อมรอบนั้น แทนที่จะทำเป็นรูปน้ำล้อมรอบ ก็ทำเป็นรูปพญานาคขดลำตัวล้อมเขาพระสุเมรุ โดยหมายเอาว่า พญานาค คือ น้ำ นั่นเอง

    โดยนัยแห่งความคิดเห็นหรือ ความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ เชื่อว่าพญานาคเป็นความเชื่อของคนรุ่นโบราณ ซึ่งความเชื่อเก่าแก่นี้จะมีพื้นฐานมาจากความงมงายไร้สาระ หรือจากอะไรก็ตาม ยังคงเป็นคำถามที่หาคำตอบที่แน่ชัดได้ยาก แต่เมื่อคนโบราณเชื่อเช่นนี้ ก็ส่งผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีและเกิดรูปพญานาคในเชิงศิลป์เท่านั้น

    เคย สงสัยไหมว่า เหตุใดคนโบราณจึงมีความเชื่อในเรื่องพญานาค โดยที่ความเชื่อนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มคนกลุ่มเดียวหรือคนเพียงคนเดียว แต่ความเชื่อนี้กลับรุกล้ำเข้าในแทรกตัวอยู่ในลัทธิและศาสนาหลายศาสนา รวมทั้งคนอีกหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม

    ทำไมพญานาคจึงเกิดเป็นความเชื่อขึ้นมา

    คำ ถามนี้ก็เหมือนอีกหลาย ๆ คำถาม เช่น ทำไมคนจึงเชื่อว่าผีมีจริง ทำไมคนจึงเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ ทำไมคนจึงเชื่อเรื่องเทวดาและนางฟ้า
    คำถามเหล่านี้ไม่สามารถตอบในเชิงวิทยาศาสตาร์ เพราะไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนได้

    ถ้าจะมองในแง่ของวิทยาศาสตร์ จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ พิสูจน์ได้ จึงจะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือ

    เมื่อมองในเชิงนี้ก็จะเห็นทุกคำถามที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของไม่มีจริงทันที

    ในที่สุดแล้วทั้งผี นรกสวรรรค์ เทวดานางฟ้า และพญานาคก็ป็นแค่ความเชื่องมงายไร้สาระ
    ทั้ง หมดที่เป็นความงมงายไร้สาระกลับปรากฏอยู่ในพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ หลายศาสนา นั่นย่อมหมายความว่าพุทธศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องนี้ต้องเป็นศาสนาที่งมงายไร้ สาระด้วย


    คงต้องคิดดูว่าจะเลิกนับถือศาสนาเสียที เพราะว่ามีแต่เรื่องงมงายไร้สาระที่พิสูจน์ให้เห็นจริงไม่ได้เลย

    มีเรื่องตลกฝรั่งน่าคิดอยู่เรื่องหนึ่ง
    ชาย คนหนึ่งมีธุระจะไปที่ทำการไปรษณีย์ แต่ไม่ทราบว่าที่ทำการไปรษณีย์อยู่ที่ไหน บังเอิญเห็นนักบวชท่านหนึ่งอยู่แถวนั้นจึงปรี่เข้าไปถาม
    “คุณพ่อครับ ที่ทำการไปรษณีย์อยู่ไหน ช่วยชี้ทางให้ผมด้วย”
    “พ่อไม่รู้เหมือนกัน” นักบวชตอบ “แต่ถ้าลูกจะไปสวรรค์ พ่อก็พอจะชี้ทางไปสวรรค์ให้ลูกได้”

    วิทยาศาสตร์กับความเชื่อ

    วิทยา ศาสตร์เป็นรูปธรรม ส่วนความเชื่อเป็นนามธรรม แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อในเรื่องนาธรรมคือ ศาสนา ก็มีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขากล่าวไว้ว่า “ถ้าศาสนาใดจะเปรียบได้กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นคือพุทธศาสนา”

    ไอน์สไตน์ เห็นอะไรในพุทธศาสนา

    หากเขาไม่ด่วนตายไปเสียก่อน บางทีสิ่งที่เขาเห็นอาจจะกลายเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ในโลกแห่งวิทยาศาสตร์

    ถ้า จะพูดถึงพญานาคในแง่ของรูปธรรมกับนามธรรม คนต้องยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจว่า ความเชื่อที่ถือที่เป็นนามธรรม เมื่อมาเกิดเป็นรูปธรรมนั้นมีลักษณะอย่างไร

    เรา เชื่อว่านายจัน หนวดเขี้ยว แห่งบ้านบางระจัน มีตัวตนจริงโดยไม่มีข้อสงสัย แต่เราไม่มีทางรู้ได้ว่านายจัน หนวดเขี้ยว มีหน้าตาอย่างไร เป็นคนสูงต่ำดำขาวแค่ไหน คนที่เคยเห็นนายจัน หนวดเขี้ยว ก็ตายไปหมดแล้ว ไม่มีภาพถ่ายของนายจัน หนวดเขี้ยวให้ดูอีกด้วย
    เราผู้เชื่อว่านายจัน หนวดเขี้ยว มีจริง แต่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตา จะเห็นนายจัน หนวดเขี้ยว โดยจินตนาการ (นามธรรม)

    ครั้นวาดรูปหรือปั้นรูปนายจัน หนวดเขี้ยว (รูปธรรม) ให้ปรากฏขึ้นมาก็อาศัยจินตนาการเป็นหลัก

    ช่างวาด 10 คน ช่างปั้น 10 คน จะทำรูปนายจัน หนวดเขี้ยว ไม่เหมือนกัน

    แต่ ทุกคนดูรูปนายจัน หนวดเขี้ยวจากฝีมือช่างทุกฝีมือก็รู้ และเข้าใจตรงกันว่านี่คือ นายจัน หนวดเขี้ยว โดยยึดลักษณะที่ว่ามีหนวดเฟิ้ม และเรียวโง้งขึ้นไปทั้ง 2 แก้ม ซึ่งลักษณะนี้แม้จะเกิดด้วยจินตนาการ แต่มีพื้นฐานจากข้อเท็จจริงคือ เกิดจากเอกสารและคำบอกเล่า ของผู้ที่เคยเห็นนายจัน หนวดเขี้ยว ได้บอกเล่าหรือจดเอาไว้

    รูปพญานาคก็เช่นกัน คือเกิดขึ้นจากจินตนาการ และจินตนาการก็เกิดจากการได้รับฟังลักษณะของพญานาคจากผู้ที่เคยเห็นพญานาค อธิบายไว้

    พญานาคทุกฝีมือช่าง ทุกวัฒนธรรม ก็ไม่เหมือนกัน แต่มีลักษณะเด่นที่เหมือนกันคือ มีลำตัวเหมือนงูและมีหงอนบนหัว
    ถ้าหากเป็นช่างฝีมือจัดเป็นเลิศ และมีจินตนาการลึกล้ำ
    หงอนของพญานาคก็ยิ่งสวยงามจนถึงกับเป็นลวดลายกนก ดังเช่นพญานาคในจินตนาการของช่างศิลป์ไทย

    แม้ว่าการเกิดรูปพญานาคกับการเกิดรูปนายจัน หนวดเขี้ยว จะเกิดด้วยจินตนาการเหมือนกัน
    แต่ความเชื่อในนายจัน หนวดเขี้ยว เป็นที่ยอมรับทั่วไป
    ส่วนความเชื่อในเรื่องพญานาคไม่เป็นเช่นนั้น

    เมื่อมีผู้มาบอกว่าเคยเห็นนายจัน หนวดเขี้ยว คนทั้งหลายจะเชื่อว่า ผู้บอกนั้นเห็นนายจัน หนวดเขี้ยวจริง
    เพราะเชื่อเต็มหัวใจว่านายจัน หนวดเขี้ยวมีตัวตนจริง
    ตรงกันข้ามกับพญานาค
    ถ้าหากว่ามีผู้บอกเคยเห็น
    จะมีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ

    อย่าง ไรก็ตามการเกิดรูปของพญานาคและเรื่องราวของพญานาคในพุทธศาสนา ในตำนาน ในนิทาน หรือในคำเล่าลือ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่นักวิชาการสมัยใหม่เห็นว่านาคเป็นของไม่มีจริงในโลก ปัจจุบันอยู่ด


    ความเชื่อที่ว่าพญานาคไม่มีจริงจึงถูกตีความไปใน เชิงสัญลักษณ์ และเมื่อพญานาคกลายเป็นสัญลักษณ์แล้วก็ถูกตีความต่อไปว่าสัญลักษณ์นั้นหมาย ถึงอะไร

    ตัวอย่างที่เป็นความเห็นของนักวิชาการสมัยใหม่ที่เห็นว่านาคไม่มีจริงแต่เป็นเพียงสั
    ญลักษณ์

    “พุทธ ประวัติตอนหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมูลเหตุของการบวชนาค ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายถึงแนวความคิดผ่านภาวะ (Transition) เพราะเป็นการเปลี่ยนผ่านสถานะปกติจากบุคคลธรรมดาสามัญ หรือที่เรียกว่าเพศฆราวาส เพื่อเปลี่ยนเข้าสู่สถานะใหม่ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็นพระสงฆ์ หรือที่เราเรียกว่าเพศบรรพชิต
    ภาวะ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างโครงสร้างปกติ (Structure) ทั้งที่เป็นโครงสร้างอันเก่าและโครงสร้างอันใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
    สถานะที่อยู่ในช่วงนี้จึงยังคงกำกวม
    ผู้ที่ขอบวชเป็นนาคจึงมีข้อห้ามมากมาย
    เพราะการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ทางวัฒนธรรม
    จากโครงสร้างที่มีระเบียบทางวัฒนธรรมแบบหนึ่ง ไปสู่โครงสร้างที่มีระเบียบทางวัฒนธรรมอันใหม่ที่แตกต่างออกไป

    ดังนั้นสถานภาพของผู้จะบวชที่เรียกว่า นาคนั้น จึงต้องถูกจำกัดพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกรอบทางพิธีกรรมกำหนดกฎห้ามเอาไว้

    เรื่อง ราวต่างๆ ของนาคที่ปรากฏเป็นตัวละครสัญลักษณ์ในนิทานทั้งหลายที่พยายามเลื่อนสถานะ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา ทั้งการก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง โดยอาศัยพิธีกรรม เช่นเรื่องราวในพุทธประวัติตอนที่พญานาคขอบวชอยู่ใต้ร่มบวรพระพุทธศาสนา หรือการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง โดยอาศัยรูปแบบทางชีวกรรมผ่านสายโลหิตเดียวกับพระพุทธเจ้า
    ดังเช่นในนิทานพระอุปคุตที่มีปลา เงือก งู เข้ามากินอสุจิของพระองค์ แล้วให้กำเนิดออกมาเป็นพระอุปคุต
    ซึ่ง เป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งรูปแบบสัญลักษณ์ของท้องถิ่นให้เข้ามาสูกระแสคติ ทางพุทธ เพื่อให้คติทั้งสองอยู่ร่วมกันได้ รวมทั้งเรื่องราวการปฏิบัติธรรมเพื่อสะสมบารมีของพญานาค เพื่อให้บรรลุมรรคผลเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า

    นาคที่ปรากฏในเรื่องราวที่ผ่านมาทั้งหมด จึงมีสถานะเป็นผู้ที่อยู่ระหว่าง (betwixt between)
    หรือมีฐานะอยู่ในภาวะที่เรียกว่าเปลี่ยนผ่าน (transitional state)
    ทั้งหมดนี้ เพื่อก้าวเข้าไปสู่ภาวะชีวิตที่ดีขึ้นแบบพุทธอุดมคติ อันถือเป็นอุดมคติสูงสุดในการดำเนินชีวิตนั่นเอง”

    จะเห็นได้ว่าพญานาคในความหมายนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของสังคมแบบชาวบ้าน ก่อนจะเข้าไปสู่สังคมแบบพระภิกษุ

    มูลเหตุที่เห็นนาคเป็นสัญลักษณ์อย่างนี้ ก็มาจากความเชื่อที่ว่านาคไม่มีตัวตน
    แต่ กับผู้ที่เชื่อว่านาคมีจริง ก็จะเห็นตามพุทธประวัติว่ามีพญานาคมาขอบวชเป็นพระจริง และหลังจากนั้นพญานาคก็ขอถวายนามนาคเป็นที่ระลึกในการบวชของชาวพุทธจนทุก วันนี้

    เรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างนี้เป็นเรื่องที่ชี้ขาด ลำบาก ซึ่งคงต้องอาศัยคำพูดของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง ที่กล่าวถึงความเชื่อเรื่องผีว่า
    “ผู้ที่เคยเห็นผีก็จะเชื่อว่าผีมีจริง ผู้ที่ไม่เคยเห็นผี ก็จะเชื่อว่าผีไม่มีจริง”

    ความเห็นในเชิงสัญลักษณ์ของนักวิชาการสมัยใหม่นั้นจะว่าไปแล้วก็น่าจะมีพื้นฐาน
    หรืออาศัยแนวความคิดเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functionalism)
    ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฎีของเดอร์ไคม์ (Emile Durkheim)
    และใช้หลักการนี้ตีความทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสัญลักษณ์ ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสังคม

    ตัวเดอร์ไคม์เองก็แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
    “สังคมคือระบบของการกระทำที่เกิดจากแรงผลักของกระบวนการทางสัญลักษณ์” และ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์
    เกิดจากความสัมพันธ์ทางสัญลักษณ์เช่นกัน”

    แนวความคิดนี้จะมีพื้นฐานมาจากความเชื่อหรือไม่เชื่อเสียก่อน
    เมื่อไม่เชื่อเสียแล้วก็จะตีความทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสัญลักษณ์ไปหมด
    แต่ถ้าเชื่อก็จะไม่ตีความ หรือตีความไม่ได้

    สมมติ ว่าภายใต้แนวความคิดในทฤษฎีของเดอร์ไคม์ ไม่เชื่อว่านายจัน หนวดเขี้ยวมีจริง นายจันและชาวบ้านบางระจันก็จะถูกตีความเป็นสัญลักษณ์เช่นกัน
    อาจเป็น สัญลักษณ์ของความรักชาติ สัญลักษณ์ของการป้องกันประเทศชาติ สัญลักษณ์ของความสามัคคี สัญลักษณ์ของความช่วยเหลือกันและกันในสังคม
    รวมทั้งสัญลักษณ์ของศาสนากับการรักชาติ (พระอาจารย์ธรรมโชติ)
    ซึ่งสัญลักษณ์อันนี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับชาวบ้าน แม้จะอยู่ในสภาวะสงครามก็ยังคงมีความเกี่ยวเนื่องกัน
    และหากเห็นว่าพม่าไม่มีจริง
    พม่าก็จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของภัยจากภายนอกสังคมที่คนในสังคมต้องร่วมกันป้องกันและต่อสู้
    แต่นายจัน หนวดเขี้ยว และชาวบ้านบางระจัน ได้ป็นที่ยอมรับว่ามีจริง จึงไม่ถูกตีความในเชิงสัญลักษณ์

    อาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดนี้ที่ได้อธิบายในเชิงสัญลักษณ์ของแนวความคิดเดอร์ไคม์
    มีพื้นฐานมาจากการไม่เชื่อทั้งสิ้น
    และผมก็ไม่เชื่อในเดอร์ไคม์
    เพราะเดอร์ไคม์ไม่ใช่พ่อของผม
    ถึงแม้เดอร์ไคม์จะเกิดเป็นพ่อของผมจริง ๆ
    ผมก็มีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังพ่อของผมเหมือนกัน

    ดังนั้นผมจึงเห็นว่าฝ่ายที่เชื่อว่าผีมีจริง เพราะว่าเคยถูกผีหลอกมาแล้ว ควรจะมีผมเป็นพวกพ้องด้วยคนหนึ่ง
    เผื่อว่าอีก 100 ปีข้างหน้า ชื่อของผมจะกลายเป็นสัญลักษณ์กับเขาบ้าง
    แม้จะเป็นสัญลัษณ์ของความงมงายไร้สาระก็เอา

    เคยดูหนังเรื่องคนเหล็ก ภาค 3 ไหมครับ
    ในเรื่องนี้มีเหตุการณ์น่าขันอยู่ตอนหนึ่ง
    ซึ่ง คนเหล็ก (อาร์โนลด์) กับพระเอก และนางเอก ซึ่งอยู่ในฐานะที่ทุกคนเข้าใจว่าเป็นตัวประกัน ได้เข้าไปในสุสานเพื่อเอาอาวุธที่แม่พระเอกฝังซ่อนเอาไว้
    ต่อมานางเอกก็หนี หรือถูกตำรวจช่วยออกมาจากสุสานได้
    ก็มีนักจิตวิทยาหรืออะไรจำพวกนี้มาช่วยปลอบขวัญตัวประกันตามหน้าที่

    “คุณเป็นยังไงบ้าง” นักจิตวิทยาปฏิสันถารก่อน

    “เขา...เขา ไม่ใช่มนุษย์” นางเอกยังคงละล่ำละลักกับสิ่งที่ตัวเองประสบ ซึ่งก็คือหุ่นยนต์คนเหล็กที่ตอนนี้ยังถูกล้อมไว้ในสุสาน โดยตำรวจหลายสิบนาย

    “อะไรนะ” นักจิตวิทยาถามเหมือนจะหาข้อมูล

    “เขาไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ” นางเอกยืนยัน

    “ผม เข้าใจดี สำหรับภาวะจิตใจของตัวประกัน เพราะว่าผมก็เคยเป็นตัวประกันมาก่อน ความกลัวจะทำให้อะครีนาลีนพลุ่งพล่าน ทำให้เกิดจินตนาการเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่บ้าบอคอแตก สิ่งที่ไม่มีจริงในโลก...”

    ครั้นคนเหล็กแหกวงล้อมออกมาจากสุสาน
    นักจิตวิทยาท่านนั้นเห็นด้วยตามตนเองเข้าก็เผ่นแน่บไปก่อนใคร แบบพลิกตำราวิชาการที่ร่ำเรียนมาไม่ทัน

    คนที่ไม่เชื่อว่าผีมีจริง
    วันหนึ่งโดนผีหลอกเข้าบางทีจะช็อคจนเสียสติไปก็ได้
    ผิดกับคนที่เชื่อว่าผีมีจริงก็จะเห็นว่าผีเป็นเรื่องธรรมดา
    ผีจะหลอกกี่ครั้งก็เฉย ๆ ไม่ตกใจอะไร
    เพราะว่ามีความเชื่อและความเข้าใจในความเป็นผีเป็นอย่างดี

    ยังมีท่านผู้หนึ่งซึ่งเชื่อว่าพญานาคมีจริง
    จนกระทั่งได้กล่าวกับผมว่า

    “ถ้ามีใครบอกว่าพญานาคไม่มีจริง ให้มาบอกผม ผมจะไปเถียงกับมัน ผมเห็นพญานาคมากับตาตนเอง 2 ครั้ง ผมขอยืนยันว่า พญานาคมีจริง”

    ท่านผู้นี้คือ นายบุญตา หาญวงศ์ ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุบลราชธานี (ประธาน กกต. อุบลฯ)

    ท่านได้เห็นพญานาคด้วยตาตนเองที่บ้านเกิด
    คือที่บ้านบ่อน้อย อ.เชียงยืน จ.อุดรธานี
    โดยได้เขียนเรื่องประสบการณ์ในการพบเห็นพญานาค
    ไว้ในหนังสือที่ระลึกในคราวเกษียณราชการในตำแหน่งนายอำเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 21 สิงหาคม 2531

    “เมื่อข้าพเจ้ามีอายุประมาณ 5 ขวบ จำความได้ดี บิดาได้ไปช่วยญาติดำนาที่นาทาม (นาในที่ล่ม)
    ท่านได้พาข้าพเจ้าไปด้วย ซึ่งเวลานั้นข้าพเจ้ายังเดินไม่คล่องสำหรับพื้นที่นานั้น
    ท่านจึงให้ข้าพเจ้าขี่คอ

    ทางที่จะไปนาของญาติต้องผ่านหนองใหญ่ประจำบ้าน
    เรียกว่า หนองเลิง
    มีความกว้างและลึกพอสมควร มีร่องน้ำไหลผ่าน
    ชาวบ้านได้สร้างทำนบปิดกั้นร่องน้ำไว้ เพื่อให้ระดับน้ำในหนองสูงขึ้น
    ชาวบ้านได้ใช้ทำนบนี้เป็นทางเดินผ่านไปมา

    แต่ในตอนนั้นเป็นฤดูฝน น้ำมากจนล้นหนองและท่วมทำนบ ประมาณหัวเข่า
    ชาวบ้านก็ยังคงอาศัยทำนบนี้เป็นทางสัญจร แม้จะต้องเดินลุยน้ำก็ตาม
    เนื่องจากว่าเส้นทางนี้จะลัดสั้นกว่าทางอื่น

    วันที่เห็นพญานาคนั้นเป็นเวลา 5 โมงเย็น
    บิดาและข้าพเจ้ากำลังลุยน้ำบนทำนบจะกลับบ้าน
    ข้าพเจ้ามองเห็นสัตว์ 2 ตัว คล้ายงูขนาดใหญ่ประมาณเสาหน้า 4”-5” มีสีเขียวทั้งตัว
    แต่พื้นท้องเป็นสีแดงสลับขาว ตั้งแต่คางถึงหาง
    ตัว หนึ่งมีหงอนคล้ายไก่ตัวผู้ อีกตัวมีหงอนตูม ๆ คล้ายไก่ตัวเมีย ทั้ง 2 ตัวกอดเกี้ยวเล่นน้ำเสียงดังตูมตามอย่างสนุกสนาน ทำให้น้ำเกิดระลอกคลื่นซัดมาไม่ขาดระยะ

    ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นระคนดีใจประสาเด็ก
    ไม่เกิดความกลัวและถามบิดาว่านั่นอะไร
    บิดาข้าพเจ้าเอามือตีขาข้าพเจ้าเบาๆ และกระซิบว่า ไม่ต้องพูด ดูเฉย ๆ แล้วก็ยังคงค่อยๆ พาข้าพเจ้าเดินห่างออกมาเรื่อย ๆ

    ส่วนข้าพเจ้าได้แต่เหลียวดูจนสัตว์ 2 ตัวนั้นอยู่สุดสายตาแล้วหายไป

    เมื่อกลับถึงบ้านได้เล่าให้มารดาฟัง บิดาก็ห้ามไม่ให้ทั้งมารดาและข้าพเจ้าพูดเรื่องนี้ ซึ่งข้าพเจ้าไม่ทราบว่ามีเหตุผลอะไร”

    นี่เป็นการเห็นครั้งแรก

    ส่วนครั้งที่ 2 นั้น ท่านประธาน กกต. บุญตา หาญวงศ์ ได้เห็นในขณะอายุประมาณ 15 ปี

    “ข้าพเจ้าเข้าไปเรียนหนังสือในตัวจังหวัด ซึ่งอยู่ไกลจากบ้าน 10 กว่ากิโลเมตร
    ตอนนั้นโรงเรียนปิดเทอม 15 วัน จึงเดินทางกลับบ้าน ซึ่งเวลานั้นน้ำในห้วยหลวงจวนเจียนจะล้นฝั่งแล้ว เพราะว่าเป็นฤดูฝน

    ข้าพเจ้าได้พำนักอยู่ที่บ้านจนถึงเวลาโรงเรียนจะเปิดเทอม บิดาจึงเดินมาส่งข้าพเจ้า
    ใน ช่วงที่จะข้ามห้วยหลวง ขณะที่ข้าพเจ้าและบิดากำลังเดินข้ามห้วยหลวงโดยอยู่บนสะพานไม้ ก็มองเห็นงูขนาดใหญ่ตัวหนึ่งกำลังพันหลักไม้ที่โผล่พ้นน้ำ (หลักต้อน) กลางห้วย
    งูใหญ่ตัวนี้มีขนาดใกล้เคียงกับที่ข้าพเจ้าเคยเห็นตอนอายุ 5 ขวบ คือ ประมาณเสาไม้หน้า 4”-5” และเป็นงูที่มีลักษณะคล้ายกับที่เคยเห็นด้วย คือมีหงอนตูมเหมือนไก่ตัวเมีย มีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ข้าพเจ้าถามบิดาว่า นั่นงูอะไร บิดาก็ห้ามข้าพเจ้าไม่ให้พูดอะไร ให้อยู่เงียบ ๆ

    เมื่อข้ามสะพานพ้น แล้วก็เดินไปจนไกลจากงูตัวนั้นประมาณ 200 เมตร ข้าพเจ้าก็เห็นงูตัวนั้นคลายขนดลำตัวจากการพันหลักไม้ออก แล้วลอยตามข้าพเจ้าและบิดามาจนทัน แล้วจากนั้นก็ลอยด้วยความเร็วเท่ากับการเดินของข้าพเจ้าและบิดา โดยอยู่ห่างกันประมาณ 10 เมตร จนกระทั่งข้าพเจ้าถึงที่หมาย คือบนฝั่งที่พ้นจากน้ำท่วม งูตัวนั้นก็เหหัวลอยจากไป

    แปลกที่ลักษณะการลอยตัวของงูใหญ่นั้นเป็นการลอยทื่อๆ ตรงๆ เหมือนท่อนไม้ ไม่คดไปมาเหมือนงูทั่วไป"

    นี่เป็นประสบการณ์ที่ท่านประธาน กกต. บอกว่า ทำให้เกิดความเชื่อว่าพญานาคมีจริง

    ถ้าพูดถึงงูมีหงอนแล้ว ในเชิงชีววิทยาไม่มี
    แต่ก็มีการกล่าวถึงงูมีหงอนในนิทานเรื่อง “พรานงูเหลือม” ซึ่งนักวิจัยเห็นว่า พญานาคนั้นมาจากงูเหลือม

    นิทานเรื่องนี้กล่าวว่า งูเหลือมเมื่อมีอายุมากจะมีหงอน 7 หงอน จะอยู่ป่าไม่ได้ ต้องลงไปอยู่ในน้ำและกลายเป็นนาค
    ซึ่ง ข้อเท็จจริงแล้ว งูเหลือมแม้จะแก่เฒ่าแค่ไหนก็จะไม่มีหงอน ดังนั้นการโยงงูเหลือมให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า พญานาคเกิดจากงูเหลือมจึงไม่เป็นความจริง และยังขัดแย้งกับกำเนิดพญานาคในพระไตรปิฎกอีกด้วย (ความมีอยู่ในตอนที่ 1)

    เรียกว่าไม่เป็นความจริงทั้งแง่ความเชื่อ และในแง่ของชีววิทยา

    ถ้า หากมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นเทพตระกูลหนึ่งในชั้นภุมมานัง มีสภาวะเป็นทิพย์ มีทิพยอำนาจ สามารถเนรมิตกายได้หลายรูปแบบแล้ว ความพยายามที่โยงพญานาคให้มีตัวตนกับสัตว์ในโลกชีววิทยาจึงไม่สามารถทำได้ เช่นเดียวกับผี ซึ่งไม่อยู่ในภาวะของชีววิทยา แต่เป็นภาวะที่ไม่มีตัวตนในโลก จึงไม่สามารถโยงได้

    แต่กระนั้นตำนานหรือนิยายเรื่องแดร๊กคิวล่า หรือแฟรงเก้นสไตน์ ก็เป็นเรื่องที่โยงเอาผีมาเชื่อมกับมนุษย์ได้อยู่บ้าง

    ทว่านั่นก็เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการอย่างแท้จริง
    ผิดกับผีและพญานาค
    ซึ่งแม้เกิดรูปธรรมด้วยจินตนาการเหมือนกัน
    แต่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่าพญานาคมีจริง
     
  10. Dhanainan

    Dhanainan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,174
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=9keBXHdvjhQ&feature=related]YouTube - พญานาค 4 ตระกูล 2[/ame]

    พรุ่งนี้มีอีกสองตระกูลครับ มีปฐมเหตุที่พญานาคทะเลาะกับ พญาครุฑด้วยครับ
     
  11. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    การปรากฎตัวของนาคในศาสนาพราหมณ์ หรือก่อนหน้านั้นในยุคพระเวทที่มีคัมภีร์ยชุรเวท และอาถรรพเวท กล่าวถึง จนแม้คัมภีร์เก่าแก่ที่สุดคือ ฤคเวท ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่าความเชื่อในเรื่องพญานาคนั้นมีมาก่อนพระพุทธศาสนา

    แม้คัมภีร์เหล่านี้จะยังไม่เอ่ยคำว่า “นาค” หากแต่ใช้คำ “อหิ” ซึ่งแปลว่า งูใหญ่
    บรรดาเหล่านักวิชาการยังคงเชื่อว่ามีความหมายเป็นอันเดียวกัน

    คำว่า “นาค" เพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ศตปถะพราหมณะ และจากนั้นก็ใช้คำว่า “นาค” เรื่อยมาจนบัดนี้

    เมื่อจะพูดถึงพญานาคในเชิงความเชื่อ จะต้องลืมพญานาคในเชิงสัญลักษณ์

    ไม่เช่นนั้นจะพูดกันไม่รู้เรื่อง

    เรียกว่าการพูดเกี่ยวกับความเชื่อกับคนที่มีความเชื่อเดียวกันหรือในแนวทางเดียวกัน จะพูดกันรู้เรื่องง่ายที่สุด

    การ ศึกษาเรื่องของพญานาคในเชิงความเชื่อจะเห็นว่า นอกจากพญานาคจะมีอยู่ก่อนพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้ว ย่อมต้องแสดงว่ามีมาก่อนยุคพระเวทอุบัติขึ้นอีกด้วย

    ได้มีการพบหลัก ฐานเก่าแก่ที่สุดก่อนประวัติศาสตร์ ในภาชนะดินเผาของคนบ้านเชียง เป็นรูปเขียนสีที่เป็นภาพงู(นาค)อยู่มากมาย ทำให้เชื่อว่าคนบ้านเชียงในยุคสมัยนั้นรู้จักนับถือพญานาค
    ซึ่งคนบ้านเชียงในยุคนั้นก็คงจะยังไม่มีศาสนาให้นับถือ
    แต่ก็มีลัทธิบูชาพญานาคกันแล้ว

    อะไรเป็นเหตุให้คนบ้านเชียงเชื่อถือและบูชาพญานาค
    ย่อมเป็นคำถามเดียวกันที่จะถามว่า
    ทำไมชาวอะบอริจินที่เป็นชนเผ่าดั้งเดิมของทวีปออสเตรเลียจึงนับถืองู (พญานาค) เหมือนกับคนลาวทั้งประเทศ
    ทั้งๆที่ 2 ชาติพันธ์นี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน
    แต่กลับเชื่อถือและนับถือในสิ่งเดียวกัน

    ความเชื่อในเรื่องพญานาคมีปรากฏอยู่มากมาย ทั้งในและนอกศาสนา

    เป็นเรื่องน่าคิดว่าทำไมคนเหล่านี้ ที่มีสถานะและสังคมแตกต่างกัน จึงนับถือในสิ่งเดียวกันมานานแสนนานจนแม้ปัจจุบันนี้

    ว่ากันโดยมากแล้ว เรื่องราวของพญานาคมักปรากฏอยู่ในลักษณะของ myth
    ซึ่งก็คือ วรรณกรรมปรำปรา, เทพนิยาย ,นิทานโบราณ, ตำนาน หรือแม้แต่ศาสนตำนาน หรือศาสนนิทาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ปลงใจเชื่อได้ยาก

    ถ้า จะวิเคราะห์ myth ของพญานาคแล้ว ก็จะต้องทำใจให้เป็นกลาง ๆ จึงจะเห็นว่าใน myth ของพญานาคหรือของอะไรก็ตาม ย่อมมีทั้งสิ่งที่เชื่อได้และเชื่อไม่ได้ปนกันอยู่
    คือมีทั้งเรื่องจริงและไม่จริงอยู่ด้วยกัน

    ผมจะยกตัวอย่างการเกิด myth สักเล็กน้อย
    อย่างเช่น หลวงปู่รูปหนึ่งเล่าว่า “อาตมามีนิมิตว่าได้ลงไปในเมืองบาดาล ฯลฯ”
    ผู้ที่ได้ฟังก็จะไปเล่าต่อว่า “หลวงปู่เล่าว่าได้ถอดจิตลงไปเมืองบาดาล”
    ต่อมาก็มีผู้เล่าต่อไปอีก “หลวงปู่ท่านลงไปเมืองบาดาล (ด้วยตนเอง)"
    สุดท้ายเรื่องหลวงปู่นิมิต (ฝัน) ก็จะกลายเป็นความมหัศจรรย์ที่แสนพิสดารจนถึงขั้นเชื่อกันไม่ได้

    ทั้งหมดนี้เกิดด้วยความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่
    รวมทั้งเรื่องนิมิตของหลวงปู่ที่คลาดเคลื่อนไปก็ด้วยความเคารพเหมือนกัน

    ดังนั้นเรื่องของพญานาคใน myth ต่างๆ หรือในพระไตรปิฎก ก็คงจะเป็นในลักษณะนี้

    อย่างเช่นในคราวพระพุทธองค์เสด็จไปดาวดึงส์ แล้วนันโทนาคราชมาขวางทางไว้นั้น
    พระไตรปิฎกกล่าวว่า เสด็จเหาะไปพร้อมเหล่าอรหันตสาวก 500 รูป
    ซึ่งข้อเท็จจริงพระพุทธองค์คงไม่ได้เหาะ
    แต่ผู้จารึกพระไตรปิฎก จารึกด้วยความเคารพในพระพุทธองค์ เรื่องจึงกลายเป็นเหาะไปอย่างนี้

    ส่วนการเสด็จไปโดยวิธีใดนั้น ผมก็ไม่อาจทราบได้ และไม่สามารถวิจารณ์ แต่ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทรงเหาะไปอย่างแน่นอน

    เรื่อง เหาะของพระพุทธองค์มีปรากฏมากมายในหลาย myth เช่นใน “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก” ซึ่งเป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับพญานาค และเชื่อว่าเป็นหัวใจของตำนานอุรังคนิทาน ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธองค์กับสถานที่ต่างๆกับพญานาคในลุ่มน้ำ โขง เป็นเหตุให้เกิดศาสนสถานสำคัญหลายแห่งตลอดลุ่มน้ำโขง

    เรื่องมีอยู่ว่า สมัยนั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่เชตวันมหาวิหาร (วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา)
    ทรงพิจารณาถึงพุทธประเพณีโบราณว่า
    เมื่อ เสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาสาวกมักจะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานยังที่ต่างๆกันตามความ เหมาะสม พระองค์ทรงพิจารณามาทางภูมิภาคของลุ่มน้ำโขงนี้ จึงเสด็จพร้อมด้วยพระอานนท์และคณะพุทธสาวกอีกจำนวนหนึ่ง

    พูดแบบชาวบ้านก็คือ มาสำรวจหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั่นแหละครับ

    เมื่อ เสด็จถึงภูเขาหลวงริมน้ำบังพวน พญาปัพพารนาคได้มาถวายภัตตาหาร และภายหลังที่นี่ก็กลายเป็นพระธาตุบังพวนประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระธาตุหัวเหน่า)
    ต่อมาทรงเสด็จยังแคว้นศรีโคตบูรณ์ (จังหวัดนครพนม)
    ทรงรับบาตรที่ภูกำพร้า หรือดอยกัปปนคีรีแล้วทรงมีพุทธทำนายว่า ต่อไปที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุของพระองค์
    ซึ่งก็คือ พระธาตุพนมเดี๋ยวนี้
    หลัง จากนั้นเสด็จไปภูกูเวียน หรือภูพานในเขตจังหวัดอุดรธานี เพื่อเทศน์โปรดพญานาคทั้งหลายให้อยู่ในศีลในธรรม ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูกูเวียนใกล้ปากถ้ำสุวรรณนาค ที่หนองบัวบานให้แก่พุทโธปาปนาคอีกแห่ง และที่บนแผ่นหินโพนบกให้แก่นาคทั้งหลาย
    ต่อจากนั้นเสด็จไปที่ดอยนันทกัง ฮี ซึ่งพญาสีสัตตนาคทูลขอพระองค์ให้ทรงย่ำรอยพระบาทไว้ และพระองค์ทรงมีพุทธทำนายว่าในภายภาคหน้าที่นี่จะกลายเป็นเมืองชื่อว่าเมือง ศรีสัตตนาค หลังจากนั้นเสด็จกลับไปปรินิพพานที่เมืองกุสินาราย

    ตำนานนี้กล่าวว่า เสด็จมาทางอากาศ ซึ่งก็คือเหาะมานั่นเอง
    โดยข้อเท็จจริงแล้วคงไม่ได้เหาะ แต่จะเสด็จโดยวิธีใดไม่ทราบเหมือนกัน

    เกี่ยวกับการที่ทรงประทับรอยพระพุทธบาทให้แก่พญานาคนั้น ใช่จะมีแต่ในตำนาน
    ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงคือ
    ครั้ง ที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการแสดงธรรมในพิภพของพญานาคที่แม่น้ำนัม มทานที แคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดีย พญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งนัมมทานที
    รอยพระบาทนี้เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานาคทั้งหลาย ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    เหตุการณ์ นี้ในพุทธประวัติกล่าวว่าป็นพรรษาเดียวกันกับที่พระพุทธองค์เสด็จโปรดพระ มารดาที่ดาวดึงส์ และทรงจำพรรษาอยู่ที่นั่น ครั้นออกพรรษาแล้วจึงเสด็จไปพิภพพญานาค เพื่อแสดงธรรมและประทับรอยพระบาทไว้
    ชาว พุทธทั้งหลายต่างรู้และเข้าใจดีว่าวันนั้นคือวันพระเจ้าเปิดโลก ซึ่งเป็นวันที่เหล่าพญานาคแสดงความยินดีด้วยการแสดงฤทธิ์เนรมิตลูกไฟต่างธูป เทียน
    จนเกิดความสว่างไสวช่วงโชติชัชวาล
    เป็นการบูชาพระพุทธองค์
    นี่กระมังที่เป็นต้นเหตุของการเรียกลูกไฟที่เกิดขึ้นในวัน15ค่ำ เดือน11(วันออกพรรษา)ในลำน้ำโขงจังหวัดหนองคายว่า บั้งไฟพญานาค
    และหากบั้งไฟพญานาคมีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนนี้
    ก็ยิ่งทำให้เห็นว่าเรื่องราวต่างๆในตำนาน หรือนิทานปรำปราใช่จะไร้ความจริงไปทั้งหมด

    นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งชื่อว่า Malinowski ได้ให้ทัศนะว่า
    “วรรณกรรมปรัมปรา (myth) ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าที่ไม่มีแก่นความจริง แต่มาจากสิ่งที่มีอยู่จริง”
    ทำให้ต้องคิดว่า พญานาคที่ปรากฏอยู่ในที่ต่างๆทั่วโลก จะมีจริงหรือไม่
    แม้เรื่องเล่าที่ได้ฟังนั้นจะไม่ชวนให้เชื่อว่าพญานาคมีจริง
    ก็จะต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อนว่าพญานาคอาจมีจริง

    ดัง นั้นการอ่านตำนานหรือนิทานปรำปรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ขอให้เปิดใจกว้างเหมือน Malinowski ก็จะทำให้การอ่านการฟังสนุกขึ้น และเข้าใจถึงแก่นแท้ของตำนานง่ายขึ้น

    ต่อไปนี้เราจะมาดูในเรื่องของ วรรณกรรมโบราณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพญานาคที่มีความสัมพันธ์กับภูมิภาค 2 ฝั่งโขง รวมไปถึงพงศาวดารกำเนิดชนชาติลาวที่เชื่อว่าชนชาติลาว มาจากพญานาค
    ขอขอบคุณท่านผู้หนึ่งซึ่งได้มีมานะรวบรวม myth ของพญานาคเอาไว้จนง่ายแก่การค้นคว้า
    ท่านผู้นี้เป็นใครผมยังไม่ทราบชื่อ
    เอาไว้อ่านงานวิทยานิพนธ์หรือวิจัยของท่านไปเรื่อยๆจนพบว่า ท่านชื่อเสียงเรียงไร จะเอามากล่าวอีกทีหลัง

    โหมโรงด้วยบทประพันธ์ร้อยกรองของท่านกวีศรีสยาม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เสียก่อน

    “ล้านช้าง ล้านนา”
    สองมหาอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์
    สองนาคเนรมิตเป็นลำโขง
    หนึ่งศรีสตนาคอันจรรโลง
    สองหุตนาคโยงแผ่นดินดอน
    คือศรีสตนาคคนหุต
    เช่นขุดควักแดนแผ่นสิงขร
    เป็นสายน้ำตำนานแลนาคร
    อันกระฉ่อนเลื่องชื่อลือล้านช้าง
    บังเกิดโยนกนาคนคร
    สิงหนวัติบวรเวียงกว้าง
    ปู่เจ้าลาวจกแต่ก่อนปาง
    จวบหิรัญเงินยางสว่างเวียง
    แลสุวรรณโคมคำตำนานท่า
    เชื่อมล้านนาล้านช้างเป็นอย่างเยี่ยง
    มีมหาอาณาจักรแห่งเวียงเชียง
    ส่วยเสบียงเลี้ยงฟ้าเลี้ยงแผ่นดิน
    สองมหาอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์
    อารยธรรมสัมฤทธิ์ทั้งศาสตร์ศิลป์
    หล่อหลอมยุคทองของธรณิน
    เถลิงถิ่นล้านนาล้านช้างนิรันดร์"

    เพื่อ ขยายความเรื่องราวของการกำเนิดบ้านเมือง2ฝั่งโขง คือล้านช้างล้านนา ก็จะได้นำตำนานสุวรรณโคมคำมาเล่าโดยย่อ พอเป็นที่เข้าใจดังนี้
    เดิมพญา ศรีสัตตนาคราช และพญาสุตตนาค เป็นสหายกัน อาศัยอยู่ในหนองหลวงด้วยกัน วันหนึ่งขัดใจกันด้วยเรื่องการแบ่งปันอาหารจนระงับโทสะไม่อยู่ ลุกขึ้นต่อสู้กันจนในที่สุดก็อยู่ร่วมกันไม่ได้

    พญาศรีสัตตนาคคุ้ยควักแผ่นดินลงไปทางใต้ จนเกิดร่องทางคุ้ยควักเป็นแม่น้ำชุลนที ซึ่งคือแม่น้ำโขงเดี๋ยวนี้
    พญา ศรีสัตตนาคและบริวาร ได้อพยพลงมาทางนี้ จนได้มีโอกาสช่วยเหลือรักษาชีวิตเจ้าสุวรรณทวารกุมาร ที่ถูกแกล้งลอยแพไปตามลำน้ำให้กลับคืนสู่ท่าเสาโคมทอง
    แล้วช่วยเจ้าสุวรรณทวารกุมาร ทั้งบ้านเมืองที่นั่น คือ เมืองสุวรรณโคมคำจนสำเร็จ

    สมัย ต่อมา ธิดาพญานาค3พี่น้องได้ขึ้นมาจากพิภพพญานาคมาเที่ยวเล่นในไร่ของมานพหนุ่มผู้ หนึ่ง พอเที่ยวเล่นจนเป็นที่พอใจก็กลับพิภพพญานาค
    แต่บิดาพญานาคได้บัญชาให้ธิดาทั้ง3กลับคืนเมืองมนุษย์
    ให้ไปช่วยมานพหนุ่มผู้นั้น โดยการเนรมิตเรือสินค้าไปทำการค้าขายกับเมืองสุวรรณโคมคำ
    ทว่า เจ้าเมืองสุวรรณโคมคำกลับไม่ตั้งอยู่ในธรรม กลั่นแกล้งมานพหนุ่ม จนเป็นเหตุให้ธิดาพญานาคกลับไปฟ้องพญานาคผู้เป็นบิดาที่บังเกิดโทสะอย่าง ระงับไม่ได้ สั่งการให้บริวารพญานาคขึ้นมาพิภพมนุษย์จู่โจมทำลายเมืองสุวรรณโคมคำจนสาป สูญไป (จมน้ำ)

    ตำนานสุวรรณโคมคำได้ชื่อว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่า พญานาคกลุ่มแรกที่อพยพมายังแดนล้านช้างล้านนาคือ พญาสีสัตตนาคราช นั่นเอง

    ส่วนตำนานสังหนวัติกุมาร ได้แสดงเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับตำนานสุวรรณโคมคำ คือ เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องอย่างเหมาะเจาะ

    กำเนิดเมืองสิงหนวัตินคร เกิดด้วยพญานาคชื่อ พันธุนาคราช
    เนรมิต ตนเองเป็นพราหมณ์เข้าไปชี้แนะเจ้าสิงหนวัติกุมาร ผู้เป็นราชบุตรของกษัตริย์ฮ่อแห่งตระกูลไทยเมือง ชื่อ เทวกาล ให้ตั้งบ้านเมืองที่ริมฝั่งแม่น้ำชลนที แล้วพญานาคได้แสดงฤทธิ์ขุดคูรอบเมืองกว้าง 3000 วาโดยรอบทุกด้าน แล้วตั้งชื่อเมืองเป็นอนุสรณ์ระหว่างพญานาคกับมนุษย์ว่า “เมืองนาคพันธุสิงหนวตินคร”
    ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน”

    สองตำนานนี้จะว่าไปแล้วเท่ากับเป็นการแสดงกำเนิดแผ่นดินล้านนา (ภาคเหนือของประเทศไทย)

    ที นี้มาดูอุรังคธาตุนิทาน ซึ่งเป็นเอกสารตำนานแสดงการเกิดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งมีเรื่องราวเป็นอันเดียวกันกับตำนานสุวรรณโคมคำ หากแต่แตกต่างที่เป็นพญานาคคนละตน

    อุรังคธาตุนิทานแสดงเรื่องราวของพญานาคอย่างละเอียดและซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าตำนานสุวรรณโคมคำแบบเทียบกันไม่ได้
    อุรังคธาตุนิทานถือเป็นเอกสารตำนานเก่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์
    คือแสดงทั้งเรื่อง Myth และประวัติศาสตร์ของตัวบุคคลที่มีอยู่จริงไปด้วยกัน
    ผู้ เรียบเรียงอุรังคธาตุ คือ พระยาศรีไชยชมพู และคัดลอกต่อมาโดย อาชญาเจ้าอุปราชใน พ.ศ. 2404 ต้นฉบับแท้ดั้งเดิมปัจจุบันเก็บไว้ที่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร คือ เก็บไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ใครสนใจไปขอดูและค้นคว้าได้

    อุรังคธาตุนิทาน กล่าวถึงกำเนิดล้านช้าง ล้านนา ไว้ว่า

    "หนอง แส"เป็นสถานที่อยู่ของเหล่าพญานาคจำนวนมาก โดยมีพญานาค2ตน ชื่อว่า พินทโยนกวติ กับ ธนะมูลนาค เป็นสหายกัน ต่อมาทะเลาะกันเรื่องแบ่งปันอาหาร ทำให้ธนะมูลนาคอพยพลงไปทางใต้ โดยขุดคุ้ยควักแผ่นดินจนเกิดแม่น้ำมูลนที (แม่น้ำมูลทุกวันนี้) ส่วนแม่น้ำชี ก็เกิดจากการคุ้ยควักของชีวายนาค ผู้เป็นหลาน
    แม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี ก็มีความสัมพันธ์กันคือ ชีไหลลงมูลที่จังหวัดอุบลฯ ดูไปก็คล้ายว่า คุ้ยควักแผ่นดินมาด้วยกันแล้วแยกออกจากกันที่อุบลฯ

    เมื่อธนะมูลนาค อพยพหนีมาทางใต้แล้ว พินทโยนกวตินาคก็คุ้ยควักแผ่นดินไปทางตรงข้ามคือ ไปทางเหนือ โดยออกไปทางเมืองเชียงใหม่ เกิดทางนั้นว่า แม่น้ำพิง (ปิง) ส่วนวัง ยม และน่าน ตำนานไม่ได้กล่าวถึง


    จึงคาดว่าจะเกิดจากลูกหลานบริวารของพินทโยนกวตินาคคุ้ยควักไปก็เป็นได้ เพราะว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน


    คู่กรณี2ตนหนีจากหนองแสไปแล้ว ไม่นานหนองแสก็ขุ่นคลั่ก ทำให้เหล่านาคที่เหลือทนอยู่หนองแสไม่ได้

    จึงอพยพหนีออกไปอีกเป็นรุ่นที่ 2 ทำให้เกิดสถานที่สำคัญมากมาย
    สุวรรณ นาคหนีไปอยู่ปู่เวียน (ภูเวียน, ภูพาน) พุทโธปาปนาค ไปอยู่หนองบัวบาน ปัพพารนาค ไปอยู่ภูเขาหลวง สุกขรนาค ไปอยู่เวินหลอด หัตถศรีสัตตนาค อยู่ดอยนันทกังรี และเหล่าพญาเงือก งู ชั้นบริวารไปอยู่แม่น้ำงึม

    ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่แสดงการกำเนิดบ้านเมืองและสถานที่สำคัญ2ฝั่งโขง ทั้งล้านนาและล้านช้าง โดยมีเหตุกำเนิดมาจากพญานาค


    เรื่อง ของนาคอพยพลงมาทางใต้นั้นก็มาพ้องกับตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่ได้กล่าวไปแล้ว ทำให้เป็นที่น่าสังเกตุว่าแต่ละตำนาน (Myth) มีความสัมพันธ์กันอย่างน่าแปลกใจ


    เนื้อความในตำนานนี้ยังกล่าวถึงกำเนิดเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาวทุกวันนี้ไว้ด้วย

    ว่า เกิดจากสุวรรณนาคและบริวารช่วยสร้างเมืองเวียงจันทน์ เนรมิตสมบัติ ปราสาท สระน้ำ โรงข้าว และกำแพงรอบพระนคร ทั้งยังแต่งตั้งพญานาคทั้ง 9 รักษาบ้านเมืองไว้
    ตำนานนี้ได้ไปพ้องกับนิทานพื้นเมืองของชาวบ้านสีธานใต้และชาวเวียงจันทน์
    โดยมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า
    สมัย ก่อนเมืองเวียงจันทน์มีความผูกพันกับพญานาคเป็นอันมาก ถึงกับกล่าวว่า “แผ่นดินเป็นของมนุษย์ แม่น้ำเป็นของนาค” โดยเชื่อว่ามีเมืองบาดาลของนาคซ้อนกันอยู่กับเมืองเวียงจันทน์

    เมือง บาดาลนั้นปกครองโดยพญานาค7หัว (พญาสีสัตตนาคราช 7 เศียร) ผู้มีอิทธิฤทธิ์และชีวิตวนเวียนอยู่กับคน ระหว่างเมืองนาคและเมืองมนุษย์


    2 เมืองนี้มีเส้นทางไปมาหาสู่กัน (รูพญานาค)

    เมื่อมนุษย์มีเหตุร้าย (ชาวเวียงจันทน์) จะตีกลอง “หมากแค้ง” เป็นสัญญาณเรียกพญานาคมาช่วย

    เพราะเหตุนี้เมืองเวียงจันทน์จึงไม่เคยแพ้สงครามและอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา เพราะอำนาจพญานาค


    ต่อ มาพวกคนสยาม (มีวิชาอาคมดี) ปลอมตัวเป็นพระนุ่งผ้าขาวมาจำศีลอยู่ป่าหลายแห่งที่นครเวียงจันทน์ ได้แอบลอบถมรูนาคและทำลายกลองหมากแค้งทิ้ง จึงเป็นเหตุให้ชาวเวียงจันทน์เรียกพญานาคมาช่วยไม่ได้ เวียงจันทน์จึงถูกโจมตีทำลายกลายเป็นเมืองขึ้นของสยาม


    นิทาน “พื้นเวียงจันทน์” นี้เท่ากับตอกย้ำตำนานว่า มีพญานาครักษาเมืองเวียงจันทน์จริง


    อย่าว่าแต่ชาวนครเวียงจันทน์จะเชื่อถือเรื่องพญานาครักษาเมืองเลย

    แม้พงศาวดารสกลนครก็มีเรื่องเกี่ยวข้องกับพญานาคเหมือนกัน
    คือ ในสมัยของพระยาสุรอุทก เมืองหนองหารถูกทำลายลงโดยธนะมูลนาคซึ่งเป็นผู้รักษาแม่น้ำมูล ที่เป็นอาณาเขตระหว่างเมืองหนองหารกับเมืองอิน ทปัฐนคร
    เมื่อเมืองอินทปฐนครล่มสลายลง สุวรรณนาคได้อภิเษกเจ้าอภิงคาร เป็นเจ้าเมืองใหม่ และได้นามตามพญานาคว่า พระยาสุวรรณภิงคาร

    สุวรรณนาคนี้คือ พญานาคผู้รักษารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ทรงประทับไว้ที่บริเวณริมหนองหารนั่นเอง


    พงศาวดารล้านช้าง ได้กล่าวถึงฤๅษีพี่น้องแปงเมืองล้านช้างขึ้นมา

    โดยประกอบด้วยเมืองเชียงทอง(เอาต้นทองเป็นนิมิต) เมืองเชียงคง(เอาต้นคงเป็นนิมิต)
    เมืองล้านช้าง(เอาภูมิช้างเป็นนิมิต) และศรีสัตตนาคนหุต(เอาพญาศรีสัตตนาคราชเป็นนิมิต)
    แล้วเรียกว่า “ศรีสัตตนาคนหุตราชธานีศรีเชียงคงเชียงทอง” ซึ่งปรากฏเรื่องราวของนาคพ้องกันกับอุรังคนิทาน

    เรื่อง ราวของพญานาคใน Myth ต่าง ๆ มีปรากฏมากมายหลายยุคสมัย เป็นเหตุให้น่าจะตั้งข้อสังเกตุว่า พญานาคมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในภูมิภาคนี้

    จนเกิดเป็นความเชื่อถือและนับถือพญานาคนั้น
    น่าจะมีเหตุมาจากพญานาคมีจริง
    จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับผู้คนทั้งในแง่การสร้างบ้านแปงเมือง และช่วยเหลือผู้คนมาแต่โบราณกาล
    จะมีเหตุลอยๆด้วยการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนทุกชาติภาษามานับถือและเชื่อถือพญานาคคงจะ
    ไม่ได้

    พฤติกรรม ของพญานาคในอดีตที่แสดงออกไปถึงการมีส่วนร่วมกับสังคมมนุษย์ ทั้งในแง่การปกครองและการป้องกันภัยอันตรายให้ผู้คนและบ้านเมืองนั้น

    ปัจจุบันพฤติกรรมของพญานาคได้เปลี่ยนไป
    กลายมาเป็นผู้พิทักษ์ศาสนา สถานที่สำคัญ และศาสนสถานมากขึ้น
    ความเกี่ยวข้องอย่างในอดีตลดน้อยลง

    ต่อไปจะได้พูดถึงบทบาทของพญานาคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน และสถานที่สำคัญ

    ซึ่งจะยังคงใช้เวลาอยู่กับพญานาคอีกพอสมควร ด้วยมีข้อมูลมากมายที่ยังหวังจะให้ผู้อ่านทำความเข้าใจและใกล้ชิดพญานาคมากขึ้น
    ผมไม่หวังอะไร แค่หวังจะทำอะไรสักอย่างเพื่อระลึกถึงคุณของผู้พิทักษ์พระศาสนาเท่านั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  12. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    พรุ่งนี้มีอีกสองตระกูลครับ มีปฐมเหตุที่พญานาคทะเลาะกับ พญาครุฑด้วยครับ

    ขอบคุณ มากๆนะคะ ช่วยๆกันค่ะ
     
  13. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า วรรณกรรมปรัมปรา (Myth) ย่อมจะมีทั้งความจริงและไม่จริงปนกันอยู่ แต่ฐานของข้อมูลโดยมากมักจะมาจากข้อเท็จจริงอันเดียวกัน
    คือในทุกๆMythของพญานาค ล้วนมาจากความเชื่อว่าพญานาคมีจริง จึงเป็นเหตุให้เกิด Myth ต่างๆมากมาย และปรากฏเรื่องราวพิสดารควบคู่ไปด้วย

    ความเชื่อของผู้ที่เชื่อว่าพญานาคมีจริง
    เป็นความเชื่อที่ใครก็ลบล้างไม่ได้

    เหมือนความเชื่อของหลวงปู่ครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรมแล้ว ย่อมเชื่อว่าพระนิพพานมีจริง
    ใครก็ลบล้างไม่ได้
    ถ้าลบล้างได้
    หลวงปู่ก็คงต้องสึกอย่างไม่ต้องสงสัย

    เฉก เช่นพระอเสกขาที่หาพระนิพพานไม่เจอ จึงทำระยำตำบอนอย่างที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ เห็นแล้วสลดใจมาก ถึงกับแสดงภาพกำลังจะร่วมเพศกับสีกาก็มี

    ลักษณะนี้คือ นอกจากจะล้มเลิกความเชื่อในพระนิพพานแล้วยังรวมไปถึงไม่เชื่อในบาปบุญ หรือนรกสวรรค์ จึงมีความกล้าสามารถที่จะกระทำการอันผิดวิสัยของสมณเพศ โดยไม่พรั่นพรึงต่ออะไรทั้งสิ้น

    สำหรับผู้ที่มีความเชื่อโดยไม่คลอนแคลนในพญานาคที่เป็นมวลใหญ่ที่สุด เห็นจะเป็นคนลาวทั้งประเทศ
    เชื่อไปถึงที่สุดว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพญานาค
    จน กระทั่งปรากฏเป็นพงศาวดารลาว และกล่าวถึงการกำเนิดคนลาวและชนชาติลาวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคอย่างเต็มที่ เต็มทาง ดังเนื้อหาโดยย่อต่อไปนี้
    “นานมาแล้ว ยังมีคนพวกหนึ่งย้ายตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่น้ำโขง ข้างภูเขาในแดนเสฉวนของจีนปัจจุบัน มีหญิงคนหนึ่งในหมู่คนพวกนั้นมีลูกแล้ว 8 คน วันหนึ่งไปช้อนปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เกิดมีขอนไม้ประหลาด มีเกล็ดสากๆลอยมาพาดขาของนาง โดยที่นางเองไม่ทราบว่าเป็นอะไร เข้าใจแต่เพียงว่าเป็นขอนไม้พิลึกๆเท่านั้น
    จากนั้นมานางได้ตั้งครรภ์ลูก คนที่ 9 และให้กำเนิดลูกคนที่ 9 จนกระทั่งลูกคนที่ 9 เจริญวัยพอวิ่งเล่นได้ นางได้พาลูกๆทั้ง 9 คนไปช้อนปลาที่ริมฝั่งโขงอีกครั้ง ขณะนั้นมีนาคตัวหนึ่งปรากฏตัวขึ้นแล้วร้องถามนางว่า “ลูกเราอยู่ไหน” นางตกใจร้องเสียงหลงว่า “เก้าหล้ง”
    นางกับลูกทั้ง 8 คนวิ่งหนีไปได้ เว้นแต่ลูกคนเล็กคือ คนที่ 9 หนีไม่ทัน พญานาคได้ขึ้นมาแลบลิ้นเลียด้วยความรัก
    ต่อ มาเมื่อลูกทั้ง 9 คน เติบใหญ่แล้ว ปรากฏว่าลูกคนที่ 9 มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าใคร ๆ คนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันยกให้เป็นหัวหน้าปกครองหมู่คณะ และสื้บเชื้อสายเป็นทอด ๆมา จนกลายเป็นต้นกำเนิดของชนชาติลาว โดยเรียกว่า พวกอ้ายลาว”

    พงศาวดารลาวนี้ใช่จะเป็นเรื่องเป็นราวลอย ๆในอากาศก็หาไม่ แม้พงศาวดารจีนก็มีกล่าวถึงไว้ใกล้เคียงกันดังนี้
    “ถิ่น ฐานดั้งเดิมของชาติลาวตั้งอยู่บริเวณภูเขาอ้ายลาว (เมืองเสฉวนทุกวันนี้) ริมแม่น้ำโขงที่เรียกชื่อว่า “เก้าหล้ง” โดยที่จีนเรียกว่า “กิวลุงเกียง” แปลว่า แม่น้ำนาคทั้ง 9 หมายความว่าเป็นถิ่นฐานของชาย 9 คน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดชนชาติลาว”
    พวกอ้ายลาวจึงนิยมนับถือนาค มักจะสักรูปนาคใส่แขนและขา จนเป็นเอกลักษณ์ของพวกอ้ายลาวสมัยนั้น

    ความ เชื่อในพญานาคของชนชาติลาวยังมีปรากฏในพงศาวดารจีนว่า แม้แต่เมืองแทบทุกเมืองของพวกอ้ายลาวที่ได้ตั้งขึ้นและอาศัยอยู่ล้วนมีความ เกี่ยวข้องกับพญานาคทั้งสิ้น
    ดังที่ได้ปรากฏในงานวิจัยเรื่อง นาค ของนางคำผุย พลลือชา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จังหวัดกำแพงนครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    “เมือง ลุง หรือนครลุง เป็นเมืองหลวงของชาติลาวในสมัยอ้ายลาว เนื่องจากพวกจีนเรียก พวกอ้ายลาวทั้ง 9 ว่า พวกลี และเรียกประเทศของพวกลีว่า ประเทศจก คำว่า หลง กับ ลี คงจะเป็นคำเดียวกัน ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น ลุย แล้วเพี้ยนเป็น ลวง ที่สุดก็กลายเป็น ลาว ดังนั้นที่จีนเรียกว่า กิ้วหล้ง หรือกิวลุงนั้น จึงหมายถึง ลาวทั้ง 9 หรือนาคทั้ง 9 คำว่า ลุง ที่กลายมาเป็นชื่อ เมืองลุง หรือนครลุง จึงมีความหมายว่า นครนาค นั่นเอง

    ต่อมาเมื่อประมาณ 843 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติตาดได้เข้ามารุกรานพวกจีนแล้วเลยเข้ามารุกรานพวกอ้ายลาวถึงนครลุง ชนชาติลาวสู้ไม่ได้จึงอพยพหลบหนีลงมาอยู่ที่นครปา และสร้างนครใหม่ขึ้นอีกคือ นครเงี้ยว หรือเมืองเงี้ยว ชื่อของเมืองใหม่ก็ยังคงสัมพันธ์กับนาค เพราะว่า เงี้ยว แปลว่า งู และ งู ก็คือ นาค (งู เป็นคำลาว นาคเป็นคำบาลี)
    จากนั้นมา 70 ปี ชนชาติจีนได้เข้ามารุกรานนครปาและนครเงี้ยวของพวกลาวอีก ชาวลาวจึงอพยพหนีลงมาทางใต้ของเมืองเสฉวน โดยมาสร้างอาณาจักรใหม่ที่หนองแส เรียกว่า อาณาจักรลาวหนองแส หรืออาณาจักรน่านเจ้า”

    หนองแสเป็นบึง ใหญ่ อยู่ตะวันออกของแม่น้ำโขง ในเขตมณฑลยูนนานของจีน สมัยโบราณ ลาวเรียกบึงนี้ว่า หนองแส หรือหนองกระแส แสนย่าน แต่จีนกลับเรียกว่า ตาลีฟู

    อาณาจักร หนองแสนี้มีเรื่องราวกล่าวถึงความเชื่อในพญานาคอยู่ไม่น้อย ปรากฏอยู่ในนิทานและตำนานหลายเล่ม เช่น ในเรื่องขุนทึง กล่าวว่า ขุนเทืองไปได้กับลูกสาวพญานาคอยู่หนองแสชื่อ เอกไคล้ และได้ลูกคนหนึ่งชื่อ ขุนทึง ต่อมาขุนทึงได้มาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น
    ทั้งขุนเทือง ขุนทึง เชื่อว่าเป็นพวกขอมที่สืบเชื้อสายมาจากพระนางจามเทวีที่ครองเมืองหริภุญไชย ในระหว่างปี พ.ศ. 1008

    ตอน นั้นพวกอ้ายลาวก็อพยพมาอยู่หนองแสแล้ว พวกขอมกับลาวจึงไปมาหาสู่กันตลอดเวลาหลายชั่วคน จนขุนเทืองมาได้กับนางเอกไคล้ ผู้เป็นลูกกษัตริย์เมืองหนองแส จึงได้กล่าวว่า นางเอกไคล้เป็นลูกสาวนาคหนองแส เพราะว่าชาวอ้ายลาวสืบเชื้อสายมาจากนาค จึงเรียกพวกอ้ายลาวว่า นาคทั้งชนชาติ

    ต่อมาอาณาจักรหนองแส ได้ถูกชนชาติจีนรุกรานอีก จึงอพยพลงมาสร้างเมืองใหม่อยู่ทุ่งนาน้อยอ้อยหนู เกิดเป็นอาณาจักรแถน จีนเรียกอาณาจักรแถนว่า เก้าหล้ง และเรียกเมืองแถนว่า เมืองกาหลง ซึ่งมาจากคำ เก้าหล้ง และมีความหมายว่าเป็นเมืองนาคตามเดิม

    จาก พงศาวดารต่างๆนั้น ทำให้เห็นชัดเจนว่า ชนชาติลาวมีความเชื่อในพญานาคอย่างแน่นแฟ้น ชื่อเมืองทุกเมืองล้วนเกี่ยวเนื่องกับพญานาคทังสิ้น ไม่เพียงแต่การตั้งชื่อเมืองให้เกี่ยวข้องกับพญานาค หากแต่ยังปรากฏคติความเชื่อในการหาฤกษ์งามยามดีในการขึ้นครองราชย์ของเจ้า นครอีกด้วย เช่น ขุนบรมราชาธิราช เจ้านครหนองแส ผู้สร้างเมืองแถนจนสำเร็จ จึงหาฤกษ์ขึ้นครองเมืองแถน ซึ่งหาได้วันที่ราหูเข้าสู่ราศีตุลย์ สัตว์คู่ราศีคือ พญานาค

    ความสัมพันธ์ระหว่างนาคกับนครต่าง ๆ ของชาวลาวไม่ได้สิ้นสุดอยู่ในสมัยขุนบรม สายสัมพันธ์นี้ยังสืบทอดมาถึงรุ่นลูกของขุนบรมคือ ขุนลอ ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองเชียงคง เชียงทอง (หลวงพระบาง) โดยมีการหมายเขตแดนเมืองดังตำนานว่า “เอาโง่นหมิ่นหลวงเป็นหางนาค เอาปากน้ำคาน (ที่ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขง) เป็นหัวนาค" แล้วเรียกชื่อนครนี้ว่า “นครเชียงทองสีสัตตนาค” กลายมาเป็น นครหลวงพระบางจนทุกวันนี้

    หลวง พระบางได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งนาค ชาวหลวงพระบางเชื่อถือในพญานาคอย่างแนบแน่นในจิตใจ จนถึงกับปรากฏความเชื่อในเรื่องบรรพบุรุษของชาวหลวงพระบางคือ พญานาค 15 ตระกูล และพญานาคทั้ง 15 ตระกูล ก็ยังอยู่ประจำรักษาเขตแดนต่างๆดังนี้

    พญา นาคตระกูลที่ 1 อยู่แก้งหลวงน้ำช่วง ตระกูลที่ 2 อยู่สบบ่อ ตระกูลที่ 3 อยู่คกเรือ ตระกูลที่ 4 อยู่แก้งอ้อย ตระกูลที่ 5 อยู่สบเชือง ตระกูลที่ 6 อยู่แก้งตังนาย ตระกูลที่ 7 อยู่สบโฮบ ตระกูลที่ 8 อยู่แก้งหลวง ตระกูลที่ 9 อยู่พูสี ตระกูลที่ 10 อยู่หนองตาบาก ตระกูลที่ 11 อยู่ท่าท้าง ตระกูลที่ 12 อยู่ปากคาน ตระกูลที่ 13 อยู่ผาเผือก ตระกูลที่ 14 อยู่พูช้าง และตระกูลที่ 15 อยู่พูชวง
    (ด้วยเหตุที่หลวงพระบางเป็นแดนแห่งพญานาคดัง กล่าวนี้ จึงเป็นความเหมาะควรโดยประการทั้งปวงที่จะเป็นสถานที่สถาปนาฤทธิ์เดชให้กับ นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาลที่สภาบุญได้จัดสร้างขึ้น และกำลังเป็นกระแสเชี่ยวกรากให้ผู้เสื่อมใสศรัทธาได้สัมผัสในขณะนี้)

    ความ สัมพันธ์ระหว่างพญานาคกับคนลาวที่ปรากฏในตำนานนิทานหรือพงศาวดารมักจะมี ลักษณะของความเป็นประวัติศาสตร์สอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ แม้แต่ตำนานการสร้างเมืองหลวง เมืองสุดท้ายของลาว ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับพญานาคเหมือนกัน

    อุรังคธาตุนิทาน กล่าวถึงการสร้างนครเวียงจันทน์ว่ามีเหตุมาจากพญานาคดังนี้
    มี ชายคนหนึ่งชื่อบุรีจันทน์ เป็นคนอัปลักษร์ ตัวดำใหญ่ พุงใหญ่ จนเรียกกันทั่วไปว่า “บุรีจันทน์อ่วยล้วย” (อ่วยล้วย = คนอ้วนคนพี) เป็นชาวเมืองสุวรรณภูมิ อยู่บ้านเก้าเลี้ยว (ในเขตเวียงจันทน์) ได้ออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านร่องแก ข้างหนองคันเทเสือน้ำบุรีจันทน์ แม้อัปลักษณ์ รูปชั่วตัวดำ แต่จิตใจงดงาม เต็มไปด้วยเมตตา เป็นทั้งคนใจบุญสุนทาน รักษาศีล ภาวนา และได้อุปถัมภ์อุปัฐากพระอรหันต์ 2 รูป มาจากราชคฤห์นคร องค์หนึ่งชื่อ พระมหาพุทธวงศ์ อยู่ริมบึง อีกองค์ชื่อ พระมหาสัชชติ อยู่ในป่าเหนือบึง และด้วยอำนาจบุญกุศลดังกล่าว คนทั้งหลายจึงพากันยกบุรีจันทน์เป็นหัวหน้าและเป็นอาจารย์สั่งสอนศีลธรรม ศิลปหัตถกรรม การกสิกรรม จนเป็นที่รักใคร่ของเหล่ามนุษย์และเทวดา รวมไปถึงเหล่านาคทั้งหลายที่มาคอยช่วยเหลือ โดยมีนาคใหญ่คือ สุวรรณนาค เป็นราชาแห่งนาคในเขตนั้น

    ครั้งหนึ่งน้ำท่วมไร่นาชาวบ้านเสียหายมาก สุวรรณนาคมีบัญชาให้เศรษฐไชยนาคมาเนรมิตคันเทกั้นน้ำเอาไว้ไม่ให้น้ำท่วมนา ข้าว จึงเกิดชื่อ หนองคันเทเสือน้ำในเวลาต่อมา

    กาลล่วงผ่านไปจน กระทั่งถึงเวลาที่บุญวาสนาของบุรีจันทน์จะบังเกิดผล สุวรรณนาคจึงให้เอกจักขุนาคกับสุคันธนาคแปลงเพศเป็นงูน้อย 2 ตัว มีเกล็ดสีทองเหมือนทองคำ มีหงอนงามเข้าไปอยู่ในไซดักปลาของชาวบ้าน

    ระหว่าง นั้นบุรีจันทน์ก็ฝันไปว่าไส้ของตนไหลอออกมาจากท้องมาพันรอบเอวได้ 7 รอบ พอตื่นเช้าก็กลัวความฝันนั้นเป็นอันมากถึงกับเล่าฝันให้พระมหาพุทธวงศ์ฟัง ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พญานาค พอดีเป็นเวลาบิณฑบาต บุรีจันทน์จึงถือโอกาสใส่บาตรอุทิศส่วนบุญกุศลทันที

    ครั้นตกสายชาว บ้านไปกู้ไซเห็นงูน้อย 2 ตัว แปลกประหลาดมาก ก็นำมาให้บุรีจันทน์ดู บุรีจันทน์จึงของู 2 ตัวนั้นไว้ ตั้งใจว่าจะเอาไปถวายท้าวคำบาง ผู้เป็นเจ้าเมือง
    พอค่ำลงสุวรรณนาคก็เนรมิตกายเป็นคนเฒ่านุ่งข่าวห่มขาว มาหาบุรีจันทน์ และบอกว่างู 2 ตัวนั้นเป็นลูกจะมาขอคืน บุรีจันทน์บอกว่าจะเอางู 2 ตัวไปถวายเจ้าเมือง และสงสัยว่าทำไมคนเฒ่าจึงบอกว่างูเป็นลูก

    “เราเป็นพญานาค ไม่จำเป็นต้องเอาลูกของเราไปให้ท้าวคำบางเลย ท้าวคำบางต่างหากจะต้องเป็นฝ่ายให้ท่าน”

    เมื่อ ทราบเช่นนั้นบุรีจันทน์จึงมอบงูน้อย 2 ตัว ให้คนเฒ่า (สุวรรณนาค) และคนเฒ่าจึงบอกบุรีจันทน์ว่า จงไปขุดบ่อน้ำไว้ที่ริมบึงนอกบ้าน ถึงวันพระจะให้นาคน้อย 2 ตัวนี้มาหา ท่านประสงค์สิ่งใดจงบอกแก่นาคน้อยทั้ง 2 ก็จะสมดังประสงค์ทุกประการ

    หลังจากนั้น สุวรรณนาคได้ไปดลใจให้ท้าวคำบางและมเหสี เกิดความคิดจะยกลูกสาวคือ นางอินทะสว่าง ให้ไปเป็นสนมพญาสุมิตธรรมวงศา กษัตริย์เมืองมารุขระ (มรุกขนคร) คือ เมืองธาตุพนมเดี๋ยวนี้
    เมื่อนางอินทะสว่างทราบว่าบิดาจะยกตนให้ไปเป็นเมียของพญาสุมิตธรรมวงศา ก็โศกเศร้าเสียใจด้วยไม่มีความเต็มใจแต่ประการใด
    บิดาจึงขู่ว่า “ถ้าไม่อยากไปเป็นเมียท้าวพญามหากษัตริย์ ก็จะให้เป็นเมียบุรีจันทน์ท้องใหญ่เสียเลย”
    แทน ที่นางอินทะสว่างจะตกใจกลัว กลับมีความพอใจและหายโศกหายเศร้าง เกิดความรู้สึกอยากเห็นตัวบุรีจันทน์ จึงยอมที่จะเดินทางไปมารุขระนคร แต่ขอแวะนอนที่ท่าตรงข้ามที่บ้านหนองคันเทเสือน้ำสักคืน เพื่อจะได้ดูตัวบุรีจันทน์
    ท้าวคำบางก็ตามใจลูกสาว สั่งให้บ่าวไพร่ไปปลูกหอไว้ที่หาดดอนจันทร์ แล้วพาลูกสาวล่องเรือมาพักค้างคืนที่หอนั้น โดยสั่งบ่าวไพร่ให้ไปตามบุรีจันทน์มาเฝ้าในตอนรุ่งเช้า เพื่อว่าลูกสาวเห็นบุรีจันทน์แล้วจะได้กลัว

    ฝ่ายบุรีจันทน์เมื่อทราบ ดังนั้น จึงออกไปที่บ่อน้ำเรียกหานาคทั้ง 2 ตัวให้มาช่วย โดยบอกนาคทั้ง 2 ว่า ครั้งนี้เราเกิดอยากได้นางอินทะสว่างเป็นเมีย จงช่วยเราด้วยเถิด
    พญา นาคทั้งหลายก็ร่วมแรงแข็งขันช่วยบุรีจันทน์คนละไม้คนละมือ ให้บุรีจันทน์อาบน้ำในบ่อนั้น สุคันธนาคให้ขวดไม้จันทน์และกระบวยดักน้ำอาบ เอกจักขุนาคให้ผ้าเช็ดตัว กายโลหนาค ให้ผ้านุ่ง อินทจักขุนาคให้แหวนธำมรงค์ เศรษฐนาคให้ดาบศรีด้ามแก้ว สหัสสพลนาคให้เสื้อรูปท้าวพันตา สิทธิโภคนาคให้มงกุฎทองคำประดับแก้ว คันธัพนาคให้สังวาลย์ทองคำ ศิริวัฒนานาคให้รองเท้าทองคำ อินทรศิริเทวดาให้แว่นกรองทองคำ เทวดาผยองให้ต่างหูทองคำ เทวดาสนิทให้ผ้าเช็ดหน้า ประสิทธิสักกเทวดาให้ขวดน้ำมันแก้วผลึก
    เมื่อเหล่านาคและเทวดาร่วมมือกันปานนี้ บุรีจันทน์ก็กลายเป็นคนละคน
    ส่วนสุวรรณนาค หัตถีนาค ปัพพาละนาค และพุทโธปาปนาค ได้ร่วมกันเนรมิตปราสาทหลังงามให้
    ของที่นาคและเทวดาเนรมิตให้นี้ คนทั่วไปจับต้องไม่ได้ ถ้าจับต้องจะมีเหตุเป็นไปต่างๆนานา

    คืนนั้นหลังจากอาบน้ำแล้วบุรีจันทน์กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม หอมไปทั้งเนื้อทั้งตัว
    เทวดามัจฉานารีจึงอุ้มบุรีจันทน์ไปนอนกับนางอินทะสว่าง
    จนได้เสียเป็นเมียผัวและเกิดความรักใคร่พอใจจะร่วมชีวิตเป็นสามีภรรยากัน

    ท้าว คำบางเมื่อทราบว่าบุรีจันทน์กับนางอินทะส่ว่างลักลอบได้เสียกัน แทนที่จะโกรธกลับมีความยินดีไปด้วย จึงทำพิธีอภิเษกสมรสให้บุรีจันทน์ที่ดอนนั้น

    ต่อมาบุรีจันทน์ได้ สร้างหนองคันเทเสือน้ำให้เป็นเมือง และได้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองนี้ โดยเรียกชื่อว่า “เมืองจันทน์บุรีสีสัตตนาค” กลายเป็นเมืองเวียงจันทน์จนทุกวันนี้

    นางคำผุย พลลือชา ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า
    “ถ้า พิจารณาจากพงศาวดารและนิทานพื้นบ้าน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชนชาติลาว จะพบว่า เริ่มแรกที่ชนชาติลาวสร้างบ้านสร้างเมืองมาจนถึงอาณาจักรสุดท้ายที่คนลาว อาศัยอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งเมืองลุง เมืองปา เมืองเงี้ยว ในเขตเมืองเสฉวนของจีนทุกวันนี้ ตลอดจนถึงการสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงเช่น อาณาจักรหนองแส อาณาจักรแถน และอาณาจักรล้านช้าง คือ นครเวียงจนทน์และหลวงพระบาง ล้วนแต่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับนาค ดูเหมือนว่า นาคจะเป็นเจ้าแห่งปิตุภูมิที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของคนลาวและผูกพันกับคน ลาวอย่างใกล้ชิด และคนลาวก็เชื่อถือว่าสืบสกุลมาจากนาค พร้อมกับนิยมนับถือบูชาพญานาค ใช้รูปนาคเป็นตราประจำชาติสืบมา”
    ความ เชื่อในเรื่องพญานาคของชนชาติลาวไม่ได้หยุดอยู่แค่ระดับพงศาวดารหรือใน ระดับ Myth ต่าง ๆ แต่กลับปรากฏอยู่ในระดับชาวบ้าน หรือในการดำรงชีวิตประจำวันที่เชื่อว่า เมื่อมีภัยอันตรายเกิดขึ้น สามารถพึ่งพญานาคช่วยให้พ้นภัยได้
    นางแนน อายุ 63 ปี (9 ตุลาคม 2542) ชาวบ้านสีฐานใต้เล่าว่า ก่อนมารดาของตนจะเสียชีวิตได้สั่งว่า แม้จะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น พวกเจ้าไม่ต้องหนีจากบ้าน ให้ไปพึ่งป่าหางบ้าน พญานาคจะเอาหางมาเกี้ยวกอดพวกเจ้าเอาไว้ ทำให้ไม่เกิดภัยต่อพวกเจ้า เพราะว่าบ้านสีฐานใต้อยู่ในเขตหางนาค
    นางแสงแก้ว อายุ 68 ปี (9 ตุลาคม 2542) ผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดอาหารคาวหวานประกอบพิธีกรรมบูชาพญานาคประจำวัดนาคห่อ ผ้าได้บอกว่า เขตวัดนาคห่อผ้า บ้านฐินเพีย เป็นเขตหัวนาค ส่วนบ้านสีฐานใต้เป็นเขตหางนาค สมัยก่อนในวัดนาคห่อผ้าจะมีรูโปร่งทะลุถึงหนองคำแสนบ้านสีฐานใต้ เรียกว่า รูนาคเขตนี้เป็นที่อยู่ของพวกนาค
    ดูจากโครงสร้างกำแพงนครเวียงจันทน์ ชั้นใน จะเห็นว่าเขตแดนทิศเหนือติดกับบ้านสีฐานหนือจนถึงบ้านเก้าเลี้ยว ซึ่งเรียกว่า เป็นเขตทำนาเหนือ ชาวลาวเชื่อว่ามีพญานาคชื่อว่า สิริวัดทนนาครักษา มีหอบูชาพญานาคอยู่ที่บ้านเก้าเลี้ยว ส่วนเขตแดนทิศใต้ก็อยู่ที่บ้านสีฐานใต้ นับตั้งแต่บ้านบ่อโอทำนาจนถึงสีฐานใต้ เป็นเขตทำนาใต้ มีพญานาคชื่อ สิริโพธิ์พระนาครักษา มีหอบูชาอยู่บ้านห้อม บ้านโอท่านา
    ความเชื่อเรื่องพญานาค 2 ตนนี้ ชาวบ้านสีฐานใต้ยังรักษาไว้จนปัจจุบัน
    เวลา มีประเพณีแข่งเรือที่วัดจันทน์ นครเวียงจันทน์ ชาวสีฐานใต้จะนำเรือล่องตามลำน้ำโขงกราบไหว้พญานาค 2 ตนที่กล่าวมานี้เสียก่อนจะนำเรือลงมาแข่งที่วัดจันทน์ พิธีการกราบไหว้บูชาพญานาคนี้ ชาวสีฐานยังปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้"

    ผม เคยได้ยินว่าที่บ้านหนองหมากนาว ออกไปจากกำแพงนครเวียงจันทน์ 40 กิโลเมตร จะมีพิธีบูชาพญานาคที่ริมฝั่งโขงหลังเหตุการณ์บั้งไฟพญานาคไม่กี่วัน
    พิธีนี้ปฏิบัติกันทุกปี
    หลังพิธีแล้วจะมีงูสารพัดชนิดทุกขนาดขึ้นมารวมตัวอยู่บนหาดทรายริมฝั่งโขงนับร้อยตัว
    ไว้ได้ไปเห็นด้วยตาตนเองเมื่อไหร่จะกลับมาเล่าให้ฟัง
     
  14. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    ภาพพญานาคบนท้องฟ้าที่นำมาลงให้ดูนี้ เป็นภาพที่มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 กันยายน 2549 ถ่ายโดยกล้องโทรศัพท์มือถือ ผู้ถ่ายคือ นายยงยุทธ ฤกษ์อุดม พ่อค้าขายอาหารตามสั่งหน้าปากทางเข้าคุ้มหนองคู อยู่บ้านเลขที่ 27/17 ถนนรอบเมือง เขตเทศบาลนครขอนแก่น

    นายยงยุทธเล่าว่า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ตนกับภรรยาไม่ได้ออกไปขายของเพราะว่าฝนตกหนัก พอตกค่ำจึงชวนเพื่อนพ้องมาร่วมวงดื่มเหล้าที่หน้าบ้านเช่า สักพักเห็นแสงไฟหลากสีพุ่งไปมาอยู่บนฟ้าตะวันออก จึงหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายภาพเอาไว้และได้ภาพตามที่เห็นนี้


    นายยงยุทธเชื่อว่าเป็นภาพพญานาคจริง ๆ และตั้งใจว่าจะนำภาพถ่ายนี้ไปขยายใส่กรอบไว้บูชาต่อไป


    ตามข่าวกล่าวว่า มีชาวบ้านมากมายทยอยกันไปขอดูภาพพญานาคบนท้องฟ้าของนายยงยุทธตลอดเวลา แสดงว่า มีผู้สนใจเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย ส่วนพญานาคในภาพจะเป็นพญานาคจริงหรือไม่ ผมก็เห็นว่ายังจะสรุปไม่ได้ คงเห็นแต่เพียงว่าแปลกประหลาดดี


    เรื่องพญานาคบนท้องฟ้าที่ปรากฏในรูปลำแสงประหลาดหลากสีสันนั้น เคยปรากฏมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งที่วัดพระธาตุพนมตอนปี พ.ศ. 2500 ดังบันทึกของพระเทพรัตนโมลีต่อไปนี้


    “พ.ศ. 2500 เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ (วันออกพรรษา) เวลากลางคืน บ่าย 2 โมง (คือเวลาตี 2 นั่นแหละครับ คนโบราณยังเรียกว่า บ่ายกลางคืน หรือบ่ายกลางวัน) มีฝนตกหนักครึ่งชั่วโมง แล้วก็พรำมาอีก 20 กว่านาที ขณะที่ฝนตกฟ้าร้องดังสนั่นแผ่นดินเฟือนในคืนนั้น นายไกฮวด ชาวตลาดออกมารองน้ำฝนที่บ้านของตน เห็นแสงประหลาดโตเท่าลำตาล มีสีต่าง ๆ กัน พุ่งแข่งกันมาจากทิศเหนือ แสงนั้นมาถึงตรงพระธาตุแล้วหายไป ได้เรียกภรรยาออกมาดูด้วย สงสัยว่าจะมาแต่ไหน จะออกจากชายคาร้านไปดูริมแม่น้ำโขงเพราะบ้านอยู่ใกล้ก็กลัวฟ้าร้องและขโมยจะ เข้าบ้านได้ แต่มองลอดชายคาระเบียงร้านดูด้วยความสงบ รุ่งเช้าเล่าให้ฟังมีคนสนใจน้อยมาก ต่อมาอีก 2 วัน คือ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนเดียวกัน เจ้าอาวาสให้สามเณรลูกศิษย์ตรวจเหตุการณ์ดูทางในเข้าไปพบพญานาคทั้ง 7 เรียงกันเป็นแถวอยู่ลานพระธาตุ หงอนแดง และหางแดง สามเณรน้อยงงอยู่ ประเดี๋ยวกลับกลายเป็นมานพ 7 นาย ทรงเครื่องขาวนั่งเรียงกันเป็นแถวอยู่ลานพระธาตุชั้นใน สามเณรสนเท่ห์ใจ งงจนพูดอะไรไม่ออก จะว่าก้มก็มิใช่ ยืนก็มิใช่ อากัปกิริยาอยู่ระหว่างยืนกับก้ม มานพหัวหน้าร้องถามว่า พ่อเณรมีธุระอะไร อย่ากลัวจงบอกมา สามเณรงงอยู่มิได้ตอบอะไร ตั้งใจว่าจะกลับกุฏิ ก็พอดีพญานาคราชหัวหน้าตรัสว่า พ่อเณรจะกลับแล้วหรือ ขอไปด้วยจะสนทนากับท่านเจ้าคุณ พอขาดคำก็เข้าประทับร่างเณร สามเณรหมดความรู้สึก ส่วนร่างของเณรที่เข้าสมาธินิ่งอยู่ต่อหน้าเจ้าอาวาสและแขกอีกราว 4 คน ก้แสดงปฏิกิริยายกมือไหว้เจ้าคุณพร้อมกับพูดว่า สวัสดีท่านเจ้าคุณ หม่อมฉันมาได้ 2 คืนแล้วมิรู้หรือ ท่านเจ้าคุณไต่ถามได้ความว่า เป็นพญานาคทั้ง 7 มาจากสระอโนดาตในเทือกเขาหิมาลัย พระอินทราธิราชมีบัญชาให้มารักษาพระบรมธาตุ พวกที่รักษาแต่ก่อนอาศัยแต่สินบนเครื่องเซ่นสรวง ท่านไม่ต้องการอันใด ขอแต่น้ำบูชาถ้วยเดียวเท่านั้น ฯลฯ ต่อมาก็เข้าประทับทรงเรื่อย ๆ มาแสดงธรรมสั่งสอน ดูโรค บอกยารักษาคนป่วยเห็นผลมามาก จนกระทั่งสั่งให้เอาไหน้ำมนต์ไปตั้งไว้ในลานพระธาตุชั้นใน แล้วเอาน้ำมนต์มาใช้ก็ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่อัศจรรย์จนบัดนี้ ผู้ฝึกทางสมถวิปัสสนาได้สมาธิแก่กล้าจนดับพละ 5 ได้แม้เพียง 5 นาที ฝึกจนชำนาญแล้วก็จะสามารถเห็นได้ทางญาณ ท่านบอกว่าจะอยู่ไปจนหมดศาสนาพระโคดม”
     
  15. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    มีผู้อ่านท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า พญานาคทั้ง 7 นี้มีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้

    องค์แรกมีนามว่า พญาสัทโทนาคราชเจ้า เป็นประธานหมู่คณะ องค์ที่ 2 คือ พญาศีลวุฒินาโค องค์ที่ 3 คือ พญาหิริวุฒินาโค องค์ที่ 4 คือ พญาโอตตัปปะวุฒินาโค องค์ที่ 5 คือ พญาพาหสัจจะวุฒินาโค องค์ที่ 6 คือ พญาจาคะวุฒินาโค และองค์ที่ 7 พญาปัญญาเตชุวุฒินาโค


    ชื่อพญานาคทั้ง 7 นี้ ได้มาจากการประทับทรงสามเณร ซึ่งผู้อ่านท่านนี้ได้แนบเอกสารประกอบมาด้วยว่า ชื่อสามเณรทรัพย์ คือทราบชื่อสามเณรรูปนี้ด้วย


    ข้อเท็จจริงของชื่อสามเณรทัพย์นั้นได้มาจากการสัมภาษณ์แม่ชีมณีจันทร์พันธ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2537 หลังจากเกิดเหตุการณ์เข้าทรง 37 ปี แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลายท่านบอกว่าสามเณรนั้นชื่อ สมบัติ ก็มี


    เมื่อดูในบันทึกที่เป็นทางการของวัดธาตุพนมที่เขียนโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุพนมกลับไม่ปรากฏชื่อสามเณรแต่อย่างใด


    ผู้อ่านท่านนี้ได้แย้งมาด้วยว่า ชื่อของพญานาคทั้ง 7 องค์ ที่ส่งมาให้ผมนั้นไม่ตรงกันกับที่ผมได้ลงไว้ในสืบหาพระเครื่องดี ฉบับ 566 หน้า 42 ซึ่งที่จริงก็คงจะเป็นหน้า 67 ที่ได้กล่าวถึงความเห็นของหลวงปู่คำพันธ์ ซึ่งเห็นว่า ทำนายไกฮวดเห็นลำแสงประหลาด 7 ลำแสงนั้นเป็นพญาศรีสุทโธและอำมาตย์ทั้ง 6 แสดงฤทธิ์ และบอกชื่ออำมาตย์ทั้ง 6 ไว้เพียง 3 ชื่อ ซึ่ง 3 ชื่อนี้ไม่ตรงกับข้อมูลที่ผู้อ่านท่านนี้ส่งมา


    เรื่องชื่อนี้เป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ เกิดจากความเชื่อของแต่ละแหล่งข้อมูล และเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นแค่นามธรรม จับต้องไม่ได้ เพราะว่าออกมาจากปากของร่างทรง จึงขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเชื่ออะไรหรือไม่เชื่ออะไร


    อย่างไรก็ตาม ชื่อพญานาคทั้ง 7 นี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า เป็นชื่อที่มาจากสัตตธรรม คือ ข้อธรรมทั้ง 7 คือ สัทโธ (ศรัทธา) ศีล หิริและโอตัปปะ จาคะ ปัญญา นับว่าเป็นชื่อที่ดีมาก และชื่อพญานาคทั้ง 7 นี้ก็เป็นที่ยอมรับอยู่ในวัดพระธาตุพนมจนทุกวันนี้ ถึงกับว่ามีการกำหนดสีประจำพญานาคแต่ละองค์ไว้ด้วย


    พญาสัทโท สีน้ำเงิน พญาศีลวุฒิ สีเขียวแก่ พญาหิริวุฒิ สีเขียวอ่อน พญาโอตตัปปะ สีเหลือง พญาพหุสัจจุ สีชมพู พญาจาคุวุฒิ สีแสด และพญาปัญญาวุฒิ สีขาว


    ในพิธีบูชาพญานาคของวัดพระธาตุพนมทุกปีก็จะจัดพานกระทง 7 สี ตามนี้


    เกี่ยวกับพิธีบูชาพญานาคของวัดพระธาตุพนมนั้น แต่เดิมไม่มี เพิ่งจะมีขึ้นครั้งแรกในปี 2501 คือ ปีรุ่งขึ้นหลังจากนายไกฮวดเห็นลำแสงประหลาด (พ.ศ. 2500) และก็มีต่อมาเป็นประจำทุกปีจนปัจจุบันนี้ (พิธีจัดในวันออกพรรษา)


    ในการจัดพิธีบูชาพญานาคครั้งแรกในปี 2501 นั้น ก็มีผู้ได้เห็นลำแสงประหลาดอีกครั้งหนึ่ง ดังบทสัมภาษณ์นายสมบูรณ์ ตั้งไพบูลย์ ต่อไปนี้


    “วันจัดงานครั้งแรก 2501 นั้น ฉันเห็นแถบสีขึ้นมา 7 สี พาดอยู่บนท้องฟ้า เกิดขึ้นตอนกลางคืนก่อนเวลาตีสอง ฉันไหว้พระไหว้อะไรแล้วก็ออกไปเดินยืดแข้งยืดขาอยู่ในลานพระธาตุ (เดินจงกรม) มีเพื่อนออกมาด้วยคนหนึ่ง เพื่อนบอกว่า ดูโน่นแน่นบนฟ้า ฉันเงยหน้าดูเห็นเป็นริ้ว ๆ 7 สี จะว่ารุ้งกินน้ำก็ไม่ได้ อะไรจะมีรุ้งตอนกลางคืน ริ้วของสี 7 สี กิดขึ้นนานพอสมควร จนพอจะเรียกคนอื่นมาดูด้วยกันได้อีกหลายคน ฉันก็เลยนั่งลงยกมือไหว้”


    เรื่องแสงประหลาดที่มีผู้พบเห็นก็ไม่เคยได้ยินอีกเลยจนกระทั่งนายยงยุทธ ชาวขอนแก่นบันทึกภาพไว้ได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึงยังไม่อาจทราบได้ว่าลำแสงที่นายยงยุทธถ่ายภาพได้จะเป็นเหมือนลำแสงที่นาย ไกฮวดและคนของนายสมบูรณ์เห็นหรือไม่


    ความเชื่อในเรื่องพญานาคนี้เป็นเรื่องที่พูดลำบาก หาที่จะหาเหตุผลมากล่าวอ้าง จนแม้เพื่อนพ้องของผมเองก็ตั้งข้อสงสัยว่า พญานาคนี้เป็นอะไรแน่ ภพภูมิของพญานาคต่ำกว่าคนหรือเปล่า หรือว่าพญานาคจะจัดเป็นพวกอสุรกาย


    พระมหาสม สุมโน ได้อธิบายเกี่ยวกับพญานาคไว้เพียงสั้น ๆ ว่า


    “พญานาคเป็นเทวดาพวกหนึ่ง ไม่ใช่งู อยุ่รวมกัน แต่อยู่คนละภพ ละเอียดกว่ามนุษย์เรา และฝึกวิชาได้ในระดับหนึ่ง”


    ความเชื่อในเรื่องพญานาคทั้ง 7 ยังปรากฏอยู่ในบทเทศนาของเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ปี 2530 ระหว่างพิธีบูชาพญานาคประจำปีนั้นดังนี้


    “องค์สมเด็จพญานาคเจ้าทั้ง 7 ได้เสด็จมาประทานโอกาสบำเพ็ญบารมีธรรม ได้อาศัยร่มเงาพระธาตุพนมเจ้ามาเป็นเวลาหลายสิบปี เริ่มแต่พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสองค์ก่อนลำดับมา ปรากฏได้ประจักษ์ในการรักษาบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาสัตว์ ประชาชนน้อยใหญ่หลั่งไหลมา ได้ความสุขความเจริญ แบ่งเบาบรรเทาทุกข์ในกาย ใจ ตามลำดับ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน ส่วนรวม ประเทศชาติทั้งหลาย


    ข้าพเจ้าในนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม คณะกรรมการสงฆ์ 12 รูป คณะไวยาวัจกร คณะสงฆ์ สามเณร 300 กว่ารูป ธีพราหมณ์ พราหมณ์ชี ลูกศิษย์ คนงาน ที่อาศัยแผ่นดินวัดพระธาตุพนมทั้ง 300 ไร่ และ 380 ไร่ที่ได้มาใหม่ ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพระบารมีธรรม


    ต่อจากนั้นกล่าวถึงทศชาติอันเป็นตัวอย่างของความตั้งใจในการบรรลุนิพพาน โดยเสวยชาติสุดท้ายเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อบรรลุแล้วได้เทศนาโปรดสัตว์ มนุษย์ เทวดา ทั้งไตรภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ


    พญานาคเคารพพระพุทธเจ้ามาขอบวช พระพุทธเจ้าให้บวช บวชแล้วนอนกลางวัน ไม่ปิดประตู สติไม่พอนอนแล้วกลายเป็นงู คนไปฟ้องว่าทำไมเอางูมาบวช แต่ตอนเช้ากลายเป็นพระ พระนาครูปนั้นเลยสึก แล้วขอฝากชื่อไว้เพราะเคารพพระพุทธเจ้า ใครมาขอบวชก็ให้ได้ชื่อว่าบวชนาคเถิดพระเจ้าข้า


    เพราะฉนั้นเรื่องพญานาคเชื่อได้ แต่เรื่องหลอกเอาเงินคนนั้นเป็นบาป ถือว่าเชื่อไม่เป็น พญานาคมีจริง มีได้เป็นจริง เป็นได้ อาจเป็น 7, 100, 1000 องค์ นับถือได้ เคารพปฏิบัติได้ ส่งเสริมได้ อุปัฏฐากได้ ต้องให้ได้ประโยชน์ พระธาตุพนมเคารพได้เป็นบุญ เคารพผิดเป็นบาป แม้แต่พระ อาศัยญาติโยมเลี้ยง หากินมาให้ พระเณรย่อมเป็นศัตรูตัวเอง กินข้าวบาตรโยมไม่เป็น


    พญานาคทั้ง 7 องค์ อย่าได้เกรงใจคน ขอให้ศักดิ์สิทธิ์ ข้าพเจ้าเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ขอมอบสิทธิอำนาจวัดพระธาตุพนม พระเณรปฏิบัติตัวไม่ดี ขอให้พ่นพิษพญานาคใส่เพื่อฆ่ากิเลส ความโลภ โกรธ หลง แก่พระวัดนี้ พญานาคเจ้าทั้ง 7 องค์ มีสัทโธพญานาคเจ้า เป็นต้น ขอได้ทรงทราบ รับทราบ ได้รับศีล ส่วนกุศลที่พ่อแม่พี่น้อง ที่พระเดชพระคุณ ท่านพ่อ พระธรรมราชานุวัตร ได้เป็นองค์ต้น จัดของแต่งสถานที่รับรองแด่พญานาคทั้ง 7 แห่ง พระธาตุพนม เทวดาทั้งหลายที่รักษาพระธาตุ ปู่ย่าตาทวด มเหสักข์หลักเมืองที่รักษาพระธาตุทุกองค์ทุกท่านขอได้โปรดทราบ รับส่วนแสดงออกอำนาจอิทธิ์ฤทธิ์มหากุศล ฤทธิ์มหานภาพทั้งหลายที่จะปราบโลกสกปรก คนเสนียดจัญไรอย่าให้มีในวัดนี้ ในชีวิตจิตใจเราทั้งหลายนี้ให้หนีจากไปให้ได้แต่ความเจริญ สามัคคี มงคล 38 ประการ ขอถวายพระพรแด่พญานาคทั้ง 7”
     
  16. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    ความ เชื่อในเรื่องพญานาคที่ปรากฏนี้ เป็นความเชื่อที่แน่นแฟ้นไม่คลอนแคลน เช่นเดียวกับความเชื่อของชาวอุบลฯ ที่เชื่อว่ามีพญานันทนาคราชรักษาเมืองอุบลฯ โดยมีวังอยู่ในแม่น้ำมูลตรงบริเวณท่าน้ำวัดหลวง (ใกล้ตลาดใหญ่) จนถึงกับมีพิธีกรรมบูชาและประทับทรงพญานันทนาคราชที่วัดหลวงในวันออกพรรษา ทุกปี

    เกี่ยวกับพญานาคในแม่น้ำมูล มีเรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้นกับยายพุ่ม (ไม่ทราบนามสกุล) ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว ตัวยายพุ่มเองเป็นชาวลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลฯ ตั้งแต่ยังเป็นสาว ต่อมายายสว่าง พาศิริ ได้นำตัวยายพุ่มมาอยู่ด้วยกันที่เมืองอุบลฯ โดยเช่าบ้านอยู่ใกล้ท่าน้ำตลาดใหญ่ ซึ่งเวลานั้นคาดว่าจะเป็นช่วงเวลาราว ๆ พ.ศ. 2469-2470 โดยทั้งยายพุ่มและยายสว่างมีอายุได้ประมาณ 20 ปี

    ครั้ง หนึ่งยายพุ่มลงไปอาบน้ำมูล ได้นำผ้าเปื้อนระดูของตนลงไปซักล้างด้วย ขณะที่กำลังยืนแช่น้ำขนาดหัวเข่าซักผ้าเปื้อนระดูอยู่นั้น เห็นงูสีเขียวลอยน้ำตรงเข้ามา แล้วมุดน้ำลงไปพันเกี้ยวรอบขาของยายพุ่ม ชูคอโผล่หัวพ้นน้ำขึ้นมาด้วยลักษณะเป็นงูมีหงอนสีทอง ลำตัวไม่ใหญ่มากแค่ประมาณท่อนแขนของยายพุ่มเอง

    ยายพุ่มตกใจถึงกับ หงายหลังล้มลงไป งูสีเขียวหงอนทองก็ชูคออยู่ตรงหน้ายายพุ่มแล้วพูดออกมาเป็นเสียงมนุษย์ว่า “อย่าทำแบบนี้อีกนะ เพราะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับเรามาก่อนจึงจะไว้ชีวิต”

    หลัง จากนี้นมายายพุ่มก็เปลี่ยนไป กลายเป็นคนถือศีลปฏิบัติธรรม และไม่อาบน้ำเลยจนกว่าจะถึงวันพระ คือ อาบน้ำเฉพาะวันพระเท่านั้น และจะมาอาบตรงท่าน้ำที่ยายพุ่มพบงูมีหงอนสีทอง ลำตัวเขียว จนตลอดชีวิต

    จาก เหตุการณ์นั้น ยายพุ่มยังได้เปลี่ยนไปเป็นคนละคนอีกอย่างหนึ่งคือ กลายเป็นคนพูดอะไรออกมาแล้วจะเป็นจริงตามพูดทุกอย่าง ไม่ว่าจะพูดเรื่องอดีตหรืออนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตนเองหรือของคนอื่น บอกได้แม้ว่าใครจะตายเวลาไหน ด้วยเหตุอะไร คือพยากรณ์อะไรก็ถูกต้องไปหมดจนเป็นที่นับถือของชาวเมืองอุบลฯ ตลอดสมัยของชีวิตยายพุ่ม

    ภายหลังยายพุ่มย้ายมาอยู่ในซอยข้างวัดแจ้ง ยังคงเป็นผู้ที่หากทักท้วงอะไรจะเป็นจริงเช่นเดิม และยังเดินทางไปอาบน้ำที่ท่าน้ำตลาดใหญ่ทุกวนพระเหมือนเดิม จนกระทั่งเสียชีวิตอยู่ที่นี่ขณะมีอายุประมาณ 80 ปี

    งานศพยายพุ่ม คนทั้งซอยวัดแจ้งร่วมกันเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งพระเณรในวัดแจ้งด้วย

    มีผู้ที่รู้จักใกล้ชิดยายพุ่มท่านหนึ่งคือ ป้านิภา เพียรสุข ปัจจุบันพำนักอยู่ตรงข้ามโรงแรมปทุมรัตน์ เมืองอุบลฯ ได้เล่าว่า

    “ยาย พุ่มเป็นคนไม่ค่อยพูด แต่ถ้าพูดอะไรออกมาเป็นจริงหมด และยายพุ่มเคยบอกว่าพญานาคที่แม่น้ำมูล ยายพุ่มได้พบเห็นบ่อย อาจจะแทบทุกครั้งที่ลงไปอาบน้ำที่นั่น โดยมักจะเห็นคราวละ 2 ตัว บางทีก็ออกอาการเล่นน้ำหยอกล้อกันคล้าย ๆ จะเป็นนาคผัวมียทำนองนั้น”

    เรื่องของยายพุ่มนี้คนที่รู้จักยายพุ่มทุกคนจะรับรองนับถือว่าเป็นความจริง นับว่าแปลกประหลาดดี
     
  17. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    [​IMG]

    ยังมีอีกท่าน หนึ่งซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับพญานาคอย่างชัดเจน เพราะมีพยานรู้เห็นเหตุการณ์มากมาย ท่านผู้นี้คือ ยายชีนวล แสงทอง วัดภูฆ้องคำ บ้านดงตาหวาน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอายุประมาณ 93-94 ปี

    ยายชีนวลค่อนข้างจะมีความพิสดารอยู่ใน ตัวไม่น้อย จนแม้หลวงปู่คำพันธ์ได้เห็นยายชีนวลครั้งแรก ยังแสดงอาการผงะและออกปากว่า “ยายชีผู้นี้ไม่ใช่เล่น เป็นคนมีวิชาเต็มตัว” ซึ่งก็จริงตามนั้น เพราะว่ายายชีนวลมีลูกศิษ์ลูกหา ทั้งโยมทั้งพระมากมาย ทั้งยังเป็นที่พึ่งคนทุกข์ใจทุกข์กายมาโดยตลอด

    ในสมัยยายชีนวลเป็น สาวก็เป็นผู้ใฝ่ธรรม ถือศีล ออกปฏิบัติกับครูบาอาจารย์มากมายหลายสำนัก ทั้งยังเป็นสหายกับสำเร็จตัน ผู้ศิษย์สำเร็จลุนอีกด้วย สำเร็จตันจะไปไหนมักเรียกยายชีนวลไปด้วยกันเสมอ

    พอถึงห้วงเวลาหนึ่ง ยายชีนวลก็แต่งงานมีครอบครัว โดยมีชายหนุ่มมาหลงรักและขอแต่งงาน ยายชีนวลได้กำหนดข้อแม้ว่า ถ้าจะแต่งงานกับฉันก็ได้ แต่ต้องรับว่ามี 2 ข้อที่ฉันจะขอเอาไว้คือ หนึ่งฉันจะไม่เข้าครัวทำอาหารให้กิน สองฉันจะไปจากบ้านกับพระกับเจ้าเมื่อไหร่ก็ไม่จำเป็นต้องบอก ชายหนุ่มผู้นั้นก็ยอมรับ

    ยายชีนวลใช้ชีวิตแต่งงานอยู่นานพอสมควรก็ขอลาสามีออกบวชชี และบวชเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้

    ประสบการณ์ ในการพบเห็นพญานาคของยายชีนวลเกิดขึ้นขณะยายชีนวลมีอายุประมาณ 16-17 ปี ได้บวชเป็นชีแล้ว และด้วยความที่เป็นผู้อุปนิสัยเป็นอิสระในทุก ๆ อย่าง นึกจะไปไหนก็ไป ไม่เคยกลัวอะไร จึงออกธุดงค์ไปถ้ำแกลบ ซึ่งชาวบ้านรำลือว่ามีอาถรรพณ์และความน่ากลัวแอบแฝงอยู่

    ถ้ำแกลบอยู่ ในพื้นที่ของอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ในสมัยปี 2472 นั้น บริเวณถ้ำแกลบคือ ป่าดงดิบรกทึบน่าสะพรึงกลัวเป็นที่สุด ชาวบ้านละแวกนี้นไม่กล้าออกไปหาของป่าหรือไปทำอะไรอยู่แถว ๆ นั้น ด้วยมีคนเคยเห็นงูขนาดยักษ์เลื้อยเข้าอออกถ้ำแกลบบ่อย ๆ

    เมื่อชาว บ้านเห็นแม่ชีสาวเดินธุดงค์มาและบอกความประสงค์จะขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำ แกลบ ชาวบ้านก็ตกใจพากันห้ามปรามทัดทานเอาไว้ แต่ไม่สำเร็จ ไม่สามารถเปลี่ยนใจแม่ชีสาวได้ แม้แต่จะเดินทางไปส่งแม่ชีสาวถึงถ้ำแกลบก็ยังไม่มีใครยอมไป คงเพียงแต่อธิบายบอกทางและวิธีไปถึงถ้ำแกลบเท่านั้น

    หลังจากแม่ชีสาว เดินขึ้นถ้ำแกลบเล้วก็หายเงียบไปเป็นเวลาแรมเดือน โดยไม่เคยมีใครได้ข่าวหรือเห็นแม่ชีสาวกลับลงมาหมู่บ้านเพื่อหาเสบียงอาหาร

    ชาว บ้านทั้งหลายเริ่มวิพาษ์วิจารณ์ด้วยความรู้สึกนึกคิดไปประการต่าง ๆ ทั้งประหลาดใจ และห่วงใยแม่ชีสาว ซึ่งอายุก็ยังน้อยอยู่ จนที่สุดชาวบ้านประมาณ 10 คน รวมกลุ่มคนใจกล้าแล้วก็ตัดสินเดินกันขึ้นถ้ำแกลบเพื่อดูแม่ชีสาวว่าอยู่ อย่างไร

    เมื่อไปถึงถ้ำแกลบ ทุกคนก็ตกตะลึงพรึงเพริด ขนลุกขนชันแทบคุมสติไม่อยู่

    ตรงปากถ้ำนั้นมีงูหนอนแดง ลำตัวขาวขนาดใหญ่พันรัดลำตัวของแม่ชีสาวเอาไว้ จนเห็นแค่ใบหน้าและศีรษะของแม่ชีสาวเท่านั้น

    ชาว บ้านทุกคนเชื่อว่าขระนั้นแม่ชีสาวคงจะเสียชีวิตไปแล้ว ก็พากันเผ่นหนีกลับลงมาหมู่บ้าน และเล่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เห็นให้คนทั้งหมู่บ้านฟัง แล้วสรุปว่าแม่ชีสาวตายไปแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย

    หลังจากนั้นอีก 2 วัน ชาวบ้านทั้งหลายก็มีอันต้องตกตะลึงอีกครั้ง เมื่อได้เห็นแม่ชีสาวเดินกลับลงมาจากถ้ำแกลบถึงหมู่บ้านโดยปลอดภัย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งยังบอกแก่ชาวบ้านว่า

    “ไม่ต้องกลัวท่านพญา นาคนั้นหรอก เพราะว่าท่านเป็นพญานาคมีศีลและปฏิบัติธรรมด้วย ขอเพียงให้ชาวบ้านเราทุกคนเมื่อจะขึ้นเขาหาของป่าหรือเข้าใกล้บรเวณนั้น ให้พากันบอกกล่าวท่านก่อน ให้เรียกชื่อท่านว่า พญานาคคำขาว แล้วทุกคนจะปลอดภัย ไม่มีอันตราย หากินก็จะง่าย”


    ชาวบ้านทุกคนก้มกราบแม่ชีสาวด้วยความศรัทธาเลื่อมใส และยังกล่าวขวัญถึงเรื่องนี้สืบต่อมาจนทุกวันนี้


    ปัจจุบันแม่ชีสาวนั้นกลายเป็นยายชีอายุเกือบ 100 ปี พำนักอยู่เพียงลำพังองค์เดียวในวัดภูฆ้องคำที่ไม่มีแม้แต่พระหรือเณรอยู่อาศัย

    เมื่อ กลางปีที่แล้วยายชีนวลถูกงูกัด (เขาลือว่าเป็นงูจงอาง) คิดว่าตนเองจะต้องตายแน่แล้ว จึงกระเสือกกระสนขึ้นกุฏิเข้าพักในนั้น ปิดประตูเงียบจนตลอดคืน พอรุ่งเช้าก็ออกมา ไม่ตาย แถมยังแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า เดินเหินคล่องแคล่วกว่าเดิมอีกด้วย

    ยาย ชีนวลมีวิชาความรู้ดีจริงสมคำหลวงปู่คำพันธ์ว่าไว้ ได้ช่วยเหลือญาติโยมมามาก แต่เป็นคนไม่ใคร่พูดเรื่องความหลังหรืออวดวิชา ใครสนทนาซักถามมักจะตอบว่า


    “บ่อู้ บ่จัก” (ไม่รู้ ไม่เป็น)


    แต่ ถ้าสนิทชิดเชื้อแล้ว จะทราบเองว่ายายชีเก่งและมีเรื่องราวพิสดารแต่หนหลังมากมาย ไว้มีโอกาสอาจจะเขียนถึงยายชีเป็นการเฉพาะโดยละเอียดทีหลัง


    เรื่องประสบการณ์ของผู้ที่พบเห็นและเกี่ยวข้องกับพญานาคยังมีอีกไม่น้อย จะทยอยเล่าสู่กันฟังต่อไป
     
  18. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    วันนี้ขอนำมาให้อ่าน 5 ตอน ก่อนนะคะ พรุ่งนี้มาต่อกันใหม่ค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  19. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    .......................................
    ..โอ้โห..มาเป็นชุดใหญ่..เลย..
    ..ขอบคุณครับ..ที่เอามาให้อ่านกัน....
     
  20. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,545
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สวัสดีค่ะ คุณ ลุง ขอบคุณนะคะ ที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...